“…แต่ปัจจุบันเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้ว โดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้กลับมาคงเดิมในอัตรา ร้อยละ 51 ว่า มีความคืบหน้าไปในทิศทางใด…"
............................
ประชุมกันมาแล้ว 8 นัด โดยนัดล่าสุด (ครั้งที่ 8/2564) ประชุมกันไปเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2654 ที่ผ่านมา
สำหรับ คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ที่มี พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ เป็นประธาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 233/2564 สั่ง ณ วันที่ 9 ก.ย.2564 (อ่านประกอบ : โชว์คำสั่ง‘บิ๊กตู่’! ตั้ง‘พล.อ.วิทวัส’นั่งปธ.ตรวจสอบสัมปทานดาวเทียม-ถกนัดแรก 13 ก.ย.)
โดยมีอำนาจหน้าที่ คือ
1.การตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเป็นมา และการดำเนินการต่างๆ ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคม และ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น-ปัจจุบัน บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์) รวมถึงนิติสัมพันธ์อื่นที่เกี่ยวเนื่องในสมัยรัฐบาลต่างๆตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน
2.การตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ‘การปฏิบัติ’ หรือ ‘ละเว้นการปฏิบัติ’ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอมายังคณะรัฐมนตรี (ครม.)
กรณีที่ศาลฯมีคำวินิจฉัย ว่า การลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม (บริษัทลูกของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น) จากไม่น้อยกว่า 51% เป็นไม่น้อยกว่า 40% และกรณีการไม่เปิดให้มีการประมูลแข่งขันดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน เป็นการกระทำโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น และ บมจ.ไทยคม
3.การให้คำแนะนำแก่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในการเจรจาและดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ
และ 4.การดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2564 ที่มีมติให้ดำเนินการการหาผู้ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่รัฐและประชาชนได้รับ เนื่องจากการแก้สัญญาสัมปทานดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ
(พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์)
@พฤติการณ์ 5 อดีตรมต. แก้สัญญาเพิ่มสัดส่วนถือหุ้น ‘ไทยคม’
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) พบว่า ในขณะที่มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2564 มีมติให้ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ เข้าถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม ไม่ต่ำกว่า 51% ของหุ้นทั้งหมด และเห็นชอบให้ผนวกดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาสัมปทาน โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯพ.ศ.2562
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 นั้น (อ่านประกอบ : ย้อนปมแก้สัญญาดาวเทียม! ก่อนครม.ไล่เบี้ยหาคนผิด ลดหุ้น'ไทยคม’-ไม่ประมูล‘ไอพีสตาร์’)
ปรากฏข้อมูลว่า ก่อนหน้านั้นประมาณ 1 ปีเศษ คณะกรรมการป้องกันและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหนังสือที่ ปช 0019/1248 ตีตรา ‘ลับ’ เรื่อง ข้อเสนอแนะให้ ครม. ดำเนินการตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 32 ลงวันที่ 14 ส.ค.2563 ลงนามโดย พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ส่งตรงไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ครม.
ขณะที่ รายงานลับของ ป.ป.ช. ฉบับดังกล่าว ได้ถูกส่งให้กับคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ ชุด พล.อ.วิทวัส เพื่อประกอบการพิจารณาจตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆแล้ว
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า สำหรับหนังสือที่ ปช 0019/1248 เรื่อง ข้อเสนอแนะให้ ครม. ดำเนินการตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 32 มีเนื้อหาสาระสรุปได้ว่า
จากการที่ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กรณีกล่าวหา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ไอซีที ว่า ละเว้นไม่ดำเนินการให้ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 นั้น
พบว่า มีอดีตรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที (กระทรวงดีอีเอส) รวม 5 คน ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม ให้ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ‘เพิ่มสัดส่วน’ การถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ดังนี้
1.ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2553 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อสอบสวน และรวบรวมหลักฐานความเสียหาย เพื่อให้ทราบรายละเอียดความเสียหายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ตามข้อเท็จจริงของคำพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีข้อพิจารณาและความเห็นว่า การอนุมัติแก้ใขสัญญาสัมปทานให้ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลดสัดส่วนการถือครองหุ้นใน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 41 ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานในสาระสำคัญ จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา
และเนื่องจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานยังคงมีผลอยู่ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลโดยเงื่อนเวลาหรือเหตุอื่น เห็นควรที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยงานและองค์กรของรัฐที่อยู่ในควบคุมกำกับดูแลผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทาน นำประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ใด้ดำเนินการไปแล้ว เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือการดำเนินการ
2.จุติ ไกรฤกษ์
นายจุติ ไกรฤกษ์ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2554 เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อโปรดเห็นชอบในการดำเนินงานให้เป็นไปตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยเสนอเห็นควรให้ยกเลิกการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 5 เพื่อให้คงสัดส่วนการถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ดังเดิม
ซึ่งในการนี้ มีหน่วยงานให้ความเห็นประกอบการพิจารณา คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ว่า
การดำเนินการยกเลิกแก้ไขเพื่อให้คงสัดส่วนการถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นดุลพินิจของคณะรัฐมนตรี โดยต้องกระทำตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆตามข้อกำหนดไว้ในสัญญา และต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 อีกทั้งยังต้องคำนึงประโยชน์ของรัฐ หรือประโยชน์ของสาสารณะเป็นสำคัญอีกด้วย
โดยต่อมาเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2554 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้พิจารณาดำเนินการตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้เร่งรัดการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาณาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
เมื่อ นายจุติ ไกรฤกษ์ ได้รับแจ้งมติของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2555 แจ้งเพิกถอนสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 และให้บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คงสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในอัตราร้อยละ 51 ตามเงื่อนใขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารกายในประเทศ ฉบับที่ 5 ข้อ 4.2 โดยยังคงสภาพเป็นนิติบุคคลไทยตามที่กฎหมายกำหนด
เมื่อได้รับแจ้งคำสั่งเพิกถอนบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ก็ได้มีหนังสือแจ้งกลับมายังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกี่ยวกับข้อขัดข้อง และขอให้ร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัดส่วนในการถือหุ้นให้คงเดิมในอัตราร้อยละ 51 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแจ้งมาดังกล่าว
ต่อมาคณะคณะกรรมการประสานงานการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการ ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในการประชุมครั้งที่ 6/2554 พิจารณาเรื่องการเร่งรัดให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ดังเดิม
โดยมีข้อเสนอแนะให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณาดำเนินการ โดยให้มีหนังสือแจ้งให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ยืนยันระยะเวลาที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารกายในประเทศ ฉบับที่ 5 ว่า จะมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ขอบเขตระยะเวลาที่จะดำเนินการ รวมทั้งเสนอกรอบที่มีความชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
และเมื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหนังสือแจ้งบริษัทผู้รับสัมปทานดังกล่าวแล้ว บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาขน) ต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อทราบ และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
3.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการเพื่อแก้ใขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 4 กรณี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ไห้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ดังเดิม
โดยได้ดำเนินการให้ทั้ง บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาซน) ชี้แจงสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบริษัท พร้อมทั้งรายงานผลการศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทราบโดยด่วนที่สุด
ต่อมาคณะกรรมการประสานงานการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวภายในประเทศ ในการประชุมครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2555 และครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2556 พิจารณาแล้วเห็นว่า การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จากที่ต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้มีการวินิจฉัยว่า สัญญาดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 เป็นโมฆะหรือโมฆียะ จึงถือได้ว่าสัญญามีผลบังคับตราบจนกว่า จะมีการบอกเลิกเพิกถอนหรือหมดไปด้วยเงื่อนเวลา และได้มีมติให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดก่อนดำเนินการต่อไป
หลังจากที่ใด้รับทราบมติของคณะกรรมการประสานงานการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารกายในประเทศแล้ว น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการประสานงานการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดำเนินการตามกฎหมาย
โดยการมีหนังสือขอหารือการดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ กรณีการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 51 ไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด
ซึ่งต่อมาทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหารือดังกล่าวว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการยกลิกการแก้ไขสัญญาและการให้สัญญามีผลใช้บังคับต่อไป
จากนั้นจึงให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวรายงานผลการพิจารณา และเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทศโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ตามมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556
4.พรชัย รุจิประภา
นายพรชัย รุจิประภา ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางการดำเนินการกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ทำหน้าที่พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม กรณี การดำเนินการตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ
รวมถึงการยกเลิก การแก้ไขสัญญา และการให้สัญญามีผลใช้บังคับต่อไปด้วย และเสนอผลการพิจารณาและความเห็นต่อ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ตามมาตรา 72 พ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ ศ.2556 อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอน ตามที่ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหารือของทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากที่เคยมีหนังสือสอบถามไป
โดยคณะกรรมการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางเก้ไขเพิ่มเติมสัดส่วนหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และได้ข้อสรุปว่า
เห็นควรให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการให้บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน (เดิมคือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้นใน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่ามลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
โดยเสนอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามสัญญาดำเนินการกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ส่งเรื่องที่ได้ประชุมพิจารณากัน ให้ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบแนวทางการขอแก้ไขสัญญาและส่งเรื่องให้คณะกรรมการกำกับดูแล การดำเนินงานตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
5.อุตตม สาวนายน
อุตตม สาวนายน เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับทราบรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ตามมาตรา 72
ซึ่งมีความเห็นพ้องในคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขดำที่ อม. 14/2551 คดีหมายเลยแตงที่ อม.1/2553 และคดีหมายเลขดำที่ อม. 66/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม.107/2559 และมีความเห็นสอดคล้องและเห็นว่า
จำเป็นต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 ส.ค.2559 จึงได้มีการเสนอให้แก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 และเห็นควรดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 10 ก.ย.2564 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ
แต่ปัจจุบันเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้ว โดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้กลับมาคงเดิมในอัตรา ร้อยละ 51 ว่า มีความคืบหน้าไปในทิศทางใด
ซึ่งการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวนั้น มีผลต่อกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กิจการโทรคมนาคมเป็นสำคัญ
“ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบประมการทุจริต พ.ศ.2561มาตรา 32 จึงกราบเรียนมาโดยมีข้อเสนอแนะว่า คณะรัฐมนตรี ควรกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ รวมทั้งมาตรการต่างๆ
เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาซน ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กลับมาคงสัดส่วนการถือหุ้นจำนวน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ในสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 ให้ทันกำหนดเวลาก่อนสิ้นอุดสัญญา
เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขดำที่ อม.14/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 และคดีหมายเลขดำที่ อม.66/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม.107/2559” หนังสือที่ ปช 0019/1248 ลงนามโดย พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ระบุ
ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด (19 ก.พ.2564) พบว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรกของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้แก่ 1. บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน 41.13% 2.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือหุ้น 2.77% 3.นายวชิระ ทยานาราพร ถือหุ้น 2.55% 4.นายชวลิต วิสราญกุล ถือหุ้น 2.19% และ5.SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED ถือหุ้น 1.68%
จึงต้องตามต่อไปว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม ให้ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งปัจจุบัน คือ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม เป็นไม่น้อยกว่า 51% จากเดิมไม่น้อยกว่า 40% เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะได้ข้อสรุปอย่างไร หลังจากผ่านมาแล้ว 5 รัฐมนตรี แต่ยังไม่มีความคืบหน้า
อ่านประกอบ :
ไม่เห็นด้วยทำหนังสือมา! ‘ชัยวุฒิ’ แจงปม NT จ้าง ‘บมจ.ไทยคม’ บริหารดาวเทียม 20 ล้าน
'ก้าวไกล'ถูกฟ้องหมิ่น เรียกค่าเสียหาย 100 ล.ปมซักฟอก'ไทยคม'พาดพิงเอกชน
‘พฤฒิพร เนติโพธิ์’ แจ้งถอนตัว ‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม-ยันคู่กรณีไม่คัดค้าน 'ความเป็นกลาง’
อธิบดีอัยการสำนักอนุญาโตฯ ระบุชัด ‘ก.ดีอีเอส’ ตั้ง 'พฤฒิพร' คดีไทยคม ขัดระเบียบ-กม.
เปิดละเอียดข้อกล่าวหา!ยื่น ป.ป.ช.สอบ ‘รมว.ดีอีเอส- อสส.’ แทรกแซงตั้งอนุญาโตฯคดีไทยคม
‘ก.อ.’ ถกปมตั้ง ‘อนุญาโตฯ’ คดีดาวเทียมไทยคม ส่อมีปัญหา-แนะ ‘พฤฒิพร’ ถอนตัว
‘ดีอีเอส’ โยน ‘อสส.'ทบทวนตั้ง ‘พฤฒิพร’เป็นอนุญาโตฯคดีไทยคม หลังมีข้อครหาไม่เป็นกลาง
โชว์คำสั่ง‘บิ๊กตู่’! ตั้ง‘พล.อ.วิทวัส’นั่งปธ.ตรวจสอบสัมปทานดาวเทียม-ถกนัดแรก 13 ก.ย.
‘บอร์ด กสทช.’ ไฟเขียว NT เข้าใช้วงโคจรดาวเทียม หลังสิ้นสุดสัมปทาน 'ไทยคม'
ย้อนปมแก้สัญญาดาวเทียม! ก่อนครม.ไล่เบี้ยหาคนผิด ลดหุ้น'ไทยคม’-ไม่ประมูล‘ไอพีสตาร์’
ครม.ไฟเขียวแก้สัญญาดาวเทียม ให้‘อินทัช’ ถือหุ้น‘ไทยคม’ไม่ต่ำกว่า 51%-ผนวก'ไอพีสตาร์'
แกะคู่มืออนุญาโตฯ เปิดช่อง ‘ไทยคม’ ได้เปรียบคดีดาวเทียม เดิมพันค่าโง่ 2.5 หมื่นล้าน
อภิปรายไม่ไว้วางใจ : ชำแหละมหากาพย์ 'ดาวเทียม’ เอื้อกลุ่มทุน-‘ชัยวุฒิ’ ปัดอุ้ม‘ไทยคม’
‘อสส.’ ส่งชื่อ ‘พฤฒิพร เนติโพธิ์’ เป็น ‘อนุญาโตฯ’ ชี้ขาดคดีไทยคม 2 ข้อพิพาท
ผู้ตรวจอัยการฯ VS ปลัดดีอีเอส : ขอให้ยึดถือความสัตย์จริง ตรงไปตรงมา
เสี่ยงถูกครอบงำ! ‘ผู้ตรวจอัยการ’ ค้านตั้ง ‘อนุญาโตฯ’ คนเดียว รวบคดีไทยคม
อ้างผิดพลาด! 'ปลัดดีอีเอส'ขออภัย 'ผู้ตรวจอัยการ’ ยันไม่เปลี่ยน‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม 5
'รมว.ดีอีเอส' ยันเสนอชื่อ ‘อนุญาโตฯ’ คดี 'ไทยคม' ใหม่อีกรอบ ขึ้นอยู่กับ ‘อสส.’
‘ดีอีเอส’ ตีกลับ‘เลขาฯอสส.’! แจ้งขอเปลี่ยน 'อนุญาโตฯ' คดีพิพาทไทยคมอีกรอบ
4 ปมปัญหา! เบื้องหลังเปลี่ยน ’อนุญาโตฯ’คดีไทยคม หลังผลัดเก้าอี้ 'รมว.ดีอีเอส'
ปมขัดแย้งเปลี่ยน ‘อนุญาโตฯ’ ฝ่ายอัยการ คดีข้อพิพาท ‘ไทยคม’ เดิมพันผล ปย.หมื่นล้าน
เสียหายต่อชื่อเสียง! ‘ผู้ตรวจอัยการ’ จี้ ‘ปลัดดีอีเอส’ แจงปมเปลี่ยน 'อนุญาโตฯ' คดีไทยคม
ข้องใจ! ‘ผู้ตรวจฯอัยการ’ ถาม ‘ดีอีเอส’ หลัง ‘อสส.’ เปลี่ยน ‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม
อสส.ตั้ง 'เลขาฯ’ตัวเองนั่งอนุญาโตฯ ‘คนเดียว’ พิจารณาข้อพิพาทดาวเทียมไทยคม 3 คดี