"...คำกล่าวอ้างของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ว่าตนขายนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เนื่องจากตนร้อนเงิน ในขณะนั้น และนำเงินที่ได้จากการรับชำระค่านาฬิกาไปชำระหนี้บัตรเครดิตของตนเองส่วนหนึ่ง และชำระเงินค่าซื้อกองทุนนั้น จึงไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องกันกับพยานหลักฐาน..."
ประเด็นตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก!
ผลการสอบสวนคดีนาฬิกาหรูและแหวน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการพิจารณาคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติ 5 ต่อ 3 เสียง ให้ตีตกเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีมูลเพียงพอว่า พล.อ.ประวิตร จงใจ ยื่นบัญชีแสดงรายการอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ในช่วงเดือนธ.ค.2561
ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำรายละเอียดมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องในขณะนี้
ในตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา นำข้อมูลช่วงแรกของเอกสาร รายการที่ 2. ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเอกสารชุดสุดท้ายที่ นายวีระ ได้รับจาก ป.ป.ช. ที่มีการวิเคราะห์กันว่า เหตุผลที่ ป.ป.ช. ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ อาจเป็นเพราะมีข้อมูลความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่สำคัญหลายส่วน ที่สวนทางกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ตีตกคดีนี้ จึงทำให้ ป.ป.ช.ไม่กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลนี้ ต่อสาธารณชน มาเสนอไปแล้ว
พบว่า มีการสรุปข้อมูลการตรวจสอบนาฬิกาและแหวนไว้เป็นทางการ แต่มีข้อมูลในส่วนนาฬิกาหลายเรือนและแหวนหลายวง ที่คณะทำงานวินิจฉัยแล้ว เสียงข้างมากเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบ คำให้การพยาน และคำชี้แจงของ พล.อ.ประวิตร มีความขัดแย้งกัน และมีข้อสังเกตหลายประการ ที่ควรมีการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อ แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ
- โหมโรง! เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรู บิ๊กป้อม ยัน Blancpain/Limited edition คืนเพื่อนด้วยตัวเอง
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (1) ป.ป.ช.ล่าข้อมูล Richard Mille, Patek 4 ปท. 'เหลว'
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (2) สรุป 22 เรือน 6 กลุ่ม ป.ป.ช.พบข้อสังเกตอะไรบ้าง?
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม (3) ว่าด้วยแหวน 10 วง ขาดคำชี้แจง 'มารดา'
- เปิดผลสอบคดีนาฬิกาหรู (4) ชี้พิรุธคำให้การ 'บิ๊กป้อม'? ครอบครอง Rolex เรือนละ 4.6 แสน
ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลส่วนที่เหลือของ เอกสารรายการที่ 2. ซึ่งมีการระบุข้อมูลผลการตรวจสอบนาฬิกา บางเรือนคณะทำงานเห็นว่าข้อมูลมีความขัดแย้ง ควรตรวจสอบต่อ บางเรือนควรให้ยุติการสอบสวน บางเรือนคณะทำงานเสียงข้างมาก พบข้อสังเกตสำคัญหลายส่วน ที่จำเป็นจะต้องมีการเสนอขอตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องบางราย ที่อ้างว่า ร้อนเงิน ทำให้ต้องมีการขายนาฬิกาต่อให้บุคคลอื่น
รายละเอียดทั้งหมด ปรากฏนับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป
( ความเดิม : ในการตรวจสอบข้อมูลนาฬิกาของ พล.อ. พล.อ.ประวิตร คณะทำงานฯ ระบุว่า เมื่อพิจารณาคำชี้แจงของผู้มีหน้าที่ยืนบัญชีฯ ประกอบกับภาพถ่ายขณะสวมใส่นาฬิกา ฟังเป็นยุติว่าผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น เพียงแต่อ้างว่ายืมนาฬิกาจาก (ปิดแถบดำทับชื่อ) เท่ากับกล่าวอ้างว่ามิได้ยึดถือเพื่อตน
จึงมีประเด็นที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ครอบครองเพื่อผู้อื่นตามที่อ้างจริงหรือไม่ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่านาฬิกาเป็นของ (ปิดแถบดำทับชื่อ) ต้องฟังว่าผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ครอบครองเพื่อตน จึงมีเหตุให้เชื่อว่านาฬิกาเป็นของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ
หากฟังว่านาฬิกาเป็นของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ จริง ยังคงต้องพิสจน์ต่อไปว่าครอบครองเพื่อตนอยู่ ณ วันที่มีหน้าที่ยืนบัญชีฯ หรือไม่ และต้องพิสูจน์อีกว่าทรัพย์สินอื่นของผู้มีหน้าที่ยืนบัญชีฯ มีมูลค่ารวมกันถึงสองแสนบาทหรือไม่ ซึ่งผลการตรวจสอบข้อมูลนาฬิกาดังกล่าว ได้มีการจัดแบ่งกลุ่มเอาไว้)
************
กลุ่มที่ 5: ยังไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเรือนใดเรือนหนึ่ง
นาฬิกาปรากฏตามภาพข่าวเรือนที่ 20 และ 21 เป็นเรือนเดียวกัน ตามคำชี้แจงของพล.อ ประวิตร ซึ่งระบุว่า นาฬิกาเรือนดังกล่าวคือนาฬิกายี่ห้อ ALange & Sohne จำรุ่นไม่ได้
สอดคล้องกับคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ระบุว่าคือนาฬิกายี่ห้อ A. Lange & Sohne รุ่น FAI - 56
แต่เอกสารประกอบการให้ถ้อยคำซี่ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) มอบให้เจ้าหน้าที่พร้อมระบุว่าเป็นนาฬิกาเรือนที่ 20 และ 21 นั้น เป็นภาพนาฬิกาและหลักฐานการซื้อขายของนาฬิกายี่ห้อ Lang & Heyne รุ่น FAI - 56
พิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ข้างต้นแล้ว พบข้อขัดแย้งระหว่างคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) กับเอกสารที่ได้ยื่นไว้
อีกทั้งรุ่น FAI - 56 เป็นรหัสรุ่นของนาฬิกายี่ห้อ Lang & Heyne ไม่ใช่รุ่น ของนาฬิกายี่ห้อ A. Lange & Sohne แต่อย่างใด
การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ผ่านมาเป็นการตรวจสอบโดยยึดยี่ห้อตามที่ปรากฎในเอกสารประกอบคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นสำคัญ เพราะข้อมูลยี่ห้อและรุ่นของนาฬิกาตามภาพถ่ายและรุ่นนาฬิกาตามคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ต่างบ่งชี้ว่าเป็นนาฬิกายี่ห้อ Lang & Heyne ทั้งสิ้น
จึงตรวจสอบเพียงนาฬิกายี่ห้อ Lang & Heyne เรือนนี้เพียงเรือนเดียวเท่านั้น
ในประเด็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งข้างต้น เห็นควรยืนยันข้อเท็จจริงกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ว่านาฬิกาตามภาพข่าวเป็นนาฬิกายี่ห้อใด รุ่นใด และมี Serial Number เลขใด เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างรัดกุมและปราศจากข้อสงสัย
กลุ่มที่ 6: พบตัวเรือนและทราบชื่อผู้ซื้อหรือผู้จำหน่าย จำนวน 3 เรือน
6.1 ผู้ซื้อนาฬิกาคือ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
นาฬิกาตามภาพข่าวที่ 25 ยี่ห้อ Patek Phitippe พล.อ.ประวิตร ชี้แจงว่านาฬิกาเรือนดังกล่าว เป็นของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตรวจสอบแล้วพบนาฬิกายี่ห้อดังกล่าว มี Serial Number 5540562 และปรากฎชื่อของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นผู้ซื้อนาฬิกาตามใบรับประกัน
จึงเชื่อว่านาฬิกาดังกล่าวเป็นของจริง เห็นควรยุติการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนี้
ภาพจาก เพจ CSI LA
6.2. ผู้ซื้อนาฬิกาคือ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
สำหรับนาฬิกาตามที่ปรากฎเป็นข่าวที่ 11 คือ นาฬิกายี่ห้อ Rolex รุ่น Daytona Serial Number 32W5Z738 ซึ่งพบทั้งตัวเรือนและใบรับประกัน
คณะทำงานมีความเห็นเป็น 2 ทาง ดังนี้
คณะทำงานเสียงข้างมากเห็นว่า
(ปิดแทบดำทับชื่อ) ในฐานะผู้ซื้อตามใบรับประกัน (ปิดแทบดำทับชื่อ) และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้การรับกันว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้ให้นาฬิกาเรือนดังกล่าวแก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้ว (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงซื้อนาฬิกาจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตามความต้องการของ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
แต่คณะทำงานเสียงข้างมากเห็นว่ายังคงมีข้อสงสัยในประเด็นว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นเจ้าของนาฬิกาเรือนดังกล่าวและขายนาฬิกาเรือนดังกล่าว ให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จริงหรือไม่ ดังนี้
1. ตามที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซื้อนาฬิกาเรือนดังกล่าวที่สนามบินชูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 เพื่อเป็นรางวัลให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งในช่วงนั้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) รับผิดชอบโครงการ (ปิดแทบดำทับชื่อ) และทำงานให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เพื่อให้เป็นโบนัสแก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ใกล้ชิดและเพื่อเป็นน้ำใจ โดยเป็นการให้ส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แต่อย่างใด
(ปิดแทบดำทับชื่อ) มอบนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ประมาณวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นธรรมเนียมของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่จะให้โบนัสแก่พนักงานในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกๆ ปี ประกอบกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นับถือศาสนาคริสต์ จึงเสมือนให้ของขวัญในวันคริสต์มาสด้วย ในขณะที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559
มีข้อน่าสังเกตว่า
ภายหลังจากที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้รับนาฬิกาจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาเพียงแค่ประมาณ 1 ถึง 2 เดือนแล้ว (ปิดแทบดำทับชื่อ) ก็ขายนาฬิกาต่อให้กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้ว ทั้งๆ ที่นาฬิกาเรือนดังกล่าว น่าจะเป็นของขวัญที่สำคัญ มีคุณค่าทางจิตใจต่อ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เนื่องจากเป็นรางวัลที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชา และเป็นการให้เพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องงาน และยังเป็นของขวัญในวันคริสต์มาส
การที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ขายต่อให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ภายในระยะเวลาอันสั้น จึงผิดวิสัยของการได้รับของอันมีคุณค่าต่อจิตใจซึ่งผู้ได้รับ น่าจะเก็บรักษาเอาไว้ดังกล่าว ถ้อยคำพยานในส่วนนี้จึงไม่น่าเชื่อถือ
2. ตามที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) กล่าวอ้างถึงสาเหตในการขายนาฬิกาแก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ว่าเนื่องจากตนร้อนเงินนั้น
พิจารณาจากสภาพการณ์และพยานหลักฐานที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ไว้แล้ว เห็นว่ายังไม่ปรากฎพฤติการณ์ใดที่บ่งชี้ว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีความเดือดร้อนทางการเงิน เนื่องจากเมื่อพิจารณาใบแจ้งยอดหนี้บัญชีบัตรเครดิต XXX บัตรเลขที่ XXX ของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) แล้วพบว่า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 มียอดการใช้จ่ายจากการชื่อกองทุนจำนวน 100,000 บาท
เมื่อหักกลบลบกันกับเงินที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้ชำระไว้เกินกว่ายอดหนี้ในบัตรอยู่จำนวนหนึ่ง (เครดิต) ทำให้มียอดหนี้บัตรเครดิตคงค้าง ถึงวันที่ 22 มกราคม 2559 จำนวน 99,958.57 บาท
ต่อมา ปรากฎรายการชำระหนี้ (Payment) ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 ด้วยเงินจำนวน 99,959 บาท การชำระหนี้ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นการนำเงินไปชำระค่ากองทุนเปิด (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตามที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้ให้ถ้อยคำไว้
ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาใบแจ้งยอดหนี้บัญชีบัตรเครดิต (ปิดแทบดำทับชื่อ) กลับพบว่าธุรกรรมการชำระเงินหนี้บัตรเครดิตที่เป็นการชำระในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 และวันที่ 6 มีนาคม 2559 เป็นการชำระที่ไม่ครบจำนวนตามยอดหนี้ที่ธนาคารฯ เรียกเก็บ แต่เป็นการชำระเพียงไม่ให้ต่ำกว่ายอดหนี้ที่ต้องชำระชั้นต่ำเท่านั้น
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงชำระหนี้ได้เต็มจำนวนตามที่ธนาคารฯเรียกเก็บ เมื่อพิจารณาประกอบกับการชำระค่ากองทุนเปิด (ปิดแทบดำทับชื่อ) 99,959 บาท เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 ข้างต้นแล้ว
พิจารณาได้ว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) น่าจะได้รับเงินค่านาฬิกาประมาณ 350,000 บาท มาอย่างช้าที่สุดคือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เมื่อแบ่งเงินนำไปชำระค่ากองทุนรวมแล้ว เหตุใด (ปิดแทบดำทับชื่อ) จึงมิได้นำเงินส่วนที่เหลือมาชำระหนี้บัตรเครดิต (ปิดแทบดำทับชื่อ) ด้วย (ปิดแทบดำทับชื่อ) กลับชำระเพียงให้ครอบคลุมยอดหนี้ที่ต้องชำระขั้นต่ำ ตามที่ปรากฎรายการชำระ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 และวันที่ 6 มีนาคม 2559
กลับปล่อยให้ยอดหนี้ส่วนที่เหลือในแต่ละรอบสะสมรวมกับยอดหนี้ใหม่จนเพิ่มจำนวนมากขึ้น
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 จึงชำระหนี้ดังกล่าวจนหมดสิ้น
พฤติกรรมการชำระหนี้ของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ผิดวิสัยจากการเป็นคนร้อนเงินที่น่าจะต้องรีบนำเงินที่ได้มา มาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น เพื่อมิให้มีการคิดดอกเบี้ยอันจะสร้างภาระทางหนี้สินแก่ตนเพิ่มเติม มิใช่ปล่อยให้ยังคงมียอดหนี้บางส่วนค้างอยู่และเพิ่มพูนเช่นนี้
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาใบแจ้งยอดหนี้บัตรเครดิต (ปิดแทบดำทับชื่อ) พบว่า ใบเรียก ชำระหนี้บัตรเครดิตในรอบที่ยอดหนี้ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ปรากฎหนี้ค้างชำระในงวดก่อนหน้า 77,808.43 บาท และมีรายการชำระ 2 ครั้ง คือ วันที่ 13 และ 27 มกราคม 2561 เป็นจำนวนเงินรวม 49,809 บาท ปรากฎรายการคิดดอกเบี้ย (interest Charge) จำนวน 0 บาท โดยยอดหนี้ที่ปิดยอด ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 มียอดหนี้ที่ต้องชำระ จำนวน 29,481.73 บาท ยอดหนี้ที่ต้องชำระขั้นต่ำ 2,948.17 บาท ปรากฎรายการชำระหนี้ในใบแจ้งยอดหนี้รอบถัดมา คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ด้วยเงินสดจำนวน 29,482 บาท ปรากฎรายการคิดดอกเบี้ย (Interest Charge) จำนวน 1,11.73 บาท(อิศรา :ในเอกสารระบุยอดนี้น่าจะพิมพ์ตกหล่น)
พิจารณาโดยภาพรวมกับการชำระหนี้ให้ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายอื่นตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว พบว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ชำระหนี้บัตรเครดิตในช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมแบบทยอยชำระ คือ มีการชำระเพียงบางส่วนจากยอดหนี้ทั้งหมดที่ผู้ให้บริการบัตรเครดิตเรียกเก็บ โดยจำนวนที่ชำระจะครอบคลุมเพียงยอดหนี้ขั้นต่ำที่ต้องชำระ
พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีลักษณะของการเป็นผู้ร้อนเงินที่จะพยายามนำเงินมาชำระหนี้ทั้งหมดเพื่อมิให้เหลือยอดหนี้ซึ่งเจ้าหนี้จะนำไปคิดดอกเบี้ยจนกลายเป็นหนี้สินเพิ่มเติมได้
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตอีกว่า หาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) ขายนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) จริง และได้เงินจากการขายมาประมาณ 350,000 บาท ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 แล้วนั้น เมื่อรวมเข้ากับเงินเดือนที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้รับในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ตามที่ปรากฎใน Statement ของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) รายการ SALARY ณ วันที่ 25 จำนวน (ปิดแทบดำทับ) และ (ปิดแทบดำทับ) ตามลำดับแล้ว
น่าจะมีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้บัตรเครดิต เพื่อมิให้เกิดภาระดอกเบี้ยตามที่ปรากฎในใบแจ้งยอดหนี้บัตรเครดิด ในรอบการเรียกเก็บรอบถัดไปได้ ซึ่งก็จะไม่ทำให้เถิดภาระหนี้เพิ่มเติมขึ้นไปอีก
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณา ประกอบกับรายการ SALARY ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้รับเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 จำนวน (ปิดแทบดำทับ) ตามที่ปรากฎใน Statement ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยิ่งพิจารณาได้ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (ปิดแทบดำทับชื่อ) มีรายได้จำนวนมากยิ่งกว่าเงินเดือนที่ได้รับโดยปกติ และในวันที่ 30 ธันวาคม 2558 ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ใช้บัตรเครดิตชำระค่ากองทุนรวมไป 100,000 บาทนั้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) ย่อมทราบดีว่าตนเพิ่งได้รับเงินมาในจำนวนที่มากกว่ามูลค่ากองทุนรวมที่ตนจะซื้อเสียอีก
เมื่อพิจารณารายการใช้จ่ายจากใบแจ้งยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดโดยภาพรวมแล้ว พบว่ารายการใช้จ่ายของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ไม่ได้บ่งบอกถึงการตกอยู่ในภาวะเดือดร้อนทางการเงินแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่เป็นการรับประทานอาหารในห้างสรรพสินค้า การเข้าชมภาพยนตร์ เป็นต้น
สำหรับเงินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากที่นำไปชำระหนี้บัตรเครดิตและค่ากองทุนนั้น (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้การขัดแย้งกันเอง โดยในครั้งที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) มาให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้การว่าตนนำเงินส่วนนี้ไปให้บิดามารดาจำนวน 100,000 บาท
แต่ภายหลังกลับมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงว่านำเงินไปให้พี่ชายจำนวน 50,000 บาท โดยมิได้แสดงเอกสารหลักฐานใดๆ
ดังนั้น คำกล่าวอ้างของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ว่าตนขายนาฬิกาให้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เนื่องจากตนร้อนเงิน ในขณะนั้น และนำเงินที่ได้จากการรับชำระค่านาฬิกาไปชำระหนี้บัตรเครดิตของตนเองส่วนหนึ่ง และชำระเงินค่าซื้อกองทุนนั้น จึงไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องกันกับพยานหลักฐาน
พิเคราะห์แล้วยังมีข้อน่าสงสัยหลายประการ ในชั้นนี้จึงยังไม่อาจเชื่อได้ว่ามีการซื้อขายนาฬิการวมถึงมีการชำระราคานาฬิกากันจริงระหว่าง (ปิดแทบดำทับชื่อ) กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ตามที่บุคคลทั้งสองให้ถ้อยคำไว้
ในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง (ปิดแทบดำทับชื่อ) กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำว่ารู้จักกับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เมื่อปี 2554 เนื่องจาก (ปิดแทบดำทับชื่อ) เคยทำงานที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) นั้น
คณะทำงานได้คัดค้นฐานข้อมูลการประกันสังคมของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เล้ว แต่ไม่พบรายการที่บ่งบอกถึงประวัติการทำงานในบริษัทฯ ดังกล่าว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยถึงที่มาของการรู้จักกันของบุคคลทั้งสอง
กล่าวโดยสรุปคณะทำงานฝ่ายเสียงข้างมากเห็นควรเสนอขอตรวจสอบเชิงลึกในประเด็นการตรวจสอบสถานะทางการเงินของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) และประวัติการทำงานของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
ภาพจาก เพจ CSI LA
คณะทำงานเสียงข้างน้อยเห็นว่า
เมื่อปรากฎเป็นข่าวว่า พล.อ.ประวิตรฯ สวมใส่นาฬิกาตามภาพข่าวที่ 11 และพลเอก ประวิตร ชี้แจงว่าตนได้สวมใส่นาฬิกาเรือนดังกล่าวจริง จึงเป็นกรณีบุคคลยึดถือทรัพย์สินไว้ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยีดถือเพื่อตน และบุคคลใด ยีดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน บุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
นอกจากนี้ พล.อ. ประวิตรฯ ยังชี้แจงว่านาฬิกาเป็นของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่ให้ตนยืมสวมใส่ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่ายึดถือเพื่อบุคคลอื่น จำต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ได้ความว่า แท้จริงแล้วพลเอก ประวิตรฯ ยึดถือเพื่อตนหรือเพื่อบุคคลอื่น
จากการตรวจสอบพบว่าในใบรับประกัน ระบุชื่อ (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ โดยการซื้อเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ซึ่ง (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำว่าตนได้มอบให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในวันที่ 25 ธันวาคม 2558 สอดคล้องกันกับถ้อยคำของ (ปิดแทบดำทับชื่อ)
เมื่อรับฟังว่านิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งสองเป็นนิติกรรมการให้ซึ่งมีได้มีหน้าที่ต้องทำการสิ่งใดต่อกัน อีกทั้งไม่มีแบบแห่งนิติกรรมอันอาจมีผลให้นิติกรรมเป็นโมฆะ
เมื่อ (ปิดแทบดำทับชื่อ) และนาย (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำตรงกันเกี่ยวกับการแสดงเจตนาแห่งนิติกรรมการให้ จึงต้องรับฟังว่า (ปิดแทบดำทับชื่อ) ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ตั้งแต่วันดังกล่าว
นอกจากนี้ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ขายนาฬิกาเรือนดังกล่าวให้แก่ (ปิดแทบดำทับชื่อ) บุตรสาว (ปิดแทบดำทับชื่อ) ในระหว่าง เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2559 โดยระบุเหตุแห่งการขายว่ามาจากการร้อนเงิน โดยชำระราคากันเป็นเงินสด
สอดคล้องกับคำให้การของ (ปิดแทบดำทับชื่อ) และ (ปิดแทบดำทับชื่อ) ยังระบุว่า บิดาของตนยังเป็นเจ้าของนาฬิกาเรือนดังกล่าวเรื่อยมาสืบแต่นั้น
ในประเด็นนี้แม้จะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจแห่งการขาย วิธีการชำระราคา การชำระหนี้บัตรเครดิต (ปิดแทบดำทับชื่อ) ที่มิได้ปรากฎเด่นชัดว่ามีความร้อนเงินรวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย
แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นก็มิใช่ประเด็นสำคัญที่จะหักล้างว่ามิได้มีการทำนิดิกรรม ระหว่าง (ปิดแทบดำทับชื่อ) กับ (ปิดแทบดำทับชื่อ) โดยการชำระราคานั้น เป็นเพียงหน้าที่ของฝั่งผู้ซื้อขณะที่มูลเหตุจูงใจในการขาย มิได้เป็นแบบแห่งนิติกรรมหรือหน้าที่ของคู่สัญญาผ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อบ่งชี้หนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง จึงมิใช่ประเด็นอันเป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยถึงการเกิด การดำรงอยู่ หรือความบริบูรณ์ของนิติกรรมการซื้อขาย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน
จึงต้องรับฟังว่าขณะที่พล.อ.ประวิตรฯ ยึดถือนาฬิกาตามที่ปรากฎภาพถ่าย เรือนที่ 11 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 และวันที่ 16 มกราคม 2560 (ปิดแทบดำทับชื่อ) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในนาฬิกาเรือนดังกล่าว
เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงชัดเจนเช่นนี้กรณีย่อมรับฟังได้ยิ่งกว่าข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1367 ประกอบมาตรา 1369 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น พล.อ.ประวิตรฯ จึงเป็นเพียงผู้ยึดถือนาฬิกาเรือนดังกล่าวแทน (ปิดแทบดำทับชื่อ) ซึ่งไม่ต้องแสดงในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เห็นควรยุติการตรวจสอบในประเด็นนี้
(ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่จบ ยังมีผลการตรวจสอบนาฬิกากลุ่มอื่นอีก รายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามตอนต่อไป)
อ่านประกอบ :
- วีระ ขู่ฟ้องศาลคดีทุจริตหลังปีใหม่! ป.ป.ช.ยอมให้เอกสารคดีนาฬิกาครบแล้ว แต่ยังมีคาดดำปิดทับ
- อ้าง ม.36! ป.ป.ช.ลงมติ 3:2 เสียง เปิดข้อมูลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม แต่ให้ปิดทับชื่อจนท.ก่อน
- ไม่รับคำขอพิจารณาใหม่! ศาลปค.สูงสุด สั่ง ป.ป.ช.เปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ'
- 'วีระ' ขู่ฟ้องอาญา ป.ป.ช.ให้เอกสารคดี'นาฬิกาหรู'ไม่ครบ- 'นิวัติไชย'แจงทำแถบดำคุ้มครองพยาน
- ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ป.ป.ช.ส่งข้อมูลคดีนาฬิกาประวิตรให้ 'วีระ สมความคิด'ภายใน 15 วัน
- จะทำให้ ป.ป.ช.โปร่งใส! ฉบับเต็ม คำพิพากษาศาล ปค.สูงสุด สั่งเปิดผลคดี 'นาฬิกาประวิตร'
- ป.ป.ช.นัดถกวาระผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม 26 เม.ย.นี้ - 'วีระ' ลั่นไม่ได้เข้าขบวนการบังคับ
- ขอถามศาลฯอีกครั้ง! ป.ป.ช.ลงมติ 5 :1 เสียง ยังไม่เปิดเผยผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อมให้ 'วีระ'
- ยอมแค่ 2 รายการ! ป.ป.ช.มติเอกฉันท์เปิดเผยผลคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ' แล้ว
- ความเห็นจนท.อันตราย! เบื้องหลัง มติ ป.ป.ช. ทำไม? ยอมเปิดผลคดีนาฬิกาหรู แค่ 2 รายการ
- รอคำพิพากษาทางการ! ป.ป.ช.จ่อชง คกก.ชุดใหญ่ เคาะเปิดเอกสารคดีนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม ให้ 'วีระ'
- ให้ศาลรธน.ชี้ขาด! ป.ป.ช.มติ 4:1ส่งเรื่องวินิจฉัยอำนาจศาลปค.สั่งเปิดเอกสารคดีนาฬิกาหรู
- ใช้มติผู้บริหาร 20 เสียงหนุน! เบื้องหลังป.ป.ช.ส่งศาลรธน.ชี้ขาดเปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม
- 'วัชรพล' แจงเปิดเอกสารคดีนาฬิกาบิ๊กป้อม รอศาลรธน.ชี้ขาด มีคำสั่งอย่างไรปฏิบัติตามนั้น