นายทักษิณนั้นเป็นบุคคลที่มีเส้นสายเป็นอย่างดีกับรัฐบาลทหารเมียนมา และมีความคุ้นเคยกับบุคคลสำคัญของทางฝั่งนั้น ประเทศไทยและเมียนมาเองก็มีพรมแดนติดกัน นี่จึงผลักดันให้นายทักษิณไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.ที่ผานมา ที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้มีการแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ให้เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน มีผลตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป โดยนายทักษิณจะทำงานร่วมกับกลุ่มที่ปรึกษาที่เป็นอดีตนักการเมืองจากประเทศต่างๆ
ก็มีเสียงวิจารณ์แง่ลบมาจากทั้งนักวิชาการและนักการเมืองในฝั่งของประเทศไทยและฝั่งของมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิจารณ์แง่บวกกลับมาเช่นกัน โดยมองว่าการตั้งนายทักษิณดังกล่าวนั้นแท้จริงแล้วอาจจะมีประโยชน์ก็เป็นได้ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอาเสียงวิจารณ์ในแง่บวกที่ว่านี้มานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
นายเจมส์ ชิน นักวิชาการจากมาเลเซียที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลียสาขาเมืองแทสเมเนีย ได้วิจารณ์ถึงกรณีการแต่งตั้งนายทักษิณกับบทบาทของนายอันวาร์ที่จะต้องไปประสานงานในเรื่องเมียนมา รวมถึงในประเด็นใหญ่กว่า อาทิ ปัญหาในภูมิภาคตะวันออกกลาง ระบุว่า
@ทักษิณจะสามารถนำอะไรมาสู่โต๊ะอาเซียนได้บ้าง
แม้ว่าหลายคนจะระบุว่าการตัดสินใจของนายอันวาร์เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อาเซียน แต่ความพยายามที่จะรวมกลุ่มที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการนั้นค่อนข้างบ่อยมากในเวทีประชาคมระดับโลก
แนวคิดนี้ตรงไปตรงมา ก็คือผู้ที่แต่งตั้งจะได้คนที่เกษียณอายุแล้วที่มีความรู้และประสบการณ์มากมายเพื่อเสนอข้อมูลเชิงลึกและคําแนะนําอย่างไม่เป็นทางการ ผู้แต่งตั้งยังสามารถเข้าถึงแนวคิดและมุมมองที่แตกต่างกันโดยไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องมุ่งมั่นดำเนินการไปตามนั้น
ในสถานที่และบริบทต่างๆ การแต่งตั้งที่ปรึกษาที่มีลักษณะคล้ายกับกรณีการแต่งตั้งนายทักษิณ นั้นมักจะถูกเรียกกันว่าการจัดตั้ง "สภาผู้อาวุโส" สมาชิกของกลุ่มเหล่านี้มักจะมีเครือข่ายส่วนตัวที่ก้าวข้ามระเบียบราชการที่มีข้อจํากัดและปัญหาของการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ นี่เป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่หลายคนอาจไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้
โดยเมื่อมาถึงประเด็นเรื่องเมียนมา ต้องยอมรับว่านายทักษิณเป็นบุคคลที่มีค่าเป็นพิเศษ
นายทักษิณนั้นเป็นบุคคลที่มีเส้นสายเป็นอย่างดีกับรัฐบาลทหารเมียนมา และมีความคุ้นเคยกับบุคคลสำคัญของทางฝั่งนั้น ประเทศไทยและเมียนมาเองก็มีพรมแดนติดกัน นี่จึงผลักดันให้นายทักษิณไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
ข่าวนายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณเป็นที่ปรึกษา (อ้างอิงวิดีโอจาก CNA)
นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่านายทักษิณมีความสัมพันธ์ที่ดีในกัมพูชา ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางในแวดวงอาเซียนว่าใกล้ชิดกับจีนมากเกินไป นอกเหนือจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอดีตนายกรัฐมนตรีฮุนเซนผู้แข็งแกร่งของกัมพูชาแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันดีว่านายทักษิณมีการติดต่อระดับสูงในสิงคโปร์และบรูไน
นายทักษิณยังสามารถโปรโมตประเทศไทยด้วยคอนเซปว่า “หกประเทศ หนึ่งจุดหมายปลายทาง” ซึ่งคอนเซปนี้เกิดขึ้นมาในรูปแบบที่คล้ายกับเชงเกนวีซ่าของยุโรป โดยทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมาเยือนทั้ง มาเลเซีย,ไทย,กัมพูชา,เวียดนาม,ลาว และบรูไน ได้ด้วยการออกวีซ่าเพียงครั้งเดียว
ประเด็นพรมแดน เช่น การลักลอบค้ามนุษย์และขนยาเสพติด ตลอดจนการวางแผนเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่นทางถนน ทางรถไฟ และกรณีศุลกากรเพื่อกระตุ้นการเติบโตและกิจกรรมทางการค้า ก็อยู่ในวาระสําคัญของมาเลเซียเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาเลเซียกระตือรือร้นที่จะเริ่มก่อสร้างสะพานใหม่ที่เชื่อมต่อ อ.สุไหงโกลก ใน จ.นราธิวาสกับเมืองรานัวปังของรัฐกลันตันภายในสามปีข้างหน้า
นายทักษิณจึงอยู่ในตําแหน่งที่ดีในการส่งมอบการหล่อลื่นทางการเมืองที่จําเป็นมากในทุกด้านเหล่านี้
@ยังเร็วไปที่จะตัดสิน
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบและความกังวลเกี่ยวกับนายทักษิณ ส่วนมากล้วนมาจากกรณีที่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทุจริตในประเทศไทย
แต่ถ้าหากมองในรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินโทษของนายทักษิณ พบว่าการมองภาพนายทักษิณในแง่ลบ ส่วนหนึ่งก็มีปัจจัยมาจากลักษณะของการเมืองไทยที่ผันผวนเป็นหลัก ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยจำนวนมากยังคงสนับสนุนเขา และเขาเองก็เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในการเป็นดีลเมกเกอร์ หรือผู้ที่จะทำข้อตกลงต่างๆในแวดวงการเมืองไทย ซึ่งนี่ส่งผลทำให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวคนสุดท้องได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี
นายทักษิณ ช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2547 ได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีเมียนมาและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (อ้างอิงวิดีโอจาก AP)
อีกประเด็นที่ต้องยอมรับคือแม้ว่านายทักษิณจะโดนคดีทุจริต แต่ก็มีในเรื่องของประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้นจึงต้องบอกว่าตอนนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะบอกว่าคณะกรรมการที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนี้จะช่วยเหลือมาเลเซียในการเป็นผู้นําอาเซียนในปีหน้าอย่างไร
หลายสิ่งหลายอย่างยังต้องไปขึ้นอีกว่านายอันวาร์จะเสนอใครอีกเพื่อให้มานั่งในโต๊ะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะมีรายงานว่านายอันวาร์ได้เสนอชื่อ บุคคลอาทิ นายช่น จอร์จ เยว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการขนานนามจากสื่อมวลชนว่าเป็นผู้สมัครที่มีศักยภาพที่สุด ,นายเรตโน มาร์ซูดี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและบุคคลอาวุโสจากฟิลิปปินส์อีกรายหนึ่งให้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วย
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจะเป็นประโยชน์ไม่เพียง แต่ต่อนายอันวาร์และมาเลเซีย แต่ยังเป็นประโยชน์ต่ออาเซียนโดยรวมด้วย
เมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เข้าควบคุมนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว สิ่งต่างๆอาจมีความซับซ้อน ยุ่งยากขึ้นในอาเซียน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายทรัมป์ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องประเทศจีน ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากอดีตผู้นําที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคบ่งชี้ว่านายอันวาร์อาจพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าความเป็นเอกภาพของอาเซียนฝังรากลึกในหมู่สมาชิก
ในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดเตรียมพร้อมสําหรับปี 2568 ที่อาจเต็มไปด้วยความยากลําบาก คําแนะนําจากผู้อาวุโสที่ประสบความสําเร็จในการรับมือกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกันในการดํารงตําแหน่งของตนเองไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ควรได้รับการต้อนรับ แต่ยังมีความสําคัญต่อการดําเนินงานที่ราบรื่นนและความสามัคคีของอาเซียนด้วย
เรียบเรียงจาก: https://www.channelnewsasia.com/commentary/thaksin-anwar-asean-malaysia-thailand-adviser-politics-4815991