"...การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาและให้จําหน่ายคดี ออกจากสารบบความ และเมื่อศาลไม่รับคําฟ้องนี้ไว้พิจารณาแล้ว คําขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา จึงไม่จําต้องพิจารณา นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคําสั่งยืนตามคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น..."
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานไปแล้วว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ บ.271/2564 หมายเลขแดงที่ บ.188/2564 ระหว่าง นายสราวุธ เบญจกุล (ผู้ฟ้องคดี) กับ ประธานศาลฎีกา ที่ 1 กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีที่อดีตเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนง
โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ฉบับเต็ม
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดี คือ 1.นายสราวุธ เบญจกุล ผู้ถูกฟ้องคดีคือ 1.ประธานศาลฎีกา 2.เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม 3. นายอํานาจ พวงชมภู 4.นายณรงค์ ประจุมาศ และ 5.นางวรนาฏ บุญนิธี
ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ขณะผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 นั้นนายนรพัฒน์ สุจิวรกุล ได้ทําหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่
ผู้ดํารงตําแหน่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในขณะนั้นได้มีคําสั่งประธานศาลฎีกา ลับที่ 15/2563 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2563และคําสั่งประธานศาลฎีกา ลับ ที่ 20/2563 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยไม่ได้แจ้งคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทราบ และหลังจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว คณะกรรมการดังกล่าวไม่เคยแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือให้ผู้ฟ้องคดีทราบ รวมทั้งไม่ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีนําพยานบุคคลเข้าสืบแก้ในข้อที่เป็นผลร้าย ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอแล้ว
ประกอบกับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้แจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ไม่มีการกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทําผิดวินัย
แต่หลังจากผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งดังกล่าว และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 คณะกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริงกลับได้มีรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สรุปว่า ผู้ฟ้องคดี กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้มีอํานาจดําเนินการทางวินัยหลังจาก ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่อาจดําเนินการ ทางวินัยกับผู้ฟ้องคดีต่อไปได้ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้อาศัยอํานาจตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา 75 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ลับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี ซึ่งไม่ถูกต้อง
อีกทั้ง การที่ได้มีการขอให้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงข้างต้นมิได้กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทําผิดวินัย จึงมิใช่เป็นการกล่าวหา เป็นหนังสือว่าผู้ฟ้องคดีกระทําผิดวินัยตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการกระทํา โดยไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามนัยคําพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 126/2555 และคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 239/2557
นอกจากนี้ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดําเนินการทางวินัยผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อมุ่งหมายให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) มีคําวินิจฉัย เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบและใช้อํานาจหน้าที่โดยไม่สุจริต เพื่อไม่ให้ผู้ฟ้องคดี ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เนื่องจากการดําเนินการทางวินัยผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือน นั้น เมื่อคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) มีคําวินิจฉัยแล้ว ผู้ฟ้องคดีสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น
ขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ดังนี้
1. เพิกถอนคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ลับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัย อย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี
2. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งเรื่องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดี พิจารณาให้ความเป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีและดําเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
ผู้ฟ้องคดีมีคําขอ ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตาม คําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรมลับที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี โดยให้ระงับการสอบสวน ของคณะกรรมการดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นมา ผู้ฟ้องคดีจะพ้นจากตําแหน่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ ประจําสํานักงานศาลยุติธรรม ก็ตาม
แต่ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นั้น ได้มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคาร ศาลจังหวัดพระโขนง
ผู้ดํารงตําแหน่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในขณะนั้น จึงได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริง และผลการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา 75 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ประกอบกับมาตรา 8 และมาตรา 22 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มีคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ลับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ฟ้องคดี กระบวนการตั้งแต่การสอบสวนข้อเท็จจริงต่อเนื่องจนถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย อย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี เพื่อให้สอบสวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน พ.ศ. 2554 ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่ง ของการสอบสวนเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
แม้ว่ากระบวนการ ดังกล่าวเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และเป็นขั้นตอนการพิจารณาทางปกครอง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นการใช้อํานาจทางปกครองก็ตาม แต่ก็ถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดําเนินการของ ก.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
ศาลปกครองชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาและให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบความ และเมื่อศาลไม่รับคําฟ้องนี้ไว้พิจารณาแล้วคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา จึงไม่จําต้องพิจารณา
ผู้ฟ้องคดียื่นคําร้องอุทธรณ์คําสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณา ความว่า การบรรจุและแต่งตั้ง กับการสอบสวนและการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ ต้องดําเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
ส่วนการบรรจุและแต่งตั้ง กับการสอบสวนและการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการนั้น มาตรา 6 (3) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ออกระเบียบคณะกรรมการ ข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2544 ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พร้อมกฎหมายลําดับรองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจใช้กฎหมายสองฉบับในสองฐานะ ในฐานะแรก เป็นการใช้อํานาจแต่งตั้ง คณะสอบสวนวินัยร้ายแรงข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม รวมถึงเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเมื่อสอบสวนแล้วเสร็จต้องดําเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) พิจารณาตามมาตรา 70 ถึงมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย ตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
ส่วนในฐานะที่สอง เป็นการใช้อํานาจแต่งตั้งคณะสอบสวนวินัย ร้ายแรงข้าราชการศาลยุติธรรมในตําแหน่งรองเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม รวมถึงตําแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเมื่อสอบสวนแล้วเสร็จต้องดําเนินการตามขั้นตอน เพื่อเสนอคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) พิจารณาตามมาตรา 21(1) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 106 และมาตรา 139 และระเบียบคณะกรรมการข้าราชการ ศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2544 ข้อ 3 ประกอบมติ คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ครั้งที่ 7/2559 และ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการ ทางวินัย พ.ศ. 2556 ข้อ 57
ซึ่งหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่งตั้งคณะสอบสวนวินัยร้ายแรง ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมก็จะเป็นการดําเนินการส่วนหนึ่งของการดําเนินการของ ก.ต. ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง แต่ถ้าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่งตั้งคณะสอบสวนวินัยร้ายแรง ข้าราชการศาลยุติธรรมในตําแหน่งรองเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม รวมถึงตําแหน่งที่ปรึกษา พิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรม เมื่อสอบสวนเสร็จจะเป็นอํานาจของ ก.ศ. พิจารณา และ ไม่เป็นการดําเนินการส่วนหนึ่งของการดําเนินการของ ก.ต.
โดยเมื่อ ก.ศ. พิจารณาแล้ว ผู้ได้รับ ผลกระทบมีสิทธิฟ้องคดีได้ ซึ่งคดีจะอยู่ในอํานาจของศาลปกครอง กรณีของผู้ฟ้องคดีมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงขณะผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงาน ศาลยุติธรรม จึงไม่เป็นการดําเนินการส่วนหนึ่งของการ ดําเนินการของ ก.ต.
การที่ผู้ฟ้องคดี ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในคดีนี้ เป็นการฟ้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ใช้อํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนวินัยร้ายแรงให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อคดีนี้เริ่มต้นจากที่มีการขอให้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นการร้องขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมิได้ระบุตัวบุคคลผู้ถูกกล่าวหาโดยเฉพาะเจาะจง
แม้จะขอให้ตรวจสอบขณะที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม แต่การขอเพียงให้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง มิได้เป็นการกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยการกล่าวหา เป็นหนังสือตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
การที่ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม และไปดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ต่อมาคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงรายงานต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ว่า กรณีมีมูลกระทําผิดวินัยร้ายแรง
จึงเป็น การกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้มีอํานาจในการดําเนินการทางวินัยหลังจากผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่ง เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่อาจดําเนินการทางวินัยผู้ฟ้องคดี โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ได้ ต้องนําการดําเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับแก่ผู้ฟ้องคดี
ดังนั้น กรณีตามคําฟ้องของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กระทําการโดยไม่มีอํานาจ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อาศัยอํานาจตามมาตรา 69 และมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ออกคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 จึงไม่มีอํานาจสอบสวน วินัยร้ายแรงผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะต้องส่งเรื่องกลับไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการดําเนินการทางวินัยของ ข้าราชการพลเรือน กรณีตามฟ้องจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้ฟ้องว่า ก.ต. ดําเนินการไม่ถูกต้องตามรูปแบบ กระบวนการ หรือขั้นตอนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 อย่างไร ที่จะเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 9 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้น ที่ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ด้วยเหตุคดีไม่อยู่ในอํานาจศาลปกครอง จึงเป็นการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย
อนึ่ง หลังจากยื่นคําฟ้องคดีนี้แล้วผู้ฟ้องคดียื่นคําขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เพื่อรอคําวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น
แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5ยังคงดําเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อไป
โดยแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ฟ้องคดี เป็นหนังสือลงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ว่าขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่าศาลปกครองมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราว ในกรณีนี้ จึงไม่มีเหตุที่จะขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5ยังคงดําเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงโดยอาศัยคําสั่งแต่งตั้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อไป จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีอย่างมาก เนื่องจากเมื่อมีการสอบสวน แล้วเสร็จ จะต้องเสนอเรื่องที่สอบสวนนี้ให้ ก.ต. พิจารณา ซึ่งอาจจะมีข้อโต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีจะฟ้อง ขอเพิกถอนคําวินิจฉัยของ ก.ต. ได้หรือไม่ ทั้งที่คําวินิจฉัยเกิดจากการออกคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคําสั่งกลับคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคําฟ้อง ของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา และมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
ผู้ฟ้องคดี ชี้แจงต่อศาลสรุปได้ว่า ในระหว่างที่ผู้ฟ้องคดียื่นคําร้องอุทธรณ์คําสั่งต่อ ศาลปกครองสูงสุด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ที่ 404/2565 เรื่อง ไล่ข้าราชการศาลยุติธรรมออกจากราชการ ลงวันที่ 22 เมษายน 2565 โดยอาศัยอํานาจ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
แต่ในขณะที่ผู้ฟ้องคดี ได้ลาออกจากราชการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ที่ 318/2565 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีลาออกจากราชการโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
การดําเนินการทางวินัยต่อผู้ฟ้องคดีจึงอยู่ในอํานาจของ ก.ศ. มิใช่อยู่ในอํานาจของ ก.ต. แต่อย่างใด
ศาลปกครองสูงสุด พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ใน อํานาจศาลปกครอง (2) การดําเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้อาศัยอํานาจ ตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา 75 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ออกคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ลับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 เป็นคณะกรรมการ สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี สืบเนื่องจากในขณะที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งเลขาธิการ สํานักงานศาลยุติธรรมอยู่นั้น ได้มีผู้ร้องเรียนเป็นหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ขอให้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในขณะนั้นได้มีคําสั่งประธานศาลฎีกา ลับ ที่ 15/2563 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 และคําสั่งประธานศาลฎีกา ลับ ที่ 20/2563 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้น คณะกรรมการดังกล่าวได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ มีความเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งในขณะที่มีการรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริง ผู้ฟ้องคดีได้พ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 แล้ว
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการ ออกคําสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเพิกถอนคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม สับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2564 นั้น
เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกคําสั่งดังกล่าวเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายในฐานะที่เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลยุติธรรม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม เป็นไปตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการกําหนดไว้ และโดยที่การตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย อย่างร้ายแรงดังกล่าวเป็นกรณีที่สืบเนื่องมาจากผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อครั้งผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่ง เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมที่ถูกร้องเรียนกล่าวหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคาร ศาลจังหวัดพระโขนงว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่
โดยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในขณะนั้นมีคําสั่งแต่งตั้งเห็นว่ามีมูลตามที่มีการกล่าวหา
กรณีจึงต้องดําเนินการ ทางวินัยกับผู้ฟ้องคดี โดยมีการออกคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงต่อไป อันเป็นขั้นตอนที่เป็นสาระสําคัญเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหา ซึ่งจะต้อง ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนด
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าว ดําเนินการแล้วเสร็จก็จะต้องรายงานผลการสอบสวนและเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ที่กฎหมายกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดวินัยหรือไม่ เพื่อที่จะนําไปสู่การออกคําสั่งลงโทษทางวินัยต่อไป ในเมื่อกระบวนการตั้งแต่การสอบสวนข้อเท็จจริง ได้เริ่มดําเนินการในขณะที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม และต่อเนื่อง จนถึงผู้ฟ้องคดีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาพิเศษประจําสํานักงานศาลยุติธรรม
จึงถือได้ว่า เป็นการดําเนินการทางวินัยที่สืบเนื่องกันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน พ.ศ. 2544 กรณีจึงถือว่า การแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงตามคําสั่งสํานักงานศาลยุติธรรม ลับ ที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดําเนินการของ ก.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กรณีจึงเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีฟังไม่ขึ้น
สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดียื่นคําชี้แจงต่อศาลว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคําสั่งสํานักงาน ศาลยุติธรรม ที่ 318/2565 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีลาออกจากราชการ โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การดําเนินการทางวินัย ต่อผู้ฟ้องคดีจึงอยู่ในอํานาจของ ก.ศ. นั้น เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนวินัยร้ายแรงผู้ฟ้องคดี เป็นกระบวนการสืบเนื่องมาจากผลการสอบข้อเท็จจริงที่ดําเนินการ ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดําเนินการ ของ ก.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม การที่ผู้มีอํานาจออกคําสั่ง อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีลาออกจากราชการจึงเป็นคนละกรณีกับการมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทางวินัยที่เป็นเหตุพิพาทในคดีนี้ คําชี้แจงของผู้ฟ้องคดีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคําวินิจฉัยข้างต้น
ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 หยุดการสอบสวนทางวินัยไว้ก่อน นั้น เห็นว่า ในชั้นนี้ ศาลปกครองสูงสุดมีประเด็นต้องพิจารณาตามคําร้องอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาแต่เพียงว่า ศาลปกครองสามารถรับคําฟ้องคดีนี้ของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้หรือไม่ ส่วนเรื่องวิธีการชั่วคราว ก่อนการพิพากษาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหากเมื่อศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องไว้พิจารณาแล้วเท่านั้น กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่อาจพิจารณาคําขอเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคําขอ ของผู้ฟ้องคดีได้
การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาและให้จําหน่ายคดี ออกจากสารบบความ และเมื่อศาลไม่รับคําฟ้องนี้ไว้พิจารณาแล้ว คําขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา จึงไม่จําต้องพิจารณา นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
จึงมีคําสั่งยืนตามคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
***************
ถือเป็นการจบสิ้นกระบวนการฟ้องร้องในคดีนี้เป็นทางการ
อ่านข่าวในเรื่องเดียวกัน
- ศาลปค.สูงสุด ยืนไม่รับคำฟ้อง ‘สราวุธ' ขอเพิกถอนกก.สอบวินัยร้ายแรงคดีพระโขนง
- ก.ต. ลงมติ 8:7 ไล่ออก 'สราวุธ' คดีศาลพระโขนง - เสียงข้างมากชี้ผิดวินัยร้ายแรง
- วิจารณ์ขรม! 'บิ๊กตู่' ตั้ง 'สราวุธ' รอง ปธ. อ.ก.ตร.อุทธรณ์ ทั้งที่ถูกสอบคดีศาลพระโขนง
- ให้รอผลสอบวินัยร้ายแรงก่อน! มติ ก.ต. 8 ต่อ 7 ไม่พักราชการ 'สราวุธ' คดีศาลพระโขนง
- @สร้างศาลพระโขนงใหม่ 304 ล้าน
- เทียบชัด! เอกสารแบ่งงวดงาน-หนังสือร้องสอบ ปมสร้างศาลพระโขนง 304 ล.เสร็จจริงไหม?
- ACT ขยายผล‘อิศรา’! เปิดไส้ในงานงวดสุดท้ายสร้างศาลพระโขนง 304 ล.ใช้ได้บัลลังก์เดียว
- เจาะไส้ใน! ประมูลสร้างศาลพระโขนง 304 ล.ไฉนตรวจรับงานแล้วใช้ได้บัลลังก์เดียว?
- ยังไม่ทราบปัญหา! เปิดตัวเอกชนสร้างศาลพระโขนง 304 ล.-คู่สัญญารัฐ 2.5 พันล.
- เบื้องหลัง! สร้างศาลพระโขนงใช้งบ 304 ล.ไฉนไม่เสร็จ? ได้แค่บัลลังก์เดียว-ลิฟต์ 1 ชุด
- ชงเลขาฯศาลสอบ! ศาลพระโขนงใหม่ 304 ล.สร้างเสร็จแล้ว ใช้ได้บัลลังก์เดียว-ลิฟต์ 1 ตัว
- @ปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล้าน
- ผู้รับเหมามาคุยก่อน! เจาะผลสอบลับ สตง. คดีปรับปรุงศาลพระโขนง-เอกชนทำงานก่อนถูกจ้าง?
- ขอความเป็นธรรม!‘บิ๊ก สนง.ศาล’ขอแจงคดีปรับปรุงศาลพระโขนง-ขีดเส้นภายใน 5 ก.ค.
- ออกหมายจับ‘อดีตคนขับรถ’กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา-ตร.ลุยค้นบ้านแต่ไม่พบตัว
- ออกหมายเรียก 2 ครั้งแต่ไม่มา! ตร.จ่อดำเนินคดี‘คนขับรถ’กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา
- คนขับรถ กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษาชิงลาออก! ตร.ตามตัวมาให้ถ้อยคำเอง-ขยายผลสอบต่อ
- ตร.ประสานเป็นทางการ! ขอตัว‘คนขับรถ’ กก.ป.ป.ช.ให้ถ้อยคำปมสะกดรอยผู้พิพากษา
- มติ ก.ต. ข้างมาก 10:5 มีอำนาจดำเนินการทางวินัยร้ายแรง‘บิ๊กศาล ยธ.’คดีศาลพระโขนง
- ก.ต.เลื่อนถกผลสอบคดีศาลพระโขนง 17 พ.ค.! ‘บิ๊ก สนง.ศาลฯ’ตัวละครสำคัญติดโควิด-19
- ก่อนเลื่อนประชุม! โชว์หนังสือ‘บิ๊ก สนง.ศาล’ ขอความเป็นธรรม-ค้าน ก.ต.ถกผลคดีศาลพระโขนง
- บิ๊ก สนง.ศาล’ทำโนติสค้าน-อ้าง ก.ต.ไร้อำนาจสอบ! เลื่อนถกผลคดีศาลพระโขนง 3 พ.ค.
- จับตาประชุม ก.ต. 19 เม.ย.พิจารณาวาระร้อน! ผลสอบข้อเท็จจริงปมปรับปรุงศาลพระโขนง
- ขมวดปมร้อน! คดีปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.ก่อนลามสะกดรอยผู้พิพากษา?
- ยื่นโนติสค้าน กก.ป.ป.ช.เจ้าของสำนวนคดีศาลพระโขนง อ้างสนิท‘บิ๊ก สนง.ศาล’ผู้ถูกกล่าวหา
- เตรียมเรียกคนขับมาให้ถ้อยคำ! โฆษก บช.น.ยันสอบอยู่ปมผู้พิพากษาถูกสะกดรอย
- เหตุเกิดที่ศาลอุทธรณ์! โชว์ภาพชุดคนขับรถประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา?
- กก.ป.ป.ช.ขอโทษผู้พิพากษา! ปัดสั่งคนขับรถสะกดรอย-ปธ.ศาลฎีกาให้เลขาฯศาลดูแล
- ‘คนขับรถ’ประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา! โยงเปิดโปงคดีปรับปรุงศาลพระโขนง
- โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ 87.5 ล.ก่อน คตง.ชง ป.ป.ช.สอบส่อฮั้วประมูล?
- เข้าข่าย พ.ร.บ.ฮั้ว! มติ คตง.ส่งเรื่องปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.ให้ ป.ป.ช.สอบแล้ว
- ตามไปดู! 'คู่เทียบ' แข่งงานปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-ผู้บริหารฯ ยังไม่ให้สัมภาษณ์
- เผยโฉม! ที่ตั้ง บ.โปรเกรสฯ ผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-พนง.อยู่ไซต์งานกันหมด
- โพรไฟล์ บ.แสนคำภูฯ ก่อนปรับปรุงศาลตลิ่งชัน-เคยได้งานสร้างบ้านพักผู้พิพากษาสระบุรี 22 ล.
- ปรับปรุงศาลตลิ่งชัน บ.แสนคำภูฯ ชนะ 47.4 ล.เท่าราคากลางเป๊ะ คู่เทียบเดิมศาลมีนฯ-พระโขนง
- โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี ก่อน ปธ.ศาลฎีกาตั้ง กก.สอบทางการ
- เป็นทางการ! ปธ.ศาลฎีกาลงนามคำสั่งตั้ง กก.สอบปมปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง 42.3 ล.แล้ว
- โชว์บันทึกผู้รับเหมาเข้าปรับปรุงพื้นที่ศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะประมูล 2 เดือน
- ละเอียด! ที่มา บ.โปรเกรสฯ ก่อนชนะประมูลคู่สัญญาปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.
- โชว์เอกสารผู้ควบคุมงานแจ้งขอเข้าปรับปรุงศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะเสนอราคา 3 เดือน
- อีกแห่ง! บ.โปรเกรสฯคว้างานปรับปรุงศาลมีนบุรี 45.2 ล.-2 คู่เทียบเดิม
- ‘ออกัสท์-ศรีกรุงทวีกิจฯ’ 2 คู่เทียบประมูลงานปรับปรุงศาลพระโขนง ได้สัญญารัฐ 2.6 พันล.
- ปธ.ศาลฎีกาลุยสอบเอง! ปมเอกชนสำรวจพื้นที่ก่อนประกวดราคาปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.
- เปิดตัว 2 คู่เทียบ! ปรับปรุงศาลพระโขนงก่อน บ.โปรเกรสฯคว้างานต่ำกว่าราคากลาง 4.2 หมื่นบ.
- ก่อนได้งานปรับปรุงศาลพระโขนง-บ.โปรเกรสซีวิลฯ คู่สัญญา สนง.ศาลยุติธรรม 812 ล.
- เรื่องเล่าจาก...อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง
- ผู้พิพากษาไม่จ่ายเงินจ้างปรับปรุงศาลพระโขนง อ้างมีกรณีเอื้อปย.-เลขาฯ ศาล ยันทำถูกต้อง
- จ่ายเงินครบแล้ว! เลขาฯศาล ยธ.ไม่รู้ปมเอกชนเข้าไปสำรวจก่อนคว้างาน-หน้าที่ศาลพระโขนงสอบ
- ต้องทำตามกฎหมาย! ปธ.ศาลฎีกาเผย ก.ต.สั่งสอบปมผู้พิพากษาร้องปรับปรุงศาลพระโขนงแล้ว
- เปิดตัว‘โปรเกรส ซีวิลฯ’เอกชนผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.-ผู้บริหารยังไม่พร้อมแจง
- ผู้พิพากษาแจ้งความโดน 2 จนท.สตง. 'ล็อบบี้' ไม่รับรองหลักฐานคดีเอื้อปย.ปรับปรุงศาลพระโขนง
- โชว์บันทึกแจ้งความ! กล่าวหา 2 จนท.สตง. ล็อบบี้ไม่รับรองหลักฐานคดีปรับปรุงศาลพระโขนง