เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
“...ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการกำจัดขยะอันตราย แต่อย่างไรก็ตามยังขาดความชัดเจนในด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบและงบประมาณในการดำเนินการระยะยาว...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 29 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบระบบจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดเชียงราย
@ ระบบจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดเชียงราย
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการดำเนินงานระบบจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ผลการตรวจสอบพบประเด็นข้อตรวจพบและข้อสังเกต ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 การคัดแยกขยะมูลฝอย
การคัดแยกขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงรายประจำปีงบประมาณ 2560 โดยสุ่มตรวจสอบในพื้นที่ อปท. จำนวน 48 แห่ง หมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 114 แห่ง และครัวเรือน จำนวน 1,244 ครัวเรือน พบว่าครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน บางส่วนคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การคัดแยกขยะมูลฝอยที่กำหนด ดังนี้
1. การคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน จากการสุ่มตรวจสอบ จำนวน 1,244 ครัวเรือน ดังนี้
1.1 ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยครบถ้วนทั้ง 4 ประเภท โดยครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป จำนวน 490 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 39.39 ของครัวเรือนที่สุ่มตรวจสอบ
1.2 ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยไม่ครบถ้วน จำนวน 754 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 60.61 ของครัวเรือนที่สุ่มตรวจสอบ
2. การคัดแยกขยะมูลฝอยของหมู่บ้าน/ชุมชน จากการสุ่มตรวจสอบ จำนวน 114 แห่ง ดังนี้
2.1 หมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 41 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 35.96 ของหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยครบถ้วนทั้ง 4 ประเภท มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ของครัวเรือนที่สุ่มตรวจสอบซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดแยกขยะมูลฝอยที่กำหนดไว้
2.2 หมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 73 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.04 ของหมู่บ้าน/ชุมชนที่ตรวจสอบ ที่ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยครบถ้วนทั้ง 4 ประเภท น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนที่สุ่มตรวจสอบ ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การคัดแยกขยะมูลฝอยที่กำหนดไว้ ในจำนวนดังกล่าวเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ57.33 ของหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบ 75 แห่ง
ข้อตรวจพบที่ 2 การเก็บรวบรวม ขนส่ง และการกำจัดขยะมูลฝอยนอกศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดเชียงราย
จากการตรวจสอบพื้นที่ อปท. ที่มีจัดการขยะมูลฝอยนอกระบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดเชียงราย จำนวน 40 แห่ง มีรูปแบบการจดัการ 3 รูปแบบ ได้แก่ อปท. บริการเก็บรวบรวมและ ขนส่ง จำนวน 20 แห่ง หมู่บ้านบริหารจัดการ 14 แห่ง และครัวเรือนบริหารจัดการเอง จำนวน 10 แห่ง พบว่า การเก็บรวบรวม ขนส่ง และการกำจัดขยะมูลฝอยไม่เป็นไปตามเกณฑ์การตรวจสอบที่กำหนด ดังนี้
2.1 การเก็บรวบรวม ขนส่ง ขยะมูลฝอยนอกศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดเชียงราย
2.1.1 การเก็บรวบรวมขนส่งขยะมูลฝอยโดย อปท. ซึ่ง อปท. จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 พาหนะที่ใช้ขนส่งมีภาชนะที่ปิดมิดชิด พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดเก็บขยะมูลฝอย ของ อปท. มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย และอปท. จำนวน 17 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85 ไม่ได้เก็บขนขยะมูลฝอยแยกประเภท แต่ให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอยได้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้ง อปท. จำนวน 9 แห่ง ไม่ได้จัดอบรมความรู้ในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงาน
2.1.2 การเก็บรวบรวมขนส่งขยะมูลฝอย โดยหมู่บ้านบริหารจัดการพื้นที่ อปท. ที่หมู่บ้านบริหารจัดการด้านขยะเอง จำนวน 14 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 พาหนะที่ใช้ขนส่งขยะมูลฝอย ไม่มีภาชนะที่ปิดมิดชิด และไม่ได้จัดเก็บแยกประเภท โดยขนส่งขยะมูลฝอยทุกชนิดปะปนกัน แต่การเก็บขยะมูลฝอยมีการเก็บขนครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ และพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดเก็บขยะมูลฝอย จำนวน 12 ราย จาก 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.71 ไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย 2.2 การกำจัดขยะมูลฝอย นอกระบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดเชียงราย
2.2.1 การกำจัดขยะมูลฝอยโดย อปท. พื้นที่ที่ อปท.มีการบริการกำจัดขยะมูลฝอย จำนวน 17 แห่ง เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการเทกอง จำนวน 12 แห่ง และกำจัดขยะมูลฝอย โดยวิธีการเตาเผา จำนวน 5 แห่ง โดย
(1) สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการเทกอง ไม่เป็นไปตามรายการประเมินตรวจสอบสมรรถนะการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยสำหรับการเทกองที่มีการควบคุม (Controlled Dump) การจัดการ 4 ด้าน จำนวน 15 ข้อกำหนด เช่น การจัดการด้านพื้นที่ อปท. จำนวน 7 แห่ง จาก 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63.64 ไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดการจัดการด้านพื้นที่ทั้ง 3 ข้อ และ การบริหารจัดการ อปท. จำนวน 10 แห่ง จาก 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 90.91 ไม่ดำเนินการหรือดำเนินการเพียง 1 ข้อ ได้แก่ การบดอัดมูลฝอย เจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ การควบคุมมูลฝอยเข้าสู่พื้นที่ เป็นต้น
(2) สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการเตาเผา ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน 9 ข้อ ตามมาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล บทที่ 3 เทคนิคการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ข้อ 3.10.2(2) โดย อปท. 4 แห่ง จาก 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 ไม่ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดทั้ง 9 ข้อ ซึ่งข้อกำหนดบางข้อสามารถดำเนินการได้ภายใต้ศักยภาพของ อปท. ได้แก่ ข้อกำหนดข้อที่ 1-6 และข้อที่ 9
2.2.2 การกำจัดขยะมูลฝอยโดยหมู่บ้านบริหารจัดการของพื้นที่ อปท. จำนวน 14 แห่ง เป็นสถานที่กำจัดโดยการเทกอง และเผากลางแจ้ง ไม่มีการจัดการบริเวณสถานที่กำจัด
2.2.3 การกำจัดขยะมูลฝอยของครัวเรือนของพื้นที่ อปท. จำนวน 10 แห่ง มีการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการฝัง และเผาบริเวณบ้านหรือพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง
ข้อตรวจพบที่ 3 การบริหารจัดการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยของ อปท. ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีจำนวน 3 แห่ง ได้รับเงินงบประมาณจากภาครัฐและอปท.สมทบ จำนวนเงิน 520.42 ล้านบาท ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย จำนวน 322.21 ล้านบาท เทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 160.38 ล้านบาท และเทศบาลตำบลห้วย ไคร้ จำนวน 37.83 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่าการบริหารจัดการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยทั้ง 3 แห่ง มีปัญหาอุปสรรค ดังนี้
(1) ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ทั้ง 3 แห่ง บ่อฝังกลบใกล้เต็ม รองรับขยะมูลฝอยได้ถึง พ.ศ.2561-2562
(2) ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย 2 แห่ง อาคารและเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ได้ใช้ประโยชน์โดย โครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมลูฝอยแบบครบวงจรเทศบาลนครเชียงราย ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2554 อาคารและเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จำนวนเงิน 205,640,257.42 บาท และค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเพื่อบำรุงรักษา จำนวนเงิน 1,081,316.88 บาท รวมเงินจำนวน 206,721,574.30 บาท และทต.แม่สาย ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย อาคารหมักมูลฝอยทำปุ๋ย อาคารเก็บปุ๋ยหมัก งานบ่อหมักสิ่งปฏิกูล และเครื่องจักรอุปกรณ์ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนเงิน 32,792,700.18 บาท เป็นการใช้จ่ายเงินไม่คุ้มค่า รวมทั้งสิ้นจำนวนเงิน 239,514,274.48 บาท
(3) เทศบาลทั้ง 3 แห่งตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินและผิวดิน ประจำปีงบประมาณ 2559-2560 ไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ข้อ 8 และรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาความเหมาะสม เช่น ตรวจสอบน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน ปีละ 1 ครั้ง ไม่ได้ตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง หรือ ตรวจสอบเฉพาะน้ำใต้ดินไม่ได้ตรวจสอบน้ำผิวดิน เป็นต้น
ข้อสังเกตที่ 1 การจัดการขยะอันตราย
จากการตรวจสอบการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายของหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 114 แห่ง และการจัดตั้งสถานที่เก็บกักขยะอันตรายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 48 แห่ง รวมทั้งการกำจัดขยะอันตรายของจังหวัดเชียงราย พบว่า
(1) หมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 32 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28.07 ไม่มีการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตราย และหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 82 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.93 มีการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตราย แต่จำนวน 69 แห่ง มีการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายไม่เป็นไปตามเกณฑ์การตรวจสอบที่กำหนด
(2) อปท. จำนวน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31.25 ไม่มีการจัดตั้งสถานที่เก็บกักขยะอันตราย และ อปท. จำนวน 33 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 68.75 มีการจัดตั้งสถานที่เก็บกักขยะอันตราย แต่ อปท. จำนวน 29 แห่ง มีสถานที่เก็บกักขยะอันตรายไม่เป็นไปตามเกณฑ์การตรวจสอบที่กำหนด
(3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการกำจัดขยะอันตราย แต่อย่างไรก็ตามยังขาดความชัดเจนในด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบและงบประมาณในการดำเนินการระยะยาว
ข้อสังเกตที่ 2 รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอยไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
จากการตรวจสอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอยประจำปีงบประมาณ 2559 ของ อปท. จำนวน 31 แห่ง พบว่า อปท. มีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอยต่ำกว่าอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงและไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอย โดย อปท. จำนวน 30 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 96.77 ของ อปท. ที่สุ่มตรวจสอบ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอย
ข้อสังเกตที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะไม่รัดกุม
จากการตรวจสอบการเก็บข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยปีงบประมาณ 2559 โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของ อปท. จำนวน 48 แห่ง พบว่า อปท. ส่วนใหญ่เก็บข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย เพื่อบันทึกและรายงานข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยตามแบบสำรวจเพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มฝ.1) และแบบรายงานการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยประจำเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2560 (มฝ.2) ไม่รัดกุม โดยมี อปท. เพียง 10 แห่ง ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะตามปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจริง อปท. จำนวน 38 แห่ง จัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะไม่ได้จัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยตามปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจริง แต่จะคำนวณจากค่าเฉลี่ยของอัตราการเกิดขยะมูลฝอยในพื้นที่ หรือ จากปริมาตรบรรจุของรถเก็บขยะ หรืออัตราการเกิดขยะมูลฝอยเฉลี่ยของประเทศ ทำให้ข้อมูลปริมาณขยะไม่ตรงตามปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจริง
ข้อสังเกตที่ 4 สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยไม่ได้รับอนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย
จากการตรวจสอบ อปท. ที่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย รวม 31 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของ อปท. จำนวน 8 แห่ง ได้รับอนุญาตใช้ที่ดินตามกฎหมาย และ อปท. จำนวน 23 แห่ง ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรมป่าไม้ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้รายงานผลการดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ตามหนังสือ ที่ ชร 0023.3/9494 ลงวันที่ 20 เมษายน 2561 สรุปได้ดังนี้ อปท. จำนวน 19 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดิน และ อปท. จำนวน 3 แห่ง ยังไม่ได้ดำเนินการ
ข้อสังเกตที่ 5 โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทศบาลนครเชียงราย
ข้อเสนอแนะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดเชียงราย) ดำเนินการ ดังนี้
1. สั่งกำชับให้นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.1 ให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อเนื่องเกี่ยวกับการคัดแยกใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย และการจัดการขยะอันตรายให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559–2560) และแผนปฏิบัติการ “เชียงรายไร้ขยะ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559–2560) ตามแนวทางประชารัฐภายใต้ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559–2564 โดยเคร่งครัด ดังนี้
1.1.1 กำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการลด การคัดแยก ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย โดย
(1) ส่งเสริมและขยายผลให้เกิดกลไกการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุด ตั้งแต่บ้านเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมทั้งสถานบริการต่างๆ ทั้งในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยว เช่น การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม สนับสนุน และการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนตั้งแต่ระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และการมีส่วนร่วมในการลด การคัดแยกขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณ
(2) เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
1.1.2 ติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตามข้อเสนอแนะข้อ
1.1.1 เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบ เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้รับการประเมินให้เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน
1.1.3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 14 แห่ง ซึ่งมีหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวน 20 แห่ง ที่ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอย ร้อยละ 0 ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบที่ 1.2.2 (2) ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน การลด คัดแยก ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย โดย ให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะมูลฝอยทั้ง 4 ประเภท และมีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง และรายงานการดำเนินการให้จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ต่อไป
1.2 อปท. จำนวน 40 แห่ง และ อปท. อื่นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ไม่ได้ตรวจสอบกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสุขาภิบาล ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบที่ 2.2.1 โดยปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ดังนี้
1.2.1 อปท. จำนวน 10 แห่ง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการเทกองให้ดำเนินการด้านการจัดการพื้นที่ ความครบถ้วนด้านโครงสร้างพื้นฐานในสถานที่กำจัดมูลฝอย ความครบถ้วนของสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการเป็นไปตามข้อกำหนด โดยเฉพาะข้อกำหนดที่ 10 การบดอัดมูลฝอย ข้อ 11 มีการกลบทับมูลฝอยด้วยวัสดุกลบทับ และข้อ 12 การควบคุมผู้คุ้ยเขี่ยมูลฝอย (ตารางที่ 9) ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน
1.2.2 อปท. จำนวน 5 แห่ง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการเตาเผา ให้ดำเนินการตามข้อกำหนด จำนวน 9 ข้อ (ตารางที่ 10) ตามมาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล บทที่ 3 เทคนิคการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
1.2.3 อปท. จำนวน 24 แห่ง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่บริหารจัดการโดยหมู่บ้านและครัวเรือน เร่งรัดดำเนินการเพื่อให้มีการบริหารจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสุขาภิบาลและเปน็ไปตามอำนาจหน้าที่ โดยจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูล ฝอยในพื้นที่และดำเนินการตามแผนโดยเร่งด่วน
1.3 จัดอบรมความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานและมีการให้ความรู้หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้กับประชาชนในพื้นที่
1.4 เร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจังหวัด ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นด่วนที่สุด ที่ มท 0810.5/ว 627 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2561 และให้รายงานผลการดำเนินการข้อ 1.2-1.4 ให้จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ต่อไป
1.5 สั่งกำชับให้เทศบาลนครเชียงรายและเทศบาลตำบลแม่สายบริหารการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0808.1/ว502 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเคร่งครัด ดังนี้
1.5.1 ให้นายกเทศมนตรีนครเชียงรายให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องและจริงจังในการบริหารจัดการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากอาคารสิ่งก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ของโครงการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
(1) จัดทำแผนงานการบริหารจัดการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากอาคารคัดแยกขยะและอัดมูลฝอยพร้อมเครื่องจักรอุปกรณ์ อาคารหมักมูลฝอยทำปุ๋ยและบ่อบำบัดน้ำเสีย
(2) เร่งรัดคณะกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนโครงการกำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจรฯ ตามคำสั่งเทศบาลนครเชียงรายที่ 3052/2560 ดำเนินการให้มีการใช้ประโยชน์จากอาคารและสิ่งก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ของโครงการโดยเร็ว
(3) ดำเนินการแก้ไขปัญหาบ่อฝังกลบ ซึ่งพื้นที่ฝังกลบจะเต็มในปี พ.ศ. 2561
(4) รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการใช้ประโยชน์อาคารสิ่งก่อสร้าง และเครื่องมืออุปกรณ์ทุกวันที่ 30 ของเดือนให้จังหวัดเชียงราย เป็นไปตามหนังสือศาลากลางจังหวัดที่ 010023.3/9495 ลงวันที่ 20 เมษายน 2561
1.5.2 ให้นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่สายดำเนินการ ดังนี้
(1) บริหารการใช้ประโยชน์จากโรงหมักปุ๋ย บ่อหมักสิ่งปฏิกูล และเครื่องจักร และอุปกรณ์ระบบหมักปุ๋ย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว โดยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและติดตามประเมินผลการดำเนินการเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบปัญหาและสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันกาล รวมทั้งรายงานผลการบริหารการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินและความคืบหน้าของการดำเนินงานขยายระบบกำจัดขยะมูลฝอยในระยะที่ 2 ให้จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ต่อไป
(2) กรณีมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินเดิม หากพิจารณาเห็นว่าจะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้น เช่น การนำบ่อหมักสิ่งปฏิกูลไปใช้ประโยชน์ ควรได้รับอนุมัติจากผู้บริหารและเสนอให้สภาท้องถิ่นทราบ เป็นไปตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0808.1/ว502 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารการใช้ประโยชน์ จากทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.5.3 การจัดทำโครงการเพื่อจัดการทรัพย์สินในโอกาสต่อไปให้ความระมัดระวัง รอบคอบ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า และรูปแบบการดำเนินการโครงการ ตลอดจนการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์และให้พร้อมใช้ประโยชน์ในโครงการทันที หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อมิให้เกิดเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าวข้างต้น
1.6 ให้เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลตำบลแม่สาย และเทศบาลตำบลห้วยไคร้ ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ข้อ 8 และรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาความเหมาะสมฯ โดยเคร่งครัด
1.7 คัดแยกขยะมูลฝอยและจัดให้มีจดุรวบรวมขยะอันตรายชุมชน และสถานที่เก็บกักขยะอันตราย โดยมีภาชนะและสถานที่เก็บรวบรวมขยะอันตราย ให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559–2560) แจ้งตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท 0810.5/ว0594 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 โดยเคร่งครัด
1.8 อปท. จำนวน 19 แห่ง ที่ไม่มีจุดรวบรวมขยะอันตรายของหมู่บ้าน/ชุมชน และอปท. จำนวน 15 แห่ง ที่ไม่มีสถานที่เก็บกักขยะอันตราย ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตที่ 1 ข้อ 1.1 และ 2.1 ตามลำดับ ให้ดำเนินการจัดให้มีจุดรวบรวมขยะอันตราย และสถานที่ เก็บกักขยะอันตรายให้ครบถ้วน และรายงานผลให้จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ต่อไป
1.9 ให้ อบจ.เชียงราย ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดการขยะอันตราย จัดทำและรายงานข้อมูลการกำจัดขยะอันตรายของ อปท. ต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอันตรายของ อบจ.เชียงราย และที่ไม่เข้าร่วมในปีงบประมาณ 2561 ให้คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย จังหวัดเชียงรายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และบริหารจัดการขยะอันตรายในจังหวัดเชียงรายต่อไป
1.10 ให้ความสำคัญ โดยการจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอยให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
1.11 อปท. จำนวน 22 แห่ง ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตที่ 4 ดำเนินการขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และรายงานผลการดำเนินการให้จังหวัดเชียงรายเพื่อส่งให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 (จังหวัดเชียงใหม่) ต่อไป
2. ให้ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย
2.1 ติดตามและรวบรวมรายงานผลการดำเนินงาน ดังนี้
2.1.1 อปท. จำนวน 14 แห่ง ซึ่งหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 20 แห่ง ที่ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยร้อยละ 0 ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบที่ 1.2.2 (2)
2.1.2 อปท. จำนวน 40 แห่ง ที่กำจัดมูลฝอยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสุขาภิบาล ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบที่ 2.2.1 โดยปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
2.1.3 เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลตำบลแม่สาย และเทศบาลตำบลห้วยไคร้ ตามข้อเสนอแนะข้อ 1.5 – 1.6 เพื่อรายงานให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป
2.1.4 การดำเนินการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายของชุมชน/หมู่บ้าน ให้ครบถ้วน ร้อยละ 100 ตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมทั้งกำชับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายและสถานที่เก็บกักขยะอันตรายที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงรายกำหนด
2.1.5 อปท. จำนวน 19 แห่ง ที่ไม่มีจุดรวบรวมขยะอันตรายของหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 32 แห่ง รวมทั้ง อปท. จำนวน 15 แห่ง ที่ไม่มีสถานที่เก็บกักขยะอันตรายตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตที่ 1 ข้อ 1.1 และ 2.1 ตามลำดับ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2.1.6 อปท. จำนวน 22 แห่งที่ไม่ได้ขออนุญาตหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต ที่ 4 ให้มีการขออนุญาตใช้ที่ดินเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
2.2 ส่งเสริมแนะนำและกำกับองค์กรปกครองส่วนถิ่น ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจังหวัด (Action plan) ในการขับเคลื่อนนโยบายการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนการจัดการด้านการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดขยะมูลฝอยที่ชัดเจน ให้เกิดการปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
3. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดแนวทางการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายและสถานที่เก็บกักขยะอันตราย ที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน โดยให้มีองค์ประกอบและลักษณะการใช้งานที่สามารถป้องกันการแตกชำรุดของขยะอันตรายชุมชน และไม่เกิดอันตรายต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวม รวมทั้งไม่เกิดการปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อม เป็นไปตามหนังสือ ศาลากลางจังหวัดเชียงรายที่ ชร 0023.3/32134 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2560 โดยเร็ว
4. ให้คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดเชียงราย 4.1 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ การคัดแยกขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการลด และการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง
4.2 ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการรวมกลมุ่พื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรวจสอบการดำเนินงานและความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจังหวัด (Action Plan) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุด ที่ มท 0810.5/ว 627 ลว. 7 มีนาคม ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเคร่งครัด
4.3 ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 แห่ง ที่นำขยะไปกำจัดที่ศูนย์ขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลห้วยไคร้ ได้แก่ เทศบาลตำบลห้วยไคร้ อบต.แม่ฟ้าหลวง อบต.ห้วยไคร้ และ โครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการกำจัดขยะมูลฝอยที่ศูนย์กำจัดขยะมูล ฝอยเทศบาลตำบลห้วยไคร้ต่อไป และการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาล ตำบลแม่สาย หากผลการประชุมเห็นว่าการนำขยะไปกำจัดที่ศูนย์ฯ เทศบาลตำบลแม่สาย ทำให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 แห่งข้างต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ของ อปท. ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ให้คณะกรรมการฯ ประสานงานทำความตกลงกับเทศบาลตำบลแม่สาย เพื่อนำขยะมูลฝอยไปกำจัดที่ศูนย์ขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลแม่สายต่อไป
4.4 กำหนดเกี่ยวกับการรวบรวมและกำจัดขยะอันตรายอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยจัดทำแผนปฏิบัติการทั้งในระยะสนั้นและระยะยาว และมอบหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้จัดทำและรายงานข้อมูล อปท. ที่เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอันตรายให้ครบถ้วน เพื่อให้การบริหารจัดการขยะอันตรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
5. เร่งรัดให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งจังหวัดเชียงราย ที่ 4121/61 ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว กรณีศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เทศบาลนครเชียงราย อาคารสิ่งก่อสร้างและเครื่องมืออุปกรณ์ของโครงการไม่ได้ใช้ประโยชน์ ตามบทที่ 2 ผลการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบที่ 3.1 หากพบว่าทำให้ทางราชการเสียหายให้พิจารณาโทษแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี
6. กำกับดูแลการบริหารการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของ อปท. ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าสามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ อปท. ตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทยด่วนมากที่ มท 0808.2/04062 ลงวันที่ 27 กันยายน 2554 โดยเคร่งครัด
7. กำหนดมาตรการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการขยะมูลฝอย ตามร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
8. ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย และท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย สำรวจความพร้อมในด้านการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยของ อปท. ต่างๆ และกำหนดแนวทางในการเก็บข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยให้สอดคล้องกับความพร้อมของ อปท. ที่แตกต่างกัน เพื่อให้การจัดทำฐานข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยของ อปท. เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำมาประเมิน ผลสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ได้
9. การรวมกลุ่มพื้นที่ดำเนินโครงการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของ อปท. (Cluster) เพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับแผนดำเนินการและแนวทางการบริหารจัดการ เช่น ระยะเวลาดำเนินงาน ค่าใช้จ่าย/รายได้ การมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน ความร่วมมือของ อปท. ในพื้นที่เป้าหมาย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
10. ควรทบทวนรายงานการศึกษาความเหมาะสมของเทศบาลนครเชียงราย โครงการสำรวจ และออกแบบรายละเอียด เพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (ในส่วนของ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) ให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง หรือควรศึกษาเฉพาะประเด็นเพิ่มเติม ก่อนการขอรับสนับสนุนงบประมาณเพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิต พลังงานไฟฟ้า โดยควรมุ่งเน้นเพิ่มเติมการศึกษาประเด็นทางสังคม การจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ อปท. ในพื้นที่เป้าหมายที่จะรวบรวมขยะมูลฝอย การได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เป็นต้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาปริมาณขยะจาก อปท.ในพื้นที่ เพื่อนำเข้าสู่ศูนย์กำจัด และลดปัญหาผลกระทบจากประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการดำเนินงานโครงการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ