เจาะคดี บ.จูบิลี่ไลน์ กับพวก นำเข้ารถหรูเลี่ยงภาษี 16.3 ล. สั่งปรับเงิน 65.4 ล. กักขัง กก. ไม่เกิน 2 ปี ริบ ‘ลัมโบร์กินี่’ของกลาง (ตอน 1 ) : เปิดคำพิพากษาละเอียดยิบชี้เจตนาฉ้อฉล ร่วมกันปกปิดราคาที่แท้จริง พยานหลักฐานจำเลยไร้น้ำหนัก ยกฟ้อง กก. บ.เบนซ์นครินทร์ อ้างไม่เกี่ยวข้องแค่พนักงานล้างรถถูกเอาชื่อสวม
สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2565 ศาลอาญามีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ อ3212 / 2565 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ บริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด จำเลยที่ 1 นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล ที่ 2 บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จำกัด ที่ 3 นายศักษ์ทวี ใจงาม ที่ 4 เรื่องความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร กรณีร่วมกันนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อลัมโบร์กินี่ (LAMBORGHINI) รุ่น กัลลาร์โด คูเป้ (GALLADO COUPE) หมายเลขตัวรถ ZHWGE 12 T 36 LA 03330 หมายเลขเครื่องยนต์ 07 LA03611 มีถิ่นกำเนิดในประเทศอิตาลีเข้ามาในราชอาณาจักรโดย ร่วมกันสำแดงราคาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวราคา 68,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 2,583,936.07 บาท ซึ่งไม่ตรงตามราคาซื้อขายที่แท้จริง ซึ่งมีราคาซื้อขายตามบัญชีราคาสินค้าที่บริษัท ลัมโบร์กินี เอส.พี.เอ. (Automobill Lamborghini S.p.A) ประเทศอิตาลี ขายให้จำเลยที่ 3 ผู้รับซื้อเป็นเงิน 161,999 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 7,572,384.06 บาท
หากคำนวณภาษีอากรตามราคาซื้อขายที่แท้จริง ต้องชำระรวมเป็นเงิน 24,837,418.95 บาท เป็นเหตุให้ภาษีอากรขาด รวมเป็นเงิน 16,362,106.95 บาท
พิพากษา ปรับจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รวมกันเป็นเงิน 65,448,427.80 บาท ลดโทษให้จําเลยที่ 2 หนึ่งในสาม จําเลยที่ 2 คงต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 43,632,285.20 บาท ให้กักขังจําเลยที่ 2 ได้เกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปี
ริบรถยนต์ ยี่ห้อ ลัมโบร์กินี่ หมายเลขทะเบียน ฌล 555 กรุงเทพมหานคร ของกลาง ยกฟ้องจำเลยที่ 4 ตามที่รายงานแล้ว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เรียบเรียงคำพิพากษาคดีนี้มารายงาน
@ชี้เจตนาฉ้อฉล ร่วมกันปกปิดราคาที่แท้จริง
พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า บริษัทออโต้โมบิล ลัมโบร์กีนี เอส.พี.เอ. ขายรถยนต์ของกลางให้จําเลยที่ 3 ราคา 161,999 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 7,572,384.06 บาท ซึ่งต้องชําระอากรขาเข้า 6,057,907 บาท ภาษีสรรพสามิต 15,144,767.69 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 1,514,476.77 บาท และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,120,267.49 บาท รวมเป็นเงิน 24,837,418.95 บาท แต่จําเลยที่ 1 กลับอ้างว่า เป็นผู้ซื้อรถยนต์ของกลางจากบริษัทออโต้โมบิล ลัมโบร์กีนี่ เอส.พี.เอ. ราคา 68,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 2,583,936.07 บาท และเสียอากรขาเข้า 2,067,148 บาท ภาษีสรรพสามิต 5,167,873 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 516,788 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 723,503 บาท รวมเป็นเงิน 8,475,312 บาท เป็นเหตุให้อากรขาเข้าขาด 3,990,759 บาท ภาษีสรรพสามิตขาด 9,976,894.69 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทยขาด 997,688.77 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มขาด 1,396,764.49 บาท รวมเป็นเงิน 16,362,106,95 บาท การกระทําของจําเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวเป็นการกระทําโดยมีเจตนาร่วมกันฉ้อฉลเพื่อปกปิดราคาที่แท้จริงของรถยนต์ของกลางเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรโดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียตามฟ้องโดยแบ่งหน้าที่กันทํา จําเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็น ตัวการร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้อง
@พยานหลักฐานของจำเลยไร้น้ำหนักหักล้าง
ส่วนที่จําเลยทั้งสี่มีนายสาธิต ภู่หอมเจริญ อดีต ผู้อํานวยการสํานักตรวจสินค้าลาดกระบัง กรมศุลกากร เบิกความเป็นพยานว่า กรมศุลกากรจะ เก็บอากรศุลกากรจากราคาสินค้าที่นําเข้า โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเรื่องราคาสินค้าที่นําเข้าเมื่อปี 2543 ตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ใช้ชื่อว่าแกตต์ โดยเรียกเก็บอากรศุลกากรตามราคาซื้อขายที่แท้จริงแต่กรมศุลกากรมีฐานทดสอบการกําหนดราคาเบื้องต้นมิใช่พิจารณาจากราคาที่ผู้นําเข้าแจ้งสําแดงเพียงประการเดียว อธิบดีกรมศุลกากรออกคําสั่งที่ 317/2547 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการกําหนดราคาศุลกากรสําหรับรถยนต์นั่งใหม่นําเข้าเพื่อเป็นฐานราคาทดสอบสําหรับการกําหนดราคาศุลกากรรถยนต์ที่นําเข้าในราชอาณาจักร ดังนั้นเมื่อรถยนต์ของกลางผ่านพิธีการศุลกากรการนําเข้ามาในราชอาณาจักรจนกระทั่งชําระภาษีและนํารถออกจากอารักขาของกรมศุลกากรแล้ว แสดงว่าราคาซื้อรถยนต์ของกลางที่จําเลยที่ 1 สําแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นราคาที่ไม่ต่ํากว่าราคาทดสอบที่กรมศุลกากรกําหนด
เห็นว่า ราคาทดสอบที่พยานจําเลยกล่าวอ้างเป็นราคาขั้นต่ําที่กรมศุลกากรกําหนดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่เรียกเก็บอากรศุลกากรและภาษีต่ํากว่าความเป็นจริง แต่ กรมศุลกากรมีอํานาจปรับราคาซื้อขายที่แท้จริงที่ผู้นําเข้าสําแดง หากพบว่ามีค่าใช้จ่าย หรือ รายได้ หรือมูลค่าตามรายการที่ยังไม่ได้นํามารวมกับราคาที่ได้ชําระจริง หรือราคาที่ต้องชําระ ของของที่นําเข้า ราคาที่ชําระจริงหรือราคาที่จะต้องชําระจึงต้องรวมถึงค่าดังกล่าวด้วย
กรณีนี้ ปรากฏว่า จําเลยที่ 1 สําแดงเฉพาะราคารถยนต์ของกลางโดยมิได้สําแดงราคาอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้งเพิ่มเติมต่อกรมศุลกากรเพื่อนํามาคํานวณเรียกเก็บอากรและภาษีต่าง ๆ แสดงว่าค่าวัสดุ ใช้ในการผลิตของนําเข้าถูกแยกออกจากราคาที่ระบุในบัญชีแสดงราคาสินค้าซึ่งผู้ซื้อต้องจ่ายเงินดังกล่าว ให้ผู้ขาย อันเป็นการหลีกเลี่ยงการสําแดงราคาที่ถูกต้อง ส่วนที่พยานจําเลยทั้งสี่เบิก ความว่า หากกรมศุลกากรพบข้อมูลว่าราคาที่ผู้นําเข้าสําแดงต่อกรมศุลกากรเป็นเท็จ จะต้องมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่าผู้นําเข้าได้ชําระราคาตามหลักฐานที่ตรวจพบให้ผู้ชายในต่างประเทศ หรือมีหลักฐานทางบัญชีซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีรายการชําระเงินดังกล่าว หรือตั้งหนี้ค้างชําระ สําหรับสินค้าดังกล่าวแตกต่างจากราคาที่สําแดงต่อศุลกากร หากไม่พบเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมดังกล่าว กรมศุลกากรก็จะไม่ประเมินอากรตามหลักฐานที่พบ เอกสารหมาย จ.14 เป็ เอกสารที่แสดงเหตุอันควรสงสัยเบื้องต้นในราคาศุลกากรที่จําเลยที่ 1 สําแดง เพื่อนํารถยนต์ ของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งกรมศุลกากรมีอํานาจเข้าตรวจค้น และตรวจสอบจาก รายการชําระเงินหรือบัญชีงบดุล หากพบการชําระเงินหรือตั้งหนี้ตามบัญชีงบดุลตรงตามข้อสงสัยก็จะถือเป็นเหตุในการดําเนินคดีและเรียกเก็บอากรศุลกากรเพิ่มเติม หากไม่พบข้อมูลและหลักฐานดังกล่าว กรมศุลกากรก็จะยุติเรื่อง
เห็นว่า ข้อนําสืบของพยานจําเลยเป็นวิธีปฏิบัติที่กรมศุลกากรใช้ในการตรวจสอบและเรียกเก็บอากรและภาษีต่าง ๆ เพิ่มเติม หากกรมศุลกากร มิได้ดําเนินการเช่นว่านั้น กรมศุลกากรก็ไม่อาจเรียกให้ผู้นําเข้าชําระอากรและภาษีต่าง ๆเพิ่มเติมได้ แต่การที่กรมศุลกากรมิได้เรียกเก็บอากรและภาษีต่าง ๆ เพิ่มเติม หาได้เป็นการตัดสิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานอื่นที่มีอํานาจหน้าที่ที่จะสอบสวนหรือดําเนินคดีเอาผิดผู้นําเข้าที่ร่วมกันฉ้อโกงภาษีอันเป็นความรับผิดทางอาญาปกติด้วยไม่
พยานหลักฐานจําเลยทั้งสี่ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ส่วนความรับผิดของจําเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์นําสืบว่า จําเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบริษัทจํากัด ขณะเกิดเหตุมีจําเลยที่ 2 เป็นกรรมการจําเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว และจําเลยที่ 4 เป็นกรรมการจําเลยที่ 3 เพียงผู้เดียว และได้ความจากจําเลยที่ 2 เบิกความเจือสมว่า จําเลยที่ 2 เป็นกรรมการจําเลยที่ 1 ตามที่บุคคลอื่นสั่งการ และได้มอบอํานาจให้พนักงานไปดําเนินการต่าง ๆ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 2 เป็นผู้มีอํานาจรับผิดชอบในการดําเนินกิจการและเป็นผู้แทนจําเลยที่ 1 ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 ร่วมกับ จําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และได้กระทําการในฐานะ ผู้แทนนิติบุคคลซึ่งต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 253
@จําเลยที่ 4 อ้างแค่พนักงานล้างรถ ไม่มีรู้มีชื่อเป็น กก. บ.เบนซ์นครินทร์
ส่วนจําเลยที่ 4 แม้มีชื่อเป็นกรรมการจําเลยที่ 3 เพียงผู้เดียว แต่จําเลยที่ 4 ให้การในชั้นสอบสวนและนําสืบว่า จําเลยที่ 4 เป็นพนักงานล้างรถของจําเลยที่ 3 และไม่ทราบมาก่อนว่ามีผู้นําชื่อจําเลยที่ 4 เข้าไปเป็นกรรมการจําเลยที่ 3 และมิได้ร่วมบริหารหรือมีอํานาจรับผิดชอบในการดําเนินกิจการและเป็นผู้แทนจําเลยที่ 3 เมื่อจําเลยที่ 4 ยืนยันให้การปฏิเสธเช่นนี้ตลอดมาและโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานําสืบเพิ่มเติม พยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่า จําเลยที่ 4 เป็นผู้มีอํานาจรับผิดชอบในการดําเนินกิจการและเป็นผู้แทนจําเลยที่ 3 หรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จําเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
@ริบรถของกลางแม้ถูกโอนหลายทอด-ผู้รับโอนไม่มีสิทธิครอบครอง
ส่วนรถยนต์ของกลางเป็นรถที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชําระค่าอากรศุลกากร และภาษีต่างๆ ไม่ถูกต้อง จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด ดังนี้ แม้รถยนต์ของกลางมีการโอนกรรมสิทธิ์ต่อกันไปอีกหลายทอดก็ตาม ผู้รับโอนรถยนต์ของกลางก็ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางได้ จึงให้ริบรถยนต์ของกลางเสีย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32
อนึ่ง หลังกระทําความผิด มีพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469” แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้ความผิดฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ยังคงเป็นความผิด และมาตรา 253 ยังบัญญัติให้กรรมการ ของผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคลคงต้องรับผิดร่วมกับนิติบุคคล เพียงแต่โจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า กรรมการเป็นผู้สั่งการหรือเป็นกรรมการเป็นผู้กระทําการแทนนิติบุคคลหรือละเว้นการสั่งการทําให้นิติบุคคลกระทําความผิดแตกต่างจากตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 115 จัตวา ที่กําหนดให้กรรมการมีภาระการพิสูจน์ได้ว่านิติบุคคลได้กระทําความผิดโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมหรือตนได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น การกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น ถือไม่ได้ว่าพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 115 จัตวา แต่ความรับผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 115 จัตวา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะ พิจารณาคดี จึงเป็นอํานาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จําเลย ทั้งสี่ไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 เมื่อระวางโทษในความผิดฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 มีระวางโทษ จําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่มหรือ ทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 สําหรับความผิดครั้ง หนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจําคุกไม่เกินสิบปี หรือ ทั้งปรับทั้งจํา โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 จึงเป็นคุณมากกว่าต้องใช้โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาบังคับแก่คดี อย่างไรก็ตาม ในการ กําหนดโทษปรับจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ดังกล่าว ก็ต้องกําหนดให้จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดในค่าปรับในลักษณะรวมกันตามบทบัญญัติ มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ส่วนภาระการพิสูจน์ความรับผิดของกรรมการตก ได้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 253 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนที่ เป็นคุณมากกว่า
@ปรับเงิน 65.4 ล. –จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบร่วมจําเลยที่ 1 และที่ 3 จำนวน 43.6 ล. ยกฟ้องจำเลยที่4
พิพากษาว่า จําเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 ประกอบประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 83 จําเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243, 253 ประกอบประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทําของจําเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 ประกอบประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ปรับจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รวมกันเป็นเงิน 65,448,427.80 บาท ทางนําสืบของจําเลยที่ 2 เป็น ประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้จําเลยที่ 2 หนึ่งในสาม ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 78 จําเลยที่ 2 คงต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 43,632,285.20 บาท หากจําเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจําเลยที่ 2 ไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจําเลยที่ 2 ได้เกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปี ริบรถยนต์ ยี่ห้อ ลัมโบร์กินี่ (LAMBORGHINI) รุ่นกัลลาร์โด คูเป้ (GALLARDO COUPE) หมายเลขตัวรถ ZHWGE12T36LA03330 หมายเลขเครื่องยนต์ 07LA03611 หมายเลขทะเบียน ฌล 555 กรุงเทพมหานคร ของกลาง ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจําเลยที่ 2 ต่อจากโทษของ จําเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1101/2564 ของศาลนี้ เนื่องจากคดีนี้ศาลไม่ลงโทษ จําคุกจําเลยที่ 2 และคดีดังกล่าวศาลยังไม่มีคําพิพากษา จึงนับโทษจําเลยที่ 2 ต่อไม่ได้ให้ยกคําขอส่วนนี้ของโจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4.
ข่าวคดีรถหรูอื่น
- ริบ‘ลัมโบร์กินี’! ศาลอาญาสั่งปรับ บ.จูบิลี่ไลน์พวก 65.4 ล. คดีรถหรู กักขัง กก.ไม่เกิน 2 ปี
- ยกคำพิพากษาคดี ‘เฟอร์รารี่’ บ.ศรณรงค์ฯ เทียบ! ควรริบ ‘ลัมโบร์กินี’ บ.จูบิลี่ไลน์
- ‘ร้าง’แล้ว! เจาะ บ.ปริ๊นซ์เซส ยอร์ชฯโยงคดีรถหรู‘จูบิลี่ไลน์’:‘วิทวัส-เสรี’หุ้นใหญ่
- ก่อนขอให้ศาลริบ‘ลัมโบร์กีนี’บ.จูบิลี่ไลน์ ! อัยการสั่งดีเอสไอคืนรถหรูแล้วกว่า 24 คดี
- สลับเปลี่ยน กก.6 คน ! เจาะ บ.เวิลด์ คลาส ฯ คดีรถหรู ‘จูบิลี่ไลน์’ มี‘เมสเซนเจอร์’ ด้วย
- เชิดลูกน้อง เครือญาติ กก.! เปิดเบื้องลึก อสส.ชี้ขาด สั่งฟ้อง‘เสรี’ - ริบ ‘ลัมโบร์กินี่’
- เจาะคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ :5 บริษัทเครือข่ายเดียวกัน ‘นายชาย’ ผู้สั่งการตัวจริง
- เจาะคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ : ขายลัมโบร์กินีให้ลูกชายเยาวเรศ - ต้องเสียภาษีเพิ่ม21 ล.
- 1 ปี! คดีรถหรู1,020 คัน DSI สอบผู้เกี่ยวข้อง-เส้นเงินนับพันราย แจ้งข้อกล่าวหา133 คน
- อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง‘เสรี ชินบารมี’ คดีรถหรูริบของกลาง-ลัมโบร์ฯ ขายให้หลาน ‘ทักษิณ’
- บ.แอตแลนต้า! ดีเอสไออายัดพันคดีรถหรู กก.คนล่าสุดอยู่ จ.กำแพงเพชร ถูกขีดชื่อร้างแล้ว
- โชว์หนังสือ4 หน่วยงาน‘สอบ-อายัด’ บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส คดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่‘บอย ยูนิตี้’! บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส‘เสี่ยมานะ’ ดีเอสไอสอบคดีรถหรู
- เปิดข้อมูล บ.‘ส.ธรรมธัชช’ โชว์รูมคดีรถหรูจากอังกฤษ ที่แท้ของใคร?
- ดีเอสไอยึดรถหรู26 คันถูกโจรกรรมข้ามชาติจากอังกฤษ หนึ่งในนั้นมีของเมียอดีตบิ๊ก ตร.ด้วย
- 'สมศักดิ์'ไม่รู้!รถหรู4 คันถูกDSIยึดมีชื่อเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมือง รอแถลงทางการ
- ดีเอสไอบุกค้นอายัดรถหรู4 คัน-เมียอดีตบิ๊กตำรวจ-ลูกชายนักการเมืองใหญ่ด้วย
- ยืนยัน!DSI สั่งอายัดรถหรู4 คันจริง แต่ยังไม่รู้ของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่
- เผยโฉม!รถหรู4 คัน ดีเอสไอสั่งอายัด รวมของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่ด้วย
- หนังสือ ป.ป.ท.ถึงอธิบดีดีเอสไอ สอบ2 จนท.พันคดีรถหรู ถูกกล่าวหารวยผิดปกติ
- ป.ป.ช.เรียกสอบคดี ผอ.ดีเอสไอสั่งคืนของกลาง‘รถหรู’ 4 คันจากอังกฤษ สุจริตหรือไม่
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’คันที่20 ! บ.เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า-นักธุรกิจครอบครอง
- ขาดอายุความบางข้อหาแล้ว! คดีนำเข้ารถหรู หลังนำตัวผู้ต้องหาส่งฟ้องไม่ทัน
- ลัมโบร์กินี สีส้ม คันที่19 ! ของกลางคดีรถหรู ผอ.ดีเอสไอสั่งถอนอายัด ปมร้อง ป.ป.ช.สอบ
- ไส้ในคดีถอนอายัด-คืนของกลางรถหรู18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีรถหรู บ.นักธุรกิจดัง ชนวนร้องสอบคนดีเอสไอ
- หวังรัฐได้เงินค่าปรับหมื่นล้าน!DSI หารืออัยการเร่งสางคดีนำเข้ารถหรูเลี่ยงภาษี854 คัน
- INFO : ขมวดเส้นทางคดีรถหรู! ปมโจรกรรมรถจากอังกฤษสู่ไทย39 คัน
- ตามไปดู บ.มาสเตอร์ ออโต้ฯ โชว์รูมรถหรูDSI อายัด7 คัน - พนง.เผยคดีอยู่ในชั้นอัยการ
- บ.มาสเตอร์ ออโต้ พาร์ทฯ โชว์รูมคดีรถหรู ดีเอสไออายัด7 คัน เป็นใคร?
- เปิดลิสต์รถหรู39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ ครบทุกยี่ห้อ ที่มาคดีอื้อฉาว39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ
- เปิดรายละเอียดรถยนต์4 คันถูกขโมยจากอังกฤษ ปม ผอ.ดีเอสไอถอนอายัด
- รายที่15 บ.ที เค ที ออโต้ฯ พันคดีนำเข้ารถหรู คน จ.อำนาจเจริญ กก.-หุ้นใหญ่
- ไขปมรถหรู13 คันถูกขโมยจากอังกฤษในปฏิบัติการไทเทเนียม ถูกถอนอายัด4 คันปริศนา
- ร้องป.ป.ช.สอบผอ.DSI สั่งคืนรถหรูของกลางขโมยจากอังกฤษ-ลัมโบร์ฯโจ้ด้วย-เจ้าตัวยันทำตาม กม.
- บ.ออสติน ออโต้ คาร์ส คดีนำเข้ารถหรู สถานะล่าสุดศาลสั่งล้มละลาย
- คดีนำเข้ารถหรู : บ.เดอะ แกลเลอรี่ ออโต้ฯ ล่าสุดคนสัญชาติจีนถือหุ้นใหญ่
- พันคดีนำเข้ารถหรู! บ.ทีวีอาร์ กรุ๊ป ดีเอสไออายัดจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี6 ครั้ง
- อีกราย! เปิดข้อมูล บ.วี เท็นฯ พันคดีนำเข้ารถหรู
- เปิดรายที่10 บ.โมดีน่า มอเตอร์ คดีนำเข้ารถหรู จดเลิกกิจการแล้ว
- พลิกข้อมูล บ.เฟอร์มาฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ พันคดีนำเข้ารถหรู ใคร กก.-ถือหุ้นใหญ่?
- เปิดชื่ออีก2 รายพันคดีนำเข้ารถหรู‘บ.เฟอร์ม่าฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ สปอร์ต’
- โชว์หนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ สีส้ม กก.สาว บ.มันสำปะหลัง เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า
- กก.- ผู้ถือหุ้น ชุดเดียวกัน ! เปิดเอกสาร2 บริษัทคดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่ เบนซ์นครินทร์ฯ! พบอีก3 บริษัทพันคดีนำเข้ารถหรู รวม7 ราย
- เปิดหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘โดม ปกรณ์ ลัม’- บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- เผยโฉมหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ตามส่องบ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’ สภาพปัจจุบันเหลือแค่ตึกเก่า
- เปิดเอกสาร บ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’เท็จ เป็นใคร?
- คำพิพากษาคดีสำแดงนำเข้า‘เฟอร์รารี่’ เท็จ บ.ศรณรงค์ฯกับพวก ปรับ6 ล. ริบรถ
- พลิกธุรกิจ13 บ.เสี่ยรง.แป้งมัน ผู้ครอบครอง ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ผจก.ส่วนตัว'โดม' แจงลัมโบร์กินี สั่งประกอบนอก ไม่เกี่ยว บ.เบนซ์นครินทร์ - ผกก.โจ้
- ไม่ใช่แค่ ลัมโบร์กินี ผกก.โจ้! กก.สาว รง.แป้งมัน ถือครองรถหรู1 คัน
- รถหรู20 คัน ดีเอสไอถอนอายัด'นักธุรกิจ -นาย ตร. -ดาราดัง' ครอบครอง
- ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’ คนถือครองล่าสุด นักธุรกิจ รง.แป้งมันสำปะหลัง
- ลัมโบกินี สีส้ม! คันที่3 ดีเอสไอ ถอนอายัด - บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- ตามไปดู3 เอกชน ผู้นำเข้า‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ - เหลือแค่ป้ายชื่อบริษัท?
- ‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้! ที่แท้ บ.เบนซ์นครินทร์ฯ - พวก นำเข้า
- อัยการไม่สั่งริบ! ดีเอสไอแจงปม คืน‘ลัมโบร์กินี’ ของกลางคดีรถหรู ก่อน‘ผกก.โจ้’ เจ้าของ
- เปิดหนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีนำเข้ารถหรู ลอตเดียว‘ผู้กำกับโจ้’
- เบื้องหลัง‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ ดีเอสไอถอนอายัด หลังอัยการฝ่ายฯ มีความเห็นทางคดี
- ส่ง อสส.แล้ว! ดีเอสไอแถลงคดีรถลัมโบกินี‘ผกก.โจ้’เลี่ยงภาษี-รัฐเสียหาย31 ล