“...ผู้รับอนุญาตจะสามารถเรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ หรือเรียกก็บรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดจากผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉลี่ยรวมกันตลอดอายุสัญญาได้ไม่เกินร้อยละ 20 (ยี่สิบ) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย…ทั้งนี้ ผู้รับอนุญาตจะต้องรับผิดชอบในการควบคุมให้ราคาสินค้าและอัตราค่าบริการไม่ให้สูงเกินกว่าร้อยละ 20 (ยี่สิบ) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในท้องตลาด โดยราคาในท้องตลาดดังกล่าวจะอ้างอิงจากราคาขายปกติที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า/โรงแรมชั้นนำในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร…”
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2563 มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) และบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ ทสภ. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ทั้งนี้ บอร์ดทอท. มีมติอนุมัติให้เลื่อนเวลาการเข้าปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ออกไปอีก 1 ปี พร้อมทั้งขยายระยะเวลาสิ้นสุดของการประกอบกิจการออกไปอีก 1 ปี จากวันที่ 31 มี.ค.2574 เป็นวันที่ 31 มี.ค.2575 จากสัญญาในปัจจุบันที่เริ่มต้นสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
พร้อมกันนั้น ทอท.ได้ปรับวิธีการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 โดยใช้ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำต่อผู้โดยสาร (Sharing per Head) ที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้ยื่นเสนอไว้ มาคำนวณร่วมกับจำนวนผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริงในปีนั้นๆ และยังคงเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราร้อยละเหมือนเดิม
และเมื่อใดที่จำนวนผู้โดยสารกลับมาเท่ากับจำนวนผู้โดยสารตามประมาณการที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้ยื่นเสนอราคาไว้ จะปรับค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำตามสูตรที่กำหนดไว้ในสัญญา (อ่านประกอบ : พิจารณาอย่างรอบคอบ! ทอท.แจงทุกมาตรการช่วยเหลือ ‘คิงเพาเวอร์-ร้านค้า-สายการบิน’)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รับสำเนาเอกสารสัญญาที่ ทสภ. (CM) MC-1-21/2562 สัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งสาธารณชนควรได้รับทราบในฐานะที่ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังถือหุ้น 70% โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
สัญญาเฉพาะ สัญญาอนุญาตเลขที่ ทสภ. (CM) MC-1-21/2562 ฉบับลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2562
การอนุญาต
1.1 ภายใต้บังคับแห่สัญญานี้ ทอท. ตกลงอนุญาต และผู้รับอนุญาตตกลงรับอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ โดย ทอท.อนุญาตให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการ พัฒนา ตลอดจนบริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์สำหรับร้านรายย่อย หรือบริการต่างๆ สำหรับกิจกรรมประเภท Retail, F&B, Service และ Bank ในบริเวณพื้นที่ประกอบการเท่านั้น ภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาตตามที่แนบท้ายเป็นภาคผนวก ข. ของสัญญาฉบับนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้….
1.1.2 การประกอบกิจการตามสัญญานี้ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ
(1) ระยะที่ 1 ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ประกอบกิจการนับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 หรือวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน โดยในการประกอบกิจการระยะที่ 1 ผู้รับอนุญาตสามารถขอใช้พื้นที่ชั่วคราวเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการได้ในลักษณะของ Kiosk
(2) ระยะที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 หรือวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
1.1.3 ผู้รับอนุญาตจะต้องเริ่มประกอบกิจการ ดังนี้
(1) อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
-ระยะที่ 1 นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 หรือวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
-ระยะที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 หรือวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
(2) อาคารเทียบเครื่องบินรอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
-ระยะที่ 1 นับตั้งแต่วันที่ ทอท.ส่งมอบพื้นที่ประกอบการให้ผู้รับอนุญาต ซึ่ง ทอท.จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ จนถึงวันที่ครบกำหนด 6 (หก) เดือน วันที่ร้านค้าจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
-ระยะที่ 2 นับตั้งแต่วันถัดจกวันครบกำหนด 6 (หก) เดือน นับจากวันส่งมอบพื้นที่หรือวันที่ร้านค้าจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
ทั้งนี้ ผู้รับอนุญาตจะต้องมีหนังสือแจ้งให้ ทอท.ทราบวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ณ อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน และ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้
เอกสารแนบท้ายข้อสัญญาเฉพาะ ภาคผนวก ก. รายละเอียดการจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทน
1.ค่าผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามสัญญานี้ ผู้รับอนุญาตตกลงชำระให้ ทอท.เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนชั้นต่ำรายเดือนเฉลี่ยตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) โดยในแรกเป็นเงินจำนวน 5,798,000,000-บาท (ห้าพันเจ็ดร้อยเก้าสิบแปดล้านบาทถ้วน) แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โดยมีรายละเอียดการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ดังนี้
1.1 ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ดังนี้
ระยะที่ 1 นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 หรือวันที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายๆ ทั้งสิ้น (ยอดรายได้นั้นเป็นยอดรายได้ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเตือนเฉลี่ย (บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน) ตามจำนวนพื้นที่ที่ใช้จริง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โดยให้ถือเอาค่าผลประโยชน์ตอบแทนจำนวนนั้นเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในเดือนนั้นๆ
ระยะที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 หรือวันที่ร้านค้าจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ภายในอาคารโดยสาร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ ท่ากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ยอดรายได้นั้นเป็นยอดรายได้ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนเฉลี่ย (บาทต่อตรางเมตรต่อเดือน) ตามจำนวนพื้นที่ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โดยให้ถือเอาค่าผลประโยชน์ตอบแทนจำนวนนั้นเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในเดือนนั้นๆ
1.2 ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจกรบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 ดังนี้
ระยะที่ 1 นับตั้งแต่วันที่ ทอท.ส่งมอบพื้นที่ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จนถึงวันที่ครบกำหนด 6 (หก) เดือน หรือวันที่ร้านค้าจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ยอดรายได้นั้นเป็นยอดรายได้ที่ยังไม่รวมภาษีมูลเพิ่ม) หรือตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนเฉลี่ย (บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน) ตามจำนวนพื้นที่ที่ใช้จริง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าค่าผลประโยชน์ตอบแทนจำนวนนั้นเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในเดือนนั้นๆ
ระยะที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนด 6 (หก) เดือน นับจากวันส่งมอบพื้นที่ หรือวันที่ร้านค้าหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ ณ อาคารเทียบเครื่องบินรอง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนจากการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ยอดรายได้นั้นเป็นยอดรายได้ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนเฉลี่ยตามจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) ที่ผู้รับอนุญาตตกลงชำระให้ ทอท. แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โดยให้ถือเอาค่าผลประโยชน์ตอบแทนจำนวนนั้นเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในเดือนนั้นๆ
1.3 เงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนเฉลี่ย คำนวณจากจำนวนเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) ที่ผู้รับอนุญาตตกลงชำระให้ ทอท.
1.4 เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งสัญญานี้ ‘ยอดรายได้’ หมายถึงรายรับทั้งหมดที่ผู้รับอนุญาต และ/หรือผู้ประกอบการรายย่อย ได้รับจากการจำหน่ายสินค้และ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการภายในพื้นที่ประกอบการ ก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการตามสัญญานี้ แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีอื่นใดที่ผู้รับอนุญาตและ/หรือผู้ประกอบการรายย่อย เรียกเก็บตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการ และไม่รวมถึงรายได้ที่มีได้เกิดจากการดำเนินงานหรือประกอบกิจการโดยตรง
การคิดยอดรายได้ตามวรรคก่อนให้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณยอดรายได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะได้รับชำระจริงหรือไม่ก็ตาม และมิให้นำหนี้สูญที่เกิดขึ้นมาคำนวณหักจากยอดรายได้ดังกล่าว
1.5 ทอท.จะปรับการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปีเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป โดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้
MAG(i) = MAG(i-1) x (1+PG) x (1.0+lnf(i-1))
โดยที่ MAG(i) หมายถึง ยอดเงินประกันรายได้ขั้นต่ำของปีใดๆ
MAG(i-1) หมายถึง ยอดเงินประกันรายได้ของปีก่อนหน้า
PG หมายถึง อัตราการเพิ่มของนวนผู้โดยสารทั้งหมดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมีในปีประกอบการนั้นๆ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเป็นร้อยละ (%)
Inf(i-1) หมายถึง อัตราเงินเฟ้อของปฏิทินก่อนหน้าเข้าสู่ปีประกอบการนั้นๆ ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เป็นร้อยละ (%)
ทั้งนี้ การปรับการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี ตามสูตร MAG(i) ดังกล่าว จะทำการปรับเมื่อสิ้นสุดปีที่ 2 ของอายุสัญญา
อนึ่ง ปีแรกของอายุสัญญาให้นับระยะเวลาประกอบกิจการในระยะที่ 1 รวมกับระยะเวลาประกอบกิจการในระยะที่ 2 อีก 12 (สิบสอง) เดือน ซึ่งรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 18 (สิบแปด) เดือน สำหรับปีที่สองของอายุสัญญา และต่อๆ ไปจนสิ้นสุดอายุสัญญาให้มีระยะเวลาปีสัญญาละ 12 (สิบสอง) เดือน
2.เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาในแต่ละปีของปีสัญญา ทอท.จะนำค่าผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่ผู้รับอนุญาตได้ชำระให้แก่ ทอท. ในแต่ละเดือนมาคำนวณอีกครั้ง โดยเทียบกับอัตราค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี หากปรากฏว่าค่าผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่ผู้รับอนุญาตชำระให้แก่ ทอท.ต่ำกว่าค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณจากอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ในปีนั้น หรือตามจำนวนค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ผู้รับอนุญาตจะต้องชำระค่าประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ทอท.เพิ่มเติมจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ ทอท.กำหนด
สำหรับในกรณีที่ค่าผลปะโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปีที่ผู้รับอนุญาตชำระให้แก่ ทอท.มีจำนวนสูงกว่าค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณจากอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการก่อนหักคำใช้จ่ายใดๆ ในปีนั้น ทอท.จะนำค่าผลประโยชน์ตอบแทนในส่วนที่ผู้รับอนุญาตชำระไว้เกินไปหักจากจำนวนค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้รับอนุญาตต้องชำระให้ ทอท.ในเดือนถัดไป ยกเว้นในปีสุดท้ายของสัญญา ทอท.จะคืนค่าผลประโยชน์ตอบแทนในส่วนที่ผู้รับอนุญาตชำระไว้เกินนั้นให้แก่ผู้รับอนุญาตโดยไม่มีดอกเบี้ย ภายในระยะเวลาที่ ทอท.กำหนด
3.โดยอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามข้อ 1 และข้อ 2 ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องชำระตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
4.ในระหว่างการประกอบกิจการตามสัญญานี้ ทอท.เรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนเพิ่มขึ้น หากผู้รับอนุญาต มีรายได้อื่นที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบกิจการตามสัญญานี้ โดยเป็นไปตามที่ ทอท.กำหนด
ทั้งนี้ หากการดำเนินการใดๆ ในเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้รับอนุญาตกับ ทอท. ผลการชี้ขาดของ ทอท.ให้ถือเป็นที่สุด
5.ในระหว่างการประกอบกิจการตามสัญญานี้ หากพื้นที่ประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ทอท.สงวนสิทธิ์ในการคิดค่าผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามจำนวนพื้นที่ประกอบการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง แล้วแต่กรณี
เอกสารแนบท้ายข้อสัญญาเฉพาะ ภาคผนวก ข. รายละเอียดหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาต
1.ภายใต้เงื่อนไขข้อ 2.7 และข้อ 3.10 ของข้อสัญญาทั่วไป มิให้ใช้บังคับกรณีที่ผู้รับอนุญาตจัดสรรพื้นที่ประกอบกิจการให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ตามที่ผู้รับอนุญาตได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ และบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ตามสัญญานี้
2.ผู้รับอนุญาตจะต้องประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามข้อกำหนดและร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference - TOR) หรือเอกสารใด ๆ ของทอท.ในลักษณะเดียวกันอันเกี่ยวกับข้อกำหนดในการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมตามสัญญาฉบับนี้ และข้อเสนอของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรมตามสัญญาฉบับนี้เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการอื่นๆ โดยเด็ดขาด
3.ในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการรายย่อยตามข้อ 1 ของข้อสัญญาเฉพาะ ผู้รับอนุญาตจะสามารถเรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ หรือเรียกก็บรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดจากผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉลี่ยรวมกันตลอดอายุสัญญาได้ไม่เกินร้อยละ 20 (ยี่สิบ) ของยอดรายได้จากการประกอบกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งนี้ ยอดรายได้ดังกล่าวเป็นยอดรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นยอดรายได้ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่ส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ หรือรายได้อื่นๆ ที่ผู้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉลี่ยรวมกันตลอดอายุสัญญาเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในวรรคแรกนั้น ทอท.สงวนสิทธิ์เก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมในอัตราร้อยละ 15 (สิบห้า) ของยอดส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ หรือรายได้อื่นๆ ที่เกินมามากกว่าที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ หรือรายได้อื่นๆ ที่ระบุไว้ข้างต้น ไม่นับรวมถึงค่าเช่าพื้นที่ที่ ทอท. เรียกก็บจกผู้รับอนุญาต โดยผู้รับอนุญาตจะสามารถเรียกเก็บจากผู้ประกอบการรายย่อยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่ ทอท. เรียกเก็บ
4.ผู้รับอนุญาตต้องจัดทำแผนการดำเนินงานที่ระบุถึงรายละเอียดของแผนงานของขั้นตอนต่างๆ เช่น การออกแบบและตกแต่งสถานที่ รวมถึงประมาณการราคาค่าตกแต่งสถานที่ การคัดเลือกร้านค้า เพื่อให้ ทอท.มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ เพื่อให้ร้านค้าและบริการ ตลอดจนร้านอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่างๆสามารถเปิดให้บริการได้ทันตามกำหนด
5.ผู้รับอนุญาตต้องจัดมาตรการในการกำกับดูแลด้านราคาและคุณภาพของสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มที่จำหน่าย ตลอดจนอัตราคาบริการและคุณภาพของการให้บริการ
ทั้งนี้ ผู้รับอนุญาตจะต้องรับผิดชอบในการควบคุมให้ราคาสินค้าและอัตราค่าบริการไม่ให้สูงเกินกว่าร้อยละ 20 (ยี่สิบ) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในท้องตลาด โดยราคาในท้องตลาดดังกล่าวจะอ้างอิงจากราคาขายปกติที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า/โรงแรมชั้นนำในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร…
ข้อสัญญาทั่วไป สัญญาอนุญาตเลขที่ ทสภ. (CM) MC-1-21/2562 ฉบับลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2562
2.6 สินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการที่นำมาให้บริการต้องมีคุณภาพและปริมาณได้มาตรฐานเทียบกับร้านจำหน่ายสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือบริการประเภทเดียวกัน ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และต้องติดป้ายแสดราคาสินค้าที่วางจำหน่ายและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายและ/หรืออัตราค่าบริการให้เห็นชัดเจน โดยกำหนดราคาเป็นเงินบาทหรือเงินสกุลอื่นตามความเหมาะสม และในกรณีที่ผู้รับอนุญาตได้รับชำระเงินค่าสินค้าและ/หรือค่าอาหารและเครื่องดื่มและ/หรือค่าบริการเป็นเงินตราต่างประเทศที่ไม่ตรงกับเงินสกุลของราคาจำหน่ายหรือค่าบริการ ให้ผู้รับอนุญาตใช้อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารในท่าอากาศยาน ณ วันที่มีการชำระราคาสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการ มาคำนวณใช้กับลูกค้า และบึนทึกรายได้โดยต้องแสดงอัตราแลกเปลี่ยนนั้นให้เห็นโดยซัดเจน
ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งรายการและราคาจำหน่ายสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรืออัตราค่าบริการเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ทอท.ทราบ และผู้รับอนุญาตต้องจำหน่ายเฉพาะสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่ม และ/หรือการบริการตามรายการและราคาที่แจ้งให้ ทอท.ทราบแล้วเท่านั้น และหากผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายการหรือราคาผู้รับอนุญาตจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ทอท.ทราบด้วย
หาก ทอท.ตรวจพบหรือมีการร้องเรียนเรื่องราคาหรือคุณภาพของสินค้า และ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการว่าไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกหรือวรรคที่สอง ทอท.สงวนสิทธิ์ที่จะให้ผู้รับอนุญาตปรับปรุงเปลี่ยนแปลงราคาและคุณภาพของสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการ ตามแต่ทอท.จะเห็นสมควร และ ทอท. สงวนสิทธิ์ในการกำหนดชนิดของสินค้าที่จำหน่ายและ/หรืออาหารและเครื่องดื่ม และ/หรือบริการ ตลอดจนรายการของสินค้าและ/หรืออาหารและเครื่องดื่มและ/หรือการบริการ หรือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตงดเว้นการจำหน่ายสินค้าและ/หรือให้บริการบางชนิด และ/หรืออาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่ ทอท.พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่หมาะสม หรือไม่ได้มาตรฐาน และผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด โดยการพิจารณาของ ทอท.ให้ถือเป็นข้อยุติ…
2.10 หากในระหว่างอายุสัญญา ทอท.แจ้งให้ผู้รับอนุญาตติดตั้งอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ผู้รับอนุญาตจะต้องติดตั้งอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลการบายการบริการ และการประกอบกิจการของผู้รับอนุญาตตามรายละเอียด และเงื่อนไขที่ ทอท.กำหนด โดยผู้รับอนุญาตต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ให้ครบทุกจุดที่มีการขายการบริการ รวมถึงการติดตั้งและใช้ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ (up-to-date software) โดยระบบดังกล่าวต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมการขาย/การบริการในเวลาที่แท้จริง (real time transaction) ที่ถูกต้องครบถ้วนในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ ทอท.
ทั้งนี้ ผู้รับอนุญาตต้องดำเนินการทันทีภายใต้ข้อกำหนด เงื่อนไขและระยะวลาที่ ทอท.กำหนด ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับอนุญาตเอง โดยผู้รับอนุญาตจะต้องรับผิดชอบใการควบคุม กำกับดูแล บำรุงรักษาให้อุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ทำงานได้ดีอยู่ตลอดเวลา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้สามารถใช้งานอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ หาก ทอท. เป็นผู้ดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point of Sale : POS) ให้แก่ผู้รับอนุญาต ผู้รับอนุญาตต้องเช่าอุปกรณ์และระบบดังกล่าวจาก ทอท.เท่านั้น โดยต้องชำระค่าเช่าอุปกรณ์/ค่าใช้ระบบ และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจกการเช่าอุปกรณ์และระบบดังกล่าวจาก ทอท. ในอัตราที่ ทอท. กำหนด โดยในกรณีดังกล่าวให้ถือว่าการเช่าอุปกรณ์และระบบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ และไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้รับอนุญาตตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายใด ๆ จากทอท.ทั้งสิ้น
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประพฤติผิดข้อกำหนดๆ ของสัญญานี้หรือสัญญาเช่า ทอท.อาจแจ้งหยุดกิจการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการแก้ไขเหตุแห่งการผิดสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในระหว่างนี้ผู้รับอนุญาตต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนตามข้อสัญญาเฉพาะข้อ 4.2 ด้วย ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ ทอท.ที่จะใช้สิทธิดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดภายใต้สัญญานี้ รวมทั้งการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 4. ของข้อสัญญาทั่วไป…
7.เงื่อนไขอื่นๆ
7.5 ภายใต้บังคับของกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ ทอท.การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญานี้ไม่อาจทำได้ เว้นแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้ทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ความตกลงดังกล่าวเมื่อทำขึ้นแล้วให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้…
7.9 ในกรณีที่เกิดข้อขัดข้องหรือมีเหตุจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นเหตุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้ โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดของคู่สัญญาฝ่ายใด คู่สัญญาจะเจรจากันโดยสุจริตเพื่อหาทางแก้ไข ทั้งนี้ ในกรณีที่ทั้งสองฝ่าย มีความเห็นไม่ตรงกัน ให้ความเห็นของ ทอท.ถือเป็นที่สุด
7.10 สัญญานี้ให้บังคับและตีความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศไทย
เหล่านี้เป็นสาระสำคัญหลักของสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนที่บอร์ดทอท.มีมติเห็นชอบแนวทางช่วยเหลือและเยียวยากลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19
อ่านประกอบ :
เปิดสัญญา ‘ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ’ ก่อนบอร์ด ทอท.มีมติเยียวยา ‘คิงเพาเวอร์’
เปิดเอกสารมติ ทอท.! อุ้ม ‘คิง เพาเวอร์’ ยกเลิก ‘การันตี’ ผลตอบแทนขั้นต่ำ 2.4 แสนล.
ยกเหตุสร้างอาคารล่าช้า! บอร์ดทอท.เลื่อนนับหนึ่งอายุสัญญา ‘ดิวตี้ฟรี’ สุวรรณภูมิ’ เป็นเม.ย.65
ไขปมโต๊ะจีน ‘พปชร’ หนุน ‘คิงเพาเวอร์’ กวาดสัมปทานดิวตี้ฟรี 6 สนามบินจริงหรือ ?
ให้ผลตอบแทนรวมปีแรก2.3 หมื่นล! ทอท. แจ้ง ตลท. 'คิงเพาเวอร์' กวาดเรียบ 3 ส.'ดิวตี้ฟรี-พาณิชย์'
'ชาญชัย'อ่วมคุก16เดือน! ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคดีหมิ่นคิงเพาเวอร์
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/