'สุริยะ' ประธานพิธีลงนามปิดดีลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน มองบวกช่วยจีดีพีประเทศ 0.1% สร้างงาน 30,000 ตำแหน่ง เผยอีกคุยเอกชนเร่งระบบเดินรถ หวังเปิดเร็วปี 70 ด้าน BEM ชี้จะเร่งรัดการจัดหาขบวนรถในปีนี้ อุบใช้ระบบประเทศไหน ส่วนอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บ. ส่วน 20 บาทตลอดสาย รอ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 140,000 ล้านบาท โดยมี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากการขอรับการสนับสนุนโครงการจากรัฐน้อยสุด (NPV) ที่ 78,287.95 ล้านบาท
นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้วาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระบบทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑทล ตลอดทางระยะทางรวม 35.9 กม. แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ฝั่งตะวันออก ข่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี
และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.14 กม. เป็นสถานีใต้ดินตลอดสาย 11 สถานี โดยที่ผ่านมา รฟม.ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของส่วนตะวันออกแล้วเสร็จเมื่อปี 2566 พร้อมทั้งการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ( พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โดยมีบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้รับสัมปทาน ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาของส่วนตะวันตกและติดตั้งระบบรถไฟฟ้างานให้บริการโดยรถไฟฟ้าและการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี
ด้านนายสุริยะกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการเดินทางของประชาชน ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนเดินทางในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ คาดว่าโครงการฝั่งตะวันออกจะรองรับผู้โดยสารได้ 150,000 เที่ยวคน/วัน และหากรวมกับโครงการด้านตะวันตก เมื่อก่อสร้างเสร็จครบแล้ว คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้เกือบ 4 แสนเที่ยวคน/วัน ซึ่งนโยบายนี้รัฐบาลเองต้องการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นอีกระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดพร้อมประหยัดการพลังงานช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยกับผู้บริหารของ BEM ว่า เมื่อเริ่มงานก่อสร้างฝั่งตะวันตกแล้ว จะมีการสั่งซื้อและออกแบบขบวนรถและระบบโดยสารทันที โดยคาดว่าจะเปิดบริการได้ต้นปี 2571 แต่ได้พยายามพูดคุยว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้เปิดเร็วกว่านั้น ซึ่งทางบริษัทรับปากว่า จะพยายาม เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่สิ้นปี 2570 ทั้งนี้ คาดว่าจะออกหนังสือให้เริ่มงาน (Noticee to Proceed:NTP) ภายในเดือนนี้
"ผมเชื่อว่า โครงการนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานรไม่ต่ำกว่า 30,000 คน มีการลงทุนซื้อวัสดุก่อสร้างต่างๆเป็นเงินมากกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ จะเป็นส่วนที่จะช่วยรัฐบาลกระจายการลงทุนและการก่อสร้างทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้นอย่างแน่นอนสำหรับโครงการนี้ โดยคาดว่าจะช่วยดันจีดีพีที่ 0.1%" นายสุริยะกล่าว
เมื่อถามว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทจะครอบคลุมถึงเส้นทางนี้หรือไม่ นายสุริยะตอบว่า กระทรวงคมนาคมได้ตั้งเป้าหมายแล้วว่า รถไฟฟ้าทุกสายที่ประชาชนขึ้นไม่ว่าจะต่อกี่สายก็แล้วแต่ กระทรวงต้องการจะเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอยู่และสิ่งสำคัญคือการทำให้ระบบนี้เป็นไปได้ จะต้องออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตั๋วร่วมซึ่งคาดว่าภายในเดือน ก.ค.นี้ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ก่อนจะผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ต่อไป ซึ่งในพ.ร.บ.ตั๋วร่วมระบุให้มีกองทุนเพื่อชดเชยรายได้จากการทำนโยบายรถไฟฟ้าไว้แล้ว โดยเงินในกองทึนจะมาจากงบประมาณส่วนหนึ่ง, การแบ่งรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รวมทั้งจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งได้มีการปรึกษากับทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วว่า สามารถนำเงินส่วนนี้มาใช้ได้
ส่วนค่าโดยสาร นายสุริยะยืนยันว่า จะไม่ไปรบกวนฝ่ายเอกชน เอกชนเก็บค่าโดยสารเท่าไหร่ก็เก็บเท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้ลดเท่าไหร่ เป็นเงินจำนวนเท่าไหร่จะใช้เงินจากกองทุนตามพ.ร.บ.ตั๋วร่วมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในระยะแรก รถไฟฟ้าสายสีส้มมีค่าโดยสาร 17-42 บาท โดยเป็นการเจรจาลดจากเดิมที่กำหนดไว้ 20-60 บาท
ผู้สื่อข่าวถาามต่อว่า การเร่งรัดการซื้อรถมีความคืบหน้าอย่างไร นายสุริยะกล่าวว่า ทางเอกชนได้ติดต่อกับธนาคารกรุงเทพแล้ว ได้รับทราบว่า ได้รับการปล่อยเงินกู้เต็มจำนวน เพราะเป็นโครงการที่มีความมั่นคงและเชื่อมั่นในบริษัทเป็นจะสามารถสั่งซื้อได้แน่นอน ส่วนตัวเลขที่ได้เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่นั้น นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการบริหาร BEM ปฏิเสธที่จะเปิดเผย เพราะอยู่ระหว่างกระบวนการซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ
ต่อมา นายพงษ์สฤษดิ์กล่าวว่า ภายในปีนี้จะเริ่มสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าได้ เบื้องต้นจะสั่งมาก่อน 30 ขบวน เพื่อนำมาให้บริการฝั่งตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ก่อน หลังจากนั้นอีก 6 ปีข้างหน้า เมื่อฝั่งตะวันตกก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะดำเนินการสั่งซื้ออีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้บริการทั้งสายทาง โดยรถที่สั่งซื้อขบวนละ 3 ตู้ ใช้เวลาผลิตและทดสอบระบบประมาณ 2 ปีจากประเทศต้นทาง หลังจากนั้น จะเข้ามาทดสอบในประเทศไทยอีกระยะหนึ่ง โดยเป้าหมายการเปิดให้บริการจะอยู่ที่ปี 2571ส่วนขบวนรถจะมาจากเจ้าไหน ยังขอไม่ระบุว่าจะสั่งซื้อจากที่ใด เนื่องจากยังอยู่ระหว่างพิจารณา
ส่วนการดำเนินงานโยธา ทางรฟม.เตรียมพื้นที่ไว้พร้อมแล้ว คาดว่าภายใน1-2 เดือนจะเข้าพื้นที่ เพื่อโยกย้ายระบบสาธารณูปโภคอุปโภคได้
อ่านเพิ่มเติม
ลงนามสายสีส้ม 18 ก.ค.นี้ รฟม.เร่งงานระบบเดินรถต้องเสร็จใน 3 ปี 6 เดือน
เปิดคำพิพากษาคดีประมูล‘สายสีส้ม’(จบ) 'เกณฑ์คัดเลือก'ไม่เอื้อ BEM-ตีตกปม ITD ขาดคุณสมบัติ
เปิดคำพิพากษาคดีประมูล‘สายสีส้ม’(1) ‘ศาล ปค.สูงสุด’ ชี้‘รฟม.’ออกTORถูกต้องตามขั้นตอนกม.
‘ศาลปค.สูงสุด’ยกฟ้องคดีประมูลรถไฟฟ้า‘สายสีส้ม’-‘สุริยะ’เร่งชง‘ครม.’อนุมัติเซ็นสัญญา BEM
‘ศาลปค.สูงสุด’นัดอ่านคดี BTS ฟ้อง‘รฟม.’ออกTORประมูล‘สายสีส้ม’ส่อกีดกันแข่งขัน 12 มิ.ย.
สศช.แนะ‘รฟม.’ปรับแผนเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม‘ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี’-เร่งหาเอกชนวิ่งสายสีม่วง
ไม่กีดกัน-เอื้อเอกชนรายใด! ‘ศาลปค.’ยกฟ้องคดี‘รฟม.’ออกประกาศเชิญชวนประมูล‘สายสีส้ม’ขัดกม.
มีผลเท่ากับยกเลิกมติครม.! เปิดความเห็นแย้ง ตุลาการ‘เสียงข้างน้อย’ คดีล้มประมูล‘สายสีส้ม’
ศาลปค.สูงสุด’พิพากษากลับ‘ยกฟ้อง’ คดี BTSC ฟ้อง‘รฟม.’ล้มประมูลรถไฟฟ้า‘สายสีส้ม’ไม่ชอบ
‘ศาลปค.สูงสุด’นัดตัดสิน คดี BTSC ฟ้อง‘รฟม.’ล้มประมูลรถไฟฟ้า‘สายสีส้ม’ไม่ชอบ 30 มี.ค.นี้
‘สภาผู้บริโภค’ แนะทางออก 2 รถไฟฟ้า ‘สายสีส้มประมูลใหม่’ - ‘สายสีเขียวไม่ต่อสัมปทาน’
ครม.ตีกลับ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ 1.4 แสนล้าน โยนครม.ชุดใหม่พิจารณา
เปิดชื่อ 20 ตุลาการฯ'เสียงข้างน้อย' เห็นแย้งคดีแก้TORสายสีส้มฯ ชี้'รฟม.'ใช้อำนาจโดยพลการ
มีอำนาจ-ใช้ดุลพินิจโดยชอบ!‘ศาลปค.สูงสุด’ยกฟ้องคดี‘บอร์ดคัดเลือกฯ-รฟม.’แก้ TOR สายสีส้มฯ
‘ศักดิ์สยาม’ สอน ‘ชูวิทย์’ รถไฟฟ้าสายสีส้ม อย่าพูดลอยๆ ต้องมีหลักฐานชัดๆ
‘ชูวิทย์’ แฉสายสีส้มมีพิรุธ ‘เงินทอน-กระบวนการยุติธรรม’ รฟม.โต้โปร่งใสทุกขั้นตอน
'รฟม.'รอศาลปค.สูงสุดชี้ขาด 3 คดีก่อนชง'ครม.'เคาะสายสีส้ม-โต้'ก้าวไกล'ยันประมูลชอบด้วยกม.
ส่อผิดกม.ฮั้ว! ฝ่ายค้านฯยื่น‘ป.ป.ช.’ไต่สวน‘บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม’กรณีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ