ไขสำนวนคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ กับพวก ก่อนอัยการสูงสุดชี้ขาดสั่งฟ้อง ‘เสรี ชินบารมี’ ผู้ต้องหาที่ 7 อีกราย หลังอธิบดี DSI แย้งพนักงานอัยการ (ตอนที่ 2 ) : เอกสารจดทะเบียน-หลักฐานการเงิน-พยานให้การมัดสัมพันธ์ 5 บ.เกี่ยวโยงล้วนเครือข่ายเดียวกัน ‘เสรี ชินบารมี’ ไม่มีชื่อ กก. แต่มีอำนาจสั่งการตัวจริง ส่วนนายหญิงดูแลคน การเงิน
กรณีเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด มีคำสั่งชี้ขาดความเห็นแย้ง คดี บริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัด กับพวกรวม 7 คน ผู้ต้องหา โดยให้ฟ้อง นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 ฐานร่วมกันนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243,253 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ตามที่รองอัยการสูงสุดเสนอ ขอให้ศาลมีคำสั่งริบรถยนต์ของกลาง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร และให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบประวัติการต้องคดีของผู้ต้องหาทุกคนว่าผู้ต้องหาแต่ละคนอยู่ในข่ายต้องขอเพิ่มโทษ ขอนับโทษต่อ หรือไม่ กี่คดี แล้วดำเนินการขอเพิ่มโทษ หรือขอนับโทษต่อกันให้ครบถ้วนทุกคดี
ตามที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานแล้ว
สำนักข่าวอิศรา เรียบเรียงความเป็นมาของคดีนี้มารายงานแล้วว่าคดีนี้มีผู้ต้องหา 7 ราย บริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 1 , นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 ,บริษัท เบนซ์นครินทร์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 3 , นายทวีศักดิ์ ใจงาม นายกฤษฎา ชำนาญจิตร์ ผู้ต้องหาที่ 4 ,บริษัท นิชคาร์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 5 นายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6 และ นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 ฐานร่วมกันนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสีย สําหรับของนั้น ๆ ตามมาตรา 243 และมาตรา 253 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 (มาตรา 27 และมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 เป็นอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ประกอบมาตรา 83
มาดูข้อมูลสำคัญที่พนักงานสอบสวนเห็นว่านายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 เกี่ยวข้องกับกรณีนำเข้ารถหรู บริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด
@ เปิดความสัมพันธ์ 5 บ.ในเครือ
ความสัมพันธ์ บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด บริษัท จูบิลีไลน์ จํากัด บริษัทแอดวานซ์ โมดิฟาย จํากัด บริษัท นิช คาร์ จํากัด ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้ และบริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งจดทะเบียนใหม่หลังจากเกิดเหตุในคดีนี้ซึ่งทั้งห้าบริษัทนี้อยู่ในขบวนการฉ้อภาษี โดยบริษัทเบนซ์นครินทร์ ออโต้กรุ๊ป จํากัด ซึ่งเป็นผู้นําเข้ารถยนต์หลัก จะพยายามมิให้เห็นร่องรอยสบคบคิด ต่อจากนั้นจะให้บริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัดและบริษัท แอดวานซ์ โมดิฟาย จํากัดและบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการผ่านพิธีการศุลกากรและจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะมีกระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ในขั้นตอนนี้ และจะไม่มีคนในครอบครัวของนายเสรี รักษ์วิทย์หรือชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 ประกอบด้วย นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ และ นายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6 เข้ามาเกี่ยวข้องหรือจะเกี่ยวข้องก็น้อยที่สุด และหลังจากผ่านกระบวนการจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบกแล้ว รถยนต์นําเข้าดังกล่าวได้ถูกนํามาโชว์ขายที่บริษัท นิช คาร์ จํากัด และบริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งผู้ต้องหาที่ 6 , 7 และนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ สามารถเปิดเผยตัวต่อสาธารณะได้ ทั้งนี้ พิจารณาได้จากเอกสารรายการจดทะเบียนบริษัทและหนังสือบริคณห์ของบริษัททั้งห้า
@ บ.เบนซ์นครินทร์ฯ ‘เสรี รักษ์วิทย์’เคยเป็น กก. - เปลี่ยนหลายครั้ง
เริ่มจากบริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งมีชื่อเดิมว่าบริษัท ฮัมเมอร์ เอเชีย จํากัด แต่ได้มาเปลี่ยนชื่อตามที่ปรากฏในปัจจุบันเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2543 มีผู้ก่อตั้งเริ่มแรก 7 คน มีญาติพี่น้องของผู้ต้องหาจํานวน 5 คน และ มีบุคคลภายนอก 2 คน คือ นางสาวดารินทร์ เจนวารินทร์และนางสาวดวงเดือน คุรทวีสิน โดยสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 10/35 ซอยลาดพร้าว 28 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ มีนายเสรี รักษ์วิทย์ เป็นกรรมการบริหาร วันที่ 25 ตุลาคม 2543 เปลี่ยนกรรมการเป็น นายนิพนธ์ รักษ์วิทย์ 1 ใน 7 ของผู้ริเริ่มตั้งบริษัท และเปลี่ยนที่ตั้งสํานักงานใหญ่เป็น 283 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ วันที่ 11 ธันวาคม 2543 เปลี่ยนกรรมการเป็นนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ วันที่ 4 สิงหาคม 2545 เปลี่ยนกรรมการเป็น นางสาวดารินทร์ เจนวารินทร์ และหลังจากนั้นมีเปลี่ยนกรรมการอีกหลายคน คือนางสาว ศิริพรรณ อังคสุกรกุล นายศักดิ์ทวี ใจงาม,นายกฤษฎา ชํานาญจิตร์, นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์, นางจินตนา อิทธิสิทธิกุล ซึ่งผู้ต้องหาที่ 4 อยู่ในช่วงที่เกิดเหตุในคดีนี้และเป็นพนักงานบริษัท นิช คาร์ จํากัด
@ บ.จูบิลี่ไลน์ ผู้ก่อตั้งคนเดียว เบนซ์นครินทร์ฯ
บริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัด ก่อตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 สํานักงาน แห่งใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 10/35 ซอยลาดพร้าว 28 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกับบริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ จํากัด มีผู้ก่อตั้ง 7 คน มีนายสมเกียรติ พันธุ์ชาติ (ซึ่งเป็นผู้ดําเนินการจดทะเบียนทั้ง 5 บริษัท) นายกําจัด เจนวารินทร์ นายนิพนธ์ รักวิทย์ (ผู้ก่อตั้งบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ) โดยมีนายสมเกียรติ พันธุ์ชาติ เป็น กรรมการคนแรก ต่อมาวันที่ 13 กรฎาคม 2543 เปลี่ยนกรรมการเป็นนางสาวดารินทร์ เจนวารินทร์ (ผู้ก่อตั้งบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ) วันที่ 3 ธันวาคม 2547 เปลี่ยนกรรมการเป็นนางผ่องศรี (อ้วน) สุทธิรัตน์เสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 (เป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและสินเชื่อบริษัท นิช คาร์ จํากัด เป็นกรรมการจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2559 และอยู่ในช่วงที่เกิดเหตุในคดีนี้ วันที่ 23 สิงหาคม 2559 เปลี่ยนกรรมการเป็น นางสาว เสาวลักษณ์ จันมี จนถึงปัจจุบัน
@ พนักงานแมสเซนเจอร์ เป็น กก. บ. แอดวานซ์ โมดิฟาย
-บริษัท แอดวานซ์ โมดิฟาย จํากัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 โดยมีนายไพโรจน์ จันทร์มี เป็น 1ใน 7 ของผู้ก่อตั้ง และเป็นกรรมการบริหาร ตั้งแต่ตั้งบริษัทและเป็นพนักงานแมชเซ็นเจอร์บริษัท นิช คาร์ จํากัด ต่อมากรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ขีดชื่อบริษัทนี้ออกจากทะเบียนแล้วตามความในมาตรา 1273/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 บริษัท ดังกล่าวจึงมีสถานะเป็นบริษัทร้าง มีผลทําให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อ นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการและผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้น
@ บ.นิช คาร์ ตัวละครเดียวกัน
บริษัท นิช คาร์ จํากัด จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2547 โดยมีนายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6.นายวิชญา รักษ์วิทย์, นางสาวดารินทร์ เจนวารินทร์ (ผู้ก่อตั้งบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ) นางสาวศิริพรรณ อังศุภรกุล (เคยเป็นกรรมการบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ ปี พ.ศ. 2545 - 2548) เป็น 4 ใน 7 เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท มีสํานักงานใหญ่ อยู่ที่ 283 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับ สํานักงานแห่งใหญ่แห่งที่สองของบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ และมีนางสาวศิริพรรณ อังคสุภรกุล เป็นกรรมการ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 เปลี่ยนกรรมการเป็น นายวิทวัส ชินบารมี วันที่ 1 เมษายน 2547 เปลี่ยนกรรมการเป็นนางสาวศิริพรรณ อังคศุภรกุล วันที่ 8 มีนาคม 2548 เปลี่ยนกรรมการเป็นนายวิทวัส ชินบารมี และเปลี่ยนสํานักงานแห่งใหญ่ไปตั้งอยู่เลขที่ 10/35 ซอยลาดพร้าว 28 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งเป็น สํานักงานแห่งใหญ่แห่งแรกของบริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ วันที่ 10 สิงหาคม 2548 ได้เพิ่มกรรมการเข้ามาอีกคนหนึ่ง คือ นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2556 และจะเป็นกรรมการซ้อนอยู่บริษัท จูบิลี่ ไลน์ จํากัด ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2556 วันที่ 19 ธันวาคม 2556 นางผ่องศรี ลาออกจากกรรมการ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เปลี่ยนกรรมการเป็นนางสาวศิริพรรณ บุญประกอบ และเปลี่ยนที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ โดยเปลี่ยนไปอยู่ที่ 317 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ (นายวิทวัส ลูกชายนายเสรี)
@ บ.นิช คาร์ กรุ๊ป ‘เสรี’ ถือหุ้นใหญ่
บริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จํากัด จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 โดยมีนางสาว อนุสรา ทองคล้าย เป็นกรรมการ ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม 2558 เปลี่ยนกรรมการเป็น นางผ่องศรี (อ้วน) สุทธิรัตน์เสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 (เป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและ สินเชื่อบริษัท นิช คาร์ จํากัด และเคยเป็นกรรมการบริษัท จูบีลไลน์ จํากัด และบริษัท นิช คาร์ จํากัด) วันที่ 19 มกราคม 2559 เปลี่ยนกรรมการเป็นนายเสรี ชินบารมี และในวันที่ 2 มีนาคม 2560 บริษัทมีหนังสือแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท คือ นายเสรี ชินบารมี นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ และ นายวิทวัส ชินบารมี
จากรายละเอียดการจดทะเบียนบริษัททั้งห้าจะเห็นได้ว่า ผู้ก่อตั้งบริษัท กรรมการผู้บริหาร เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน บางคนเป็นกรรมการบริหารซ้อน 2 บริษัทในเวลา เดียวกันคือ นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุลและนางสาว ศิริพรรณ อังศุภรกุล และบางคนเป็น พนักงานของบริษัท นิช คาร์ แต่ก็ไปเป็นกรรมการบริหาร บริษัทด้วยเช่น นายกฤษฎา ชํานาญจิตร์ นายจักรกฤต ถาวรธนากุล นายไพโรจน์ จันทร์มีและนางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล สถานที่ตั้ง สํานักงานแห่งใหญ่ (10/35 ซอยลาดพร้าว 28, 283 ถนนศรีนครินทร์ และเลขที่ 317 ถนนศรีนครินทร์) ที่บริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ บริษัท จูบิลี่ไลน์, บริษัท นิช คาร์ฯ และบริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จํากัด ใช้ร่วมกันในบางช่วงเวลา
@ ความเกี่ยวพันทางด้านการเงิน
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนนาง ก. (ขอปิดบังชื่อสกุลจริง) ซึ่งรวบรวมหลักฐานการทําธุรกรรมทางด้านการเงินและพยานหลักฐานอื่นได้ความว่า
บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด บุคคลผู้มีอํานาจลงนามสั่งจ่ายในบัญชีต่าง ๆ ของบริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด คือ นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ และนายจักรกฤต ถาวรธนากุล ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท นิช คาร์ จํากัด
บริษัท จูบิลี่ ไลน์ จํากัด บุคคลผู้มีอํานาจลงนามสั่งจ่ายในบัญชีต่าง ๆ ของบริษัท คือ นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล พนักงานของบริษัท นิช คาร์ จํากัด
บริษัท แอดวานซ์ โมดิฟาย จํากัด พบว่ามีการเปิดบัญชีในนามของบริษัทเพียงบัญชีเดียว ด้วยเงินจํานวน 10,000 บาท และมีการเคลื่อนไหวทางบัญชีผิดวิสัยของบริษัทที่ทําการค้ารถยนต์หรูราคาแพงรถยนต์แต่ละคันมีราคาแพงระดับหลายสิบล้านบาท
บริษัท นิช คาร์ จํากัด ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเงินในบัญชีส่วนใหญ่ คือ นายวิทวัส ชินบารมี และนางผ่องศรี สุทธรัตนเสรีกุล และนางผ่องศรีสามารถสั่งจ่ายได้ทั้งบริษัท จูบิลี่ ไลน์ จํากัด และบริษัท นิช คาร์ จํากัด ซึ่งหากไม่เกี่ยวพันกันจะไม่สามารถกระทําเช่นนั้นได้
@ลงบัญชีซื้อขายรถ มิได้ทำเป็นรายคัน ทำงบรวม
และพบว่าการซื้อขายรถทางบริษัทไม่ได้ติดต่อจ่ายเงินและลงงบบัญชีเป็นรายคัน งบการเงินเป็นงบการเงินรวมทั้งปี ไม่สามารถระบุเจาะจงการซื้อขายรถแต่ละคันของบริษัทได้ และน่าเชื่อว่าเป็นการลงรายการที่มี ราคาไม่ตรงความจริง เพื่อให้ตรงกับการส่งเอกสารที่นําส่งศุลกากร และเพื่อให้สอดคล้องกับการยื่นภาษีกับกรมสรรพากร และการโอนค่ารถที่จ่ายไปยังต่างประเทศมีการแยกย่อยยอดเงินเพื่อให้ตรงกับราคาที่สําแดงต่อกรมศุลกากรและต่อกรมสรรพากร
1. ในการทําธุรกรรมทางการเงินในประเทศของบริษัท นิช คาร์ จํากัด ใช้บัญชีหลักของธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 198-4-486xxx จากการตรวจธุรกรรมการถอนเงินจากบัญชีนี้ไปซื้อแคชเชียร์เช็คเพื่อสั่งจ่าย
- สั่งจ่าย กรมศุลกากร (พักรายได้) โดยบริษัท นิช คาร์ จํากัด
- สั่งจ่าย กรมศุลกากร (พักรายได้) โดยบริษัท จูบิลี่ ไลน์ จํากัด
2. การทําธุรกรรมการโยกเงินไปเข้าบัญชีของบริษัทต่างๆ โดยการถอนเงินสด การซื้อบาทเน็ต และโอนเงินเข้าบัญชีต่างๆ ดังนี้ เช่น
-การโอนเงินเข้าบัญชี บจก. มิช คาร์
- การโอนเงินเข้าบัญชี บจก. จูบิลี่ ไลน์
- โอนเข้าบัญชีเงินฝากประจําซึ่งเป็นบัญชีบริษัท นิช คาร์ จํากัด
- การโอนเงินเข้าบัญชี บจก. ปริ้นเซส ยอร์ช แบงคอก-พัทยา
- การโอนเงินเข้าบัญชี บจก. นิช คาร์ และบัญชีอื่น ๆ
ซึ่งการโอนเงินไปยังบัญชีต่างๆ เช่น บัญชี บจก, นิช คาร์ จํากัด, บัญชี บจก. จูบิลี่ไลน์ จํากัด และบัญชี บจก. เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด นั้น พบว่า เป็นการโอนเพื่อไปทําธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศเพื่อจ่ายค่ารถที่สั่งซื้อ และเป็นการใช้จ่ายบัญชีข้ามบริษัทหรือคนละบริษัท
3.บัญชีธนาคารดังกล่าวยังเป็นบัญชีหลักที่รับเงินจากลูกค้าที่ซื้อรถจาก บจก.นิชคาร์
4. บัญชีนี้ได้ทําการปิดบัญชี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และได้ไปใช้บัญชี ธนาคาร ธนชาติ ชื่อบัญชี บจก.นิช คาร์ กรุ๊ป เลขที่บัญชี 233-6-047XXX และบัญชี 246-6-029XXX เป็นบัญชีที่ใช้ทําธุรกรรมแทนบัญชีของบริษัท นิช คาร์ บริษัททั้งห้า ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมกันทําเป็นเครือข่ายและแบ่งหน้าที่กัน
กลุ่มบริษัทดังกล่าวข้างต้นได้ให้ บริษัท นิชคาร์ กรุ๊ป จํากัด ซึ่งมีผู้ต้องหาที่ 7 เป็นผู้บริหารตัวจริง เป็นศูนย์กลางบริหารทุกอย่าง มิใช่ที่บริษัท จูบิล ไลน์ จํากัด
@ปลอมใบอินวอยซ์ - เอกสารต้นทาง บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
และเมื่อตรวจสอบการแจ้งเสียภาษีนำเข้ารถยนต์ของกลางในคดีนี้ ซึ่งเป็นใบสินค้าขาเข้าและใบอินวอยซ์ ที่นํารถยนต์ของกลางคดี เข้ามาในราชอาณาจักร และต้องใช้เอกสารดังกล่าวร่วมกันในการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยใบอินวอยซ์ ระบุว่าผู้นําเข้า คือบริษัท จูบีลไลน์ จํากัด โดยใบอินวอยซ์ ระบุว่าสินค้าคือรถยนต์ ยี่ห้อ ลัมโบร์กินี ของกลางราคา 2,583,182.75 บาท ระบุชื่อผู้นําของเข้า คือบริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัด และชื่อของผู้ผ่านพิธีการ คือนางผ่องศรี สุทธิรัตนเสรีกุล เป็นผู้นําเอกสารดังกล่าวมายื่นเอกสารนั้นเป็นเท็จโดยการปลอมใบอินวอยซ์ขึ้นมาทั้งฉบับ และข้อความในเอกสารทั้งฉบับเป็นเท็จในสาระสําคัญทุกแห่ง กล่าวคือ
ตามเอกสารซึ่งเป็นสําเนาใบอินวอยซ์ที่ส่งมาจากบริษัทที่ประเทศ อิตาลีและคําแปล ระบุว่าผู้นําเข้ารถยนต์ของกลางคือ บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด เลขใบ แจ้งราคาสินค้า (NUMERONO) คือ 116535 วันที่ 11/10/07 ราคาสินค้า คือ 181,803 ยูโร แต่เมื่อรถยนต์คันที่แจ้งผ่านพิธีการศุลกากรกลับแจ้งว่าเป็นรถยนต์ที่บริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัด นําเข้า และบริษัท นิช คาร์ จํากัด เป็นผู้นําไปจําหน่าย ผู้ที่ได้ประโยชน์ คือ บริษัท เบนซ์นครินทร์ฯ และบริษัท นิช คาร์ จํากัด ซึ่งเจ้าของกิจการที่แท้จริงคือ ผู้ต้องหาที่ 6, ผู้ต้องหาที่ 7 และนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ จากการเสียภาษีทุกประเภทที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต่ํากว่าเป็นจริงนับสิบล้าน และผู้ที่ไปผ่านพิธีการศุลกากร คือบริษัท จูบิลี่ไลน์ จํากัด
@ พยานให้การซัด ‘นายชาย’ สั่งการด้วยวาจา-มีอำนาจสูงสุด
จากการสอบสวน พนักงาน 2 คน (ขอปิดบังชื่อสกุลจริง) พนักงาน 2 คน ของบริษัท นิช คาร์ จํากัด ได้ความว่า บริษัท นิช คาร์ จํากัด มี บริษัทในเครืออีก 2 บริษัท คือบริษัท เวิลด์คลาส ออโตโมบิล จํากัด และบริษัท ปริ้นเซสยอร์จ จํากัด โดยบริษัทเวิลด์คลาส ออโตโมบิล จํากัด ดําเนินการในส่วนของศูนย์บริการ รับบริการซ่อม และให้บริการหลังการขาย นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล รับผิดชอบในงานด้านสินเชื่อ ด้านการเงิน บัญชีของบริษัทนิช คาร์ การจัดองค์กรและการบังคับบัญชา ของบริษัท นิช คาร์ จํากัด ระดับผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดเด็ดขาด คือนายเสรี ชินบารมี (นายชาย) ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการสั่งการ แต่จะสั่งการด้วยวาจา เช่น ในเรื่องการประชุม แต่หากออกคําสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจะกระทําโดยนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ ส่วนผู้มีอํานาจสั่งการรองลงมา คือ นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ (นายหญิง) จะทําหน้าที่ควบคุมดูแลงานเกี่ยวกับบุคคลากร การเงิน ส่วนนายวิทวัส ชินบารมี จะทําหน้าที่ทางด้านการตลาด นายเสรี มาทํางานในช่วงบ่ายเกือบทุกวัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องทํางานและจะคุยกับลูกค้าที่มาติดต่อซื้อรถยนต์ในโชว์รูมเกือบทุกคน
@ นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี/ภาพจาก https://th.postupnews.com/
@ ‘นายหญิง’ดูแล บุคลากร การเงิน
ความสัมพันธ์ของนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ กับการบริหารและค้ารถยนต์ของทั้ง 5 บริษัท นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ นอกจากเป็นภริยาของผู้ต้องหาที่ 7 และเป็นมารดา ของผู้ต้องหาที่ 6 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท นิช คาร์ กรุ๊ปจํากัด แล้วยังเคยเป็นกรรมการบริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัดในหลายช่วงเวลา
และในการ การจัดองค์กรและการบังคับบัญชา ของบริษัท นิช คาร์ จํากัด ระดับผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดเด็ดขาด คือนายเสรี ชินบารมี (นายชาย) ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการสั่งการ แต่จะสั่งการด้วยวาจา เช่น ในเรื่องการประชุม แต่หากออกคําสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจะกระทําโดยนางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ ส่วนผู้มีอํานาจสั่งการรองลงมาจาก นายเสรี คือ นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ (นายหญิง) จะทําหน้าที่ควบคุมดูแลงานเกี่ยวกับบุคคลากร การเงิน
@ ‘เสรี ชินบารมี’อยู่บนยอดสุดของพีระมิด
ความสัมพันธ์ของนายเสรี รักวิทย์หรือชินบารมี กับการบริหารและลูกค้ารถยนต์ ของทั้ง 5 บริษัท เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า นายเสรีได้ถอนเงินจาก บัญชีส่วนตัวธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 268-1030XXX เพื่อนําเงินไปซื้อแคชเชียร์เช็ค เพื่อสั่งจ่าย กรมศุลกากร (พักรายได้) โดยบริษัท จูบิลี่ ไลน์ นอกจากนี้ยังมีเอกสารอีกหลายฉบับอาทิ เช่นเอกสารติดต่อจากผู้ผลิตรถยนต์แลมโบร์กินีและแมคคาเรนที่ติดต่อโดยตรงแจ้งถึงการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ๆ รวมถึงราคาเพื่อให้ผู้ต้องหาที่ 7 สั่งนํารถดังกล่าวเข้ามา จึงแสดงให้เห็นว่านายเสรี ชินบารมี เป็นผู้มีอํานาจสั่งการและบริหารสูงสุด ทั้ง 5 บริษัท
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่านายเสรี ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 เป็นผู้บริหารที่แท้จริงของบริษัทในเครือทั้งหมดในคดีนี้ มิใช่เฉพาะแต่ผู้ซื้อรถที่ทราบ แต่รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ในต่างประเทศที่ติดต่อโดยตรง หากผู้ต้องหาที่ 7 มิใช่ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจสูงสุดของบริษัท บริษัทต่างประเทศผู้ผลิตรถยนต์คงไม่ติดต่อโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าจำเลยทั้ง 7 กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
เรื่องเกี่ยวข้องคดีนำเข้ารถหรู
- เจาะคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ : ขายลัมโบร์กินีให้ลูกชายเยาวเรศ - ต้องเสียภาษีเพิ่ม 21 ล.
- 1 ปี! คดีรถหรู1,020 คัน DSI สอบผู้เกี่ยวข้อง-เส้นเงินนับพันราย แจ้งข้อกล่าวหา133 คน
- อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง ‘เสรี ชินบารมี’ คดีรถหรู ริบของกลาง-ลัมโบร์ฯ ขายให้หลาน ‘ทักษิณ’
- บ.แอตแลนต้า! ดีเอสไออายัดพันคดีรถหรู กก.คนล่าสุดอยู่ จ.กำแพงเพชร ถูกขีดชื่อร้างแล้ว
- โชว์หนังสือ4 หน่วยงาน ‘สอบ-อายัด’ บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส คดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่‘บอย ยูนิตี้’! บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส‘เสี่ยมานะ’ ดีเอสไอสอบคดีรถหรู
- เปิดข้อมูล บ.‘ส.ธรรมธัชช’ โชว์รูมคดีรถหรูจากอังกฤษ ที่แท้ของใคร?
- ดีเอสไอยึดรถหรู26 คันถูกโจรกรรมข้ามชาติจากอังกฤษ หนึ่งในนั้นมีของเมียอดีตบิ๊ก ตร.ด้วย
- 'สมศักดิ์'ไม่รู้!รถหรู4 คันถูกDSIยึดมีชื่อเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมือง รอแถลงทางการ
- ดีเอสไอบุกค้นอายัดรถหรู4 คัน-เมียอดีตบิ๊กตำรวจ-ลูกชายนักการเมืองใหญ่ด้วย
- ยืนยัน!DSI สั่งอายัดรถหรู 4 คันจริง แต่ยังไม่รู้ของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่
- เผยโฉม!รถหรู 4 คัน ดีเอสไอสั่งอายัด รวมของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่ด้วย
- หนังสือ ป.ป.ท.ถึงอธิบดีดีเอสไอ สอบ2 จนท.พันคดีรถหรู ถูกกล่าวหารวยผิดปกติ
- ป.ป.ช.เรียกสอบคดี ผอ.ดีเอสไอสั่งคืนของกลาง‘รถหรู’ 4 คันจากอังกฤษ สุจริตหรือไม่
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’คันที่20 ! บ.เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า-นักธุรกิจครอบครอง
- ขาดอายุความบางข้อหาแล้ว! คดีนำเข้ารถหรู หลังนำตัวผู้ต้องหาส่งฟ้องไม่ทัน
- ลัมโบร์กินี สีส้ม คันที่19 ! ของกลางคดีรถหรู ผอ.ดีเอสไอสั่งถอนอายัด ปมร้อง ป.ป.ช.สอบ
- ไส้ในคดีถอนอายัด-คืนของกลางรถหรู18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีรถหรู บ.นักธุรกิจดัง ชนวนร้องสอบคนดีเอสไอ
- หวังรัฐได้เงินค่าปรับหมื่นล้าน!DSI หารืออัยการเร่งสางคดีนำเข้ารถหรูเลี่ยงภาษี854 คัน
- INFO : ขมวดเส้นทางคดีรถหรู! ปมโจรกรรมรถจากอังกฤษสู่ไทย39 คัน
- ตามไปดู บ.มาสเตอร์ ออโต้ฯ โชว์รูมรถหรูDSI อายัด7 คัน - พนง.เผยคดีอยู่ในชั้นอัยการ
- บ.มาสเตอร์ ออโต้ พาร์ทฯ โชว์รูมคดีรถหรู ดีเอสไออายัด7 คัน เป็นใคร?
- เปิดลิสต์รถหรู39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ ครบทุกยี่ห้อ ที่มาคดีอื้อฉาว39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ
- เปิดรายละเอียดรถยนต์4 คันถูกขโมยจากอังกฤษ ปม ผอ.ดีเอสไอถอนอายัด
- รายที่15 บ.ที เค ที ออโต้ฯ พันคดีนำเข้ารถหรู คน จ.อำนาจเจริญ กก.-หุ้นใหญ่
- ไขปมรถหรู13 คันถูกขโมยจากอังกฤษในปฏิบัติการไทเทเนียม ถูกถอนอายัด4 คันปริศนา
- ร้องป.ป.ช.สอบผอ.DSI สั่งคืนรถหรูของกลางขโมยจากอังกฤษ-ลัมโบร์ฯโจ้ด้วย-เจ้าตัวยันทำตาม กม.
- บ.ออสติน ออโต้ คาร์ส คดีนำเข้ารถหรู สถานะล่าสุดศาลสั่งล้มละลาย
- คดีนำเข้ารถหรู : บ.เดอะ แกลเลอรี่ ออโต้ฯ ล่าสุดคนสัญชาติจีนถือหุ้นใหญ่
- พันคดีนำเข้ารถหรู! บ.ทีวีอาร์ กรุ๊ป ดีเอสไออายัดจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี6 ครั้ง
- อีกราย! เปิดข้อมูล บ.วี เท็นฯ พันคดีนำเข้ารถหรู
- เปิดรายที่10 บ.โมดีน่า มอเตอร์ คดีนำเข้ารถหรู จดเลิกกิจการแล้ว
- พลิกข้อมูล บ.เฟอร์มาฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ พันคดีนำเข้ารถหรู ใคร กก.-ถือหุ้นใหญ่?
- เปิดชื่ออีก2 รายพันคดีนำเข้ารถหรู‘บ.เฟอร์ม่าฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ สปอร์ต’
- โชว์หนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ สีส้ม กก.สาว บ.มันสำปะหลัง เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า
- กก.- ผู้ถือหุ้น ชุดเดียวกัน ! เปิดเอกสาร2 บริษัทคดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่ เบนซ์นครินทร์ฯ! พบอีก3 บริษัทพันคดีนำเข้ารถหรู รวม7 ราย
- เปิดหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘โดม ปกรณ์ ลัม’- บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- เผยโฉมหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ตามส่องบ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’ สภาพปัจจุบันเหลือแค่ตึกเก่า
- เปิดเอกสาร บ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’เท็จ เป็นใคร?
- คำพิพากษาคดีสำแดงนำเข้า‘เฟอร์รารี่’ เท็จ บ.ศรณรงค์ฯกับพวก ปรับ6 ล. ริบรถ
- พลิกธุรกิจ13 บ.เสี่ยรง.แป้งมัน ผู้ครอบครอง ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ผจก.ส่วนตัว'โดม' แจงลัมโบร์กินี สั่งประกอบนอก ไม่เกี่ยว บ.เบนซ์นครินทร์ - ผกก.โจ้
- ไม่ใช่แค่ ลัมโบร์กินี ผกก.โจ้! กก.สาว รง.แป้งมัน ถือครองรถหรู1 คัน
- รถหรู20 คัน ดีเอสไอถอนอายัด'นักธุรกิจ -นาย ตร. -ดาราดัง' ครอบครอง
- ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’ คนถือครองล่าสุด นักธุรกิจ รง.แป้งมันสำปะหลัง
- ลัมโบกินี สีส้ม! คันที่3 ดีเอสไอ ถอนอายัด - บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- ตามไปดู3 เอกชน ผู้นำเข้า‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ - เหลือแค่ป้ายชื่อบริษัท?
- ‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้! ที่แท้ บ.เบนซ์นครินทร์ฯ - พวก นำเข้า
- อัยการไม่สั่งริบ! ดีเอสไอแจงปม คืน‘ลัมโบร์กินี’ ของกลางคดีรถหรู ก่อน‘ผกก.โจ้’ เจ้าของ
- เปิดหนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีนำเข้ารถหรู ลอตเดียว‘ผู้กำกับโจ้’
- เบื้องหลัง‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ ดีเอสไอถอนอายัด หลังอัยการฝ่ายฯ มีความเห็นทางคดี
- ส่ง อสส.แล้ว! ดีเอสไอแถลงคดีรถลัมโบกินี‘ผกก.โจ้’เลี่ยงภาษี-รัฐเสียหาย31 ล.