“...ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการศาลยุติธรรมเฉพาะกรณีข้าราชการตุลาการโอนมาจากข้าราชการศาลยุติธรรมเท่านั้น ส่วนกรณีตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 22 (1) ระบุให้ ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแต่เฉพาะเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเท่านั้น หาได้รวมถึงตำแหน่งอื่นของข้าราชการศาลยุติธรรมไม่…”
................................................................
เป็นอีกเงื่อนปมหนึ่งที่กำลังเขย่าแวดวงกระบวนการยุติธรรมไทย!
กรณีโครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง วงเงิน 42.3 ล้านบาท ที่ปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีเอกชนเข้าไปปรับปรุงอาคารก่อนที่สำนักงานศาลยุติธรรมจะประกาศจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นทางการ นำไปสู่การที่นายไสลเกษ วัฒนพันธ์ ประธานศาลฎีกา (ขณะนั้น) แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีการกล่าวหา ‘ผู้บริหารระดับสูง’ ในสำนักงานศาลยุติธรรมรายหนึ่ง
กระทั่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว พิจารณาพยานหลักฐานและคำชี้แจงต่าง ๆ แล้วเสร็จ จึงสรุปผลสอบ ชงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) โดยเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุม ก.ต. ได้พิจารณาวาระผลสอบข้อเท็จจริงโครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนงดังกล่าวด้วย แต่เป็นเรื่องที่ถูกนำมาพิจารณาในช่วงท้ายของการประชุม
ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานศาลยุติธรรม ที่เป็นผู้ถูกกล่าวหากรณีนี้ทำหนังสือคัดค้าน และหนังสือขอความเป็นธรรมแก่ที่ประชุม ก.ต. ในหลายประเด็น สาระสำคัญคืออ้างว่า ก.ต. ไม่มีอำนาจสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ ส่งผลให้ที่ประชุม ก.ต. ถกเถียงข้อกฎหมายกันอย่างกว้างขวาง กระทั่ง ก.ต. เสียงข้างน้อย เสนอว่า เห็นควรเลื่อนการพิจารณาวาระนี้ออกไปก่อน โดยในวันที่ 3 พ.ค. 2564 จะมีการนำวาระนี้มาพิจารณาใหม่อีกครั้ง (อ่านประกอบ : บิ๊ก สนง.ศาล’ทำโนติสค้าน-อ้าง ก.ต.ไร้อำนาจสอบ! เลื่อนถกผลคดีศาลพระโขนง 3 พ.ค.)
หนังสือคัดค้าน และหนังสือขอความเป็นธรรมของ ‘ผู้บริหารระดับสูง’ ในสำนักงานศาลยุติธรรม ระบุเหตุผลอะไรบ้าง ถึงกับทำให้ ก.ต. ต้องเลื่อนวาระการพิจารณาเรื่องนี้ออกไป?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สรุปให้ทราบ ดังนี้
หนังสือขอความเป็นธรรม เรียน ก.ต. ลงวันที่ 16 เม.ย. 2564 ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเชิญตนไปให้ถ้อยคำเป็นพยาน เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 เวลา 09.00 น. ตามคำสั่งประธานศาลฎีกา ที่ 15/2563 และที่ 20/2563 กรณีนายสมชาติ ธัญญาวินิชกุล ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และนายนรพัฒน์ สุจิวรกุล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา (ขณะนั้น) มีหนังสือถึง ก.ต. ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ตนเองนั้น
ตนขอความเป็นธรรมต่อ ก.ต. ดังต่อไปนี้
1.เนื่องจาก ก.ต. เชิญไปให้ถ้อยคำเป็นพยาน แต่ยังไม่ให้โอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง ตลอดจนนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ในข้อที่เป็นผลร้ายต่อตน และเมื่อเสร็จสิ้นการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้นแล้ว ถ้ามีข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายต่อตน ขอโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงนั้นก่อน ตามประกาศ ก.ต. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ พ.ศ. 2544 ข้อ 6, 9 โดยตนขอความเป็นธรรมต่อ ก.ต. แล้ว ตามหนังสือขอความเป็นธรรม ลงวันที่ 16 เม.ย. 2564
2.ตนรับราชการเป็นข้าราชการตุลาการตั้งแต่ปี 2534 และได้โอนเป็นข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรมในตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปี 2549 ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานศาลยุติธรรม ก่อนจะถูกโอนย้ายไปตำแหน่งอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม ตนจึงมีฐานะเป็นข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรมตั้งแต่ปี 2549 การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการศาลยุติธรรมเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 73
ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการศาลยุติธรรมเฉพาะกรณีข้าราชการตุลาการโอนมาจากข้าราชการศาลยุติธรรมเท่านั้น ส่วนกรณีตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 22 (1) ระบุให้ ก.ต. มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแต่เฉพาะเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเท่านั้น หาได้รวมถึงตำแหน่งอื่นของข้าราชการศาลยุติธรรมไม่
นอกจากนี้แล้วการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการศาลยุติธรรมจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ข้อ 57 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีที่มีการย้าย การโอน หรือการเลื่อนผู้ถูกกล่าวหา อันมีผลทำให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเปลี่ยนไป ให้ผู้บังคับบัญชาเดิมส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาใหม่ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมต่อไป
หนังสือคัดค้านการพิจารณาและลงมติของ ก.ต. ลงวันที่ 16 เม.ย. 2564 มีการแนบเอกสารข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 70 หน้า ระบุว่า ตามที่มีคำสั่งประธานศาลฎีกา ลับ ที่ 15/2563 ลงวันที่ 16 ก.ค. 2564 และคำสั่งประธานศาลฎีกา ลับ ที่ 20/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และตนมีหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ฉบับลงวันที่ 16 เม.ย. 2564 นั้น
ขอคัดค้านนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล รองประธานแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ และ ก.ต. (นายอนุรักษ์เป็นผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลโครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง) ในการพิจารณาและลงมติในเรื่องดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 45 วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13, 16 และข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. 2543 ข้อ 16 จึงเรียนมาเพื่อขอความเป็นธรรมต่อไป
นี่คือเหตุผลของ ‘ผู้บริหารระดับสูง’ ในสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ทำหนังสือขอความเป็นธรรม-คัดค้านการทำหน้าที่ของ ก.ต. เกี่ยวกับการพิจารณาผลสอบข้อเท็จจริง โครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง วงเงิน 42.3 ล้านบาท
ที่กำลังสั่นสะเทือนแวดวงตราชั่ง และลุกลามบานปลายออกไปนอกสำนวน มีการกล่าวหาเรื่องการขับรถสะกดรอยผู้พิพากษาอยู่ในตอนนี้
สุดท้ายบทสรุปจะออกมาเป็นเช่นไร ต้องติดตามในการประชุม ก.ต. วันที่ 3 พ.ค.
อ่านประกอบ :
บิ๊ก สนง.ศาล’ทำโนติสค้าน-อ้าง ก.ต.ไร้อำนาจสอบ! เลื่อนถกผลคดีศาลพระโขนง 3 พ.ค.
จับตาประชุม ก.ต. 19 เม.ย.พิจารณาวาระร้อน! ผลสอบข้อเท็จจริงปมปรับปรุงศาลพระโขนง
ขมวดปมร้อน! คดีปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.ก่อนลามสะกดรอยผู้พิพากษา?
ยื่นโนติสค้าน กก.ป.ป.ช.เจ้าของสำนวนคดีศาลพระโขนง อ้างสนิท‘บิ๊ก สนง.ศาล’ผู้ถูกกล่าวหา
เตรียมเรียกคนขับมาให้ถ้อยคำ! โฆษก บช.น.ยันสอบอยู่ปมผู้พิพากษาถูกสะกดรอย
เหตุเกิดที่ศาลอุทธรณ์! โชว์ภาพชุดคนขับรถประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา?
กก.ป.ป.ช.ขอโทษผู้พิพากษา! ปัดสั่งคนขับรถสะกดรอย-ปธ.ศาลฎีกาให้เลขาฯศาลดูแล
‘คนขับรถ’ประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา! โยงเปิดโปงคดีปรับปรุงศาลพระโขนง
โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ 87.5 ล.ก่อน คตง.ชง ป.ป.ช.สอบส่อฮั้วประมูล?
เข้าข่าย พ.ร.บ.ฮั้ว! มติ คตง.ส่งเรื่องปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.ให้ ป.ป.ช.สอบแล้ว
ตามไปดู! 'คู่เทียบ' แข่งงานปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-ผู้บริหารฯ ยังไม่ให้สัมภาษณ์
เผยโฉม! ที่ตั้ง บ.โปรเกรสฯ ผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-พนง.อยู่ไซต์งานกันหมด
โพรไฟล์ บ.แสนคำภูฯ ก่อนปรับปรุงศาลตลิ่งชัน-เคยได้งานสร้างบ้านพักผู้พิพากษาสระบุรี 22 ล.
ปรับปรุงศาลตลิ่งชัน บ.แสนคำภูฯ ชนะ 47.4 ล.เท่าราคากลางเป๊ะ คู่เทียบเดิมศาลมีนฯ-พระโขนง
โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี ก่อน ปธ.ศาลฎีกาตั้ง กก.สอบทางการ
เป็นทางการ! ปธ.ศาลฎีกาลงนามคำสั่งตั้ง กก.สอบปมปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง 42.3 ล.แล้ว
โชว์บันทึกผู้รับเหมาเข้าปรับปรุงพื้นที่ศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะประมูล 2 เดือน
ละเอียด! ที่มา บ.โปรเกรสฯ ก่อนชนะประมูลคู่สัญญาปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.
โชว์เอกสารผู้ควบคุมงานแจ้งขอเข้าปรับปรุงศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะเสนอราคา 3 เดือน
อีกแห่ง! บ.โปรเกรสฯคว้างานปรับปรุงศาลมีนบุรี 45.2 ล.-2 คู่เทียบเดิม
‘ออกัสท์-ศรีกรุงทวีกิจฯ’ 2 คู่เทียบประมูลงานปรับปรุงศาลพระโขนง ได้สัญญารัฐ 2.6 พันล.
ปธ.ศาลฎีกาลุยสอบเอง! ปมเอกชนสำรวจพื้นที่ก่อนประกวดราคาปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.
เปิดตัว 2 คู่เทียบ! ปรับปรุงศาลพระโขนงก่อน บ.โปรเกรสฯคว้างานต่ำกว่าราคากลาง 4.2 หมื่นบ.
ก่อนได้งานปรับปรุงศาลพระโขนง-บ.โปรเกรสซีวิลฯ คู่สัญญา สนง.ศาลยุติธรรม 812 ล.
เรื่องเล่าจาก...อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง
ผู้พิพากษาไม่จ่ายเงินจ้างปรับปรุงศาลพระโขนง อ้างมีกรณีเอื้อปย.-เลขาฯ ศาล ยันทำถูกต้อง
จ่ายเงินครบแล้ว! เลขาฯศาล ยธ.ไม่รู้ปมเอกชนเข้าไปสำรวจก่อนคว้างาน-หน้าที่ศาลพระโขนงสอบ
ต้องทำตามกฎหมาย! ปธ.ศาลฎีกาเผย ก.ต.สั่งสอบปมผู้พิพากษาร้องปรับปรุงศาลพระโขนงแล้ว
เปิดตัว‘โปรเกรส ซีวิลฯ’เอกชนผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.-ผู้บริหารยังไม่พร้อมแจง
ผู้พิพากษาแจ้งความโดน 2 จนท.สตง. 'ล็อบบี้' ไม่รับรองหลักฐานคดีเอื้อปย.ปรับปรุงศาลพระโขนง
โชว์บันทึกแจ้งความ! กล่าวหา 2 จนท.สตง. ล็อบบี้ไม่รับรองหลักฐานคดีปรับปรุงศาลพระโขนง
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage