“….การซื้อขายยาในบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งผู้ขายจำนวนหนึ่งมีพฤติกรรมการส่งเสริมการขายที่ไม่เหมาะสม โดยการเสนอประโยชน์ให้แก่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล หรือผู้ซื้อจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้ผู้ขายบริจาคเงินเข้ากองทุนสวัสดิการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ที่จะได้ขายสินค้า เช่น การเสนอให้แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเข้าร่วมการสัมมนาในต่างประเทศ การเสนอค่าคอมมิชชั่นในลักษณะการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการสถานพยาบาล…”
.....................................
สืบเนื่องกรณีที่เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบ ‘ข้อเสนอแนะตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรม’ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ
พร้อมกันนั้น ครม. มอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ใน 30 วัน เพื่อเสนอ ครม.นั้น (อ่านประกอบ : เปิดข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ชงรัฐล้อมคอกจัดซื้อฯ‘สินค้านวัตกรรม’-ชง 4 แนวทางแก้‘ทุจริต-ผูกขาด’)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำรายงาน ‘มาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย’ เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. โดยรายงานฯฉบับนี้ ได้ระบุถึง ‘ปัญหา’ และ ‘จุดอ่อน’ การจัดซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทย มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
@พบจัดซื้อระบบ‘ผลิตน้ำประปา’ ทั้งๆที่ไม่มีความพร้อม
ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบข้อมูลใน ‘บัญชีนวัตกรรมไทย’ และผลการดำเนินโครงการของหน่วยงานของรัฐที่มีการจัดซื้อ ‘สินค้านวัตกรรม’ ในบัญชีนวัตกรรมไทย โดยหน่วยงานตรวจสอบ ได้แก่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) มีดังนี้
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
1) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อระบบผลิตน้ำประปา (สาขา 01)
(1) หน่วยงานของรัฐจัดทำคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยไม่สำรวจความพร้อมในการดำเนินโครงการ หรือระบุข้อมูลไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง และไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยันความพร้อมและความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้พิจารณากลั่นกรองโครงการและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารโครงการ
(2) หน่วยงานของรัฐกำหนดราคากลางไม่เป็นไปตามมาตรา 4 (3) แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณ
(3) หน่วยงานของรัฐ ไม่มีหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง มาเข้ายื่นข้อเสนอราคาหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา
(4) หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้า โดยมีการติดตั้งก่อนที่จะมีหนังสือสำคัญ สำหรับที่หลวงและได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์
(5) หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้า โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
(6) ผู้ประกอบการไม่มีอาชีพโดยตรงด้านผลิต จำหน่าย วางระบบประปา
2) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (สาขา 01) พบว่า หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้า โดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินส ารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
@ติดตั้ง‘โคมไฟถนนโซลาร์เซลล์’ซ้ำซ้อน-ไม่ทำตามกม.
3) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อโคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์แบบประกอบในชุดเดียวกัน (สาขา 01)
(1) หน่วยงานของรัฐติดตั้งโคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ฯ บางจุดซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รับผิดชอบ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐกำหนดขอบเขตของงานหรือรายละเอียดในข้อกำหนดการซื้อหรือจ้าง (TOR) โดยขาดการสำรวจพื้นที่ก่อนการดำเนินงาน
(2) หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกอบมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
4) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (สาขา 14) พบว่า หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้า โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของโครงการที่กำหนดไว้
5) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อเตาเผาขยะลดมลพิษประหยัดพลังงาน (สาขา 14) พบว่า หน่วยงานของรัฐจัดซื้อสินค้า โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
@อ้างเป็น‘สินค้านวัตกรรม’ แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายในตลาดอยู่แล้ว
สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.
1) ผลการตรวจสอบบัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติม มี.ค.2561 พบว่า ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมบางรายการอาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเชิงพาณิชย์อยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีชื่อเรียกและมีคุณลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับสินค้านอกบัญชีนวัตกรรมไทย
เช่น เครื่องปรับอากาศ สำหรับห้องแบบแยกส่วนระบายความร้อนด้วยอากาศ ชนิดอินเวอร์เตอร์ ที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาล : SEER สูง (สาขา 07) ที่มีคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้ (1) รุ่น High SEER Inverter 25,000 บีทียู (2) รุ่น High SEER Inverter 30,000 บีทียู (3) รุ่น High SEER Inverter 36,000 บีทียู
2) ผลการตรวจสอบผู้ขายหรือผู้ให้บริการในบัญชีนวัตกรรมไทย
(1) บริษัทผู้จำหน่ายและผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมบางรายการ มีความสัมพันธ์เชิงบริหาร เช่น นาย ก เป็นกรรมการบริษัทของผู้จำหน่าย A และเป็นกรรมการบริษัทของผู้แทนจำหน่าย B C และ D
(2) ผู้จำหน่ายและผู้แทนจำหน่ายบางรายไม่ใช่ผู้มีอาชีพนั้นโดยตรง เช่น องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) หรือ บริษัท ก เป็นผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นผู้มีอาชีพด้านผลิต จำหน่าย วางระบบประปา
@ซื้อสินค้า‘เจ้าเดิม’ทุกสัญญา แต่ไม่มีการลดราคาให้เลย
3) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อระบบผลิตน้ำประปา (สาขา 01) พบว่า หน่วยงานของรัฐหลายแห่งกำหนดราคากลางเป็นงานจ้างก่อสร้าง โดยมีเอกสารโครงการประกอบไปด้วย เอกสารประมาณการราคาก่อสร้าง (แบบ ปร.4) เอกสารสรุปค่าครุภัณฑ์จัดซื้อ (แบบ ปร.5) แบบแสดงรายการประมาณงานและราคา (แบบ ปร.6)
4) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อโคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์แบบประกอบในชุดเดียวกัน (สาขา 01)
(1) หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการ โดยมีการจัดซื้อสินค้าจากผู้ขายรายเดิมในทุกสัญญา โดยไม่ได้รับการพิจารณาลดราคาแม้จะเป็นการซื้อซ้ำและซื้อจำนวนมาก
(2) หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการ โดยบางพื้นที่มีการติดตั้งเสาไฟนวัตกรรมซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานของรัฐติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก และขาดการสำรวจความต้องการของประชาชน และเสาไฟบางส่วนไม่สามารถใช้งานได้ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้ต้องส่องสว่างได้ตลอดคืน และต้องเก็บไฟได้นานกว่า 24 ชั่วโมง
(3) หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการ โดยบางพื้นที่มีการติดตั้งเสาไฟโซล่าเซลล์รุ่นเก่าปะปนกับเสารุ่นใหม่บนถนนสายเดียวกัน หน่วยงานของรัฐขาดการสำรวจความต้องการของประชาชน และเสาไฟบางส่วนไม่สามารถใช้งานได้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้ต้องส่องสว่างได้ตลอดคืน และต้องเก็บไฟได้นานกว่า 24 ชั่วโมง
5) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (สาขา 01) พบปัญหาปริมาณน้ำที่ได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของประชาชน เนื่องจากการเลือกคุณลักษณะเฉพาะของระบบไม่สอดคล้องกับขนาดครัวเรือนของชุมชนในท้องที่ และระบบทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
6) ผลการตรวจสอบโครงการที่มีการจัดซื้อไม้โกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและรากไม้เทียมเพื่อเร่งการตกตะกอน (สาขา 01) พบว่า หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการ โดยการจัดซื้อ และยังไม่ได้มีการติดตั้งบางส่วน เนื่องจากหน่วยงานยังไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมเจ้าท่า ให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
7) ผลการตรวจสอบเรื่องกล่าวหาร้องเรียน พบว่า ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐรายหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขไม่จัดซื้อยูนิตทำฟัน (สาขา 03) ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า เหตุผลที่ไม่จัดซื้อสินค้าตามบัญชีนวัตกรรมไทย เนื่องจากปัญหาการใช้งานของยูนิตทันตกรรม และปัญหาจากการซ่อมบำรุงรักษา
@จัดซื้อจัดจ้างสินค้า‘บัญชีนวัตกรรมไทย’ส่อขัดกฎหมายฮั้ว
8) ผลการตรวจสอบประเด็นข้อหารือของหน่วยงานของรัฐ ตามหนังสือตอบข้อหารือกรมบัญชีกลางที่ กค (กวจ) 0405.4/56784 ลงวันที่ 12 พ.ย.2563 เรื่อง ข้อหารือการจัดซื้อจัดจ้างตามบัญชีนวัตกรรมไทย พบประเด็นข้อหารือ ดังนี้
(1) ประเด็นข้อหารือที่ 1 การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมนวัตกรรมที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย โดยใช้วิธีในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการโดยตรง และวิธีคัดเลือก หากพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
มีความขัดหรือแย้งกับมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 4 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่ อย่างไร
(2) ประเด็นข้อหารือที่ 2 กรณีที่หน่วยงานของรัฐนำเอารายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่เป็นพัสดุส่งเสริมนวัตกรรมที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทยมาจัดทำขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้าง โดยที่รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตามรหัส ประเภท/รายการ ซึ่งกำหนดชื่อสามัญของผลงาน ชื่อทางการ ค้าของผลงาน รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ มากำหนดราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง เพื่อที่จะกำหนดวิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการโดยตรง หรือตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
โดยที่ราคากลางเป็นไปตามราคาต่อหน่วยของลำดับที่รหัส ในรายการนวัตกรรมไทย โดยที่รหัสประเภท/รายการดังกล่าว มีหน่วยงานที่พัฒนาบริษัทผู้รับการถ่ายทอด ผู้จำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย หน่วยงาน บริษัท หรือผู้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยเพียงรายเดียว เพื่อที่จะกำหนดวิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือก โดยไม่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป จะถือเป็นการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่มิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่
(3) ประเด็นข้อหารือที่ 3 พัสดุส่งเสริมนวัตกรรมที่มีรายชื่อตามบัญชีนวัตกรรมไทยของสำนักงบประมาณได้ผ่านการรับรองมาตรฐานหรือตรวจสอบวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือได้ ที่เพียงพอจะนำไปจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่ต้องเปรียบเทียบคุณภาพ อีกใช่หรือไม่ อย่างไร
9) ผลการตรวจสอบประเด็นข้อหารือของหน่วยงานของรัฐ ตามหนังสือตอบข้อหารือกรมบัญชีกลางที่ กค (กวจ) 0405.3/30010 ลงวันที่ 7 ก.ค.2564 เรื่อง ขอหารือเกี่ยวกับแนวทางในการจัดซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย พบประเด็นข้อหารือกรณีที่หน่วยงานของรัฐตั้งงบประมาณไว้แล้ว แต่หน่วยงานได้รับหนังสือจากเอกชนรายหนึ่งขอให้ระงับโครงการ เนื่องจากเอกชนรายดังกล่าวแจ้งว่า เป็นเจ้าของสิทธิบัตรและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
@สะท้อน 2 ปัญหามาตรการจัดซื้อสินค้า‘บัญชีนวัตกรรมไทย’
ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและจุดอ่อนของการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทยของประเทศไทย
1) ปัญหาของมาตรการบัญชีนวัตกรรมไทย
1.1) สินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมส่วนหนึ่งไม่ใช่สินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการสูงของตลาดสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมส่วนหนึ่งเป็นการขับเคลื่อนจากฝั่งอุปทาน จึงทำให้ไม่ใช่เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง ประกอบกับรายการสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมยังมีจำนวนจำกัด
ยกตัวอย่าง เช่น สินค้าเครื่องมือแพทย์ พบว่าสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยทั้งหมด 47 รายการ รายการสินค้าที่สอดคล้องกับรายการสินค้าเครื่องมือแพทย์ที่ประเทศไทยนำเข้ามากที่สุด 20 อันดับแรก หรือที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เบิกจ่าย 10 อันดับแรก โดยมีประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด
1.2) สินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทยยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ซื้อ เป็นผลจากคุณลักษณะเฉพาะ (specification) ยกตัวอย่าง เช่น สินค้าเตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้า พร้อมรีโมทคอนโทรลองศาของการปรับชิ้นส่วนเตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้าพร้อมรีโมทคอนโทรล และการปรับสไลด์พื้นเตียงในแนวระนาบ (top slide) ของสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย (Herbert) ยังมีคุณสมบัติไม่ทัดเทียมกับสินค้าจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ บริการหลังการขายของบางสินค้าในบัญชีนวัตกรรม ยังไม่เทียบเท่ากับสินค้าต่างประเทศ และผู้ซื้อส่วนหนึ่งมีความคุ้นชินกับสินค้าต่างประเทศซึ่งจำหน่ายในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน
@จัดซื้อยาใน‘บัญชีนวัตกรรม’ พบมีแนวปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
2) จุดอ่อนของระบบการบริหารจัดการบัญชีนวัตกรรม
2.1) ระบบบัญชีนวัตกรรมไทย ไม่ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้ (user-friendly) ยกตัวอย่าง เช่น การกำหนดชื่อสินค้าของบัญชีนวัตกรรมไทยไม่ตรงกับชื่อสินค้าในระบบจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ การค้นหารายชื่อสินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทยในฐานข้อมูลบัญชีนวัตกรรมไทย แยกต่างหากจากการค้นหารายชื่อสินค้าในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจากฐานขอมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ข้อมูลลักษณะสินค้าในบัญชีนวัตกรรมระบุคุณสมบัตินวัตกรรม แต่ไม่ได้ระบุคุณลักษณะเฉพาะ เช่น คุณสมบัติทั่วไป คุณสมบัติทางเทคนิค อุปกรณ์ประกอบของสินค้า
2.2) ระบบบัญชีนวัตกรรมไทยขาดกลไกในการติดตามและประเมินผลการจัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าบัญชีนวัตกรรมไทยอย่างจริงจัง ยกตัวอย่าง เช่น กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ.2563 เพียงระบุให้หน่วยงานของรัฐจะต้องรายงานเหตุผลความจำเป็นไปยังหน่วยงานต้นสังกัดทุกรายไตรมาส เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดรายงานไปยังสำนักงบประมาณในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ
ไม่สามารถจัดซื้อยาทั่วไป (ยาเคมี) หรือยาชีววัตถุ อย่างน้อยร้อยละ 30 ของมูลค่ารวมของเงินงบประมาณคาจัดซื้อยาตามชื่อสามัญ (generic 40 name) ที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทยได้ แต่ไม่ได้ระบุแนวทางปฏิบัติใดๆ หากหน่วยงานของรัฐไม่สามารถจัดซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
2.3) แนวปฏิบัติในการซื้อขายสินค้าที่ไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายยาในบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งผู้ขายจำนวนหนึ่งมีพฤติกรรมการส่งเสริมการขายที่ไม่เหมาะสม โดยการเสนอประโยชน์ให้แก่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล หรือผู้ซื้อจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้ผู้ขายบริจาคเงินเข้ากองทุนสวัสดิการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ที่จะได้ขายสินค้า
เช่น การเสนอให้แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเข้าร่วมการสัมมนาในต่างประเทศ การเสนอค่าคอมมิชชั่นในลักษณะการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการสถานพยาบาล หรือการให้ตัวอย่างยาแก่แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเป็นการเฉพาะบุคคล พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการจูงใจให้แพทย์สั่งจ่ายอย่างไม่เหมาะสม ทำให้การตัดสินใจซื้อขายสินค้าไม่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยที่เหมาะสม เช่น ราคา มาตรฐาน การให้บริการ และระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า
2.4) ผู้ขึ้นทะเบียนสินค้าในบัญชีนวัตกรรมส่วนใหญ่เป็น SMEs มีข้อจำกัดด้านเงินทุน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ขึ้นทะเบียนสินค้าในบัญชีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ จำนวนร้อยละ 85 ของผู้ขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทยเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
จากนี้ไปคงต้องติดตามว่า ‘กระทรวงการคลัง’ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ครม. ให้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าฯใน ‘บัญชีนวัตกรรม’ ตามข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. จะมีข้อสรุปในการจัดการช่องโหว่การจัดซื้อฯสินค้านวัตกรรม ที่ทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์และได้รับความเสียหาย เหล่านี้ อย่างไร?
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง :
ภาพรวม:
- ป.ป.ช.เห็นชอบมาตรการป้องกันทุจริต นโยบายจัดซื้อจัดจ้าง บัญชีนวัตกรรม
- เปิดข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ชงรัฐล้อมคอกจัดซื้อฯ‘สินค้านวัตกรรม’-ชง 4 แนวทางแก้‘ทุจริต-ผูกขาด’
- ขมวดปมร้อน!จัดซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรม เอกชนกลุ่มเดียวคว้างานพันล.นโยบายรัฐเสี่ยงเอื้อปย.?
- อปท.แห่ซื้อเป็นร้อยโครงการ! ล้วงข้อมูล ป.ป.ช.สอบสินค้านวัตกรรม'ป๊อกแทงค์-Water Purifying'
- หลังบ.กลุ่มเดียวคว้างานพันล.! ป.ป.ช.สั่งศูนย์CDC จับตาซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรมใกล้ชิด
- เฉลิมพล เพ็ญสูตร:ปมขายสินค้านวัตกรรมรายเดียวพันล.รัฐไม่มีเจตนาเอื้อปย.-ทุจริตเชิงนโยบาย
- กมธ.ติดตามการบริหารงบ แนะสวทช.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคุ้มทุนโคมไฟถนนโซลาร์เซลล์
- เปิดละเอียด! ข้อสังเกตกมธ.ติดตามงบฯ ซักประเด็นจัดซื้อโคมไฟนวัตกรรม คุ้มค่าราคาหรือไม่?
สินค้าเอกชนกลุ่มแรก:
เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- จี้ผู้ว่าฯทบทวน! สตง.สอบงบเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล. อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ฉบับเต็ม! สตง.ชำแหละโครงการเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล.อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ตัวละ1.4 ล้าน! แกะรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 11 ตัว15.3 ล. อำนาจเจริญ ซื้อจากไหน?
- ไม่มีขายทั่วไป! ผู้ว่าฯอำนาจเจริญ แจงซื้อเครื่องแปลงเศษอาหาร15.4 ล. บ.เดียว-ใช้งบรองนายกฯ
- สินค้าที่ 3 เครื่องแปลงขยะบัญชีนวัตกรรม เจ้าของกลุ่มเดิมอีกแล้ว สตง.เคยสอบที่อำนาจเจริญ
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! สตง.สอบระบบผลิตน้ำประปากระบี่ 145 ล.พบปัญหาซ้ำรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์
- เจาะจัดซื้อระบบผลิตน้ำประปาบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียว คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- ไขที่มา POG TANKS สินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียวคว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- เปิดตัวเจ้าของ 'ป๊อกแทงค์' ไขข้อสงสัยสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- เจาะสินค้าบัญชีนวัตกรรม 'ป๊อกแทงค์-Water Purifying' เจ้าของเดียวกัน-ได้งานรัฐอีก 32 ล.
- เบื้องลึก! 'Water Purifying' ป.ป.ช.บึงกาฬชงสอบอดีตผู้ว่าฯ-8 นอภ.แจ้งถอนชื่อบัญชีนวัตกรรม
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
สินค้าเอกชนกลุ่มสอง:
โคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์แบบประกอบในชุดเดียว (ALL In One Solar Street Light) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! เปิดตัวเอกชนกลุ่ม 2 ขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน ได้งานอปท.ทั่วปท. 1,514 ล้าน
- เปิด '6 อบจ.' สนองนโยบายรัฐ ทุ่มซื้อสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน - สระบุรี มากสุด 392 ล.
- ลูกค้ามั่นใจ-ของไม่มีปัญหา! ผู้บริหารบ.โซดิแอคท์ แจงขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน 1.4 พันล.
- อบจ.สระบุรี ซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม194 ล. '3 บ.ผู้จำหน่าย-ตัวแทน' รับซอง แต่ไม่ยื่นแข่ง 2
- ปชช.ต้องการ! อบจ.สระบุรีแจงซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 329 ล.-เอกชนคุณสมบัติครบตัดสิทธิไม่ได้
- ยอดพุ่ง 454 ล.! อบจ.สระบุรีซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 5 สัญญา บ.กลุ่มเดิมรับซอง-แต่ไม่ยื่นแข่ง
กรณีทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม
- ข้อมูลใหม่! อปท.แห่ทำถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม TOR กำหนดรหัสสินค้าชัดเจน
- ส่วนกลางกำหนดมา! นายก อบต.สร้างมิ่ง แจงปมสร้างถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม 3 สัญญารวด
- ชนะคู่เทียบหลักพัน!ไส้ใน อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม กำหนดคุณสมบัติเจาะจง
- ไส้ในสัญญาที่ 2! อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม เจาะจงคุณสมบัติ-ชนะหลักพันอีก
เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน
- พบ 'คู่เทียบ' หจก.ลูกพล.อ.ปรีชา ขายเครื่องสูบไฮดรอลิคสินค้านวัตกรรม ได้งาน กรมฯน้ำ 233 ล.
- เผยโฉม! เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน กรมฯ น้ำ ทุ่มซื้อ 22 เครื่อง 233 ล.
- ยอดพุ่ง 913 ล้าน! กรมชลฯ เจ้าแรกเจาะจงซื้อเครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม 64 ตัว 679 ล.ปี 65
- ท.บางแก้ว แห่งที่ 3! ซื้อเครื่องสูบนวัตกรรม 5 ตัว 44.6 ล. ยอดขาย บ.นำพลฯ กระฉูด 957 ล.
- เปิดตัวนักวิจัย ม.ศรีปทุม เจ้าของผลงานเครื่องสูบน้ำนวัตกรรม ก่อน บ.คว้าสัญญารัฐ 957 ล.