รองนายกฯภูมิธรรม เผย พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านทำดิจิทัลวอลเลต ถึงมือกฤษฎีกาแล้ว รอตรวจร่าง ย้ำต้องทำ เพราะเศรษบกิจตกต่ำ ด้าน ‘จุลพันธ์’ พูดคีย์เดียวกัน ถึงมือกฤษฎีกา เมิน ‘ศิริกัญญา’ วิจารณ์ ถือเป็นมุมมอง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้ 500,000 ล้านบาท สำหรับดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเลต จำนวน 10,000 บาท เลขาธิการกฤษฎีกาได้รับเรื่องไปแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของกฤษฎีกา โดยจะพยายามเร่งให้ดำเนินการเร็วที่สุด
ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านการกู้เงินนั้น นายภูมิธรรม ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด แต่ขอให้พิจารณาว่า ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเลือกตั้ง ก็ได้มีการนำเสนอนโยบายนี้ต่อประชาชน ดังนั้น ในการวิพากษ์วิจารณ์ จึงขอให้ยอมรับสิ่งที่ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกเข้ามา และรัฐบาลก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ประชาชน และพร้อมปรับวิธีการ รับฟังผู้เห็นต่างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
นายภูมิธรรม ยังย้ำอีกว่า รัฐบาลได้พยายามดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ขั้นตอนตามกฎหมายต่างๆ ไม่ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการนั้น ไม่เป็นเรื่องจริง และเป็นเพียงการนำความรู้สึกส่วนตัวออกมากล่าวหา
@ชี้เศรษฐกิจตกต่ำ ต้องกระตุ้น
รองนายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่า เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ติดลบ ไม่ได้ดีอย่างที่หลายคนคาดการณ์ และตัวเลขมีการปรับตัวลดต่ำลง ดังนั้น ต้องให้ความเป็นธรรมกับประชาชนและพรรคเพื่อไทย ที่ทุกคนต้องการเงินในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ และนโยบายนี้ จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยประชาชน และหวังว่า กระบวนการต่างๆ จะเดินหน้า แม้ในการกู้เงิน เดิมทีรัฐบาลไม่ได้มีการคิดไว้ แต่ก็ได้มีการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และ และเมื่อมีการหาเสียงไว้แล้ว ก็จะต้องทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน ดังนั้น ผู้ที่คัดค้าน รวมถึงพรรคการเมืองบางพรรค ก็จะต้องรับฟังเสียงตามระบบประชาธิปไตย แต่หากทำแล้วล้มเหลว ก็ต้องว่ากันไปตามสถานการณ์
ส่วนจะเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาพระราชบัญญัติเงินกู้ของสภาหรือไม่นั้น นายภูมิธรรม มองว่า เป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาล เห็นพ้องต้องกันแล้ว ดังนั้น จึงคิดว่า กระบวนการรัฐสภา ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ก็จะไม่มีปัญหา รวมถึงหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ก็ได้รับทราบถึงการกู้เงินมาดำเนินนโยบายดังกล่าวแล้ว เนื่องจากได้มีการพูดคุยกันมาโดยตลอด จึงไม่น่ามีปัญหา
เช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเงินกู้ ของสมาชิกวุฒิสภา ภายหลังหากสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้วนั้น นายภูมิธรรม เปิดเผยว่า ตนเองได้พูดคุยกับ ส.ว.บางคนแล้ว เพื่อชี้แจงถึงความตั้งใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเร่งชี้แจง และตอบคำถามทุกประเด็นให้ได้ แต่สุดท้าย ก็จะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ส.ว.ต่อไป
@’จุลพันธ์’ คีย์เดียวกัน อยู่ที่กฤษฎีกาแล้ว
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในประเด็นเดียวกันว่า เรื่องนี้กำลังดำเนินการอยู่ และยังไม่สามารถตอบได้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะให้คำตอบในการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเมื่อใด ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกตามกระบวนการ และระหว่างนี้ หลักเกณฑ์ต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากว่าจะต้องมีการปรึกษาข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เรียบร้อยก่อน
นายจุลพันธ์ กล่าวยอมรับว่า เรื่องนี้ มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถือเป็นเรื่องปกติในที่ประชุม แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างครบถ้วน และรับฟังเสียงสะท้อนทุกรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน เพื่อให้เป็นไปตามเสียง ที่ได้รับฟังมา พยายามทำให้โครงการนี้เป็นประโยชน์มากที่สุด และเป็นไปตามกรอบของกฎหมายทุกประการ ยอมรับในที่ประชุมก็มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ส่วนจะเปิดเผยได้หรือไม่ ตนไม่ทราบในส่วนของข้อกฎหมาย แต่สามารถตอบความเห็นได้ในทุกประเด็น
@เมินโต้ ‘ศิริกัญญา’ แล้วแต่จะมอง
ส่วนกรณีที่ นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาระบุว่า รัฐบาลไม่สามารถอ้างเรื่องเศรษฐกิจโตไม่เป็นไปตามเป้า เพื่อกู้เงินมาแจกได้ ว่า ถือเป็นมุมมองมิติที่ต่างกัน นางสาวศิริกัญญา อาจจะมองถึงความจำเป็นและความหนักหน่วงของสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็มีมิติ เรามีเป้าหมายจะต้องบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ก็ถือเป็นมุมมองของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้ว ก็มีขั้นตอนตามกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย รัฐบาลก็มีหน้าที่ในการนำเสนอขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นไปตามกรอบ โดยบอกถึงเหตุผลและความจำเป็น แต่ในความเห็นต่างสามารถที่จะมาหารือกันได้
สำหรับกรณีภาคเอกชนบางส่วนเรียกร้องให้ออกมาใช้ช่วงเดือนเมษายนปี 2567 เพื่อให้ทันต่อเทศกาลสงกรานต์ นายจุลพันธ์ ยืนยันว่า ตามกรอบเวลาแล้วไม่สามารถใช้ได้ และทันจริงๆ เพราะเรื่องการออก พ.ร.บ.มีขั้นตอนการกฎหมายอยู่ กรณีที่ไม่มีอุปสรรคใดเลย เร็วที่สุดก็เดือนพฤษภาคมแล้ว
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ส่วนตัวมีความมั่นใจ ร่าง พ.ร.บ.นี้จะผ่านสภา แต่เท่าที่รับฟัง แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ทุกคนก็เห็นถึงความเดือดร้อน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเชื่อว่า ส.ว.จะไม่ใช่อุปสรรค เพราะทุกคนก็จะเห็นถึงปัญหา
อ่านประกอบ
ย้อนดู‘กม.กู้เงิน’ 9 ฉบับ ก่อน'รบ.เศรษฐา'จ่อชง'พ.ร.บ.กู้ฯ’5 แสนล.แจก‘เงินหมื่นดิจิทัล’
เศรษฐา ทวีสิน : ชงออก 'พ.ร.บ.กู้เงินฯ' 5 แสนล้าน แจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเลต
นายกฯเผยรับสิทธิ์ดิจิทัลวอลเลต ต้องมีรายได้ต่ำกว่า 7หมื่น/เดือน-เงินฝากไม่ถึง 5 แสน
ประชาชน 50.08% คิดว่าต้องแจกเงินดิจิทัลวอลเลตทุกกลุ่มโดยไม่มีเกณฑ์เงินเดือน-เงินฝาก
แจกเงินดิจิทัล 10,000 บ.! ทีดีอาร์ไอ : การรักษาวินัยการคลังในระบอบประชาธิปไตยเลือกตั้ง
เป็นกลาง-รอบด้าน-ไม่ก้าวล่วงฝ่ายบริหาร! ป.ป.ช.เผยชื่อบอร์ดศึกษาฯ 'ดิจิทัลวอลเลต'
เบื้องหลัง! ‘ป.ป.ช.’ตั้งบอร์ดศึกษาฯ‘ดิจิทัลวอลเลต’-ขีดเส้น 60 วันชงข้อเสนอสกัดทุจริต
‘เศรษฐา’ ขอรอคำตอบทั้งหมดเกี่ยวกับ ดิจิทัลวอลเลต หวั่นประชาชนสับสน
เปิด 3 เกณฑ์คัดคนรวย ‘ดิจิทัลวอลเลต’ ชง ‘เศรษฐา’ พิจารณาสัปดาห์หน้า
‘สุภา’นั่งประธาน! ‘ป.ป.ช.’มีมติตั้งบอร์ดศึกษาฯ‘ดิจิทัลวอลเลต’ ชงข้อเสนอป้องกันทุจริต
นโยบายแจกเงินดิจิทัลหมื่นบาทในมุมมองการเมือง
ย้อนดู‘หนี้ประเทศ-ภาระผูกพัน’ ก่อน‘รบ.เศรษฐา’เร่งหาแหล่งเงิน 5.6 แสนล.โปะ‘ดิจิทัลวอลเลต’
ป.ป.ช.จับตานโยบายแจกเงินดิจิทัล เตรียมประสานนักวิชาการ-หน่วยงานให้ข้อมูล
‘จุรินทร์’ อัดเงินหมื่นดิจิทัล รัฐบาลต้องชัดที่มาของเงิน-วิธีแจก
‘นพ.วรงค์’ร้อง‘ผู้ตรวจการแผ่นดิน’หาข้อเท็จริง-ส่งเรื่อง‘ศาลปค.’สั่งระงับแจก‘เงินดิจิทัล’
‘เศรษฐา’ ปัดแบ่งแยกประชาชนปมดิจิทัลวอลเลต-สั่งเดินหน้า ‘แลนด์บริดจ์’
ปชช. 30.92% ค่อนข้างกังวลนโนบายดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท อาจได้ไม่คุ้มเสียกับประเทศ
‘เศรษฐา’ ขอคนเห็นด้วยดิจิทัลวอลเลตส่งเสริม-ลดวงเงินสี่แสนล้านข่าวมั่ว
การแจกเงินดิจิทัลเป็นการจ่ายเงินแผ่นดินที่ขัดรัฐธรรมนูญ
ป.ป.ช.จับตา 'แจกเงินดิจิทัล' เข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่