เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
“...ไม่มีการทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปา ได้แก่ การทดสอบค่าพีเอช (pH) ความขุ่น สี กลิ่น ที่กำหนดต้องมีการทดสอบอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน โดยใช้เครื่องมือทดสอบเพื่อให้ทราบปริมาณการเติมปูนขาว สารส้ม คลอรีน และทดสอบคุณภาพน้ำดิบ ทางกายภาพ ทางเคมี ความถี่ 1 เดือน/ครั้ง ทดสอบรายการดัชนีมลภาวะ (DO, BOD, COD แอมโมเนีย และฟอสเฟส) ความถี่ 2 ครั้ง/ปี ทดสอบโลหะหนัก ความถี่ 1 ครั้ง/ปี และทดสอบรายการ ไซยาไนด์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไตรฮาโลมีเทน ความถี่ 1 ครั้ง/ปี จึงจะทำให้กระบวนการผลิตน้ำประปามีคุณภาพมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด ตามนโยบายของผู้บริหาร...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 27 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริหารกิจการประปา สำนักการประปา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
@ รายงานการตรวจสอบการดำเนินงานการบริหารกิจการประปา สำนักการประปา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยสำนักการประปา มีหน้าที่ดำเนินกิจการประปาตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาที่สะอาดและเพียงพอในการอุปโภค บริโภค ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 22.56 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลในเมือง ตำบลคลัง ตำบลท่าวัง ตำบลโพธิ์เสด็จ และตำบลนาเคียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีจำนวน ประชากรประมาณ 105,163 คน กิจการประปาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันมีโรงกรองน้ำจำนวน 2 โรง คือ โรงกรองน้ำประตูชัย และโรงกรองน้ำบ้านทวดทอง มีเขตจำหน่ายน้ำประปา จำนวน 24 เขต และให้บริการจ่ายน้ำประปาให้กับกองทัพภาคที่ 4 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ มีพื้นที่ต่อเนื่องบางส่วน จำนวน 10 แห่ง หลายปีที่ผ่านมาน้ำประปาขาดแคลน ไหลไม่สม่ำเสมอ และไม่สะอาด ส่งผลกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558-2559 เกิดภัยแล้งเนื่องจากฝนไม่ตกเป็นระยะเวลานานและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค ประกอบกับมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวเป็นเมืองมากขึ้น ในขณะที่ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ “น้ำประปา” มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไม่สอดรับกับการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ สำนักการประปาฯ ได้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่เพียงพอ และการลดลงของคุณภาพน้ำมาโดยตลอด แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่อย่างเดิม และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี สาเหตุนอกจากภัยธรรมชาติแล้ว อาจมาจากการบริหารจัดการที่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14 (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ได้ตรวจสอบการบริหารกิจการประปา สำนักการประปา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เพื่อทราบผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หลักของการผลิตน้ำประปาและเป็นไปโดยประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือไม่ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดในการบริหารกิจการประปา เพื่อหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกระบวนการ จากการตรวจสอบมีข้อตรวจพบที่สำคัญ 2 ประเด็น โดยสรุปดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 การบริหารกิจการประปาขาดประสิทธิภาพ จากปัจจัยดังนี้
1.1.ขาดกฎระเบียบและแผนการดเนินงานในด้านต่างๆ
1.1.1. ไม่กำหนดกฎระเบียบ คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน และแผนที่/แผนผังที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อมูลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปในมาตรฐานแนวทางเดียวกัน
1.1.2 ไม่มีแผนการปฏิบัติงานประจำปี ประจำเดือน หรือประจำวัน เพื่อกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาระบบต่างๆ ในกระบวนการผลิตน้ำประปาเป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.3 ไม่มีการจัดทำข้อมูลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไม่มีป้ายติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย และพบว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบสำนักการประปาฯ มีหญ้าขึ้นรกปกคลุมไปทั่ว มีการนำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงไว้ภายในพื้นที่ และภายในอาคารสถานที่ไม่สะอาด
1.1.4 ไม่มีการจดบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริงอย่างถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการประปา
1.2 การบริหารบุคลากรขาดประสิทธิภาพ จากการตรวจสอบพบว่า มีการพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน แต่หลักสูตรที่จัดอบรมยังไม่ครบถ้วนทั้งกระบวนการผลิต ในบางขั้นตอนเป็นงานด้านเทคนิคเฉพาะทาง เช่น งานตรวจสอบคุณภาพน้ำ งานระบบไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบางคนยังไม่มีความรู้ ความชำนาญ สำนักการประปาฯ มีนโยบายและแผนที่จะให้ความรู้การอบรมศึกษาดูงาน แต่ยังไม่มี การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน และพบว่ามีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เต็มตามโครงสร้างกรอบอัตรากำลังหลายตำแหน่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดภาระงานล้นเกินกำลังที่เจ้าหน้าที่จะสามารถปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จในเวลาและมีประสิทธิภาพ และการไม่มีบุคลากรปฏิบัติงานในตำแหน่งระดับผู้บริหาร จะส่งผลโดยรวมต่อการดำเนินงานและการบริหารกิจการ
1.3 การควบคุมครุภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามตามระเบียบฯ ครุภัณฑ์บางรายการไม่ใช้ประโยชน์และขาดการซ่อมบำรุง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการและระบบการผลิต ดังนี้
1.3.1 จัดทำบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมครุภัณฑ์ไม่ถูกต้องตามตามระเบียบฯ บันทึกข้อมูลครุภัณฑ์ไม่ครบถ้วนทุกรายการ และรายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปีเฉพาะพัสดุหรือครุภัณฑ์ที่ได้รับในปีปัจจุบันที่ตรวจสอบ ไม่รายงานการตรวจนับพัสดุคงเหลือที่มีอยู่ทั้งหมด ทำให้ไม่ทราบได้ว่ามีครุภัณฑ์คงเหลือตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหายไป เพราะเหตุใด
1.3.2 ครุภัณฑ์บางรายการไม่ใช้ประโยชน์ เช่น เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง ยี่ห้อ wesco จำนวน 8 เครื่อง สามารถใช้งานได้ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ตั้งแต่มีการติดตั้งก่อสร้างโรงกรองน้ำทวดทอง เพื่อ Booter Pump ช่วยในการเพิ่มแรงดันน้ำเมื่อแรงดันน้ำดิบเข้าโรงกรองไม่เพียงพอ
1.3.3 ครุภัณฑ์ชำรุดเสียหายไม่ได้รับการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการผลิตน้ำประปาที่สะอาดให้บริการแก่ประชาชน ดังนี้
1) เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งจำนวน 7 เครื่อง ใช้งานได้ 6 เครื่อง ชำรุด 1 เครื่อง เครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์ จำนวน 4 เครื่อง ใช้งานได้ 1 เครื่อง ชำรุด 3 เครื่อง มีสภาพชำรุดมานาน แต่ไม่ได้รับการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาจำนวนมาก ติดตั้งใช้งาน ณ โรงสูบน้ำแรงต่ำบ้านท่าใหญ่ ตั้งแต่มีการก่อสร้างโรงกรองน้ำทวดทอง
2) เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง จำนวน 6 เครื่อง ใช้งานได้ 4 เครื่อง ชำรุด 2 เครื่อง ชำรุดเนื่องจากน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างดำเนินการส่งซ่อมแซม ติดตั้งใช้งาน ณ โรงสูบน้ำแรงต่ำคลองป่าเหล้า
3) โรงจ่ายสารเคมี จำนวน 6 โรง ใช้งานได้ 4 โรง ชำรุด 2 โรง ระบบจ่ายสารละลายสารส้มและปูนขาว จำนวน 8 ชุด ใช้งานได้ 5 ชุด ชำรุด 3 ชุด ถังตกตะกอนและโรงกรองน้ำแบบปูนกำลังการผลิตขนาด 300 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง จนวน 3 โรง ใช้งานได้ 2 โรง ชำรุด 1 โรง เครื่องวัดความขุ่นจำนวน 1 เครื่อง ชำรุด และ Flow meter จำนวน 1 ตัว ใช้วัดปริมาณน้ำในระบบจ่ายชำรุดใช้งานไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถวัดปริมาณน้ำประปาในระบบจ่ายได้ ครุภัณฑ์ทั้งหมดติดตั้งใช้งาน ณ โรงกรองน้ำทวดทอง
4) ระบบจ่ายปูนขาว จำนวน 5 ชุด ใช้งานได้ 4 ชุด ชำรุด 1 ชุด เครื่องสูบน้ำแรงสูงแบบดีเซลล์ใช้ในการสูบจ่ายน้ำไปยังบ้านเรือนประชาชน จำนวน 2 เครื่อง ใช้งานได้ 1 เครื่อง ชำรุด 1 เครื่อง มาตรวัดน้ำขนาดใหญ่ (Flow Meter) จำนวน 2 ตัว ใช้วัดปริมาณน้ำในระบบจ่ายชำรุดใช้งานไม่ได้ เครื่องวัดความขุ่น จำนวน 1 เครื่อง ชำรุดมาประมาณ 3 ปี เจ้าหน้าที่จึงวัดความขุ่นด้วยสายตา แผงควบคุมระบบไฟฟ้าชำรุดมาประมาณ 5 ปี ระบบ Back wach จำนวน 6 ชุด ชำรุด 3 ชุด นานประมาณ 3 ปี ครุภัณฑ์ทั้งหมดติดตั้งใช้งาน ณ โรงกรองน้ำประตูชัย
5) ระบบควบคุมการผลิตและสูบจ่ายน้ำแบบอัตโนมัติ (SCADA) เพื่อการควบคุมการผลิตและสูบจ่ายน้ำมีสภาพชำรุดใช้งานไม่ได้ทั้งระบบตามวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและติดตามกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณน้ำสูญเสีย
ข้อเสนอแนะ ให้นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ให้มีกฎระเบียบและแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่กำหนดกิจกรรมและระยะเวลาที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จัดให้มีป้ายข้อความหรือสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ที่มีความเสี่ยง และให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและแผนการดำเนินงานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
2. สั่งการกำชับให้มีการจดบันทึกและรายงานข้อมูลสถิติด้านต่างๆ ที่สำคัญมีความถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน มีความต่อเนื่อง น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้
3. สั่งการให้มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรด้านความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ การฝึกอบรมของบุคลากร เพื่อเป็นข้อมูลวางแผนการพัฒนาและบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สั่งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการตรวจสอบพัสดุประจำปีและรายงานพัสดุที่คงเหลือทั้งหมดให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
5. ให้มีการวางแผนนำครุภัณฑ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ครุภัณฑ์ที่ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
6. ให้มีหรือจัดทำแผนการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมตามระยะเวลา และมีการบำรุงรักษาตามรอบ ระยะเวลาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ครุภัณฑ์พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
ข้อตรวจพบที่ 2 การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการผลิตน้ำประปา จากการตรวจสอบพบว่า การบริหารกิจการประปายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการผลิตน้ำประปา เพื่อให้บริการกับประชาชน ดังนี้
2.1 การผลิตน้ำประปาสะอาดไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานน้ำบริโภค ดังนี้
2.1.1 ไม่มีการทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปา ได้แก่ การทดสอบค่าพีเอช (pH) ความขุ่น สี กลิ่น ที่กำหนดต้องมีการทดสอบอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน โดยใช้เครื่องมือทดสอบเพื่อให้ทราบปริมาณการเติมปูนขาว สารส้ม คลอรีน และทดสอบคุณภาพน้ำดิบ ทางกายภาพ ทางเคมี ความถี่ 1 เดือน/ครั้ง ทดสอบรายการดัชนีมลภาวะ (DO, BOD, COD แอมโมเนีย และฟอสเฟส) ความถี่ 2 ครั้ง/ปี ทดสอบโลหะหนัก ความถี่ 1 ครั้ง/ปี และทดสอบรายการ ไซยาไนด์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไตรฮาโลมีเทน ความถี่ 1 ครั้ง/ปี จึงจะทำให้กระบวนการผลิตน้ำประปามีคุณภาพมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด ตามนโยบายของผู้บริหาร
2.1.2 การทดสอบคุณภาพน้ำตามกระบวนการผลิตน้ำหลังเติมสารส้ม น้ำก่อนกรอง และน้ำหลังกรอง พบว่า ไม่ใช้เครื่องมือทดสอบแบบใช้ในห้องปฏิบัติการ แบบตัวเลข หรือแบบจาน เทียบสี เพื่อทดสอบค่าพีเอช (pH) และค่าความขุ่น แต่สำนักการประปาฯ ทดสอบคุณภาพน้ำดูด้วยสายตา โดยอาศัยประสบการณ์ความชำนาญเพื่อกะประมาณค่าพีเอช (pH) ความขุ่น สี กลิ่น เพื่อคำนวณการเติมสารส้ม ปูนขาว คลอรีน
2.1.3 การตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา พบว่า การเก็บตัวอย่างน้ำประปา เก็บจากต้นทางและปลายทาง ส่งให้ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ซึ่งไม่กระจายครอบคลุมพื้นที่ในระบบจ่ายน้ำที่มีลักษณะแบบเครือข่ายใยแมงมุม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ได้ส่งทดสอบคุณภาพน้ำ 1 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำต้นทางจากถังน้ำใสโรงกรองน้ำประตูชัยและปลายทางจากบ้านเลขที่ 20/26 หมู่บ้านนครเลควิล หมู่ที่ 5 ต.ปากนคร อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ส่งทดสอบคุณภาพน้ำ 1 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำต้นทางจากน้ำบ่อที่ 1 ของโรงกรองน้ำประตูชัย และน้ำบ่อที่ 2 ของโรงกรองทวดทอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ส่งทดสอบคุณภาพน้ำ 1 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำต้นทางจากโรงกรองน้ำทวดทองและน้ำโรงกรองน้ำประตูชัย ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และ 2557 ไม่เก็บตัวอย่างน้ำส่งทดสอบ
2.1.4 ผลการตรวจวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่างน้ำประปาที่ส่งทดสอบ พบ ค่าโคลิฟอร์ม แบคทีเรีย (Totle Coliform, MPN/100 ml) มีค่าน้อยกว่า 1.1/100 ml ส่วนค่าปริมาณสารละลาย ทั้งหมดและค่าอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ค่ามาตรฐาน เว้นแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตัวอย่างน้ำจากโรงกรองทวดทอง พบ ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Totle Coliform, MPN/100 ml) มีค่า 23/100 ml และปริมาณสารละลายทั้งหมดมีค่า 750 mg/l สูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำประปา (อ้างอิงค่าของ กปภ. ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2011) ที่กำหนดต้องไม่พบค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Totle Coliform) และปริมาณสารละลายทั้งหมดค่าไม่เกิน 600/l
ข้อเสนอแนะ ให้นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ให้มีการวิเคราะห์ทดสอบและกำหนดความถี่ ในการทดสอบคุณภาพแหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา
2. ให้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำทดสอบให้ครอบคลุมพื้นที่บริการ ตามหลักวิธีการเก็บตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ตามมาตรฐานน้ำสะอาด และให้มีการวิเคราะห์ทดสอบตามกำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคที่อ้างอิงตามมาตรฐานน้ำบริโภค ของมาตรฐานองค์การอนามัย โลก (WHO)
3. จัดให้มีห้อง LAB พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งจะช่วยควบคุมลดต้นทุนการผลิตปริมาณสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการ วิเคราะห์ทดสอบคุณภาพน้ำ
4. ให้มีการบริหารจัดการที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัย ไม่พบการปนเปื้อนสารโคลิฟอร์มและสารละลายอื่นๆ
5. ให้ความสำคัญกับการผลิตน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัย และการปฏิบัติงานตามหลักการผลิตน้ำประปาให้มีมาตรฐานอย่างเคร่งครัด
2.2 น้ำประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในการอุปโภคบริโภค เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
2.2.1 ขาดแคลนแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา สาเหตุจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ ทำให้หน้าแล้งปริมาณน้ำดิบมีไม่พอเพียงเพื่อผลิตน้ำประปา เมื่อฝนทิ้งช่วงเกิดภัยแล้ง จึงเป็นวิกฤตให้มีน้ำประปาไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
2.2.2 ความต้องการใช้น้ำประปาของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556-2559 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง โดยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 519,554.69, 207,593.75 และ 7,984.37 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเขตเทศบาลฯและอาจมีสาเหตุจากปริมาณน้ำประปาของสำนักการประปาฯ มีไม่เพียงพอ
2.2.3 ระบบผลิตน้ำประปาได้น้อยกว่ากำลังการผลิต การผลิตน้ำประปาโรงกรองน้ำประตูชัย ผลิตน้ าประปาได้จริง 28,000–30,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ใกล้เคียงกับขนาดกำลังการผลิตที่ 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และโรงกรองน้ำทวดทอง ผลิตน้ำประปาได้จริง 28,000–31,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน น้อยกว่าขนาดกำลังการผลิตที่ 51,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จำนวน 20,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้น้ำในแต่ละวัน และแรงดันน้ำที่จะสามารถจ่ายได้ โดยที่ไม่ทำให้ท่อเมนแตกรั่ว รวมถึงปริมาณน้ำดิบที่จะนำมาผลิตมีพอเพียงหรือไม่ทำให้น้ำประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556–2559 มีจนวนผู้ใช้น้ าเฉลี่ย 37,637 ราย มีความต้องการใช้น้ำเฉลี่ย 21,464,708.99 ลูกบาศก์เมตร/ปี แต่ปริมาณน้ำประปาผลิตน้ำเฉลี่ย 19,937,402 ลูกบาศก์เมตร/ปี แบ่งเป็นปริมาณน้ำจำหน่ายเฉลี่ย 13,979,208 ลูกบาศก์เมตร/ปี และปริมาณน้ำสูญเสียเฉลี่ย 5,958,194 ลูกบาศก์เมตร/ปี และตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีปริมาณ น้ำสูญเสียจำนวนมากและเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำที่ผลิตได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการจ่ายน้ำที่มีอายุการใช้งานมานานและขาดการบำรุงรักษา
2.2.4 ระบบจ่ายการจ่ายน้ำได้ไม่เต็มศักยภาพ ระบบจ่ายไม่มีหอถังสูงที่จะสร้างแรงดันน้ำ และรักษาแรงดันน้ำให้สม่ำเสมอ เพื่อจ่ายน้ำประปาให้แก่ผู้ใช้น้ำ จึงใช้วิธีการสูบอัดน้ำประปาเข้าระบบท่อจ่ายน้ำไปยังบ้านเรือนประชาชน เนื่องจากระบบจ่ายน้ำเก่ามีอายุการใช้งานมานาน จึงไม่สามารถเพิ่มแรงดันในเส้นท่อเมนได้มาก เพราะจะทำให้ท่อเมนแตกรั่ว ทำให้น้ำขุ่นแดง มีตะกอน และน้ำไม่ไหลบ่อยครั้ง ส่งผลให้จ่ายน้ำได้ไม่เต็มศักยภาพ การซ่อมบำรุงท่อเมนมีเฉพาะที่ชำรุดท่อแตก ท่อรั่ว ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนท่อเมนตลอดทั้งเส้น เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ การซ่อมแซมปรับปรุงท่อส่งน้ำไม่มีการจัดทำทะเบียนประวัติหรือแผนผังการวางท่อที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ไม่ทราบได้ว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนท่อเมนส่งน้ำมาแล้วกี่ครั้ง มีอายุการใช้งานมาแล้วกี่ปี อยู่ในบริเวณใด ดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่เมื่อไร และเป็นท่อชนิดใด จากการตรวจสอบผู้ใช้น้ำจำนวน 100 ราย พบว่า จำนวน 44 ราย มีถังหรือแท็งก์เก็บน้ำส ารองเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน และให้น้ำตกตะกอน เพื่อสูบน้ำไปใช้ยังชั้นบนของบ้านได้อย่างทั่วถึง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ใช้น้ำนอกเขตฯ 10 หน่วยงาน พบว่า น้ำประปาไ
หลไม่เพียงพอ ไม่ต่อเนื่อง และไม่สะอาด มีขุ่นตะกอนแดงตะกอนขาว แต่มีความจำเป็นต้องใช้บริการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีน้ำประปาใช้ และอาจยกเลิกการใช้น้ำประปาจากสำนักการประปาฯ และผลิตใช้ในพื้นที่เอง ประกอบกับมีการปรับขึ้นค่าน้ำ ซึ่งถือว่าแพงเมื่อพิจารณาถึงปริมาณและคุณภาพของน้ำที่ไม่สะอาด ไหลไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอในบางช่วงเวลา
ข้อเสนอแนะ ให้นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. พิจารณาวางแผนหรือหาแนวทางในการนำน้ำดิบจากบ่อสำรองมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ในช่วงฤดูฝนอาจสูบน้ำจากบ่อสำรองที่มีความขุ่นน้อยกว่ามาใช้ในการผลิตน้ำประปา แทนการสูบน้ำจากลำคลองที่มีความขุ่นตะกอนมาก ซึ่งจะช่วยลดประหยัดสารเคมีในการบำบัด
2. พิจารณาดำเนินการให้มีแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาว โดยคำนึงถึงผลกระทบกับประชาชนและงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
3. การให้บริการน้ำประปานอกเขตพื้นที่ ควรคำนึงถึงข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำดิบ ความต้องการใช้น้ำ ศักยภาพในการผลิตน้ำประปา เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในเขตพื้นที่รับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่
4. ให้มีการปรับปรุงซ่อมบำรุงระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำประปา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำประปาของประชาชน
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ