เผยรายงานสตง.สอบระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ Water Purifying Unit สินค้าบัญชีนวัตกรรม นโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี 30 โครงการ 18.4 ล้าน พบลงทุนสูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ หลายแห่งไม่มีการใช้ประโยชน์ถูกทิ้งร้าง งบหลวงสูญเปล่า 14.3 ล้าน จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าแก้ไขปัญหาแล้ว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่รายงานผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินโครงการระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย จำนวน 30 โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 18,450,000 บาท ของจังหวัดตรัง พบปัญหาโครงการไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ตั้งแล้วเสร็จไม่ได้ใช้งาน และไม่สามารถให้บริการครัวเรือนผู้ใช้น้ำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ไม่สามารถผลิตน้ำประปาที่สะอาดสำหรับการบริโภคได้ตามวัตถุประสงค์ มีจำนวน 22 โครงการ ไม่ได้ใช้งาน ทำให้ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำถูกทิ้งร้าง คิดเป็นวงเงินกว่า 14,322,000 บาท
รายงานผลการตรวจสอบ สตง.ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2563 จังหวัดตรัง ดำเนินโครงการระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย จำนวน 30 โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น18,450,000.00 บาท วัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อผลิตน้ำที่สะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค และเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน ในการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มอบอำนาจให้นายอำเภอที่อยู่ในพื้นที่โครงการเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญา ด้วยวิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจง เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะโอนพัสดุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โครงการเป็นผู้ควบคุมดูแล
สตง.ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการดังกล่าว พบว่า ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ติดตั้งแล้วเสร็จไม่ได้ใช้งานจำนวนมาก โดยจากการตรวจสอบสังเกตการณ์ โครงการทั้งหมด จำนวน 30 โครงการ จังหวัดตรัง ดำเนินโครงการแล้วเสร็จทุกโครงการ ณ วันที่เจ้าหน้าที่ สตง. เข้าตรวจสอบพื้นที่ดำเนินโครงการเพียงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีการเปิดใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ จำนวน 8 โครงการ และไม่มีการใช้งาน จำนวน 22 โครงการ เนื่องจากเมื่อใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำร่วมกับระบบประปาเดิมประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ จึงต้องกลับไปใช้ระบบผลิตน้ำประปาแบบเดิม ทำให้ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งาน คิดเป็นเงิน 14,322,000 บาท
สำหรับโครงการที่มีการเปิดใช้งานปรากฏว่า การใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำร่วมกับระบบประปาเดิม ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้ทันกับความต้องการใช้น้ำของครัวเรือนตามเป้าหมายและไม่ครอบคลุมจำนวนครัวเรือนผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการสาเหตุเกิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำผลงานนวัตกรรมไทย มาใช้ในการจัดทำโครงการโดยไม่ศึกษารายละเอียดข้อจำกัดของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำว่ามีความเหมาะสมสามารถนำมาใช้กับระบบประปาเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และขาดการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ทำการปกครองอำเภอกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสำรวจพื้นที่ดำเนินการและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนจัดทำโครงการ
รายงานสตง.ระบุว่า นอกจากปัญหาติดตั้งแล้วเสร็จไม่ได้ใช้งานแล้ว ยังพบปัญหาไม่สามารถผลิตน้ำประปาที่สะอาดสำหรับการบริโภคได้ตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อผลิตน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากไม่มีการใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ 22 โครงการ ประชาชนผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการจึงไม่ได้ใช้น้ำจากระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ส่วนอีกจำนวน 8 โครงการ แม้จะมีการใช้งานระบบแต่น้ำประปาที่ผลิตได้ถูกส่งไปเก็บรวมไว้กับน้ำที่ผ่านการกรองจากระบบประปาเดิมก่อนจ่ายน้ำสู่บ้านเรือนผู้ใช้น้ำ ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำจากระบบผลิตน้ำประปาเพื่อส่งทดสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเอกสารรายงานผลการทดสอบคุณภาพน้ำดิบ ก่อนเข้าระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ จำนวน 30 โครงการพบว่า มีจำนวน 11 โครงการ ที่คุณภาพน้ำดิบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ซึ่งหากมีการสูบส่งน้ำสู่บ้านเรือนประชาชนโดยไม่ผ่านการกรองจะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำ และมีจำนวน 19 โครงการ ที่ไม่ตรวจเชื้อจุลินทรีย์ E.coli และ Coliform ตามที่กำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค จึงไม่ทราบว่าน้ำมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวหรือไม่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ อปท. ให้ข้อมูลว่า ครัวเรือนผู้ใช้น้ำ ต้องการน้ำใช้ที่สะอาดในการอุปโภคเท่านั้น แต่ไม่บริโภค และไม่ประสงค์จะดื่มน้ำประปาแม้จะใสสะอาด โครงการระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ตามบัญชีนวัตกรรมไทยจึงเป็นการลงทุนที่สูงกว่าที่ควรเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ
แหล่งข่าวจาก สตง.ระบุว่าเกี่ยวกับรายงานผลการตรวจสอบโครงการฯ นี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันหาแนวทางบริหารจัดการให้มีการใช้ประโยชน์โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินและภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยงานเป็นสำคัญ สตง.ได้แจ้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำประปาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างเร่งด่วน และตรงตามความต้องการของผู้ใช้น้ำอย่างแท้จริง ในโอกาสต่อไป
"หากมีโครงการในลักษณะเดียวกัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์และสำรวจข้อมูลข้อจำกัดของพื้นที่ดำเนินโครงการ สภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แล้วนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนจัดทำโครงการอย่างรอบคอบ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งใช้จ่ายงบประมาณในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของประชาชนผู้ใช้น้ำที่ต้องการเพียงใช้น้ำแต่ไม่ดื่มกิน เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์" แหล่งข่าวระบุ
อนึ่งก่อนหน้านี้ สตง. ได้เผยแพร่รายงานการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการระบบผลิตน้ำประปา (POG TANK) ซึ่งเป็นโครงการที่นำระบบประปาแบบใหม่ตามที่ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยโดยสำนักงบประมาณ ตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 7 แห่ง รวม 20 โครงการ งบประมาณ รวม 102.1 ล้านบาท พบไม่มีการใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ จำนวน 12 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนโครงการที่ตรวจสอบไปแล้ว
ขณะที่ สำนักข่าวอิศรา เคยตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย พบว่ามีเอกชนกลุ่มหนึ่ง นำสินค้ามาขึ้นทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทย สำนักงบประมาณ ปรากฏชื่อเข้าเป็นคู่สัญญางานจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับหน่วยงานรัฐในช่วงปี 2563-2564 นับร้อยโครงการ รวมวงเงินมูลค่านับพันล้านบาท
- เจอผื่นคัน! สตง.สอบงานระบบผลิตน้ำประปา บัญชีนวัตกรรม อปท.สุรินทร์ 102.1 ล.ปัญหาเพียบ
- ฉบับเต็ม! สตง.ชำแหละงานระบบผลิตน้ำประปาสินค้าบัญชีนวัตกรรม สุรินทร์ 102.1 ล.
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง :
ภาพรวม:
- ป.ป.ช.เห็นชอบมาตรการป้องกันทุจริต นโยบายจัดซื้อจัดจ้าง บัญชีนวัตกรรม
- เปิดข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ชงรัฐล้อมคอกจัดซื้อฯ‘สินค้านวัตกรรม’-ชง 4 แนวทางแก้‘ทุจริต-ผูกขาด’
- ขมวดปมร้อน!จัดซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรม เอกชนกลุ่มเดียวคว้างานพันล.นโยบายรัฐเสี่ยงเอื้อปย.?
- อปท.แห่ซื้อเป็นร้อยโครงการ! ล้วงข้อมูล ป.ป.ช.สอบสินค้านวัตกรรม'ป๊อกแทงค์-Water Purifying'
- หลังบ.กลุ่มเดียวคว้างานพันล.! ป.ป.ช.สั่งศูนย์CDC จับตาซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรมใกล้ชิด
- เฉลิมพล เพ็ญสูตร:ปมขายสินค้านวัตกรรมรายเดียวพันล.รัฐไม่มีเจตนาเอื้อปย.-ทุจริตเชิงนโยบาย
- กมธ.ติดตามการบริหารงบ แนะสวทช.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคุ้มทุนโคมไฟถนนโซลาร์เซลล์
- เปิดละเอียด! ข้อสังเกตกมธ.ติดตามงบฯ ซักประเด็นจัดซื้อโคมไฟนวัตกรรม คุ้มค่าราคาหรือไม่?
สินค้าเอกชนกลุ่มแรก:
เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- จี้ผู้ว่าฯทบทวน! สตง.สอบงบเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล. อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ฉบับเต็ม! สตง.ชำแหละโครงการเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล.อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ตัวละ1.4 ล้าน! แกะรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 11 ตัว15.3 ล. อำนาจเจริญ ซื้อจากไหน?
- ไม่มีขายทั่วไป! ผู้ว่าฯอำนาจเจริญ แจงซื้อเครื่องแปลงเศษอาหาร15.4 ล. บ.เดียว-ใช้งบรองนายกฯ
- สินค้าที่ 3 เครื่องแปลงขยะบัญชีนวัตกรรม เจ้าของกลุ่มเดิมอีกแล้ว สตง.เคยสอบที่อำนาจเจริญ
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! สตง.สอบระบบผลิตน้ำประปากระบี่ 145 ล.พบปัญหาซ้ำรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์
- เจาะจัดซื้อระบบผลิตน้ำประปาบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียว คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- ไขที่มา POG TANKS สินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียวคว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- เปิดตัวเจ้าของ 'ป๊อกแทงค์' ไขข้อสงสัยสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- เจาะสินค้าบัญชีนวัตกรรม 'ป๊อกแทงค์-Water Purifying' เจ้าของเดียวกัน-ได้งานรัฐอีก 32 ล.
- เบื้องลึก! 'Water Purifying' ป.ป.ช.บึงกาฬชงสอบอดีตผู้ว่าฯ-8 นอภ.แจ้งถอนชื่อบัญชีนวัตกรรม
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
สินค้าเอกชนกลุ่มสอง:
โคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์แบบประกอบในชุดเดียว (ALL In One Solar Street Light) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! เปิดตัวเอกชนกลุ่ม 2 ขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน ได้งานอปท.ทั่วปท. 1,514 ล้าน
- เปิด '6 อบจ.' สนองนโยบายรัฐ ทุ่มซื้อสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน - สระบุรี มากสุด 392 ล.
- ลูกค้ามั่นใจ-ของไม่มีปัญหา! ผู้บริหารบ.โซดิแอคท์ แจงขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน 1.4 พันล.
- อบจ.สระบุรี ซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม194 ล. '3 บ.ผู้จำหน่าย-ตัวแทน' รับซอง แต่ไม่ยื่นแข่ง 2
- ปชช.ต้องการ! อบจ.สระบุรีแจงซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 329 ล.-เอกชนคุณสมบัติครบตัดสิทธิไม่ได้
- ยอดพุ่ง 454 ล.! อบจ.สระบุรีซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 5 สัญญา บ.กลุ่มเดิมรับซอง-แต่ไม่ยื่นแข่ง
กรณีทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม
- ข้อมูลใหม่! อปท.แห่ทำถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม TOR กำหนดรหัสสินค้าชัดเจน
- ส่วนกลางกำหนดมา! นายก อบต.สร้างมิ่ง แจงปมสร้างถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม 3 สัญญารวด
- ชนะคู่เทียบหลักพัน!ไส้ใน อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม กำหนดคุณสมบัติเจาะจง
- ไส้ในสัญญาที่ 2! อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม เจาะจงคุณสมบัติ-ชนะหลักพันอีก
เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน
- พบ 'คู่เทียบ' หจก.ลูกพล.อ.ปรีชา ขายเครื่องสูบไฮดรอลิคสินค้านวัตกรรม ได้งาน กรมฯน้ำ 233 ล.
- เผยโฉม! เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน กรมฯ น้ำ ทุ่มซื้อ 22 เครื่อง 233 ล.
- ยอดพุ่ง 913 ล้าน! กรมชลฯ เจ้าแรกเจาะจงซื้อเครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม 64 ตัว 679 ล.ปี 65
- ท.บางแก้ว แห่งที่ 3! ซื้อเครื่องสูบนวัตกรรม 5 ตัว 44.6 ล. ยอดขาย บ.นำพลฯ กระฉูด 957 ล.
- เปิดตัวนักวิจัย ม.ศรีปทุม เจ้าของผลงานเครื่องสูบน้ำนวัตกรรม ก่อน บ.คว้าสัญญารัฐ 957 ล.