‘กมธ.ไอซีที’ วุฒิสภา แพร่รายงานการประชุมฯ ชี้ ‘นพ.สรณ’ มีลักษณะต้องห้าม เป็น ‘กสทช.’ เหตุยังมีสถานะเป็น ‘พนักงานของหน่วยงานของรัฐ’ ก่อนนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ พบยอมให้เสนอชื่อเป็น ‘กก.แบงก์กรุงเทพ’ ก่อนและหลังได้รับโปรดเกล้าฯ
..................................
สืบเนื่องจากกรณีที่เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ที่มีพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณารายงานการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและข้อเสนอแนวทางการดำเนินการกรณีขอความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณสมบัติของ ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย
โดยคณะกรรมาธิการฯ พิจารณาข้อมูลจากผู้ร้องและข้อมูลที่ได้รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้รับฟังได้ว่า ศ.คลินิก นพ.สรณ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งคณะกรรมาธิการฯจะได้นำกราบเรียนประธานวุฒิสภา เพื่อพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายต่อไป นั้น (อ่านประกอบ : ‘กมธ.ไอซีที-นักกฎหมาย’ชี้‘สรณ’ขาดคุณสมบัติ‘กสทช.’-‘สภาผู้บริโภค’โชว์หนังสือรับค่าตอบแทน)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้เผยแพร่บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2567 โดยในวาระที่ 3.4 เรื่อง หนังสือกราบเรียนประธานวุฒิสภา รายงานผลการพิจารณา พร้อมการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและข้อเสนอแนวทางการดำเนินการ กรณีขอความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณสมบัติของศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. มีเนื้อหาว่า
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว มีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1.การที่ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ยังมีสถานะ ‘เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย’ ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.2564 จนถึงวันที่ 12 เม.ย.2565 และยัง ‘ทำหน้าที่ตรวจและรักษาคนไข้ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี’ ตลอดมา จนกระทั่งถึงปี 2565 และยังมีสถานะเป็น ‘แพทย์ค่าตอบแทนรายชั่วโมง’ ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2565 จนถึงวันที่ 12 เม.ย.2565 โดยมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพดังกล่าว
จึงอาจทำให้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 (2) และ (3) ด้วยเหตุยังมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ และประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระอื่นที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ
เมื่อมิได้ลาออกต่อประธาน จริง ภายในเวลาที่ประธานวุฒิสภากำหนด ก่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง จึงทำให้การกระทำของศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ‘เป็นผู้สละสิทธิ’ ตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 ย่อมมีผลให้กรรมการสรรหาจะต้องดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็น กสทช. ใหม่แทน ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ตามกฎหมายต่อไป และการกระทำของศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สรณฯ เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8 ดังกล่าว ยังมีผลทำให้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 20 (5) อีกด้วย
2.กรณี นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ยินยอมให้เสนอชื่อตนเองต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเลือกและยอมรับการเป็นกรรมการของบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเห็นว่า บุคคลผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็น กสทช. แล้ว บุคคลนั้นต้องลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่อื่นในทุกตำแหน่งต้องลาออกหรือเลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระอื่นใด ภายในเวลาที่ประธานวุฒิสภากำหนด ก่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรี จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯ ตามมาตรา 18 และมาตรา 26 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กำหนดให้ประธาน รองประธาน และกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
ทั้งนี้ เป็นไปโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ไม่ต้องการให้ กสทช. ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทำให้ไม่สามารถทำงานเต็มเวลา หรือมีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ จึงได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้ใน มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 18 มาตรา 20 และมาตรา 26
การที่ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ให้เป็นกรรมการ กสทช. เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2565 และทราบดีว่า ตนต้องลาออกจากทุกตำแหน่งหรือต้องไม่มีตำแหน่งหน้าที่อื่นใดอีกเลยเพื่อการเข้ารับหน้าที่เป็น กสทช. แต่กลับยินยอมรับเป็นกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยกรอกประวัติในแบบฟอร์มการเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการบริษัท ธนาคารกรุงเทพฯ ว่า เป็นประธานกรรมการ กสทช. ด้วย นอกจากรายละเอียดอื่นในประวัติ เพื่อเสนอต่อผู้ถือหุ้นในที่ประชุมใหญ่
และในวันที่ 10 ก.พ.2565 ก่อนมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ยังยินยอมให้ธนาคารกรุงเทพฯ เสนอชื่อตน เพื่อขอความเห็นชอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบให้ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ เป็นกรรมการของธนาคารกรุงเทพฯได้ จนกระทั่งบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 12 เม.ย.2565
และที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของบริษัทฯ โดยผู้ถือหุ้นก็ได้ลงมติให้ความเห็นชอบเลือก ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ให้เป็นกรรมการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน ) ซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 70 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 ก่อนวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเพียงหนึ่งวัน (13 เม.ย.2565)
และหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2565 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ก็ได้มีหนังสือแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการโดยมีชื่อ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ รวมอยู่ด้วย ถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามหนังสือที่ กลต.จท-1.235/2563
นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า ในการประชุมคณะกรรมการ กสทช. ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันพุธที่ 27 เม.ย.2565 คณะกรรมการ กสทช. ได้พิจารณาเรื่องตามที่ประธาน กสทช. เสนอว่า ได้รับเชิญเป็นกรรมการอิสระของธนาคาร กรุงเทพจำกัด (มหาชน) โดยที่ประชุมรับทราบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายกรณีการรับตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระในหน่วยงานอื่นนอกจาก กสทช.
โดยต่อมาสำนักงาน กสทช. ก็ได้มีหนังสือที่ สทช.2402/24320 ลงวันที่ 20 พ.ค.2565 ถึงสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับการรับตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระในหน่วยงานงานของ กสทช. แม้ต่อมาจะมีการขอถอนเรื่องขอหารือ (18 ก.ค.2565) ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฎษฎีกาก็ตาม กรณีย่อมเป็นข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สรณฯ ยังไม่ยอมลาออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)แต่อย่างใด
การประกาศลาออกทางหนังสือพิมพ์ก็ดี หรือการมีหนังสือแจ้งให้ธนาคารกรุงเทพฯทราบแต่เพียงว่า ตนยังไม่ขอเข้ารับตำแหน่ง โดยยังมิได้มีหนังสือลาออกต่อบริษัทฯ จึงยังคงมีผลให้ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ มีสถานะเป็นกรรมการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน เพราะกรรมการคนใดประสงค์จะลาออกจากตำแหน่ง ต้องปฏิบัติตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ซึ่งบัญญัติว่า “กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้”
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวในกรณีนี้ คณะกรรมาธิการฯ จึงพิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ เมื่อได้รับเลือกและได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว ก่อนหรือภายหลังที่นายกรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นั้น มิได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด จึงเป็นการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 8 และมาตรา 18 ประกอบมาตรา 20 และมาตรา 26
3.นอกจากกรณีตามข้อ 1 และ 2 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบและการรวบรวมข้อมูล คณะกรรมาธิการฯ ยังพบข้อเท็จจริงอีกว่า ก่อนสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ กสทช. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ ยังมีตำแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายสวัสดิการและกิจการพิเศษ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ
โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ เพิ่งลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการ กสทช. ปรากฏหลักฐานตามหนังสือลาออก ลงวันที่ 8 ม.ค.2565 ซึ่งได้ยื่นต่อวุฒิสภา ปรากฏหลักฐานตามหนังสือสำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักเลขาธิการวุฒิสภาที่ สว.0008/905 ลงวันที่ 22 ธ.ค.2566
การที่ นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ยังคงมีสถานะเป็นผู้บริหารหรือเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกช่องรามาชาแนล (Rama Channel) ก่อนเข้ารับสมัครเป็นกรรมการ กสทช. จึงมีผลให้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข. (12) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 เนื่องจากมีได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารหรือเป็นพนักงานของหาวิทยาลัยมหิดล ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนที่จะสมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กสทช.
แต่อย่างไรก็ตาม ในประเด็นดังกล่าวนี้ แม้คณะกรรมการสรรหา กสทช. ได้เคยวินิจฉัยแล้วว่า ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาเป็นที่สุด ตามมาตรา 7 ข. (12) ประกอบมาตรา 15/1 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิของผู้ส่วนได้เสียในการใช้สิทธิทางศาล โดยสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสรรหาหรือฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ภายในเวลาที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
ดังนั้น จากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ประกอบกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้ว เห็นว่า ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณฯ มีลักษณะเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 7 ข. (12) มาตรา 8 และมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 18 มาตรา 20
มติที่ประชุม : ที่ประชุมเห็นชอบ และให้นำกราบเรียนประธานวุฒิสภาพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
อ่านประกอบ :
ส่ง'ปธ.ศ.อุทธรณ์'วินิจฉัยเขตอำนาจศาลฯ หลังรับฟ้องคดี‘4 กสทช.’เปลี่ยน‘รักษาการเลขาฯ’มิชอบ
‘กมธ.ไอซีที-นักกฎหมาย’ชี้‘สรณ’ขาดคุณสมบัติ‘กสทช.’-‘สภาผู้บริโภค’โชว์หนังสือรับค่าตอบแทน
‘กมธ.ไอซีที’จ่อสรุปผลสอบฯลักษณะต้องห้าม‘ปธ.กสทช.’-'สรณ'ยันคุณสมบัติถูกต้องก่อนทูลเกล้าฯ
'ครป.-สภาผู้บริโภค'ออกแถลงการณ์ เรียกร้องเปิด'หลักฐาน'คุณสมบัติต้องห้าม‘ประธานฯกสทช.’
เลขาฯโชว์คำสั่ง‘สรณ’ลาออก‘รพ.รามาฯ’มีผล 8 ม.ค.65 ตอกย้ำ‘ปธ.กสทช.’ไม่มีลักษณะต้องห้าม
เลขาฯยัน‘สรณ’ไม่มีลักษณะต้องห้าม-'ม.มหิดล’แจงเป็น‘พนง.มหาวิทยาลัย’ก่อนเป็น'ปธ.กสทช.'1 วัน
‘วุฒิสภา’มีมติส่งผลศึกษาฯปมสรรหา‘เลขาฯกสทช.’ช้า ให้‘ป.ป.ช.’-สว.เผย‘นพ.สรณ’ส่อพ้นเก้าอี้
'นพ.สรณ' ร้อง ‘ปธ.วุฒิสภา’ ตรวจสอบ ‘กมธ.เทคโนโลยีฯ’ ก้าวก่าย-แทรกแซงหน้าที่ ‘ปธ.กสทช.’
ชง‘วุฒิสภา’ 1 เม.ย.ถกผลศึกษาฯปมแต่งตั้ง‘เลขาธิการ กสทช.’ล่าช้า-เสนอ‘ป.ป.ช.’เปิดไต่สวนฯ
จับตาถกบอร์ด กสทช.เคาะชื่อ‘เลขาธิการฯ’คนใหม่ ส่อวุ่น-พบชงหนังสือ‘ไตรรัตน์’ค้าน 4 กก.โหวต
บรรจุเป็นวาระพิเศษ! ‘ประธาน กสทช.’นัด‘กรรมการ’ถกแต่งตั้ง‘เลขาธิการฯ’คนใหม่ 17 ม.ค.นี้
ไม่ได้ขัดแย้งส่วนตัว! 4 กสทช. แถลงร่วมยก 6 พฤติกรรม‘ปธ.’ทำภารกิจบอร์ดฯติดขัด-งานไม่เดิน
ได้ข้อมูล‘ทรู’ฝ่ายเดียว! ‘บอร์ด กสทช.’ยังไม่สรุปค่าบริการมือถือลด 12% หลังควบ TRUE-DTAC
‘ภูมิศิษฐ์’ร้อง‘ปธ.วุฒิ’ตรวจสอบคุณสมบัติ‘ประธาน กสทช.’-‘โฆษกฯ’ชี้แจงไม่มีลักษณะต้องห้าม
ศาลฯรับไต่สวนมูลฟ้อง คดี‘ไตรรัตน์’ฟ้อง‘4 กสทช.-พวก’ ปมตั้งกก.สอบ-เปลี่ยนตัวรักษาการเลขาฯ
‘สภาผู้บริโภค’จ่อยื่น‘ป.ป.ช.’ ถอดถอน‘กสทช.’ทั้งคณะ ปมเปิดทาง‘ผูกขาด’ในธุรกิจโทรคมนาคม
ถก‘บอร์ด กสทช.’ล่มรอบ4! 'เลขาฯ'แจงเหตุ'ประธาน'ไม่เลื่อนประชุม เพราะมีวาระค้างพิจารณามาก
ข้อสงสัยในเจตนา! 4 กสทช.ออกแถลงการณ์โต้‘ปธ.’นัดประชุมบอร์ด ทั้งที่รู้มี'กรรมการ'ติดภารกิจ
กรรมการ 3 รายติดภารกิจ! 4 กสทช.ทักท้วง‘นพ.สรณ’นัดประชุม‘บอร์ด’โดยไม่ปรึกษาหารือล่วงหน้า
แจ้ง‘กสทช.’ดูข้อกม.อีกครั้ง ก่อนชง‘คกก.ดิจิทัล’เคาะงบ 5.2 พันล.-บอร์ดเลื่อนถกควบ AWN-3BB
‘บอร์ด กสทช.’นัดถกควบรวมเน็ตบ้าน‘AWN-3BB’-ยังไม่พิจารณาวาระแต่งตั้ง‘เลขาธิการฯ’คนใหม่
เลื่อนฟังคำสั่งคดี‘ไตรรัตน์’ฟ้อง‘4 กสทช.’ ปมสอบค่าลิขสิทธิ์บอลโลก-เปลี่ยน‘รษก.เลขาธิการ’
‘ภูมิศิษฐ์’ฟ้อง‘ปธ.กสทช.’ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ฯ ไม่เซ็นตั้ง‘รักษาการเลขาธิการ’ตามมติบอร์ด
อ้างใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ! 'สุรางคณา'ฟ้อง'ศาล ปค.'ขอเพิกถอนคำวินิจฉัยเลือกเลขาธิการ กสทช.
ไม่เคยมี'คลินิก'ทั้งในและตปท.! 'นพ.สรณ'แจงผู้บริหาร‘กสทช.’-บอกยินดีให้คำปรึกษา'โรคหัวใจ'
ส่อไม่ชอบด้วยกม.-เอื้อบางคน! เปิดบันทึก 4 กสทช.ค้าน‘นพ.สรณ’บรรจุวาระแต่งตั้ง‘เลขาธิการฯ’
ละเลยหน้าที่! ‘4 กสทช.’ฟ้อง‘นพ.สรณ’ ปมไม่เซ็นแต่งตั้ง‘ภูมิศิษฐ์’นั่งรักษาการเลขาธิการฯ