"...เนื่องจากโครงการเป็นงานนโยบายที่หน่วยรับงบประมาณ หน่วยดำเนินการ และหน่วยรับโอนทรัพย์สินมีความจำเป็นต้องปฏิบัติซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการกำจัดขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ การเสนอโครงการไม่ได้มาจากปัญหาข้อเท็จจริงของแต่ละพื้นที่ แต่เป็นการเสนอโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย หนังสือสั่งการ เป็นสำคัญ..."
กรณี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบโครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 11 เครื่อง จำนวนเงิน 15,400,000.00 บาท พบว่า การใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้ประโยชน์สูงสุดเพียง 21 ครั้ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 5.59 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่ สตง. ตรวจสอบสังเกตการณ์ มีปริมาณขยะนำเข้าเครื่องแปลงขยะฯ ไม่ถึง 100 กิโลกรัมต่อครั้ง ทำให้ดินอินทรีย์คงเหลือเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตครั้งต่อไปมีปริมาณไม่ถึง 50 กิโลกรัม และไม่มีการเติมจุลินทรีย์ Superbact ทุก 6 เดือน เพื่อการย่อยสลายขยะให้เป็นดินอินทรีย์ภายใน 24 ชั่วโมง นั้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานไปแล้วว่า สตง.ระบุถึงสาเหตุปัญหาเรื่องนี้ว่าเนื่องจากโครงการเป็นงานนโยบายที่หน่วยรับงบประมาณ หน่วยดำเนินการ และหน่วยรับโอนทรัพย์สินมีความจำเป็นต้องปฏิบัติซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการกำจัดขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ การเสนอโครงการไม่ได้มาจากปัญหาข้อเท็จจริงของแต่ละพื้นที่ แต่เป็นการเสนอโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย หนังสือสั่งการ เป็นสำคัญ จากข้อตรวจพบดังกล่าวจึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่คุ้มค่า และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งเสียโอกาสในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในด้านอื่น คิดเป็นมูลค่า 15,394,000 บาท
เบื้องต้น สตง. มีข้อเสนอแนะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินการทบทวนการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์เนื่องจากทั้ง 11 เครื่อง ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ จังหวัดอำนาจเจริญ ยังไม่สามารถดำเนินการให้ประชาชนทำการคัดแยกขยะได้และไม่มีข้อมูลหรือรายงานเกี่ยวกับปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์รวมทั้งบริบทของชุมชนการกำจัดขยะเศษอาหารส่วนใหญ่ได้นำไปเป็นอาหารสัตว์หรือปุ๋ยอินทรีย์แล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลปัญหาการดำเนินงานโครงการฯ นี้ มากขึ้น
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา นำรายงานผลการตรวจสอบฉบับเต็มของ สตง. มานำเสนอ ณ ที่นี้
@ ที่มา-วัตถุประสงค์
สตง. ระบุว่า โครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine) จังหวัดอำนาจเจริญได้รับจัดสรรงบประมาณงบกลางฯ ในอำนาจรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) โครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย รหัส 14000029 ขนาด 100 กิโลกรัม จำนวน 8 โครงการ รวม 11 เครื่อง จำนวนเงิน 15,400,000.00 บาท
เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ถือเป็นนวัตกรรมในการกำจัดขยะเศษอาหาร โดยสามารถย่อยสลายขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ร่วมกับจุลินทรีย์ Superbact ให้เป็นดินอินทรีย์ได้ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แล้วสามารถนำดินอินทรี่ย์ไปใช้ประโยชน์ได้ และดินอินทรีย์นั้นยังสามารถใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตครั้งต่อไปได้ ทั้งนี้ ต้องมีการเติมจุลินทรีย์ superbact ทุก 6 เดือน เพื่อประสิทธิภาพในการย่อยสลายขยะ
โครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุสินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากขยะลดปริมาณขยะเศษอาหารหรือขยะมูลฝอย ให้ชุมชนมีการลดและคัดแยกขยะอินทรีย์ มีการกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดขยะมูลฝอย และลดแหล่งแพร่เชื้อโรคที่เกิดจากขยะรวมทั้งประชาชน มีรายได้จากการขายขยะเปียกและเศษอาหาร ต้นทุนการผลิตลดลงและรายได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ สตง. มีข้อตรวจพบเรื่องการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์การตรวจสอบที่ได้มีการตกลงร่วมกัน
หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินต้องมีการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณขยะนำเข้าเครื่อง จำนวน 100 กิโลกรัมต่อครั้ง ร่วมกับจุลินทรีย์ Superbact เมื่อครบระยะเวลา 24 ชั่วโมง ให้นำดินอินทรีย์ออกจากเครื่องและให้คงเหลือดินอินทรีย์ไว้ในเครื่องแปลงขยะฯ เพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตครั้งต่อไป จำนวน 50 กิโลกรัม ทั้งนี้ให้มีการเติมจุลินทรีย์ Superbact ทุก 6 เดือน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการย่อยสลายขยะในการผลิตดินอินทรีย์ระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีอัตราการสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 25 หน่วย
@ ผลตรวจสอบการใช้ประโยชน์
จากการตรวจสอบการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ทั้ง 8 โครงการ จำนวน 11 เครื่อง งบประมาณก่อหนี้ผูกพัน จำนวน 15,394,000.00 บาท ผลเป็นดังนี้
1. หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินไม่ใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ทุกวันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 แห่งคิดเป็นร้อยละ 90.91 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ โดยพิจารณาจากจำนวนหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นสำคัญ เครื่องแปลงขยะฯ ทั้ง 10 แห่ง มีอัตราการใช้ไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 9 - 523 หน่วย เมื่อนำจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าของแต่ละแห่งมาทำการเปรียบเทียบกับอัตราการสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้า 25 หน่วย จะได้จำนวนครั้งในการใช้ประโยชน์ของเครื่องแปลงขยะฯ ระหว่าง 1 - 21 ครั้ง
ยกเว้นเทศบาลตำบลเสนางคนิคมไม่สามารถพิจารณได้จากหน่วยการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเทศบาลติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องแปลงขยะฯ รวมเข้ากับมิเตอร์ไฟฟ้าของตลาดสดเทศบาลตำบลเสนางคนิคม ซึ่งเทศบาลให้ข้อมูลว่ามีการใช้ประโยชน์เดือนละ 2 ครั้ง เท่านั้น และหากนำจำนวนครั้งการใช้ประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น มาทำการเปรียบเทียบกับระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบสังเกตการณ์ ซึ่งมีระยะเวลาระหว่าง 200 - 471 วัน โดยคำนวณเป็นอัตราร้อยละ
พบว่า มีอัตราการใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 0.26 - 5.59 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ ยกเว้นโรงเรียนหัวตะพานวิทยาคมใช้ระยะเวลาวันทำการเปิดภาคเรียนในการคำนวณอัตราการใช้ประโยชน์ จำนวนการใช้ประโยชน์และอัตราการใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ ดังนี้
1.1 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ(เครื่องที่ 1) ของเทศบาลตำบลไก่คำ ใช้ประโยชน์ จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (386 วัน)
1.2 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ(เครื่องที่ 2) ของเทศบาลตำบลไก่คำ ใช้ประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (386 วัน)
1.3 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ(เครื่องที่ 3) ของเทศบาลตำบลไก่คำ ใช้ประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (386 วัน)
1.4 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญของเทศบาลตำบลน้ำปลีก ใช้ประโยชน์ จำนวน 13 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (457 วัน)
1.5 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญของเทศบาลตำบลน้ำปลีก ใช้ประโยชน์ จำนวน 9 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.97 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (457 วัน)
1.6 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ ของสำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ประโยชน์ จำนวน 21 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.59 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (376 วัน)
1.7 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา ของเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ใช้ประโยชน์ จำนวน 7 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.75 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (401 วัน)
1.8 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดเทศบาลตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ ของเทศบาลตำบลอำนาจ ใช้ประโยชน์ จำนวน 18 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 3.82 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (471 วัน)
1.9 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงผลิตปุ๋ยชีวภาพ หมู่ 1 ตำบลเป๊อย อำเภอลืออำนาจของเทศบาลตำบลเปือย ใช้ประโยชน์ จำนวน 14 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.98 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ (470 วัน)
1.10 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม อำเภอหัวตะพาน ของโรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม ใช้ประโยชน์ 9 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.50 ของระยะเวลาวันทำการเปิดภาคเรียน (200 วัน)
@ แต่ละแห่งไม่มีขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์
2. หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินส่วนใหญ่นำขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์เข้าเครื่องแปลงขยะฯมีปริมาณไม่ถึง 100 กิโลกรัมต่อครั้ง เนื่องจากแต่ละแห่งไม่มีขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ ดังนี้
2.1 หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 54.55 ของเครื่องแปลงขยะฯที่ตรวจสอบ นำขยะเข้าเครื่องแปลงขยะฯ มีปริมาณไม่ถึง 100 กิโลกรัมต่อครั้ง ได้แก่
2.1.1 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลน้ำปลีก และเครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ของเทศบาลตำบลน้ำปลีก มีปริมาณขยะนำเข้า จำนวน 50 -60 กิโลกรัมต่อครั้ง
2.1.2 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ ของสำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ มีปริมาณขยะนำเข้า จำนวน 4 - 86 กิโลกรัมต่อครั้ง
2.1.3 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม ของเทศบาลตำบลเสนางคนิคม มีปริมาณขยะนำเข้า จำนวน 50 กิโลกรัมต่อครั้ง
2.1.4 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา ของเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา มีปริมาณขยะนำเข้า จำนวน 50 - 70 กิโลกรัมต่อครั้ง
2.1.5 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดเทศบาลตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ ของเทศบาลตำบลอำนาจ มีปริมาณขยะนำเข้า จำนวน 80 - 100 กิโลกรัมต่อครั้ง
2.2 หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 9.09 ของเครื่องแปลงขยะฯที่ตรวจสอบ ได้แก่ เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงผลิตปุ้ยชีวภาพ หมู่ 1 ตำบลเป๊อย อำเภอลืออำนาจของเทศบาลตำบลเปือย นำขยะเข้าเครื่องแปลงขยะฯ มีปริมาณ 100 กิโลกรัม ต่อครั้ง
2.3 หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 36.36 ของเครื่องแปลงขยะฯที่ตรวจสอบ ไม่มีข้อมูลปริมาณขยะนำเข้าเครื่องแปลงขยะฯ ได้แก่
2.3.1 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (เครื่องที่ 1 - 3) ของเทศบาลตำบลไก่คำ
2.3.2 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม อำเภอหัวตะพานของโรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม
3. หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินคงเหลือดินอินทรีย์ไว้ในเครื่องแปลงขยะฯ เพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตครั้งต่อไปมีปริมาณไม่ถึง 50 กิโลกรัม เนื่องจากขยะนำเข้ามีปริมาณไม่ถึง 100 กิโลกรัมต่อครั้ง ทำให้สัดส่วนดินอินทรีย์คงเหลือไม่ถึง 50 กิโลกรัมเช่นกัน รวมทั้งดินอินทรีย์ไม่สามารถใช้เป็นหัวเชื้อได้เนื่องจากไม่มีการเติมจุลินทรีย์ superbact ทุก 6 เดือน ข้อมูลน้ำหนักดินอินทรีย์คงเหลือในเครื่องแปลงขยะฯ เป็นดังนี้
3.1 ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนักไม่ถึง 50 กิโลกรัม จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ36.36 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ ได้แก่
3.1.1 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (เครื่องที่ 3) ของเทศบาลตำบลไก่คำ ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนัก 0.90 กิโลกรัม
3.1.2 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ของเทศบาลตำบลน้ำปลีก ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนัก 27.40 กิโลกรัม
3.1.3 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงผลิตปุยชีวภาพ หมู่ 1 ตำบลเปื่อย อำเภอลืออำนาจ ของเทศบาลตำบลเป๊อย ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนัก 15.55 กิโลกรัม
3.1.4 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม อำเภอหัวตะพานของโรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนัก 34.18 กิโลกรัม
3.2 ดินอินทรีย์คงเหลือมีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 9.09ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ ได้แก่ เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา ของเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา น้ำหนักคงเหลือ 93.59 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขยะเน่าเสียและมีน้ำส่งกลิ่นเหม็นไม่ใช่ดินอินทรีย์ เนื่องจากเทศบาลไม่มีการเติมจุลินทรีย์ Superbact ทุก6 เดือน เพื่อย่อยสลายขยะดังกล่าวทำให้ขยะคงเหลือมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
3.3 ดินอินทรีย์คงเหลือในเครื่องแปลงขยะๆ มีปริมาณไม่มาก แต่ไม่สามารถทราบน้ำหนักได้เนื่องจากหน้าจอประมวลผลชำรุด จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 54.55 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ ได้แก่
3.3.1 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่บ่อกำจัดขยะดงสีบู ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (เครื่องที่ 1 และ 2) ของเทศบาลตำบลไก่คำ
3.3.2 เครื่องแปลงขยะ ฯ ติดตั้งที่ตลาดสุดเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ของเทศบาลตำบลน้ำปลีก
3.3.3 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดสดเทศบาลตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม ของเทศบาลตำบลเสนางคนิคม
3.3.4 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ ของสำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ
3.3.5 เครื่องแปลงขยะฯ ติดตั้งที่ตลาดเทศบาลตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ ของเทศบาลตำบลอำนาจ
4. หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน ทั้ง 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ ใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ โดยไม่มีการเติมจุลินทรีย์ Superbact ทุก 6 เดือน เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ที่ต้องมีการเติมจุลินทรีย์Superbact ทุก 6 เดือน เพื่อประสิทธิภาพในการย่อยสลายขยะการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการขอรับจัดสรรงบประมาณไม่ได้มาจากปัญหาหรือความเดือดร้อนในการกำจัดขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ในพื้นที่
แต่เป็นงานนโยบายที่หน่วยดำเนินการ หน่วยรับงบประมาณ และหน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน มีความจำเป็นต้องปฏิบัติ และหน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ที่ต้องเติมจุลินทรีย์ Superbact ก 6 เดือน เพื่อประสิทธิภาพการย่อยสลายขยะให้เป็นดินอินทรีย์ภายใน 24 ชั่วโมง ดังกล่าวเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่คุ้มค่า และยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ รวมทั้งเสียโอกาสในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในด้านอื่นคิดเป็นมูลค่า 15,394,000.00 บาท
@ ข้อเสนอแนะ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญดำเนินการ ดังนี้
1. ให้ทบทวนการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ เนื่องจาก ทั้ง 11 เครื่อง ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ จังหวัดอำนาจเจริญยังไม่สามารถดำเนินการให้ประชาชนทำการคัดแยกขยะได้ และไม่มีข้อมูลหรือรายงานเกี่ยวกับปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ รวมทั้งบริบทของชุมชนการกำจัดขยะเศษอาหารส่วนใหญ่ได้นำไปเป็นอาหารสัตว์หรือปุ๋ยอินทรีย์แล้ว
แต่อย่างไรก็ตามหากในอนาคตจังหวัดอำนาจเจริญประสบปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ที่ต้องการกำจัด และมีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ และแนวทางในการบริหารจัดการเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ก็สามารถดำเนินการเสนอขอรับงบประมาณต่อไปได้
2. ในโอกาสต่อไปการเสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ นอกจากการพิจารณาตามนโยบายแล้ว ต้องพิจารณาถึงความเดือดร้อน ความจำเป็นเร่งด่วน และปัญหาที่เกิดจริงในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเมื่อดำเนินโครงการแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้รัฐต้องใช้จ่ายงบประมาณแล้วเกิดความไม่คุ้มค่า และรัฐสูญเสียงบประมาณโดย,ปล่าประโยชน์ รวมทั้งหน่วยรับโอนทรัพย์สินควรระบุความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ พื้นที่ และการบริหารจัดการทรัพย์สินประกอบบันทึกข้อตกลงรับโอนทรัพย์สินด้วย
3. แจ้งหน่วยงานเจ้าของทรัพย์สิน ทบทวนการใช้ประยชน์เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ หากเห็นว่าการใช้ประโยชน์จะไม่คุ้มค่า ขาดความพร้อมด้านวัตถุดิบ บุคลากร และงบประมาณ หรือมีวิธีการกำจัดขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ที่ดีกว่า ต้นทุนถูกกว่า ก็ให้ยุติการใช้ประโยชน์ หรือหากเห็นว่าในพื้นที่ของหน่วยงานของท่านมีปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ ต้องกำจัดโดยเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ มีปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์เป็นจำนวนมาก มีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณที่ต้องจัดสรรในการบริหารจัดการ และสามารถแก้ไขปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ในพื้นที่ได้จริงก็ให้ดำเนินการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมทั้งประสานผู้ขายมาให้คำแนะนำการใช้งาน กระบวนการผลิต การบำรุงรักษา โดยละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ ต่อไป
4. แจ้งหน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการบำรุงรักษา ตรวจสอบเครื่องแปลงขยะเศษโดยใช้จุลินทรีย์ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยเคร่งครัด
5. นำเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับโครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการอนุมัติงบประมาณในกรณีมีหน่วยงานอื่นประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณหรือโครงการลักษณะนวัตกรรม หรือเพื่อประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานอื่นที่มีความประสงค์จะรับโอนเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป และนำเสนอรองนายกรัฐมนตรีในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการเขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี
6. กำชับผู้ที่เกี่ยวข้องในการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณโครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ ควรเสนอโครงการที่เกิดจากปัญหาแท้จริงในพื้นที่ และเป็นโครงการภารกิจจำเป็น เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการและต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยเร็ว หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจะทำให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อประชาชน ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ร้ายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดในโอกาสต่อไป
@ สรุปผลการตรวจสอบ
การใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้ประโยชน์สูงสุดเพียง 21 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.59 ของระยะเวลาหลังวันตรวจรับงานถึงวันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบสังเกตการณ์ มีปริมาณขยะนำเข้าเครื่องแปลงขยะฯ ไม่ถึง 100 กิโลกรัมต่อครั้ง ทำให้ดินอินทรีย์คงเหลือเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตครั้งต่อไปมีปริมาณไม่ถึง 50 กิโลกรัม และไม่มีการเติมจุลินทรีย์ Superbact ทุก 6 เดือน เพื่อการย่อยสลายขยะให้เป็นดินอินทรีย์ภายใน 24 ชั่วโมง
สาเหตุเนื่องจากโครงการเป็นงานนโยบายที่หน่วยรับงบประมาณ หน่วยดำเนินการ และหน่วยรับโอนทรัพย์สินมีความจำเป็นต้องปฏิบัติ งแต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการกำจัดขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์การเสนอโครงการไม่ได้มาจากปัญหาข้อเท็จจริงของแต่ละพื้นที่ แต่เป็นการเสนอโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย หนังสือสั่งการ เป็นสำคัญ จากข้อตรวจพบดังกล่าวจึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่คุ้มค่ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งเสียโอกาสในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในด้านอื่น คิดเป็นมูลค่า 15,394,000.00 บาท
ทั้งหมดนี้ คือ รายงานผลการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับโครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 11 เครื่อง จำนวนเงิน 15,400,000.00 บาท ซึ่งพบว่า การใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ของเครื่องแปลงขยะฯ ที่ตรวจสอบ ที่สำนักข่าวอิศรา ได้รับมอบข้อมูลล่าสุด
@ อิศรา ขยายผลพบข้อสังเกต 2 ประการ
อย่างไรก็ดี สำนักข่าวอิศรา ได้ขยายผลการตรวจสอบโครงการฯ นี้ เพิ่มเติม พบข้อสังเกตสำคัญ 2 ประการ คือ
1. เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 11 เครื่อง วงเงิน 15,400,000 บาท กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานจัดซื้อ ขั้นตอนจัดซื้อแยกเป็นรายสัญญา มีเอกชนรายเดียวเป็นผู้ชนะ ใช้วิธีการประกวดราคาแบบเฉพาะเจาะจง
2. มีอีกหลายจังหวัดที่จัดซื้อ เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ แบบเดียวกับจังหวัดอำนาจเจริญด้วย
รายละเอียดเป็นอย่างไร สำนักข่าวอิศรา จะขอนำมาเสนอในตอนต่อไป