"...ช่วงเดือน ส.ค. 2564 มีรายงานข่าวจากสำนักงานศาลยุติธรรมว่า นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา (เป็นต่อจากนายไสลเกษ ขณะนั้น) ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงกับ ‘ผู้บริหารระดับสูง’ รายนี้แล้ว โดยมีนายอำนาจ พวงชมภู อดีตอธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และว่าที่ผู้พิพากษาอาวุโสประจำศาลอุทธรณ์ นายณรงค์ ประจุมาศ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และว่าที่ผู้พิพากษาศาลฎีกา รวมถึงนางวรนาฎ บุญนิธี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นกรรมการ กระทั่งมีการชงเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ก.ต. ขอให้พักราชการนายสราวุธ ที่ถูกกล่าวหาคดีปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง และ ก.ต. เสียงข้างมาก มีมติไม่ควรพักราชการ เนื่องจากต้องรอผลการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงที่คาดว่าจะสรุปผลกลางเดือน ธ.ค. 2564..."
กรณีการปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงเป็นศาลแพ่งและศาลอาญาพระโขนง วงเงิน 42.3 ล้านบาท กำลังอยู่ระหว่าง “โค้งสุดท้าย” ในการตรวจสอบ หลังจากมีรายงานข่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ว่า ผลการสอบสวนกรณีนี้ใกล้สิ้นสุดแล้ว คาดว่าในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2564 จะมีผลการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงออกมา
ล้อไปกับประเด็นที่ประชุม ก.ต. เสียงข้างมาก 8 ต่อ 7 ไม่พักราชการนายสราวุธ เบญจกุล อดีตเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเจ้าตัวถูกสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนงอยู่ด้วย
การปรับปรุงอาคารศาลพระโขนงดังกล่าว ถูกร้องเรียนถึงปัญหาว่ามีเอกชนเข้ามาดำเนินการปรับปรุงอาคาร ก่อนที่สำนักงานศาลยุติธรรมจะประกาศประกวดราคา และประกาศรายชื่อเอกชนผู้ชนะการประกวดราคาด้วยซ้ำ?
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้เป็นอย่างไร? สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สรุปข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ ดังนี้
โครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนงเป็นศาลแพ่งและศาลอาญาดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงการปรับปรุงศาลมีนบุรี และศาลตลิ่งชัน เป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาพระโขนง และศาลอาญามีนบุรี พ.ศ. 2562
@เอกชนเข้าปรับปรุงก่อน กม.บังคับใช้-สนง.ศาลฯยังไม่ประกาศประกวดราคา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือน ม.ค. 2562 หรือก่อนกฎหมายประกาศบังคับใช้นั้น ปรากฏข้อมูลร้องเรียนว่ามีเอกชนบางแห่งส่งพนักงานเข้าไปปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง และศาลมีนบุรี ก่อนจะมีการเปิดประกวดราคา และก่อนหน้าที่จะมีการประกาศ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562
ข้อร้องเรียนดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นภาพ และลายเซ็นของผู้รับเหมาของเอกชนแห่งหนึ่ง เข้าไปปรับปรุงอาคารพื้นที่ศาลพระโขนง และศาลมีนบุรี โดยมีคนงานจำนวนหนึ่งเข้ามาดำเนินการด้วย เบื้องต้นในส่วนของศาลมีนบุรี พบว่า มีการขออนุญาตปรับปรุงอาคารระหว่างวันที่ 3-9 ม.ค. 2562 ปรับปรุงรายชั้นตั้งแต่ชั้น 1-10 มีการติดแอร์ มิเตอร์น้ำ-ไฟ เพื่อให้คนงานใช้ โดยมีเอกชนแห่งนี้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ต่อมา เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักงานศาลยุติธรรมได้เปิดประกวดราคาด้วยวิธีคัดเลือก เพื่อให้เอกชนเข้าไปปรับปรุงอาคารศาลทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ศาลพระโขนง ศาลมีนบุรี และศาลตลิ่งชัน
@เอกชนรายเดียวชนะประกวดราคาปรับปรุง 2 ศาล
โดยในส่วนของศาลพระโขนง พบว่า เอกชน 3 รายเข้าร่วมยื่นเสนอราคา ได้แก่ บริษัท โปรเกรส ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคา 42,342,000 บาท บริษัท ออกัสท์ เดคอเรชั่น จำกัด เสนอราคา 44 ล้านบาท และ หจก.ศรีกรุงทวีกิจการก่อสร้าง เสนอราคา 43,480,000 บาท โดยบริษัท โปรเกรสฯ เป็นผู้ชนะการเสนอราคา ยอมปรับลดวงเงินจาก 42,342,000 บาท เหลือ 42.3 ล้านบาท จากราคากลาง 42,342,000 บาท ลงนามทำสัญญาเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2562
ส่วนการปรับปรุงอาคารศาลมีนบุรี มีเอกชน 3 รายเข้าร่วมยื่นเสนอราคา ได้แก่ บริษัท โปรเกรส ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคา 45,280,000 บาท บริษัท ออกัสท์ เดคอเรชั่น จำกัด เสนอราคา 47,100,000 บาท และ หจก.ศรีกรุงทวีกิจการก่อสร้าง เสนอราคา 46,785,000 บาท โดยบริษัท โปรเกรสฯ เป็นผู้ชนะการเสนอราคาด้วยวงเงิน 45,280,000 บาท ลงนามทำสัญญาเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2562
@“โปรเกรสฯ” ผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง-คู่สัญญาศาลยุติธรรมกว่า 812 ล.
ข้อมูลของบริษัทเอกชนผู้ชนะการประกวดราคา ทั้ง 2 ศาลคือบริษัท โปรเกรสฯ พบว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2539 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 259/11 ซ.วิภาวดีรังสิต 70 (พัชราภา) แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. แจ้งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ปรากฏชื่อนายสุรศักดิ์ ประสิทธิ์พันธ์ เป็นกรรมการ
รายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย .2563 มีนายสุรศักดิ์ ประสิทธิ์พันธ์ ถือหุ้นใหญ่สุด 90.4% นางดวงรัตน์ นนทดิษฐ์ 2.4% นางวิจิตรา ประสิทธิ์พันธ์ 2.4% นายอดุลย์ ประสิทธิ์พันธ์ 2.4% และนายอนันต์ชัย ประสิทธิ์พันธ์ 2.4%
แจ้งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2562 มีรายได้รวม 203,611,424 บาท รายจ่ายรวม 163,528,020 บาท เสียภาษีเงินได้ 8,152,408 บาท กำไรสุทธิ 30,898,006 บาท
จากการตรวจสอบฐานข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พบว่า บริษัทแห่งนี้เป็นคู่สัญญากับสำนักงานศาลยุติธรรมระหว่างปี 2551-2562 อย่างน้อย 28 สัญญา รวมวงเงิน 812,958,000 บาท
@ร้องเรียน สตง.ชง ป.ป.ช.ไต่สวน-ปธ.ศาลฎีกาฯตั้ง กก.สอบข้อเท็จจริงด้วย
สำหรับตัวละครที่เกี่ยวข้องกับกรณีข้างต้น เริ่มจากผู้พิพากษาที่เปิดโปงเรื่องนี้ได้นำเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กระทั่งนำไปสู่การนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) โดยท้ายที่สุด คตง.พิจารณาจากรายงานของนายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าฯ สตง.) แล้วมีมติว่า การกระทำดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วฯ) จึงส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนต่อไป
เมื่อเรื่องมาถึงสำนักงาน ป.ป.ช. แล้ว มีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้ โดยมีนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการ ป.ป.ช. ป้ายแดง ที่เคยเป็นอธฺบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งมีนบุรี มาเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ปัจจุบันเรื่องยังอยู่ระหว่างการไต่สวน
ในช่วงเวลาเดียวกันนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา (ขณะนั้น) ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ด้วย
@คนขับรถ กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา สะเทือนกระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตามเรื่องราวที่คาบเกี่ยวกันคือ เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล รองประธานแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ และกรรมการ ก.ต. ได้แจ้งความต่อตำรวจ สน.พหลโยธิน ว่า ถูกรถยนต์คันหนึ่งขับตามตั้งแต่ออกจากบ้านพัก จนมาถึงศาลอุทธรณ์ ถ.รัชดาภิเษก
จากการตรวจสอบของตำรวจพบว่า ป้ายทะเบียนรถคันดังกล่าว มีเจ้าของรถเป็น พนักงานขับรถประจำตัวของกรรมการ ป.ป.ช. รายหนึ่ง ทำให้ตำรวจประสานมายังสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อขอติดต่อกับพนักงานขับรถรายนี้ โดยเจ้าตัวยอมรับสารภาพว่าทำจริง แต่อ้างว่านายอนุรักษ์ขับรถปาดหน้า จึงขับตามไปยังศาลอุทธรณ์ ทำให้ตำรวจทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ส่งตัวพนักงานขับรถรายนี้มาสอบสวนอย่างเป็นทางการ
พลันที่เรื่องนี้เกิดขึ้น เกิดความร้อนระอุในกลุ่มไลน์ผู้พิพากษาทันที เนื่องจากนายอนุรักษ์ คือหนึ่งในตัวตั้งตัวตีเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลโครงการปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง ทำให้มีการผูกโยงเรื่องว่าอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ ทว่าเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา กรรมการ ป.ป.ช. รายนี้ ได้เขียนข้อความผ่านไลน์กลุ่มเพื่อนผู้พิพากษา ที่มีนายอนุรักษ์อยู่ด้วย เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง โดยยอมรับว่าบุคคลดังกล่าวเป็นพนักงานขับรถ 1 ใน 2 คนของตนจริง แต่ไม่ได้สั่งการให้สะกดรอย พร้อมกับขอโทษนายอนุรักษ์แล้ว
ต่อมานายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ขณะนั้น) แจ้งว่า พนักงานขับรถของกรรมการ ป.ป.ช. รายนี้ ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา แต่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือถึงทะเบียนราษฎร์ของพนักงานขับรถรายนี้ เพื่อประสานขอให้ไปพบพนักงานสอบสวน
ขณะที่ฝั่งตำรวจ สน.พหลโยธิน ดำเนินการเรียกตัวพนักงานขับรถรายนี้มาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ทว่าไม่มีการตอบรับกลับมา ทำให้พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ดำเนินการ ‘ออกหมายจับ’ พนักงานขับรถรายนี้ พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปค้นที่บ้าน แต่ไม่พบตัวแต่อย่างใด
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าตำรวจได้นำตัวพนักงานขับรถรายนี้ มาสอบปากคำแล้วหรือไม่?
@ก.ต.มีอำนาจสอบวินัยร้ายแรง-รอสรุปผลกลาง ธ.ค.นี้
ตัดภาพกลับมาที่สำนักงานศาลยุติธรรม ภายหลังนายไสลเกษ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้แล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว ได้สรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยนำเสนอต่อที่ประชุม ก.ต. พิจารณาช่วงเดือน เม.ย. 2564 อย่างไรก็ดี ‘ผู้บริหารระดับสูง’ ในสำนักงานศาลยุติธรรมได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรม และคัดค้าน โดยเห็นว่า ก.ต. ไม่มีอำนาจดำเนินการทางวินัยร้ายแรง
ทว่าในการประชุม ก.ต. เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 มีมติเสียงข้างมาก 10 ต่อ 5 เสียง เห็นว่า แม้ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานศาลยุติธรรมย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นภายในสำนักงานศาลยุติธรรมแล้วก็ตาม แต่ ก.ต. ยังคงมีอำนาจดำเนินการทางวินัย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 22 (1) และมาตรา 75 วรรคหนึ่ง โดยหลังจากนี้ประธานศาลฎีกาจะดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
ต่อมาผู้บริหารระดับสูงรายนี้ ร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากในชั้นการสอบข้อเท็จจริงชั้นต้น เคยเข้าชี้แจงในฐานะพยาน แต่คราวนี้ขอเข้าชี้แจงในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ประธานศาลฎีกาจึงให้โอกาสผู้บริหารระดับสูงรายนี้เข้าชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 5 ก.ค. 2564
หลังจากนั้นช่วงเดือน ส.ค. 2564 มีรายงานข่าวจากสำนักงานศาลยุติธรรมว่า นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา (เป็นต่อจากนายไสลเกษ ขณะนั้น) ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงกับ ‘ผู้บริหารระดับสูง’ รายนี้แล้ว โดยมีนายอำนาจ พวงชมภู อดีตอธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และว่าที่ผู้พิพากษาอาวุโสประจำศาลอุทธรณ์ นายณรงค์ ประจุมาศ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และว่าที่ผู้พิพากษาศาลฎีกา รวมถึงนางวรนาฎ บุญนิธี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นกรรมการ
กระทั่งมีการชงเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ก.ต. ขอให้พักราชการนายสราวุธ ที่ถูกกล่าวหาคดีปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง และ ก.ต. เสียงข้างมาก มีมติไม่ควรพักราชการ เนื่องจากต้องรอผลการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงที่คาดว่าจะสรุปผลกลางเดือน ธ.ค. 2564
@ สราวุธ เบญจกุล
ทั้งหมดคือเงื่อนปม-ฉากหลังคดีปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง วงเงิน 42.3 ล้านบาท ที่สะเทือนไปทุกขั้วกระบวนการยุติธรรม ทั้งแต่ ตำรวจ ป.ป.ช. ถึงศาล
ท้ายที่สุดบทสรุปเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร คงต้องรอผลการสอบสวนกันต่อไป
อ่านประกอบ :
@สร้างศาลพระโขนงใหม่ 304 ล้าน
-
เทียบชัด! เอกสารแบ่งงวดงาน-หนังสือร้องสอบ ปมสร้างศาลพระโขนง 304 ล.เสร็จจริงไหม?
-
ACT ขยายผล‘อิศรา’! เปิดไส้ในงานงวดสุดท้ายสร้างศาลพระโขนง 304 ล.ใช้ได้บัลลังก์เดียว
-
เจาะไส้ใน! ประมูลสร้างศาลพระโขนง 304 ล.ไฉนตรวจรับงานแล้วใช้ได้บัลลังก์เดียว?
-
ยังไม่ทราบปัญหา! เปิดตัวเอกชนสร้างศาลพระโขนง 304 ล.-คู่สัญญารัฐ 2.5 พันล.
-
เบื้องหลัง! สร้างศาลพระโขนงใช้งบ 304 ล.ไฉนไม่เสร็จ? ได้แค่บัลลังก์เดียว-ลิฟต์ 1 ชุด
-
ชงเลขาฯศาลสอบ! ศาลพระโขนงใหม่ 304 ล.สร้างเสร็จแล้ว ใช้ได้บัลลังก์เดียว-ลิฟต์ 1 ตัว
@ปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล้าน
-
ผู้รับเหมามาคุยก่อน! เจาะผลสอบลับ สตง. คดีปรับปรุงศาลพระโขนง-เอกชนทำงานก่อนถูกจ้าง?
-
ขอความเป็นธรรม!‘บิ๊ก สนง.ศาล’ขอแจงคดีปรับปรุงศาลพระโขนง-ขีดเส้นภายใน 5 ก.ค.
-
ออกหมายจับ‘อดีตคนขับรถ’กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา-ตร.ลุยค้นบ้านแต่ไม่พบตัว
-
ออกหมายเรียก 2 ครั้งแต่ไม่มา! ตร.จ่อดำเนินคดี‘คนขับรถ’กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา
-
คนขับรถ กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษาชิงลาออก! ตร.ตามตัวมาให้ถ้อยคำเอง-ขยายผลสอบต่อ
-
ตร.ประสานเป็นทางการ! ขอตัว‘คนขับรถ’ กก.ป.ป.ช.ให้ถ้อยคำปมสะกดรอยผู้พิพากษา
-
มติ ก.ต. ข้างมาก 10:5 มีอำนาจดำเนินการทางวินัยร้ายแรง‘บิ๊กศาล ยธ.’คดีศาลพระโขนง
-
ก.ต.เลื่อนถกผลสอบคดีศาลพระโขนง 17 พ.ค.! ‘บิ๊ก สนง.ศาลฯ’ตัวละครสำคัญติดโควิด-19
-
ก่อนเลื่อนประชุม! โชว์หนังสือ‘บิ๊ก สนง.ศาล’ ขอความเป็นธรรม-ค้าน ก.ต.ถกผลคดีศาลพระโขนง
-
บิ๊ก สนง.ศาล’ทำโนติสค้าน-อ้าง ก.ต.ไร้อำนาจสอบ! เลื่อนถกผลคดีศาลพระโขนง 3 พ.ค.
-
จับตาประชุม ก.ต. 19 เม.ย.พิจารณาวาระร้อน! ผลสอบข้อเท็จจริงปมปรับปรุงศาลพระโขนง
-
ขมวดปมร้อน! คดีปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.ก่อนลามสะกดรอยผู้พิพากษา?
-
ยื่นโนติสค้าน กก.ป.ป.ช.เจ้าของสำนวนคดีศาลพระโขนง อ้างสนิท‘บิ๊ก สนง.ศาล’ผู้ถูกกล่าวหา
-
เตรียมเรียกคนขับมาให้ถ้อยคำ! โฆษก บช.น.ยันสอบอยู่ปมผู้พิพากษาถูกสะกดรอย
-
เหตุเกิดที่ศาลอุทธรณ์! โชว์ภาพชุดคนขับรถประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา?
-
กก.ป.ป.ช.ขอโทษผู้พิพากษา! ปัดสั่งคนขับรถสะกดรอย-ปธ.ศาลฎีกาให้เลขาฯศาลดูแล
-
‘คนขับรถ’ประจำตัว กก.ป.ป.ช.สะกดรอยผู้พิพากษา! โยงเปิดโปงคดีปรับปรุงศาลพระโขนง
-
โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ 87.5 ล.ก่อน คตง.ชง ป.ป.ช.สอบส่อฮั้วประมูล?
-
เข้าข่าย พ.ร.บ.ฮั้ว! มติ คตง.ส่งเรื่องปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.ให้ ป.ป.ช.สอบแล้ว
-
ตามไปดู! 'คู่เทียบ' แข่งงานปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-ผู้บริหารฯ ยังไม่ให้สัมภาษณ์
-
เผยโฉม! ที่ตั้ง บ.โปรเกรสฯ ผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนฯ87.5 ล.-พนง.อยู่ไซต์งานกันหมด
-
โพรไฟล์ บ.แสนคำภูฯ ก่อนปรับปรุงศาลตลิ่งชัน-เคยได้งานสร้างบ้านพักผู้พิพากษาสระบุรี 22 ล.
-
ปรับปรุงศาลตลิ่งชัน บ.แสนคำภูฯ ชนะ 47.4 ล.เท่าราคากลางเป๊ะ คู่เทียบเดิมศาลมีนฯ-พระโขนง
-
โชว์เอกสาร-ขมวดปมปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี ก่อน ปธ.ศาลฎีกาตั้ง กก.สอบทางการ
-
เป็นทางการ! ปธ.ศาลฎีกาลงนามคำสั่งตั้ง กก.สอบปมปรับปรุงอาคารศาลพระโขนง 42.3 ล.แล้ว
-
โชว์บันทึกผู้รับเหมาเข้าปรับปรุงพื้นที่ศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะประมูล 2 เดือน
-
ละเอียด! ที่มา บ.โปรเกรสฯ ก่อนชนะประมูลคู่สัญญาปรับปรุงศาลพระโขนง-มีนบุรี 87.5 ล.
-
โชว์เอกสารผู้ควบคุมงานแจ้งขอเข้าปรับปรุงศาลมีนบุรี ก่อนประกาศผู้ชนะเสนอราคา 3 เดือน
-
อีกแห่ง! บ.โปรเกรสฯคว้างานปรับปรุงศาลมีนบุรี 45.2 ล.-2 คู่เทียบเดิม
-
‘ออกัสท์-ศรีกรุงทวีกิจฯ’ 2 คู่เทียบประมูลงานปรับปรุงศาลพระโขนง ได้สัญญารัฐ 2.6 พันล.
-
ปธ.ศาลฎีกาลุยสอบเอง! ปมเอกชนสำรวจพื้นที่ก่อนประกวดราคาปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.
-
เปิดตัว 2 คู่เทียบ! ปรับปรุงศาลพระโขนงก่อน บ.โปรเกรสฯคว้างานต่ำกว่าราคากลาง 4.2 หมื่นบ.
-
ก่อนได้งานปรับปรุงศาลพระโขนง-บ.โปรเกรสซีวิลฯ คู่สัญญา สนง.ศาลยุติธรรม 812 ล.
-
ผู้พิพากษาไม่จ่ายเงินจ้างปรับปรุงศาลพระโขนง อ้างมีกรณีเอื้อปย.-เลขาฯ ศาล ยันทำถูกต้อง
-
จ่ายเงินครบแล้ว! เลขาฯศาล ยธ.ไม่รู้ปมเอกชนเข้าไปสำรวจก่อนคว้างาน-หน้าที่ศาลพระโขนงสอบ
-
ต้องทำตามกฎหมาย! ปธ.ศาลฎีกาเผย ก.ต.สั่งสอบปมผู้พิพากษาร้องปรับปรุงศาลพระโขนงแล้ว
-
เปิดตัว‘โปรเกรส ซีวิลฯ’เอกชนผู้ชนะปรับปรุงศาลพระโขนง 42.3 ล.-ผู้บริหารยังไม่พร้อมแจง
-
ผู้พิพากษาแจ้งความโดน 2 จนท.สตง. 'ล็อบบี้' ไม่รับรองหลักฐานคดีเอื้อปย.ปรับปรุงศาลพระโขนง
-
โชว์บันทึกแจ้งความ! กล่าวหา 2 จนท.สตง. ล็อบบี้ไม่รับรองหลักฐานคดีปรับปรุงศาลพระโขนง