"...ผลกระทบ ทำให้งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเกิดความไม่คุ้มค่าจำนวน 4 โครงการ เนื่องจากไม่มีการใช้ประโยชน์ จำนวน 20,795,000.00 บาท และประชาชนเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ระบบประปาหมู่บ้านในกรณีที่ไม่พร้อมใช้งานภายหลังมีการส่งมอบ..."
ประเด็นตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการระบบผลิตน้ำประปา (POG TANK) ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยโดยสำนักงบประมาณ ตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และให้ประชาชนมีน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัยตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก(WHO) ในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ นั้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข้อมูลไปแล้วว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่รายงานการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการระบบผลิตน้ำประปา (POG TANK) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 7 แห่ง รวม 20 โครงการ งบประมาณ รวม 102.1 ล้านบาท พบไม่มีการใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ จำนวน 12 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนโครงการที่ตรวจสอบ โดยส่วนโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แก อำเภอรัตนบุรี หมู่ 7 บ้านดงแหลม เนื่องจากน้ำที่ผ่านระบบประปาแบบ POG TANK มีสีขุ่นเหมือนตะกอนสนิม จึงทำให้ไม่เปิดใช้งาน ขณะที่จากการสัมภาษณ์ผู้รับจ้างให้ข้อมูลว่า เกิดจากน้ำบาดาลที่ใช้ในการผลิตประปาทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตประปา อีกทั้งจุดที่ติดตั้งระบบประปาดังกล่าวประสบปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ เกิดปัญหาไฟฟ้าตกทำให้ไม่ได้เปิดใช้งาน
ขณะที่ คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านและประชาชนในพื้นที่ดำเนินการให้ข้อมูลว่าเคยเปิดใช้งานภายหลังติดตั้งแล้วเสร็จเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วหยุดการใช้งาน เนื่องจากใช้น้ำประปาแล้วมีอาการผื่นคัน
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดในรายงาน สตง. สรุปผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการระบบผลิตน้ำประปา (POG TANK) ในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ทั้งหมด
หนึ่ง.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ได้รับงบประมาณประจำปี 2565 - 2566 เพื่อดำเนินโครงการระบบผลิตน้ำประปา POG TANK จำนวน 7 แห่ง รวม 20 โครงการ งบประมาณรวม 102.1 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวได้นำระบบประปาแบบใหม่ตามที่ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยโดยสำนักงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และให้ประชาชนมีน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัยตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหางานก่อสร้างปัญหาความซับซ้อนของการจัดการ และปัญหาการดูแลบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำประปาอีกด้วย
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคเป็นการดำเนินการต่อเนื่องหลายปี แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงการดังกล่าวเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้เป็นที่สนใจของประชาชน
ดังนั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) จึงได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการผลิตน้ำประปา (แบบ POG TANK) ของององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบว่าระบบประปา POG TANK ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้น้ำประปามีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ มีการใช้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ รวมทั้งเพื่อทราบปัญหา อุปสรรคข้อจำกัดในการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
สอง.
จากการตรวจสอบพบประเด็นปัญหา ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 : ระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANK ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ
จากการตรวจสอบระบบประปาแบบ POG TANK ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน7 แห่ง รวมจำนวน 20 โครงการ พบว่า ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพจำนวน 12 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนโครงการที่ตรวจสอบ ดังนี้
1.1 ระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANK ไม่มีการใช้ประโยชน์ จำนวน 4 โครงการ คือ
1) องค์การบริหารส่วนตำบลแก อำเภอรัตนบุรี หมู่ 7 บ้านดงแหลม เนื่องจากน้ำที่ผ่านระบบประปาแบบ POG TANK มีสีขุ่นเหมือนตะกอนสนิม จึงทำให้ไม่เปิดใช้งาน
จากการสัมภาษณ์ผู้รับจ้างให้ข้อมูลว่า เกิดจากน้ำบาดาลที่ใช้ในการผลิตประปาทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตประปา อีกทั้งจุดที่ติดตั้งระบบประปาดังกล่าวประสบปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ เกิดปัญหาไฟฟ้าตกทำให้ไม่ได้เปิดใช้งานนอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรงรักษาระบบประปาหมู่บ้านและประชาชนในพื้นที่ดำเนินการให้ข้อมูลว่าเคยเปิดใช้งานภายหลังติดตั้งแล้วเสร็จเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วหยุดการใช้งาน เนื่องจากใช้น้ำประปาแล้วมีอาการผื่นคัน
2) องค์การบริหารส่วนตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก หมู่ 20 บ้านอำปีล เนื่องจากท่อน้ำมีขนาดเล็ก ทำให้น้ำไหลเบา จึงใช้ระบบประปาหมู่บ้าหมู่บ้านเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน
3) องค์การบริหารส่วมตำบลบักได อำเภอพนมคงรัก หมู่ 3 บ้านดอนน้ำตาล เนื่องจากเดิมใช้ระบบประปาหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกันและใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้ไม่ได้ใช้งานระบบประปาดังกล่าว
4) องค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ หมู่ 4 บ้านพระแก้ว เนื่องจากแหล่งน้ำบาดาลแห้ง มีปัญหาปริมาณน้ำดิบไม่เพียงพอในการผลิตน้ำประประปา
1.2 ระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANK ใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ จำนวน8 โครงการ คือ
1) ไม่พร้อมใช้งานทันทีภายหลังมีการส่งมอบ เนื่องจากยังไม่ได้มีการวางท่อ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ หมู่ 5 บ้านกันนัง 2) องค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จำนวน 2 โครงการ คือ หมู่ 9 บ้านสันติสุข และหมู่ 18 บ้านหนองนาถาวร
2) ประสบปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ จำนวน 5 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 25 ของโครงการที่ตรวจสอบ ซึ่งคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านบางชุดแก้ไขปัญหาโดยการเปิด - ปิด ทีละระบบ เช่น เปิดระบบสูบน้ำดิบ ปิดระบบสูบส่งขึ้นหอถังสูง หรือแก้ไขปัญหาโดยการเปิดระบบในช่วงที่ประชาชนออกไปทำงาน ปิดระบประปาในช่วงเวลาที่ประชาชนอยู่บ้าน โดยจะประกาศเสียงตามสายให้สำรองน้ำไว้ใช้ เป็นต้น
3) ปริมาณน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปามีไม่เพียงพอที่จะผลิตน้ำประประปาได้ตลอดทั้งปี ซึ่งมีโครงการที่ประสบปัญหาปริมาณน้ำดิบไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
3.1) องค์การบริหารส่วนตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด จำนวน 2 โครงการ คือ หมู่ 2 บ้านประเม และ หมู่ 11 บ้านโพธิ์ใหญ่
3.2) องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ หมู่ 5 บ้านกันนัง
ผลกระทบ ทำให้งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเกิดความไม่คุ้มค่าจำนวน 4 โครงการ เนื่องจากไม่มีการใช้ประโยชน์ จำนวน 20,795,000.00 บาท และประชาชนเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ระบบประปาหมู่บ้านในกรณีที่ไม่พร้อมใช้งานภายหลังมีการส่งมอบ
สาเหตุ
1. ขาดการติดตามผลทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินงานโครงกรงการ ทำให้ไม่ทราบปัญหา ส่งผลให้ระบบประปาหมู่บ้านไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ
2. ไม่ได้เตรียมความพร้อมด้านปริมาณกระแสไฟฟ้าในการติดตั้งระบบประปา และขาดการสำรวจปริมาณแหล่งน้ำดิบและการสำรองแหล่งน้ำล่งน้ำดิบให้เพียงพอ รวมถึงไม่ได้เตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการประชาชนในพื้นที่ เช่น ท่อที่มีขนาดไม่เหมาะสม การวางท่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
ให้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจข้อมูลการใช้ประโยชน์ระบบประปาหมู่บ้านทั้งหมด ตลอดจนปัญหาและข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขซ่อมแซมเพื่อให้ระบประปาหมู่บ้านที่ก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์
2. ในโอกาสต่อไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างจริง โดยพิจารณาถึงความพร้อมทั้งด้านปริมาณแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปาและปริมาณกระแสไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานได้ทันทีภายหลังจากที่ผู้รับจ้างส่งมอบ และให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนได้ตลอดเวลา
ข้อตรวจพบที่ 2 คุณภาพน้ำประปาจากระบบบ POG TANK ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พ.ศ. 2563 ของกรมอนามัย คือ "น้ำประปาต้องมีความใส ไม่มีตะกอน สี หรือกลิ่นผิดปกติ ค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ต้องมีค่าอยู่ระหว่าง6.5 - 8.5"
จากการตรวจสอบ พบว่า
2.1 คุณภาพน้ำประปาที่ผ่านระบบ POG TANK มีคุณภาพลดลง จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1) องค์การบริหารส่วนตำบลแก อำเภอรัตนบุรี หมู่ 7 บ้านดงแหลม พบว่า น้ำดิบที่สูบจากน้ำบาดาลมีความใส แต่เมื่อผ่านระบบผลิตน้ำประปา POG TANK เพื่อส่งต่อไปยังบ้านเรือนประชาชน น้ำประปามีสีขุ่นเหมือนตะกอนสนิม
2) องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลึง อำเภอจอมพระ หมู่ 5 บ้านกันนัง จากการวัดค่าน้ำดิบ มีค่าความเป็นกรดด่าง (ค่า PH) 7.60 แต่เมื่อผ่านระบบประปาแบบ POG TANK วัดค่าความเป็นกรดด่าง (ค่า PH) 4.46 ซึ่งมีค่าความเป็นกรด
2.2 ระบบประปาส่วนใหญ่ไม่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ
ตามคู่มือหลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาด้วยเครื่องมือภาคสนามอย่างง่าย โดยให้ตรวจ ณ แหล่งผลิต/แหล่งจ่ายน้ำของระบประปาหมู่บ้านเป็นประจำทุกไตรมาส และส่งตัวอย่างน้ำประปาหมู่บ้านให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลการตรวจสอบให้คณะทำงานฯ ระดับจังหวัดทราบ
แต่จากการตรวจสอบ พบว่า
1) อปท.ไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเป็นรายไตรมาส จำนวน 16 โครงการคิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนโครงการที่ตรวจสอบ
2) ไม่พบครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำ (ความเป็นกรด - ด่างในน้ำ) จำนวน 5 โครงการคิดเป็นร้อยละ 25 ของโครงการที่ตรวจสอบ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวต้องส่งมอบพร้อมกับงานจ้างก่อสร้างระบบประปา
3) ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาแบบรายปี จำนวน 14 โครงการ คิดเป็นร้อยละ70 ของจำนวนโครงการที่ตรวจสอบ มีเพียง อปท. 2 แห่ง ที่มีการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบรายปี แต่ อปท. ทุกแห่งไม่มีรายงานผลการตรวจสอบให้คณะทำงานระดับจังหวัดทราบ
จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการทั้ง 20 โครงการ จำนวน 146 ราย พบว่า มีจำนวน 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.66 ไม่ใช้น้ำประปาเพื่อประกอบการทำอาหาร และประชาชนทุกรายยังคงซื้อน้ำเพื่อการบริโภคเนื่องจากไม่เชื่อมั่นคณภาพน้ำประปา
นอกจากนี้ยังพบปัญหาการจัดซื้อสารเคมีสำหรับผลิตน้ำประปา ซึ่งต้องใช้สารเคมีจำนวน 3 ชนิดเพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ได้แก่ แพค (PAC) โชดาแอช (SODA ASH) และคลอรีน (CHLORINE) ซึ่งสารเคมีดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตน้ำประปาให้มีคุณภาพ แต่จากการตรวจสอบ พบว่า บางโครงการไม่ได้ใช้สารเคมี และบางโครงการมีการใช้สารเคมีไม่ครบทั้ง 3 ชนิด ซึ่งการใช้สารเคมีไม่ครบ อาจทำให้น้ำประปาไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผลกระทบ ทำให้คุณภาพน้ำที่ผลิตได้จากระบบ POG TANK คุณภาพยังไม่ดีขึ้น ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ใช้น้ำที่สะอาดในการอุปโภคบริโภค ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในบัญชีนวัตกรรมไทย
สาเหตุ
1. องค์กรปกครองส่วนท้ลงถิ่นยังไม่มีการตรวจขอบคุณภาพน้ำประปาให้ครบถ้วนตามคู่มือ หลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
2. ระบบประปาหมู่บ้านแบบ POG TANK มีปัญหา เช่น อุปกรณ์สำหรับปรับสภาพน้ำชำรุดทำให้คุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐาน
3.คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านขาดความรู้ ความเข้าใจในระบบประปาแบบ POG TANK และกรณีเกิดปัญหาไม่รีบแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบในทันที เพื่อประสานให้ผู้รับจ้างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ข้อเสนอแนะ
ให้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวรวัดคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามคู่มือหลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. กำชับให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านรายงานสภาพปัญหาให้ทราบ พร้อมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริง สภาพปัญหา อุปสรรค ที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินงานพร้อมนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ข้อตรวจพบที่ 3 คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านดำเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารกิจการและการบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน พ.ศ. 2548 ให้คณะกรรมการบริหารกิจการและการบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านดำเนินการบริหารจัดการให้บริการน้ำสะอาดให้แก่ชุมชนได้อย่างทั่วถึง เพียงพอต่อเนื่อง และสามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน และยังจะต้องบริหารจัดการให้มีรายได้เพียงพอต่อรายจ่ายของบริหารกิจการประปา และรายงานผลการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
จากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6 แห่ง รวมจำนวน 19 โครงการ(ยกเว้นเทศบาลตำบลเมืองที หมู่ที่ 7 บ้านโคกลำดวน อำเภอเมืองสุรินทร์ ซึ่งเทศบาลบริหารจัดการเอง) พบว่า ทั้งหมดยังไม่มีการแจ้งซ่อมใหญ่ เนื่องจากเพิ่งส่งมอบและยังอยู่ในระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง จึงมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับจ้างเข้ามาดูแลตามรอบระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ
จากการสังเกตการณ์ พบว่า ระบบบบบคุบคุม PUP (ระบมสารเคมี/ปั๊ม) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบการผลิตน้ำประปา เริ่มมีสภาพชำรุดทั้งที่เพิ่งส่งมอบ เกิดสนิมเป็นจำนวนมาก จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
(1) องค์การบริหารส่วนตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก หมู่ 17 บ้านไทยนิยมพัฒนา ระยะเวลาเปิดใช้งานระบบมาแล้วประมาณเพียง 9 เดือน
(2) องค์กรบริหารส่วมตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ หมู่ 16 บ้านอายอง ระยะเวลาเปิดใช้งานระบบมาแล้วประมาณเพียง 6 เดือน
(3) องค์การบริหารส่วนตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด หมู่ 11 บ้านโพธิ์ใหญ่ ระยะเวลาเปิดใช้งานระบบมาแล้วประมาณเพียง 11 เดือน
(4) องค์กรบริหารส่วมตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ หมู่ 15 บ้านกลางสามัคดี ระยะเวลาเปิดใช้งานระบบมาแล้วประมาณเพียง 6 เดือน
(5) องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ หมู่ 5 บ้านกันนัง ซึ่งชำรุดหลังจากใช้งานเพียง 2 เดือน
ผลการตรวจสอบเอกสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน ของ อปท. จำนวน 6 แห่ง รวมจำนวน 19 โครงการ พบว่า
1) อปท. ไม่ได้อบรมการจัดทำบัญชีให้กับคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง รวมจำนวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 84.21
2) คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน ไม่มีการรายการดำเนินงานให้ อปท. ทราบ จำนวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 84.21
3) ประสบปัญหาขาดทุน จำนวน 4 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 21.05
นอกจากนี้ยังพบว่า มีจำนวน 8 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 42.11 ประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ซึ่งบางโครงการแก้ปัญหาโดยการสูบผ่านเครื่องกรองแล้วส่งต่อให้ประชาชนโดยไม่มีการเติมสารเคมีเพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นหรือบางโครงการจัดซื้อสารเคมีไม่ครบทั้งสามชนิด โดยซื้อเพียง 1 - 2 ชนิด เท่านั้น
จากการสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 19 โครงการ ให้ข้อมูลว่า ก่อนการดำเนินการติดตั้งระบบประปาแบบ POG TANK ไม่ทราบว่าจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีที่มีราคาสูงจำนวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 84.21 ของโครงการที่ตรวจสอบและมีเพียง 3 โครงการ เท่านั้นที่ทราบว่ามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีก่อนการก่อสร้างระบบประปาแบบ POG TANK
ผลกระทบ
1. กรณีตู้ควบคุมระบบเติมสารเคมีที่เกิดความชำรุด ทำให้ระบบประปาต้องหยุดการทำงานเพื่อซ่อมแซมทำให้ไม่สามารถส่งน้ำประปาได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้หากหมดระยะประกันสัญญาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
2.คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านไม่รายงานการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทราบ ทำให้ อปท. ไม่ทราบสถานะกิจการประปาหรือผลการดำเนินงานที่แท้จริง เมื่อระบบประปาเกิดการชำรุดหรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณไม่ได้ในทันที และส่งผลให้การบริหารโครงการอาจขาดความยั่งยืน
3. การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้อบรมการจัดทำบัญชีให้กับคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้าน อาจจะทำให้มีการจัดทำบัญชีที่ไม่ถูกต้อง และยากในการตรวจสอบ รวมถึงไม่ทราบผลกำไร - ขาดทุน
สาเหตุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้ความสำคัญในการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบคู่มือ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และไม่มีการติดตามการบริหารกิจการประปาของคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาทผู้บ้าน รวมทั้งขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านทราบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี หรือวิธีแก้ไข ปัญหากรณีที่ไม่สามารถจัดซื้อสารเคมีได้ เช่น การจัดซื้อสารเคมีบางอย่างทดแทน เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
สตง.ได้แจ้งข้อเสนอแนะให้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการ ดังนี้
1. แจ้งให้บริษัทเข้ามาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงท่อเติมสารเคมีที่เกิดสนิมเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ และกำชับคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านหมั่นตรวจสอบและดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของทรัพย์สิน รวมถึงรายงานสภาพปัญหาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
2. จัดฝึกอบรมการจัดทำบัญชีและกำชับให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านรายงานผลการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
3.หาวิธีแก้ไขหรือประสานงานผู้รับจ้างเกี่ยวกับการจัดหาสารเคมีที่มีคุณภาพ หรือการจัดหาสารเคมีอื่นทดแทน ที่คณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านสามารถจัดซื้อได้
ทั้งหมดนี้ คือ เป็นรายละเอียดในรายงาน สตง. สรุปผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการระบบผลิตน้ำประปา (POG TANK) ในส่วนของจังหวัดสุรินทร์
หลังจากก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบว่า ในการดำเนินงานโครงการจัดซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย สำนักงบประมาณ หลายชนิดพบว่า เอกชนกลุ่มหนึ่ง นำสินค้ามาขึ้นทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทย สำนักงบประมาณ ปรากฏชื่อเข้าเป็นคู่สัญญางานจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับหน่วยงานรัฐในช่วงปี 2563-2564 นับร้อยโครงการ รวมวงเงินมูลค่านับพันล้านบาท
ขณะที่ ป.ป.ช.ได้เสนอมาตรการป้องกันทุจริตนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง บัญชีนวัตกรรม ต่อรัฐบาลเป็นทางการไปแล้ว
ภาพรวม:
- ป.ป.ช.เห็นชอบมาตรการป้องกันทุจริต นโยบายจัดซื้อจัดจ้าง บัญชีนวัตกรรม
- เปิดข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ชงรัฐล้อมคอกจัดซื้อฯ‘สินค้านวัตกรรม’-ชง 4 แนวทางแก้‘ทุจริต-ผูกขาด’
- ขมวดปมร้อน!จัดซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรม เอกชนกลุ่มเดียวคว้างานพันล.นโยบายรัฐเสี่ยงเอื้อปย.?
- อปท.แห่ซื้อเป็นร้อยโครงการ! ล้วงข้อมูล ป.ป.ช.สอบสินค้านวัตกรรม'ป๊อกแทงค์-Water Purifying'
- หลังบ.กลุ่มเดียวคว้างานพันล.! ป.ป.ช.สั่งศูนย์CDC จับตาซื้อสินค้าบัญชีนวัตกรรมใกล้ชิด
- เฉลิมพล เพ็ญสูตร:ปมขายสินค้านวัตกรรมรายเดียวพันล.รัฐไม่มีเจตนาเอื้อปย.-ทุจริตเชิงนโยบาย
- กมธ.ติดตามการบริหารงบ แนะสวทช.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคุ้มทุนโคมไฟถนนโซลาร์เซลล์
- เปิดละเอียด! ข้อสังเกตกมธ.ติดตามงบฯ ซักประเด็นจัดซื้อโคมไฟนวัตกรรม คุ้มค่าราคาหรือไม่?
สินค้าเอกชนกลุ่มแรก:
เครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- จี้ผู้ว่าฯทบทวน! สตง.สอบงบเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล. อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ฉบับเต็ม! สตง.ชำแหละโครงการเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 15.4 ล.อำนาจเจริญ ส่อเหลว
- ตัวละ1.4 ล้าน! แกะรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์ 11 ตัว15.3 ล. อำนาจเจริญ ซื้อจากไหน?
- ไม่มีขายทั่วไป! ผู้ว่าฯอำนาจเจริญ แจงซื้อเครื่องแปลงเศษอาหาร15.4 ล. บ.เดียว-ใช้งบรองนายกฯ
- สินค้าที่ 3 เครื่องแปลงขยะบัญชีนวัตกรรม เจ้าของกลุ่มเดิมอีกแล้ว สตง.เคยสอบที่อำนาจเจริญ
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! สตง.สอบระบบผลิตน้ำประปากระบี่ 145 ล.พบปัญหาซ้ำรอยเครื่องแปลงเศษอาหารจุลินทรีย์
- เจาะจัดซื้อระบบผลิตน้ำประปาบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียว คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- ไขที่มา POG TANKS สินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย บ.ตัวแทนเจ้าเดียวคว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
- เปิดตัวเจ้าของ 'ป๊อกแทงค์' ไขข้อสงสัยสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย คว้างาน อปท.ทั่วปท.พันล.
ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- เจาะสินค้าบัญชีนวัตกรรม 'ป๊อกแทงค์-Water Purifying' เจ้าของเดียวกัน-ได้งานรัฐอีก 32 ล.
- เบื้องลึก! 'Water Purifying' ป.ป.ช.บึงกาฬชงสอบอดีตผู้ว่าฯ-8 นอภ.แจ้งถอนชื่อบัญชีนวัตกรรม
ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
สินค้าเอกชนกลุ่มสอง:
โคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์แบบประกอบในชุดเดียว (ALL In One Solar Street Light) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
- ถึงคิว! เปิดตัวเอกชนกลุ่ม 2 ขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน ได้งานอปท.ทั่วปท. 1,514 ล้าน
- เปิด '6 อบจ.' สนองนโยบายรัฐ ทุ่มซื้อสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน - สระบุรี มากสุด 392 ล.
- ลูกค้ามั่นใจ-ของไม่มีปัญหา! ผู้บริหารบ.โซดิแอคท์ แจงขายสินค้านวัตกรรมโคมไฟถนน 1.4 พันล.
- อบจ.สระบุรี ซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม194 ล. '3 บ.ผู้จำหน่าย-ตัวแทน' รับซอง แต่ไม่ยื่นแข่ง 2
- ปชช.ต้องการ! อบจ.สระบุรีแจงซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 329 ล.-เอกชนคุณสมบัติครบตัดสิทธิไม่ได้
- ยอดพุ่ง 454 ล.! อบจ.สระบุรีซื้อโคมไฟถนนนวัตกรรม 5 สัญญา บ.กลุ่มเดิมรับซอง-แต่ไม่ยื่นแข่ง
กรณีทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม
- ข้อมูลใหม่! อปท.แห่ทำถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม TOR กำหนดรหัสสินค้าชัดเจน
- ส่วนกลางกำหนดมา! นายก อบต.สร้างมิ่ง แจงปมสร้างถนนพ่วงติดตั้งโคมไฟนวัตกรรม 3 สัญญารวด
- ชนะคู่เทียบหลักพัน!ไส้ใน อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม กำหนดคุณสมบัติเจาะจง
- ไส้ในสัญญาที่ 2! อบต.สร้างมิ่ง ทำถนนพ่วงซื้อโคมไฟนวัตกรรม เจาะจงคุณสมบัติ-ชนะหลักพันอีก
เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน
- พบ 'คู่เทียบ' หจก.ลูกพล.อ.ปรีชา ขายเครื่องสูบไฮดรอลิคสินค้านวัตกรรม ได้งาน กรมฯน้ำ 233 ล.
- เผยโฉม! เครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม ตัวละ 10.6 ล้าน กรมฯ น้ำ ทุ่มซื้อ 22 เครื่อง 233 ล.
- ยอดพุ่ง 913 ล้าน! กรมชลฯ เจ้าแรกเจาะจงซื้อเครื่องสูบไฮดรอลิคนวัตกรรม 64 ตัว 679 ล.ปี 65
- ท.บางแก้ว แห่งที่ 3! ซื้อเครื่องสูบนวัตกรรม 5 ตัว 44.6 ล. ยอดขาย บ.นำพลฯ กระฉูด 957 ล.
- เปิดตัวนักวิจัย ม.ศรีปทุม เจ้าของผลงานเครื่องสูบน้ำนวัตกรรม ก่อน บ.คว้าสัญญารัฐ 957 ล.