"...หลังเกษียณอายุ (ปิดแทบดำทับ) เป็นที่ปรึกษาให้กับ (ปิดแทบดำทับ) ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ (ปิดแทบดำทับ) ไม่มีรายได้แหล่งอื่น และมีเงินลงทุนในหุ้นประมาณ (ปิดแทบดำทับ) ภรรยาของ (ปิดแทบดำทับ) มีอาชีพเป็นแม่บ้านมาโดยตลอด (ปิดแทบดำทับ) ให้การว่าหลังเกษียณอายุเมื่อปี 2550 มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย แต่ไม่เพียงพอสำหรับเก็บสะสม จึงมีข้อสงสัยว่า (ปิดแทบดำทับ) มีความสามารถในการชำระเงินค่านาฬิกาเรือนดังกล่าว จำนวน 2,100,000 บาท ได้หรือไม่ อย่างไร..."
ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ให้ความสำคัญติดตามตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง
สำหรับผลการสอบสวนคดีนาฬิกาหรูและแหวน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการพิจารณาคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติ 5 ต่อ 3 เสียง ให้ตีตกเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีมูลเพียงพอว่า พล.อ.ประวิตร จงใจ ยื่นบัญชีแสดงรายการอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ในช่วงเดือนธ.ค.2561
- โหมโรง! เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรู บิ๊กป้อม ยัน Blancpain/Limited edition คืนเพื่อนด้วยตัวเอง
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (1) ป.ป.ช.ล่าข้อมูล Richard Mille, Patek 4 ปท. 'เหลว'
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (2) สรุป 22 เรือน 6 กลุ่ม ป.ป.ช.พบข้อสังเกตอะไรบ้าง?
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (3) ว่าด้วยแหวน 10 วง ขาดคำชี้แจง 'มารดา'
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรู (4) ชี้พิรุธคำให้การ 'บิ๊กป้อม'? ครอบครอง Rolex เรือนละ 4.6 แสน
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรู (5) ข้อสงสัย 'คนร้อนเงิน' ยอมขาย Rolex รุ่น Daytona แค่ 3.5 แสน
ในการนำเสนอข้อมูลผลการสอบสวนตอนล่าสุดนี้ ยังคงเป็นข้อมูลส่วนที่เหลือของ เอกสารรายการที่ 2. ซึ่งมีการระบุข้อมูลผลการตรวจสอบนาฬิกา บางเรือนคณะทำงานเห็นว่าข้อมูลมีความขัดแย้ง ควรตรวจสอบต่อ บางเรือนควรให้ยุติการสอบสวน ซึ่งมีการระบุถึงข้อมูลเกี่ยวกับที่มา นาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe รุ่น 5960P ที่ พล.อ.ประวิตร ยืนยันว่า ยืมจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อประมาณปี 2560 และคืนให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อประมาณปลายปี 2560 ขณะที่ในขั้นตอนการสอบสวนของคณะทำงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. มีข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการขายนาฬิกา และบุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นลูกค้าพิเศษ ว่าสามารถซื้อนาฬิกาหรู เรือนนี้ได้จริงหรือไม่ และมีการเสนอขอให้ตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายบัตรเครดิต ของ พล.อ.ประวิตร ด้วย แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ
ปรากฏรายละเอียดนับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป
@ ไขปมนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe รุ่น 5960P เรือนละ 2.1 ล้าน
นาฬิกาตามภาพข่าวที่ 8 พล.อ.ประวิตร ชี้แจงว่าเป็นนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe รุ่น 5960P ตนยืมจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อประมาณปี 2560 และคืนให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อประมาณปลายปี 2560
(ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าเป็นนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe รุ่น 5960 P Serial Number 7019863 พร้อมส่งมอบใบรับประกันนาฬิกาเรือนดังกล่าวที่ปรากฏชื่อผู้ซื้อว่า Anonymous ซื้อจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560
ภาพตัวอย่างนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe รุ่น 5960P จาก https://radiumwatch.com/
@ สอบพยานคนขายนาฬิกา
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เชิญ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาให้ถ้อยคำและได้ความว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) จำหน่ายนาฬิกาเรือนดังกล่าว ให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เชิญตัวแทนจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาให้ถ้อยคำ จำนวน 2 ราย รวม 3 ครั้ง ดังนี้
1. (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 สรุปได้ดังนี้
การซื้อขายนาฬิกาของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มี 2 ช่องทาง คือ การซื้อขายที่หน้าร้านโดยตรง และการนำนาฬิกาออกไปเสนอขายให้ลูกค้าพิเศษ โดยจัดทำเอกสารเป็นใบยืมสินค้าให้ลูกค้าพิเศษเก็บไว้หนึ่งชุด และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เก็บไว้เป็นหลักฐานอีกหนึ่งชุด
กรณีลูกค้าพิเศษ เมื่อตกลงซื้อแล้วโดยทั่วไปลูกค้าพิเศษจะชำระเงินค่าสินค้าเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเป็นงวดๆ เปรียบเสมือนการผ่อนชำระ พร้อมกับส่งมอบนาฬิกาในวันเดียวกัน
โดยลูกค้าจะนำใบยืมสินค้ามาคืนให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) หากไม่ตกลงซื้อ ลูกค้าพิเศษจะส่งมอบนาฬิกาพร้อมใบยืมสินค้าคืนให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แต่ไม่ว่าจะตกลงซื้อหรือไม่ก็ตาม ใบยืมสินค้าทั้งสองชุดที่มอบไว้กับลูกค้าและที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เก็บรักษาไว้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะนำไปทำลาย
ในกรณีของการขายแบบผ่อนชำระโดยไม่คิดดอกเบี้ย ที่ขายให้ลูกค้ารายพิเศษนั้น ทุกรายต้องมีการวางเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ครบทุกงวดก่อนที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ของนาฬิกาให้กับลูกค้ารายพิเศษได้เท่านั้น เนื่องจากสินค้ามีมูลค่าสูง
สำหรับลูกค้ารายพิเศษเมื่อมีการจ่ายชำระงวดแรก (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้ารายพิเศษทุกครั้งที่มีการชำระเงินในแต่ละงวดและตั้งเป็นลูกหนี้การค้าไว้และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะออกใบเสร็จขาย/ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าทุกงวดที่มีการรับชำระเงินงวดด้วย
จากนั้นจะส่งเอกสารเหล่านั้นทั้งหมดให้กับทางฝ่ายบัญชี (ปิดแทบดำทับชื่อ) เพื่อบันทึกการขายและตัดสต็อกสินค้า โดยจะส่งเป็นเอกสารต้นฉบับทั้งหมด (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้เก็บสำเนาเอกสารใดๆ ไว้
(ปิดแทบดำทับชื่อ) ยังให้ถ้อยคำว่ามีลูกค้ารายพิเศษรายเดียว คือ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) บันทึกรายการขายและตัดสต็อกสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ชำระเงิน ถึงแม้จะมีการชำระเงินตั้งแต่เดือนมีนาคมและเมษายน 2561 ก็ตาม
นอกจากนี้ นาฬิกาเรือนที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นั้น ได้ส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ซึ่งสินค้าไม่ได้อยู่ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่มีการบันทึกเป็นรายการขายสินค้าโดยตั้ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นลูกหนี้ การค้าและตัดสต็อกสินค้าออกจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในเดือนมกราคม 2560 ที่มีการส่งมอบนาฬิกาให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีเพียงการออกใบยืมสินค้า (Memorandum) ในเดือนมกราคม 2560 เท่านั้น และบันทึกบัญชีเป็นเงินมัดจำสินค้า เมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้างวดแรกในเดือนมีนาคม 2561 งวดที่ 2 เดือนเมษายน 2561
ทั้งนี้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้มอบสำเนาใบยืมสินค้า เลขที่ 0444 เล่มที่ 009 ลงวันที่ 18 มกราคม 2560 ปรากฎรายละเอียดตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ประกอบการให้ถ้อยคำ
สำหรับนโยบายการกำหนดราคาขายนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe นั้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำว่า ทาง (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตนาฬิกา Patek Philippe ได้กำหนดราคาขายปลีกเป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วโลก ฉะนั้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาซี่งรวมถึง (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงต้องขายนาฬิกาตามราคาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตกำหนดไว้เท่านั้น
แต่อาจมีกรณีที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ขายนาฬิกาในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด เช่น กรณีที่นาฬิการุ่นนั้นๆ ค้างสต็อกที่ร้านเป็นเวลาหลายปี เช่น 5 ปี เป็นต้น
(ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงจะยินดีขายนาฬิกาในราคาที่ต่ำ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะลดราคาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ลดและขายต่ำกว่าต้นทุน ปกติทั่วไป (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีอัตรากำไรประมาณร้อยละ (ปิดแทบดำทับ)
สำหรับนาฬิกาเรือนนี้ราคาขายที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตนาฬิกา Patek Philippe กำหนดคือ ราคา 2,506,800 บาท โดยต้นทุนสินค้าของนาฬิกาเรือนนี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,500,000 บาท (ยังไม่รวมอากรขาเข้า 5% และ VAT 7%)
ส่วนราคาขายจริงที่จำหน่ายให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) คือ ราคา 2,100,000 บาท
การมอบส่วนลดให้แก่ลูกค้าเป็นอำนาจในการตัดสินใจของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งเป็นเจ้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ทราบสาเหตุที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มอบส่วนลดค่านาฬิกาเรือนนี้ จำนวนเงินประมาณ 400,000 บาท ให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
2. (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำ สรุปความได้ว่าโดยปกติ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะเสนอเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ทั้งแบบมีใบยืมสินค้าและไม่มีใบยืมสินค้า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้กำหนดรูปแบบที่ตายตัวว่าเมื่อใดต้องออกใบยืมสินค้า ในกรณีที่ไม่มีใบยืมสินค้า (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะนำนาฬิกาออกไปจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในนามชื่อตนเอง และตัดสต็อกสินค้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จากนั้น จึงนำไปเสนอขายให้กับผู้หนึ่งผู้ใดอีกทอดหนึ่ง
ในกรณีที่มีใบยืมสินค้า จะมีทั้งที่ชำระเงินโดยการวางเช็คลงวันที่ส่วงหน้า และให้ผ่อนชำระเช่น กรณีของ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
สำหรับกรณีที่มีการวางเช็คดังกล่าว จะทำการตัดสต็อกสินค้าและทำลายใบยืมสินค้าส่วนกรณีให้ผ่อนชำระนั้นจะเก็บใบยืมสินค้าไว้จนกว่าจะมีการชำระครบถ้วน
@ นัดมอบของที่สนามกอล์ฟกองทัพบก
สำหรับนาฬิกาเรือนดังกล่าว ตนเสนอขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เอง โดยเมื่อราวปลาย ๆ ปี 2557 ตนแจ้งให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ทราบว่า จะมีนาฬิกาเรือนดังกล่าวเข้ามาใหม่ โดย (ปิดแทบดำทับชื่อ) นำนาฬิกามาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ดูในเดือนมกราคม 2560 ใกล้วันเกิดของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่สนามกอล์ฟกองทัพบก และมอบเรือนนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นำกลับไปพิจารณาก่อนว่าจะซื้อหรือไม่
กระทั่ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตกลงจะซื้อนาฬิกา หลังจากนั้น 2-3 วัน (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงนัดหมายกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เพื่อนำใบยืมสินค้าไปมอบให้ที่สนามกอล์ฟกองทัพบก โดยตกลงเงื่อนไขผ่อนชำระ 3 งวด ภายใน 15 เดือน ตาม ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แจ้งว่าจะเพื่อนำมาชำระค่านาฬิกา เงื่อนไขการขายนาฬิกาแบบให้ผ่อนชำระดังกล่าวนี้ นอกจากที่ให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้ว ได้รับเงินโบนัสหรือเงินจากการขายหุ้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) ยังเคยเสนอให้กับเพื่อนโรงเรียน (ปิดแทบดำทับชื่อ) รายอื่นๆ อีก แต่ ไม่ขอระบุชื่อและให้รายละเอียด
หลังจากส่งมอบนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้วประมาณ 2-3 วัน (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงนำกล่องนาฬิกา พร้อมใบ Certificate ไปมอบให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่สนามกอล์ฟทหารบก
ส่วนการตกลงให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ยังไม่ต้องชำระเงินโดยการวางเช็คล่วงหน้านั้น เนื่องจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) แจ้งกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ว่าจะขอรอนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นหรือเงินโบนัสที่จะได้รับในช่วงประมาณตรุษจีนของปี 2561 (ปิดแทบดำทับชื่อ) เห็นว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นรุ่นพี่โรงเรียน (ปิดแทบดำทับชื่อ) รวมทั้งเคยเป็นลูกค้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ครั้งแต่สมัยกิจการรุ่นบิดาของ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
อีกทั้งรุ่นนาฬิกาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซื้อไม่ใช่รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงอย่างเช่น รุ่นนอติลุส ดังนั้น จึงตกลงให้เงื่อนไขการชำระดังกล่าวและยินยอมขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดยให้ส่วนลดจากราคาที่ผู้ผลิตนาฬิกาตั้งไว้
ทั้งนี้ ก่อนขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) (ปิดแทบดำทับชื่อ) เคยเสนอขายนาฬิกาแบบผ่อนชำระและไม่ต้องให้วางเช็คลงวันที่ล่วงหน้าที่มีลักษณะเดียวกับกรณีการขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แต่เมื่อมีการผ่อนชำระครบถ้วนแล้ว (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะทำลายใบยืมสินค้า ดังนั้น ณ วันที่มาให้ถ้อยคำ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงมีหลักฐานเป็นใบยืมสินค้าเฉพาะที่ขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตามที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เคยนำมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านี้ เพียงใบเดียว
กรณีที่ให้ผ่อนชำระโดยไม่มีการวางเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ทำให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ)ไม่ได้ตัดสต็อก สินค้า แต่มีการนำสินค้าออกไปจากร้านหรือ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้ว มีเพียง (ปิดแทบดำทับชื่อ) และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เท่านั้น ที่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว
สำหรับเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ โดยปกติ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะเสนอทั้งแบบมีใบยืมสินค้าและไม่มีใบยืมสินค้า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้กำหนดรูปแบบที่ตายตัวว่าเมื่อใดต้องออกใบยืมสินค้า ในกรณีที่ไม่มีใบยืมสินค้า (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะนำนาฬิกาออกไปจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในนามชื่อตนเองและตัดสต็อกสินค้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จากนั้น จึงนำไปเสนอขายให้กับผู้หนึ่งผู้ใดอีกทอดหนึ่ง
กรณีที่มีใบยืมสินค้า จะมีทั้งที่ชำระเงินโดยการวางเช็คลงวันที่ล่วงหน้า และให้ผ่อนชำระเช่นกรณีของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) สำหรับกรณีที่มีการวางเช็คดังกล่าว จะทำการตัดสต็อกสินค้าและทำลายใบยืมสินค้า ส่วนกรณีให้ผ่อนชำระนั้นจะเก็บใบยืมสินค้าไว้จนกว่าจะมีการชำระครบถ้วน
เหตุที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ทำใบยืมสินค้ากรณีของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เนื่องจากนาฬิกาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เสนอขายนั้น เป็นเรือนแรกของรุ่นนี้ ไม่ใช่รุ่นพิเศษ แต่ว่าเป็นของที่เพิ่งนำเข้ามาใหม่ ใครๆ ก็อยากได้ก่อน พนักงานจึงทักท้วงให้ทำใบยืมสินค้า ส่วนที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ยังไม่ต้องชำระเงินโดยการวางเช็คล่วงหน้านั้น เนื่องจาก แจ้งกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ว่าจะขอรอนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นหรือเงินโบนัสที่จะได้รับในช่วงประมาณตรุษจีนของปี 2561 เห็นว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นรุ่นพี่โรงเรียน (ปิดแทบดำทับชื่อ) รวมทั้งเคยเป็นลูกค้าของ(ปิดแทบดำทับชื่อ) ครั้งแต่สมัยกิจการรุ่นบิดาของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) อีกทั้งรุ่นนาฬิกาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซื้อไม่ใช่รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงอย่างเช่นรุ่นนอติลุส ดังนั้น จึงตกลงให้เงื่อนไขการชำระดังกล่าวและยินยอมขายให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดยให้ส่วนลดจากราคาที่ผู้ผลิตนาฬิกาตั้งไว้
@ นาฬิกาเปรียบได้กับวงการพระเครื่อง
ข้อเสนอในการขายนาฬิกาให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ถือว่าไม่ได้พิเศษกว่าลูกค้ารายอื่นข้อเสนอของลูกค้ารายอื่นที่พิเศษกว่าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีหลายกรณี เช่น ผ่อนชำระ 10-20 เดือน ผ่อนชำระ 5 ปี เป็นต้น
สำหรับการให้ยืมนาฬิการาคาสูงระหว่าง (ปิดแทบดำทับชื่อ) กับกลุ่มผู้นิยมนาฬิการาคาสูงนั้น(ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำว่าวงการนาฬิกาเปรียบได้กับวงการพระเครื่อง เลเวลแต่ละเลเวลไม่เท่ากัน
การที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ยืมนาฬิกานั้นเรียกได้ประหนึ่งว่าเกือบๆ ให้แล้ว เพราะการให้ลูกค้านำไปใส่ก่อน (ปิดแทบดำทับชื่อ)ต้องซื้อหรือตัดสต็อกสินค้าออกจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก่อน เกือบทุกกรณีที่ตนให้ยืมนาฬิกาใส่ก่อน สุดท้ายลูกค้าก็มักจะซื้อนาฬิกาจากตน แต่หากสุดท้ายแล้วลูกค้าไม่ซื้อ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก็ต้องเก็บไว้เอง นำไปขายต่อไม่ได้แล้วเพราะถือเป็นของเก่า ธุรกิจที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นี้เป็นระบบครอบครัว (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะนำนาฬิกาออกไปขายข้างนอกก็สามารถหยิบได้เลย แต่ก็จะจดบันทึกไว้เป็นผู้ซื้อ
การให้ยืมของกันระหว่างตนเองกับเพื่อนของตนถือเป็นเรื่องปกติ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เพื่อนที่เคยเป็นรูมเมทด้วยกัน ปัจจุบันเป็นเจ้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เพื่อนของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาที่บ้านของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาเลือกไม้กอล์ฟไปใช้ รวมถึงนาฬิกาข้อมือที่วางอยู่ที่บ้านของตนไปใส่ เพื่อนของตนบางคนยืมนาฬิกาข้อมือ 10-20 เรือน กรณีที่เป็นเพื่อนสนิทกัน (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก็ไม่ติดใจกับการที่เพื่อนของตนนำของของตนไปใช้ อีกกรณีเมื่อยุคฟองสบู่แตกเพื่อนของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ยืมเงินของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) สุดท้ายแล้ว (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้เงินคืนจากเพื่อน แต่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก็ไม่ได้ติดใจทวงถามแต่อย่างใด เพราะเพื่อนกำลังอยู่ในสถานะลำบาก อีกทั้งเป็นเพื่อนรักกันกับตนรูมเมทของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) หยิบเงินในกระเป๋าสตางค์ของตนไปใช้ ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการยืม
@ ข้อสังเกตจากคำให้การเพียบ
จากข้อเท็จจริงและคำให้การของพยานทั้งสองข้างต้น พบข้อสังเกตดังนี้
- ตามที่ปรากฏลำดับที่ใบยืมสินค้าว่า เลขที่ 0444 เล่มที่ 009 ลงวันที่ 18 มกราคม 2560 แสดงให้เห็นว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ย่อมมีการออกใบยืมสินค้ารายการก่อนหน้านั้นมาแล้วถึงสี่ร้อยกว่ารายการโดยที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก็ขอที่จะไม่ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการออกใบยืมสินค้าก่อนหน้า กรณีป็นที่น่าสงสัยว่าข้อมูลตามใบยืมสินค้าดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่
- จากถ้อยคำ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ว่ากรณีที่ให้ผ่อนชำระโดยไม่มีการวางเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ทำให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้ตัดสต็อกสินค้า แต่มีการนำสินค้าออกไปจากร้านแล้ว มีเพียง (ปิดแทบดำทับชื่อ) และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เท่านั้นที่ทราบข้อเท็จจริง
แต่ในสำเนาใบยืมสินค้านฬิกาเรือนดังกล่าวยังปรากฎชื่อ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ประกอบกับ เมื่อพิจารณาถึงสภาพธุรกิจของ(ปิดแทบดำทับชื่อ)ที่เป็นธุรกิจครอบครัว จึงน่าสงสัยว่าเหตุใดการนำนาฬิการาคาถึงหลักล้านออกไปจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงมีบุคคลทราบเรื่องเพียงสองคน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นเพียงกรรมการและพนักงานของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) หาใช่สมาชิกของครอบครัวเจ้าของธุรกิจด้วยซ้ำ น่าสงสัยว่าถ้อยคำส่วนดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่
- ในประเด็นเรื่องการส่งมอบกล่องนาฬิกาแก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ประมาณ2-3 วันหลังจากส่งมอบนาฬิกานั้น มีข้อสังเกตว่าโดยปกติการขายนาฬิกามือหนึ่งที่มีราคาสูงถึงหลักล้าน ผู้ซื้อย่อมประสงค์จะรับมอบนาฬิกาพร้อมๆ กับกล่องหรืออุปกรณ์สำหรับเก็บรักษานาหิกานั้นๆ มาในคราวเดียวกัน เพื่อใช้เก็บรักษานาฬิกา ในขณะที่ตนถอดออกในแต่ละวัน มิใช่ได้รับแต่เพียงตัวเรือนนาฬิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่มิใช่นักสะสมนาฬิกาที่จะมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรักษานาฬิกาอยู่แต่เดิมแล้ว ซึ่ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในฐานะผู้ประกอบอาชีพขายนาฬิการาคาสูงและรู้จัก (ปิดแทบดำทับชื่อ) อยู่แต่เดิมย่อมคาดหมายได้ ข้อเท็จจริงจากคำพยานในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นที่น่าสงสัย ไม่สมเหตุสมผลกับการส่งมอบนาฬิกามือหนึ่งที่มีราคาสูงแก่ผู้ซื้อโดยปกติ
- การที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดย (ปิดแทบดำทับชื่อ) จำหน่ายนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ต่ำกว่าราคาที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตกำหนด โดยที่นาฬิกาเรือนดังกล่าวเป็นนาฬิกาใหม่ที่เพิ่งเข้ามา มิใช่นาฬิกาค้างสต็อก จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายการกำหนดราคาจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผู้ผลิตและนโยบายการลดราคาขายฬิกาของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งจะลดให้เฉพาะนาฬิกาที่ค้างสต็อก กรณีจึงเป็นที่น่าสงสัยถึงความเท็จจริงในการขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ลำพังเพียงเหตุผลของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่อ้างว่าขายนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เนื่องจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นคนสมถะ คนน่ารัก คนดี มีศีลธรรมมาก การขายนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ถือเป็นการให้รางวัลชีวิตแก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นคนมีน้ำใจ เสมือนเป็นรัฐบุรุษในโรงเรียน(ปิดแทบดำทับชื่อ) นั้น จึงยังไม่อาจอธิบายถึงความน่าสงสัยดังกล่าวได้
นอกจากนี้ เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ (ปิดแทบดำทับ) ตกลงให้ (ปิดแทบดำทับ) ผ่อนชำระ 3 งวดโดยไม่คิดคอกเบี้ย โดยกำหนดให้ชำระในเดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2561 โดยที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้รับมอบนาฬิกาไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 มีข้อสังเกตว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้รับการชำระทั้งเงินค่านาฬิกาและดอกเบี้ยจากการขายแบบผ่อนชำระดังกล่าว ผิดวิสัยของการขายสินค้ามูลค่าสูงกว่าสองล้านบาทที่ผู้ขายขายเชื่อให้แก่ผู้ซื้อโดยให้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่เนิ่นนานและไม่มีหลักประกันใดๆ ให้แก่ผู้ขาย น่าสงสัย
ว่าเหตุใด (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดย จึงยอมสูญเสียโอกาสทางธุรกิจให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ทั้งที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งน่าจะคำนึงถึงผลกำไรทางการค้า
- ในกรณีของการบันทึกรายการขายและตัดสต็อกสินค้าของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นั้น สำหรับลูกค้าพิเศษ ขายแบบผ่อนชำระโดยไม่คิดดอกเบี้ยทุกรายต้องมีการวางเช็คสั่งจ่ยล่วงหน้าค่าสินค้าให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ครบทุกงวด ก่อนที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ของนาฬิกาให้กับลูกค้ารายพิเศษได้เท่านั้น สำหรับลูกค้ารายพิเศษเมื่อมีการจ่ายชำระงวดแรก (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้ารายพิเศษทุกครั้งที่มีการชำระเงินในแต่ละงวดและตั้งเป็นลูกหนี้การค้าไว้และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จะออกใบเสร็จขาย/ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าทุกงวดที่มีการรับชำระเงินงวดด้วย จากนั้นจะส่งเอกสารเหล่านั้นทั้งหมดให้กับทางฝ่ายบัญชี เพื่อบันทึกการขายและตัดสต็อกสินค้า
แต่มีข้อสังเกตว่า เหตุใดการบันทึกรายการขายและการตัดสต็อกของกรณีนาฬิกาเรือนนี้แตกต่างไปจากลูกค้ารายพิเศษอื่น ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) บันทึกรายการขายและตัดสต็อกสินค้าในงวดสุดท้ายที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ชำระเงิน (เดือนพฤษภาคม 2561) ถึงแม้ว่าจะมีการชำระเงินตั้งแต่เดือนมีนาคมและเมษายน 2561 ก็ตาม ประกอบกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้ส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ของนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่มีการบันทึกเป็นรายการขายสินค้าโดยตั้ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นลูกหนี้การค้าและตัดสตัอคสินค้าออกจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในเดือนมกราคม 2560 ที่มีการส่งมอบนาฬิกาให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีเพียงการออกใบยืมสินค้า (Memorandum) ในเดือนมกราคม 2560 เท่านั้น และบันทึกบัญชีเป็นเงินมัดจำค่าสินค้า เมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้างวดแรกในเดือน มีนาคม 2560 งวดที่ 2 เดือน เมษายน 2560
- รูปแบบการคำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขายนาฬิกาให้กับลูกค้าพิเศษ มีข้อน่าสังเกตว่า จากการให้ถ้อยคำของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เกี่ยวกับระบบการขายนาฬิกาให้กับลูกค้าพิเศษนั้น ไม่สอดคล้องกัน เช่น การตัดสต็อกสินค้า การนำสินค้าไปเสนอขายให้แก่ลูกค้าพิเศษ เป็นต้น
เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช. เชิญ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาให้ถ้อยคำ ได้ความว่า ได้มอบนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดยไม่มีค่าตอบแทน ในฐานะที่เป็นเพื่อนสนิท มีรายละเอียดดังนี้
ช่วงปลายปี 2559 (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตกลงขายหุ้น BFT (บริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาธร จำกัด (มหาชน) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)) มูลค่าประมาณ (ปิดแทบดำทับ)
ต่อมาช่วงต้น ปี 2560 (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตกลงซื้อนาฬิกาเรือนนี้ในราคา 2,100,000 บาท และแบ่งชำระเป็น 3 งวด งวดละ 700,000 บาท ในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2561 เนื่องจากคาดว่าจะได้รับเงินค่าหุ้น BFIT ด้วย วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์รายใหญ่ (Big Lot)
(ปิดแทบดำทับชื่อ) กู้เงินจาก (ปิดแทบดำทับ) จำนวน (ปิดแทบดำทับ) เพื่อใช้ซื้อหุ้น BFIT โดยได้รับเงินปันผลประมาณปีละ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในเดือนมีนาคม 2560 (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้รับเงินค่าขายหุ้น BFIT ทั้งสิ้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) จ่ายคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย จำนวน (ปิดแทบดำทับ)
(ปิดแทบดำทับ) เริ่มทำงานที่ (ปิดแทบดำทับ) ตั้งแต่ปี 2537 จนเกษียณอายุในปี 2550 ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ได้รับเงินเดือนเดือนละ (ปิดแทบดำทับ) เงินเดือน เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุ(ปิดแทบดำทับ)
หลังเกษียณอายุ (ปิดแทบดำทับ) เป็นที่ปรึกษาให้กับ (ปิดแทบดำทับ) ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ (ปิดแทบดำทับ) ไม่มีรายได้แหล่งอื่น และมีเงินลงทุนในหุ้นประมาณ (ปิดแทบดำทับ) ภรรยาของ (ปิดแทบดำทับ) มีอาชีพเป็นแม่บ้านมาโดยตลอด (ปิดแทบดำทับ) ให้การว่าหลังเกษียณอายุเมื่อปี 2550 มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย แต่ไม่เพียงพอสำหรับเก็บสะสม จึงมีข้อสงสัยว่า (ปิดแทบดำทับ) มีความสามารถในการชำระเงินค่านาฬิกาเรือนดังกล่าว จำนวน 2,100,000 บาท ได้หรือไม่ อย่างไร
อนึ่ง ก่อนที่ (ปิดแทบดำทับ) ซื้อนาฬิกาเรือนดังกล่าว (ปิดแทบดำทับ) ไม่เคยซื้อนาฬิกาที่มีมูลค่าสูงถึงหลักล้านบาท เคยซื้อนาฬิการาคาสูงสุดเพียงหลักแสนบาท
หาก (ปิดแทบดำทับ) ไม่มีความสามารถในการชำระเงินค่านาฬิกาจำนวน 2,100,000 บาท ได้จริง ย่อมมีเหตุให้เชื่อว่า (ปิดแทบดำทับ) ไม่ได้เป็นผู้ซื้อนาฬิกาดังกล่าวจริง และไม่น่าเชื่อว่า (ปิดแทบดำทับ) ได้ส่งมอบนาฬิกา ให้ (ปิดแทบดำทับ) จริง
จึงไม่อาจเชื่อได้ว่านาฬิกาเป็นของ (ปิดแทบดำทับ) ตามที่พล.อ.ประวิตร กล่าวอ้าง
เห็นควรขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การกู้ยืมเงินและการคืนเงินกู้ ที่ (ปิดแทบดำทับ) กู้ยืมจาก (ปิดแทบดำทับ) รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อขาย และการชำระราคาหุ้น BEIT และผลตอบแทนสุทธิที่ (ปิดแทบดำทับ) ได้รับจากการขายหุ้น BFIT
@ ประวิตร วงษ์สุวรรณ
@ ขอตรวจสอบการใช้จ่ายบัตรเครดิต บิ๊กป้อม ไม่ได้
เนื่องจากโดยปกติของการซื้อนาฬิกาที่มีราคาสูง โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อมักชำระราคาด้วยบัตรเครดิต ประกอบกับยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่เชื่อมโยงไปจนถึงพล.อ.ประวิตร ได้ในปัจจุบัน จึงเห็นควรตรวจสอบรายการใช้จ่ายจากบัตรเครดิตของพล.อ.ประวิตร โดยขอข้อมูลไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตในประเทศทุกแห่ง เพื่อพิสูจน์พฤติกรรมการซื้อนาฬิกาของพล.อ. ประวิตร ควบคู่ไปกับการตรวจสอบอื่นๆ ข้างต้น
แม้คณะทำงานจะเคยเสนอขอให้ตรวจสอบในประเด็นดังกล่าวแล้ว สำนักไม่ได้รับการเห็นชอบ
แต่เนื่องจากการสืบหารายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นวิธีการที่อาจนำไปสู่การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร อันเป็นประเด็นสำคัญแห่งกรณีที่ตรวจสอบได้โดยตรง
จึงเห็นควรดำเนินการตรวจสอบช่องทางนี้ต่อไป
(ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่จบ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลสรุปและข้อเสนอแนะคณะทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบทั้งหมด รายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามตอนต่อไป)
อ่านประกอบ :
- วีระ ขู่ฟ้องศาลคดีทุจริตหลังปีใหม่! ป.ป.ช.ยอมให้เอกสารคดีนาฬิกาครบแล้ว แต่ยังมีคาดดำปิดทับ
- อ้าง ม.36! ป.ป.ช.ลงมติ 3:2 เสียง เปิดข้อมูลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม แต่ให้ปิดทับชื่อจนท.ก่อน
- ไม่รับคำขอพิจารณาใหม่! ศาลปค.สูงสุด สั่ง ป.ป.ช.เปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ'
- 'วีระ' ขู่ฟ้องอาญา ป.ป.ช.ให้เอกสารคดี'นาฬิกาหรู'ไม่ครบ- 'นิวัติไชย'แจงทำแถบดำคุ้มครองพยาน
- ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ป.ป.ช.ส่งข้อมูลคดีนาฬิกาประวิตรให้ 'วีระ สมความคิด'ภายใน 15 วัน
- จะทำให้ ป.ป.ช.โปร่งใส! ฉบับเต็ม คำพิพากษาศาล ปค.สูงสุด สั่งเปิดผลคดี 'นาฬิกาประวิตร'
- ป.ป.ช.นัดถกวาระผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม 26 เม.ย.นี้ - 'วีระ' ลั่นไม่ได้เข้าขบวนการบังคับ
- ขอถามศาลฯอีกครั้ง! ป.ป.ช.ลงมติ 5 :1 เสียง ยังไม่เปิดเผยผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อมให้ 'วีระ'
- ยอมแค่ 2 รายการ! ป.ป.ช.มติเอกฉันท์เปิดเผยผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ' แล้ว
- ความเห็นจนท.อันตราย! เบื้องหลัง มติ ป.ป.ช. ทำไม? ยอมเปิดผลคดีนาฬิกาหรู แค่ 2 รายการ
- รอคำพิพากษาทางการ! ป.ป.ช.จ่อชง คกก.ชุดใหญ่ เคาะเปิดเอกสารคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ'
- ให้ศาลรธน.ชี้ขาด! ป.ป.ช.มติ 4:1ส่งเรื่องวินิจฉัยอำนาจศาลปค.สั่งเปิดเอกสารคดีนาฬิกาหรู
- ใช้มติผู้บริหาร 20 เสียงหนุน! เบื้องหลังป.ป.ช.ส่งศาลรธน.ชี้ขาดเปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม
- 'วัชรพล' แจงเปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม รอศาลรธน.ชี้ขาด มีคำสั่งอย่างไรปฏิบัติตามนั้น