‘ทอท.’ แต่งตั้งโยกย้ายระดับ 9-11 ล็อตใหญ่ 37 ตำแหน่ง ‘กิตติพงศ์ กิตติขจร’ นั่ง ‘ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ’ ขณะที่ ‘สามารถ’ ชี้ ‘เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ’ ฉุดอันดับ ‘สนามบินสุวรรณ’ ร่วงอีก หลังปี 64 ‘Skytrax’ ลดอันดับลงมาที่ 66 ของโลก
............................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย. นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ลงนามคำสั่ง บมจ.ท่าอากาศยานไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงาน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งบริษัทฯ ที่ 777/2564 และคำสั่งบริษัทฯ ที่ 781/2564 โดยแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานระดับสูงประจำปี ตั้งแต่ระดับ 8-11 รวมทั้งสิ้น 37 ตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 เป็นต้นไป
สำหรับคำสั่งบริษัทฯ ที่ 777/2564 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงาน ลงวันที่ 22 ก.ย.2564 เป็นการแต่งตั้งพนักงานระดับ 9-11 จำนวน 18 ตำแหน่ง ได้แก่
1.นายเจนวิทย์ มุสิกรัตน์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานบัญชีและการเงิน 2) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานบัญชีและการเงิน) (ระดับ 11) และปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer: CFO) อีกตำแหน่งหนึ่ง
2.นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 1) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ระดับ 11)
3.ร.ต.ธานี ช่วงชู ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต (ระดับ 11) ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (ระดับ 11)
4.นายมนต์ชัย ตะโหนด ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (สายบำรุงรักษา) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต (ระตับ 11)
5.นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเซียงใหม่ (ระดับ 11)
6.ร.ท.สัมพันธ์ ขุทรานนท์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (ระดับ 11) ไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา 11 ทอท.
7.นางอรอุมา อดุลยานนท์ ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท. ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการท่าอากาศยาน (ระดับ 10)
8.นางสาวพัชรวลัย ตันประวัติ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานบัญชีและการเงิน 1) (ระดับ 10) ไปตำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานบัญชีและการเงิน 2) (ระดับ 10)
9.นางอัญชลี ประมวลเจริญกิจ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานบัญชีและการเงิน 1) (ระดับ 10)
10.นายสมภพ ภาคสวรรค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานทำอากาศยานและการบิน) (ระดับ 10)
11.นายกฤติยา ก้อนทอง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการทำอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 2) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการทำอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 1) (ระดับ 10)
12.นายอัษฎางค์ ขำคมกุล ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 2) (ระดับ 10)
13.นายณัฐวุฒิ รัตนสุนทร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายสนามบินและอาคาร (ระดับ 9) ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) (ระดับ 10)
14.นายเดชฤทธิ์ ขุนน้อย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน (ระดับ 9) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการทำอากาศยานดอนเมือง (สายบำรุงรักษา) (ระดับ 10)
15.นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการท่าอากาศยาน (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่อากาศยานเชียงใหม่ (สายสนับสนุนธุรกิจ) (ระดับ 10)
16.น.ต.สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (ระดับ 10)
17.นายกฤษฎา พุกะทรัพย์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (สายสนับสนุนธุรกิจ) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท.
18.นางสาวปวีณา จริยฐิติพงศ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 9 ทอท. และรักษาการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) อีกตำแหน่งหนึ่ง
ขณะที่คำสั่งบริษัทฯ ที่ 781/2564 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงาน ลงวันที่ 22 ก.ย.2564 เป็นการแต่งตั้งพนักงานระดับ 9 จำนวน 19 ตำแหน่ง ได้แก่
1.นายภัทรพล เกิดสุวรรณ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบชำนาญการ 8 สำนักตรวจสอบไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ (ระดับ 9)
2.นางแววฤทัย ศุษิลวรณ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง (ระดับ 8) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง (ระดับ 9)
3.นางสาวพรรณพีไล วัจนะภูมิ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ (ระดับ 8) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ (ระดับ 9)
4.นายถนอม ตั้งตรงไพโรจน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานภูมิภาค (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (ระดับ 9)
5.นายเสรียรพล เสถียรสวัสดิ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด (ระดับ 8) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด (ระดับ 9)
6.นายอนันต์ ฉัตรศรัทธา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล (ระดับ 8) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน (ระดับ 9)
7.นายวีระศักดิ์ อินทร์แสง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการทำอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย (ระดับ 9)
8.นางอโนชา พลินสุต ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ (ระดับ 9) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการทำอากาศยานภูมิภาค (ระดับ 9)
9.นายปฐม ธรรมธรานนท์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย (ระดับ 9) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการทำอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) (ระดับ 9)
10.นางอัญชนา อุทุมมา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (ระดับ 8) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (ระดับ 9) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
11. นายปกป้อง สุวรรณโมฬี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน (ระดับ 9) ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน (ระดับ 9) ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ
12.น.ส.ฐิติพรญ์ เศรษฐลักษณ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ (ระดับ 8) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ (ระดับ 9) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
13.พ.อ.อ.พีระ อากาศไชย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนพัสดุ (ระดับ 8) ฝ่ายอำนวยการ ท่าอากาศยานดอนเมือง ทำอากาศยานตอนเมือง ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการทำอากาศยานดอนเมือง (ระดับ 9) ทำอากาศยานดอนเมือง
14.พ.ต.ท.ปิติ ตรีกาลนนท์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย (ระดับ 9) ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน (ระดับ 9) ท่าอากาศยานดอนเมือง
15.นายนภดล เรืองศรี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย (ระดับ 9) ท่าอากาศยานดอนเมือง
16.นายพลัง ธาวินพิพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนบริหารและประเมินโครงการ (ระดับ 8) ฝ่ายวิศวกรรมโครงการ ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายสนามบินและอาคาร (ระดับ 9) ท่าอากาศยานตอนเมือง
17. นายชนะ วงศ์ธนวิรุฬห์ ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ 8 ฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน ท่าอากาศยานภูเก็ต ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย (ระดับ 9) ท่าอากาศยานภูเก็ต
18.น.อ.ชนันนัทธ์ รอดกุล ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ 8 รักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานภูเก็ต ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ 8 รักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
19.นายฐิติชัย แสงพิทักษ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายเลขานุการองค์กรและกำกับดูแลกิจการ (ระดับ 8) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 9 ทอท.
@ห่วง'เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ' ฉุด 'สุวรรณภูมิ' ร่วงอันดับโลก
วันเดียวกัน นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ‘ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte’ โดยตั้งคำถามกรณี Skytrax ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจการบินและจัดอันดับสนามบินดีเด่นของโลก ลดอันดับสนามบินสุวรรณภูมิลงมาอยู่ที่อันดับ 66 ของโลก ในปี 2564 จากเมื่อปี 2553 ที่สนามบินสุวรรณภูมิอยู่รั้งอันดับที่ 10 ของโลก
นายสามารถ ระบุว่าด้วยว่า การที่ ทอท.เดินหน้าก่อสร้างเทอร์มินัลหลังใหม่ด้านทิศเหนือ (North Expansion) หรือ “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” อาจจะสนามบินสุวรรณภูมิถูกลดปรับอันดับการเป็นสนามบินดีเด่นของโลกลงมาอีก ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีเสียงทักท้วงจากคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ
นอกจากนี้ นายสามารถ เสนอว่า ในช่วงระบาดของโควิด-19 ทอท.ควรเร่งขยายเทอร์มินัล 1 ด้านทิศตะวันออก ซึ่งจำเป็นต้องรื้อ City Garden ก่อน ตามด้วยการสร้างเทอร์มินัลด้านทิศใต้ใกล้ถนนบางนา-ตราด อย่างไรก็ตาม ในการรื้อ City Garden นั้น ทอท.ได้ยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด หรือ KPS และให้ KPS ขนย้ายทรัพย์สินออกจาก City Garden ภายในวันที่ 31 ก.ค.2564 แต่ไม่ทราบว่า KPS ส่งมอบพื้นที่คืนให้ ทอท.แล้วหรือไม่ เพียงแต่ทราบว่า ทอท.ยังไม่ได้รื้อ City Garden
สำหรับเนื้อหาที่ นายสามารถ โพสต์มี ดังนี้
อันดับโลกดิ่ง!!! หวั่น “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” ฉุด “สุวรรณภูมิ” ให้ร่วงอีก
ในปี 2553 สนามบินสุวรรณภูมิเคยรั้งอันดับ 10 ของโลก น่าเสียดาย! ที่หลังจากนั้นอันดับโลกของสนามบินสุวรรณภูมิร่วงลงมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้อยู่ที่อันดับ 66 ถ้า ทอท.ดัน “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” ฝ่าแรงต้านจาก ป.ป.ช. สภาพัฒน์ และองค์กรวิชาชีพ 12 องค์กร ได้สำเร็จ สนามบินสุวรรณภูมิจะรุ่งหรือจะร่วง?
สนามบินสุวรรณภูมิจากอันดับ 10 ดิ่งลงอันดับ 66 ของโลก!
อันดับโลกของสนามบินจัดโดย Skytrax ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจการบินและจัดอันดับสนามบินดีเด่นของโลกเป็นประจำทุกปี โดยสำรวจความเห็นของผู้โดยสารเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการสนามบินหลายรายการ เช่น ความสะอาด ความรวดเร็ว อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและให้ความบันเทิง เป็นต้น ในช่วงระบาดของโควิด-19 Skytrax ได้สำรวจเพิ่มอีกหลายรายการ เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การให้บริการเจลล้างมือ และการบังคับสวมหน้ากาก เป็นต้น
สนามบินสุวรรณภูมิเคยรั้งอันดับ 10 ของโลกเมื่อปี 2553 ร่วงลงมาอยู่ที่อันดับ 13, 25, 38 และ 48 ในปี 2554-2557 ตามลำดับ จากนั้นไต่ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 47 และ 36 ในปี 2558 และปี 2559 ต่อมาร่วงมาอยู่ที่อันดับ 38 ในปี 2560 และไต่กลับขึ้นไปที่อันดับ 36 ในปี 2561 หลังจากนั้นร่วงกราวรูดลงมาอยู่ที่อันดับ 46, 48 และ 66 ในปี 2562 ปี 2563 และปี 2564 ตามลำดับ
อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิร่วงกราวรูด? ทอท.จะต้องรู้และหาทางแก้ให้ถูกจุด อย่าสร้างปัญหาเพิ่มเติมเข้าไปอีก
ทอท.ยังดัน “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ”
ก่อนการระบาดของโควิด-19 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ต้องการเพิ่มความจุของสนามบินสุวรรณภูมิด้วยการก่อสร้างเทอร์มินัลหลังใหม่ด้านทิศเหนือของเทอร์มินัล 1 ซึ่งไม่มีอยู่ในแผนแม่บท เดิม ทอท.เรียกเทอร์มินัลนี้ว่า เทอร์มินัล 2 แต่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นการตัดรูปเทอร์มินัลมาแปะไว้เท่านั้นโดยไม่ได้ศึกษาความเหมาะสมอย่างละเอียดรอบคอบ ต่อมา ทอท.เรียกอาคารนี้ว่า “ส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ”
ด้วยเหตุนี้ ส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือจึงถูกคัดค้านจากองค์กรวิชาชีพ 12 องค์กร และจากนักวิชาการที่เป็นห่วงว่าส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ นานาตามมา ทำให้เกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสนามบิน
อีกทั้งยังมีเสียงทักท้วงจากคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ถึง 2 ครั้ง ที่สำคัญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ โดยสภาพัฒน์และ ป.ป.ช. รวมทั้งองค์กรวิชาชีพและนักวิชาการได้เสนอแนะให้ ทอท.เร่งขยายเทอร์มินัล 1 ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ตามด้วยการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ด้านทิศใต้ใกล้ถนนบางนา-ตราด ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บท
แต่อย่างไรก็ตาม ทอท.ก็ยังคงมีความพยายามที่สร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือให้ได้ แม้ว่ามติ ครม.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 เห็นชอบตามที่ ป.ป.ช. เสนอแนะ นั่นคือไม่เอาส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ
ทอท.ยังไม่รื้อ City Garden!
City Garden คืออาคารที่อยู่บนพื้นที่ว่างด้านทิศตะวันออกของเทอร์มินัล 1 ทอท.ได้ให้บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด หรือเคพีเอส สร้างและบริหารอาคารนี้เป็นเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549 (วันที่เปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ) ถึงวันที่ 27 กันยายน 2559 โดยเคพีเอสได้ทำเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม หลังจากนั้นจะมีการต่อสัญญาหรือไม่ ผมไม่มีข้อมูล แต่รู้ว่ามีการทำสัญญาให้เคพีเอสบริหารอาคารนี้อีกครั้งในวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2575
แต่ต่อมา ทอท.ได้มีหนังสือลงวันที่ 21 มกราคม 2564 ถึงเคพีเอส ขอให้เคพีเอสขนย้ายทรัพย์สินออกจาก City Garden และส่งมอบคืนพื้นที่ให้ ทอท.ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ถึงเวลานี้มีการส่งมอบพื้นที่คืนให้ ทอท.แล้วหรือยัง? ก็ไม่รู้ รู้แต่เพียงว่า ทอท.ยังไม่รื้อ City Garden!
สรุป
ในช่วงระบาดของโควิด-19 ทอท.ควรฉกฉวยโอกาสในขณะที่มีผู้โดยสารน้อยเร่งขยายเทอร์มินัล 1 ด้านทิศตะวันออก (ซึ่งจะต้องรื้อ City Garden) และทิศตะวันตก ตามด้วยการก่อสร้างเทอร์มินัลด้านทิศใต้ใกล้ถนนบางนา-ตราด ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทที่มีประสิทธิภาพและยังใช้งานได้ดี ไม่จำเป็นจะต้องสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือซึ่งไม่มีอยู่ในแผนแม่บทให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และที่น่าเป็นห่วงก็คือจะทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวกสบาย
ในขณะที่ยังไม่มีส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ อันดับโลกของสนามบินสุวรรณภูมิยังดิ่งลงมาที่อันดับ 66 อย่างน่าใจหาย แล้วถ้ามีส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือที่หลายฝ่ายเห็นว่าจะก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา สนามบินสุวรรณภูมิ “ประตูสู่ประเทศไทย” จะเป็นฉันใด?
อ่านประกอบ :
เก็บเรื่องไว้ 2 ปี! ทอท.ไม่แจ้งผลสอบ ‘จนท.’ เอื้อดิวตี้ฟรี 'คิงพาวเวอร์'-'คลัง'ลอยตัว
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับฟ้องคดี 'บอร์ด ทอท.' แก้สัมปทานดิวตี้ฟรีมิชอบ-นัดไต่สวนฯ 4 ต.ค.
เหตุพ้นรัฐวิสาหกิจ! ครม.ยกเลิกสิทธิ ‘การบินไทย’ ประกอบกิจการ 'ดิวตี้ฟรี' ดอนเมือง
ยื่นหนังสือทวงนายกฯ! ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐร่วมทุจริต ‘ดิวตี้ฟรี-บริหารพื้นที่พาณิชย์’
บรรยายไม่ชัด-ชี้ช่องหลักฐานไม่พอ! 'ศาลคดีทุจริตฯ’สั่งแก้ฟ้องคดีสัมปทาน‘คิงเพาเวอร์’
เลี่ยงกม.ร่วมทุนฯ! ย้อนคำวินิจฉัย ‘ผู้ตรวจการแผ่นดิน’ ปมขยายสัมปทาน ‘คิงเพาเวอร์’
ขยายผล! ‘ชาญชัย’ ยื่น ‘นายกฯ-ป.ป.ช.’ สอบจนท.รัฐ เอื้อประมูล ‘ดิวตี้ฟรี’-บริหารสัญญามิชอบ
เปิด 5 ข้อเท็จจริง! จากคำพิพากษาศาลฎีกาฯ กรณีดิวตี้ฟรี 'คิงเพาเวอร์-ทอท.'
ศาลฎีกายกฟ้อง! ‘ชาญชัย’ หมิ่นประมาท ‘คิง เพาเวอร์’ ชี้ 'สุจริต-ติชมด้วยความเป็นธรรม'
ฟ้องศาลทุจริตฯ!ทอท.แก้สัมปทาน ‘ดิวตี้ฟรี-พื้นที่พาณิชย์’ มิชอบ-เสียหาย 3.2 หมื่นล.
ทอท.แจง ‘อิศรา’! สัมปทาน ‘ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์’ ไม่เข่าข่ายพ.ร.บ.วินัยการเงินฯ
ชำแหละปมใช้พ.ร.บ.วินัยการเงินฯ ‘สองมาตรฐาน’? แก้สัญญาดิวตี้ฟรี-เขย่าต่อสัมปทานสายสีเขียว
‘ดิวตี้ฟรี’แสนล้าน สมบัติใคร บอร์ด ทอท.อ้างมติครม.-ลัดขั้นตอนอุ้ม ‘คิงเพาเวอร์’?
เปิดสัญญา‘เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์’ สุวรรณภูมิ จ่ายขั้นต่ำ5.7พันล./ปี ก่อน ทอท.อุ้ม ‘คิงเพาเวอร์’
เปิดสัญญา ‘ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ’ ก่อนบอร์ด ทอท.มีมติเยียวยา ‘คิงเพาเวอร์’
ยกเหตุสร้างอาคารล่าช้า! บอร์ดทอท.เลื่อนนับหนึ่งอายุสัญญา ‘ดิวตี้ฟรี’ สุวรรณภูมิ’ เป็นเม.ย.65
ไขปมโต๊ะจีน ‘พปชร’ หนุน ‘คิงเพาเวอร์’ กวาดสัมปทานดิวตี้ฟรี 6 สนามบินจริงหรือ ?
ให้ผลตอบแทนรวมปีแรก2.3 หมื่นล! ทอท. แจ้ง ตลท. 'คิงเพาเวอร์' กวาดเรียบ 3 ส.'ดิวตี้ฟรี-พาณิชย์'
'ชาญชัย'อ่วมคุก16เดือน! ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคดีหมิ่นคิงเพาเวอร์
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/