‘ศาลปกครองกลาง’ สั่ง ‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ ข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 ระงับกระบวนการพิจารณาเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำชี้ขาดว่า อำนาจการพิจารณาข้อพิพาท 'ดาวเทียมไทยคม 5’ เป็นของ THAC หรือไม่
...............................
สืบเนื่องจากกรณีที่ บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง (ผู้ร้องที่ 1 และ 2) ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ค.1/2564 กรณีพิพาทตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 ก.ย.2534 โดย บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง ขอให้ศาลฯมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งว่า สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 และกระบวนการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) เป็นกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อสัญญาสัมปทานและข้อกฎหมาย นั้น (อ่านประกอบ : ฟ้องนัว 4 คดี! ‘ไทยคม-ดีอีเอส’ ยื่น ‘ศาลปค.กลาง’ ชี้ขาดข้อพิพาทดาวเทียม-ตั้งอนุญาโตฯ)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่ง ห้ามมิให้มีการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ในข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 เป็นการชั่วคราว ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ศาลฯให้เหตุผลว่า การที่ผู้ร้องทั้งสอง (บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง) ได้ยื่นข้อเสนอพิพาทเรื่องเดียวกัน (ข้อพิพาทดาวเทียมไทยคม 5) ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 93/2563 นั้น หากสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) เป็นสถาบันอนุญาโตตุลาการที่มีอำนาจในการระงับข้อพิพาทฯ ตามที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอ ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย เนื่องจากข้อพิพาทที่ยื่นเสนอไม่ได้รับการวินิจฉัย และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการดังกล่าวด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่กระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ในข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 ยังดำเนินต่อไป ย่อมทำให้ผู้ร้องทั้งสอง ได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการกระทำดังกล่าว
ขณะเดียวกัน การที่ศาลฯมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองอย่างใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้ระงับการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ในข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 ไว้ก่อน ในระหว่างการพิจารณาของศาล มิได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคแก่การบริหารงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ผู้คัดค้านที่ 1) กรณีจึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่ร้องขอ
นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสอง ยื่นคำร้องตามมาตรา 25 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ขอให้ศาลฯวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ในการวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 ก.ย.2534 นั้น บทบัญญัติดังกล่าว มิได้มีผลตัดอำนาจศาล มิให้มีคำสั่งระงับการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ในข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 ไว้ก่อนระหว่างการพิจารณาของศาลฯ แต่อย่างใด
สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ได้เกิดกรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 และเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2563 ทำให้ต่อมากระทรวงดีอีเอส ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อ สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ A27/2020 โดยเรียกร้องให้ บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง ดำเนินการ ดังนี้
1.สร้างและส่งมอบดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 หรือ ‘ให้ใช้’ ราคาดาวเทียม จำนวน 7,790.09 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
2.ชำระค่าปรับเป็นเงิน 4.98 ล้านบาท (คำนวนจากวันที่ 25 ก.พ.2563 ถึงวันที่ 30 ต.ค.2563) พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี
3.ค่าปรับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะส่งมอบดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 หรือชำระเงินค่าเสียหายครบถ้วน
ทั้งนี้ ปัจจุบัน คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ A27/2020 ประกอบด้วย ศ.พิเศษ สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ , นางสุรางค์ นาสมใจ รองอัยการสูงสุด เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายกระทรวงดีอีเอส และ ศ.พิเศษ ดร.กมลชัย รัตนสกวงศ์ เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายบมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง
อย่างไรก็ดี หลังจากกระทรวงดีอีเอส ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ A27/2020 แล้ว บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 93/2563 ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม 5 เช่นกัน
ต่อมา บมจ.ไทยคม และ บมจ.อินทัช โฮลดิ้ง เห็นว่า สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทเลขที่ A27/2020 และกระบวนการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (THAC) เป็นกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อสัญญาสัมปทานและข้อกฎหมาย รวมทั้งเห็นว่าการพิจารณาคดีพิพาทดาวเทียมไทยคม 5 เป็นอำนาจของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) จึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลฯมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้
อ่านประกอบ :
ฟ้องนัว 4 คดี! ‘ไทยคม-ดีอีเอส’ ยื่น ‘ศาลปค.กลาง’ ชี้ขาดข้อพิพาทดาวเทียม-ตั้งอนุญาโตฯ
‘พฤฒิพร เนติโพธิ์’ แจ้งถอนตัว ‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม-ยันคู่กรณีไม่คัดค้าน 'ความเป็นกลาง’
อธิบดีอัยการสำนักอนุญาโตฯ ระบุชัด ‘ก.ดีอีเอส’ ตั้ง 'พฤฒิพร' คดีไทยคม ขัดระเบียบ-กม.
เปิดละเอียดข้อกล่าวหา!ยื่น ป.ป.ช.สอบ ‘รมว.ดีอีเอส- อสส.’ แทรกแซงตั้งอนุญาโตฯคดีไทยคม
‘ก.อ.’ ถกปมตั้ง ‘อนุญาโตฯ’ คดีดาวเทียมไทยคม ส่อมีปัญหา-แนะ ‘พฤฒิพร’ ถอนตัว
‘ดีอีเอส’ โยน ‘อสส.'ทบทวนตั้ง ‘พฤฒิพร’เป็นอนุญาโตฯคดีไทยคม หลังมีข้อครหาไม่เป็นกลาง
โชว์คำสั่ง‘บิ๊กตู่’! ตั้ง‘พล.อ.วิทวัส’นั่งปธ.ตรวจสอบสัมปทานดาวเทียม-ถกนัดแรก 13 ก.ย.
‘บอร์ด กสทช.’ ไฟเขียว NT เข้าใช้วงโคจรดาวเทียม หลังสิ้นสุดสัมปทาน 'ไทยคม'
ย้อนปมแก้สัญญาดาวเทียม! ก่อนครม.ไล่เบี้ยหาคนผิด ลดหุ้น'ไทยคม’-ไม่ประมูล‘ไอพีสตาร์’
ครม.ไฟเขียวแก้สัญญาดาวเทียม ให้‘อินทัช’ ถือหุ้น‘ไทยคม’ไม่ต่ำกว่า 51%-ผนวก'ไอพีสตาร์'
แกะคู่มืออนุญาโตฯ เปิดช่อง ‘ไทยคม’ ได้เปรียบคดีดาวเทียม เดิมพันค่าโง่ 2.5 หมื่นล้าน
อภิปรายไม่ไว้วางใจ : ชำแหละมหากาพย์ 'ดาวเทียม’ เอื้อกลุ่มทุน-‘ชัยวุฒิ’ ปัดอุ้ม‘ไทยคม’
‘อสส.’ ส่งชื่อ ‘พฤฒิพร เนติโพธิ์’ เป็น ‘อนุญาโตฯ’ ชี้ขาดคดีไทยคม 2 ข้อพิพาท
ผู้ตรวจอัยการฯ VS ปลัดดีอีเอส : ขอให้ยึดถือความสัตย์จริง ตรงไปตรงมา
เสี่ยงถูกครอบงำ! ‘ผู้ตรวจอัยการ’ ค้านตั้ง ‘อนุญาโตฯ’ คนเดียว รวบคดีไทยคม
อ้างผิดพลาด! 'ปลัดดีอีเอส'ขออภัย 'ผู้ตรวจอัยการ’ ยันไม่เปลี่ยน‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม 5
'รมว.ดีอีเอส' ยันเสนอชื่อ ‘อนุญาโตฯ’ คดี 'ไทยคม' ใหม่อีกรอบ ขึ้นอยู่กับ ‘อสส.’
‘ดีอีเอส’ ตีกลับ‘เลขาฯอสส.’! แจ้งขอเปลี่ยน 'อนุญาโตฯ' คดีพิพาทไทยคมอีกรอบ
4 ปมปัญหา! เบื้องหลังเปลี่ยน ’อนุญาโตฯ’คดีไทยคม หลังผลัดเก้าอี้ 'รมว.ดีอีเอส'
ปมขัดแย้งเปลี่ยน ‘อนุญาโตฯ’ ฝ่ายอัยการ คดีข้อพิพาท ‘ไทยคม’ เดิมพันผล ปย.หมื่นล้าน