ไขสำนวนคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ กับพวก ก่อนอัยการสูงสุดชี้ขาดสั่งฟ้อง ‘เสรี รักวิทย์-ชินบารมี’หลังอธิบดี DSI แย้งพนักงานอัยการ (ตอน 3 ) : ไฮไลท์ ความเห็น อสส. ‘ผู้ต้องหาที่ 7’ เจ้าของตัวจริง รู้เห็น แต่ใช้วิธีเชิดบุคคลอื่น เครือญาติ ลูกชาย เป็นกก. แทน ต้องริบรถของกลางผู้ครอบครองคนสุดท้าย เหตุหลักฐานถอนเงินบัญชีแบงก์ ไม่สอดคล้อง ไม่เชื่อซื้อขายสุจริต
นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี แม้ไม่มีชื่อเป็นกรรมการ แต่เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตัวจริงของบริษัทจูบิลี่ไลน์ จำกัด และบริษัทในเครือได้แก่ บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด บริษัท จูบิลีไลน์ จํากัด บริษัท แอดวานซ์ โมดิฟาย จํากัด บริษัท นิช คาร์ จํากัด ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้ และบริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จํากัด
นั่นคือเหตุผลที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีความเห็นสั่งฟ้อง นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 ในคดี บริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด กับพวก (ผู้ต้องหาที่ 1-6) ร่วมกันนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสีย สําหรับของนั้น ๆ ตามมาตรา 243 และมาตรา 253 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 (มาตรา 27 และมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 เป็นอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ประกอบมาตรา 83
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานแล้วว่า คดีนี้พนักงานอัยการ และอธิบดีอัยการคดีพิเศษมีความเห็นไม่สั่งฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 7 (สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1-6) อธิบดีดีเอสไอมีความเห็นแย้ง ขณะที่ นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด มีคำสั่ง ชี้ขาดให้ฟ้อง นายเสรี ฐานร่วมกันนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243,253 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ตามที่ รองอัยการสูงสุดเสนอ พร้อมกับเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษที่สั่งเกี่ยวกับของกลาง และมีคำสั่งใหม่เป็น “ขอให้ศาลมีคำสั่งริบรถยนต์ของกลาง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร” ตามที่รองอัยการสูงสุดเสนอ และให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบประวัติการต้องคดีของผู้ต้องหาทุกคนว่าแต่ละคนอยู่ในข่ายต้องขอเพิ่มโทษ ขอนับโทษต่อหรือไม่ กี่คดี แล้วดำเนินการขอเพิ่มโทษหรือขอนับโทษต่อกันให้ครบถ้วนทุกคดี
ล่าสุดสำนักข่าวอิศราเรียบเรียบความเห็นของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และ อัยการสูงสุดมารายงาน
@ ผู้ต้องหาทั้ง 7 ปฏิเสธข้อกล่าวหา- พ.ร.บ.สรรพสามิต ขาดอายุความ
คดีนี้มีผู้ต้องหา 7 ราย ได้แก่ บริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 1 , นางผ่องศรี สุทธิรัตน์เสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 ,บริษัท เบนซ์นครินทร์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 3 , นายทวีศักดิ์ ใจงาม นายกฤษฎา ชำนาญจิตร์ ผู้ต้องหาที่ 4 ,บริษัท นิชคาร์ จำกัด ผู้ต้องหาที่ 5 นายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6 และ นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7
ชั้นสอบสวนผู้ต้องหาทั้ง 7 คนให้การปฏิเสธ
พนักงานสอบสวนมีความเห็น
1.เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1,2,3,5 และที่ 6 ในความผิดตามมาตรา 243 และมาตรา 253 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ.2560 (มาตรา 27 และมาตรา 115 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469) และมาตรา 209 วรรคแรกประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2.เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 4 ในความผิดตามมาตรา 243 และมาตรา 253 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ.2560 (มาตรา 27 และมาตรา 115 จัตวาแห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
3.เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 7 ในความผิดตามมาตรา 243 และมาตรา 253 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2560 (มาตรา 27 และมาตรา 115 จัตวาแห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469) และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209,83
4.เห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 1,2,3,4,5,6 และที่ 7 ในความผิดตามมาตรา 202 และมาตรา 209 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 (มาตรา 165 และ มาตรา 167 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527) เนื่องจากขาดอายุความ
5.เห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209,83 เนื่องจากคดีขาดอายุความ
ความเห็นพนักงานอัยการ
พนักงานอัยการโดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษได้มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1, ที่ 2, ที่ 3, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 ฐานร่วมกันนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ ต้องเสียสําหรับของนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตา 243,253 พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27,115 จัตวาและประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 83
สั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ฐานเป็นอั้งยี่ และผู้ต้องหาที่ 7 ฐานเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตําแหน่งหน้าที่เป็นอั้งยี่ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209,83
สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 7 ฐานร่วมกันนําของที่ผ่านหรือ กําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสําหรับของนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243,253 พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27,115 จัตวา และสั่งยุติดําเนินคดีกับ ผู้ต้องหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 และ 7 ฐานร่วมกันแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จ ตอบคําถามด้วยถ้อยคําอันเป็นเท็จ นําพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือยื่นบัญชีหรือเอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 202,209 ประกอบพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 165,167 เนื่องจากคดีขาดอายุความ
รถยนต์ของกลางให้พนักงานสอบสวนจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 และขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามกฎหมาย
ความเห็นอัยการสูงสุด
@ แม้ กม.ศุลกากรฉบับใหม่ยกเลิกฉบับเก่า แต่ยังคงบัญญัติเป็นความผิด
พิจารณาแล้วเห็นว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้ มีพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า
“ผู้ใดนําหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยก็ดีหรือ ส่ง หรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดีหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนําของเช่นว่านี้เข้ามา หรือส่งออกไปก็ดีหรือย้ายถอนไป หรือช่วยเหลือให้ย้ายถอนไป ซึ่งของดังกล่าวนั้นจากเรือกําปั่น ท่าเทียบเรือ โรงเก็บสินค้า คลังสินค้า ที่มั่นคง หรือโรงเก็บของ โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดีหรือให้ที่อาศัยเก็บ หรือเก็บ หรือซ่อนของเช่นว่านี้หรือยอม หรือ จัดให้ผู้อื่นทําการเช่นว่านั้นก็ดี หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการขนหรือย้ายถอน หรือ กระทําอย่างใดแก่ของเช่นว่านั้นก็ดีหรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือ พยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงบท กฎหมายและข้อจํากัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนําของเข้า ส่งของออก ขนของ ขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสําหรับของนั้น ๆ ก็ดีหรือหลีกเลี่ยงข้อห้าม หรือข้อจํากัด อันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี สําหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวม ค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือ จําคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจํา”
แม้ต่อมาพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 จะบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 243 บัญญัติว่า
“ผู้ใดนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการ ศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสําหรับ ของนั้น ๆ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจําทั้งปรับและศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่”
จึงเป็นที่เห็นได้ว่า การนําของที่ผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นการนําหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร ในขณะเกิดเหตุที่เดิมเคยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 อยู่ จึงยังอยู่ในวิสัยที่จะดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดผู้กระทําผิดได้
@เจ้าของตัวจริง แต่ใช้วิธีเชิดบุคคลอื่นเครือญาติ ลูกชาย เป็นกก.
เมื่อคดีได้ความว่า บริษัท จูบิลีไลน์ จํากัด ผู้ต้องหาที่ 1, บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จํากัด ผู้ต้องหาที่ 3, บริษัท นิช คาร์ จํากัด ผู้ต้องหาที่ 5 ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกัน มีชื่อบุคคลที่เป็นกรรมการของบริษัทเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเท็จจริงที่ว่า ขณะจัดตั้งบริษัทผู้ต้องหาทั้งสอง ปรากฏว่าบริษัทผู้ต้องหาทั้งสองต่างมี สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เดียวกัน กลุ่มผู้ต้องหามีการกระทําที่อ้างว่าเป็นการดําเนินการค้า โดยวิธีการให้นิติบุคคลหนึ่งดําเนินพิธีการศุลกากรนํารถยนต์ลัมโบร์กีนีที่สั่งซื้อเข้ามาใน ราชอาณาจักร โดยใช้เอกสารบัญชีราคาสินค้าหรือใบอินวอยซ์จากบริษัทผู้ผลิต/ผู้ขายในการ ยื่นแบบเสียภาษี แต่สําแดงราคาเพื่อเสียภาษีในการนําเข้ารถยนต์ดังกล่าวต่ํากว่าราคา ที่ซื้อจริง และชําระค่าภาษีอากรในอัตราที่ต่ํากว่าความเป็นจริง จากนั้นทําการซื้อขายรถยนต์ ของกลางระหว่างกันเป็นทอดๆ เพื่อให้ราคารถยนต์สูงขึ้น โดยไม่ปรากฏหลักฐานอันเชื่อได้ว่ามีการ ซื้อขายหรือชําระราคากันจริงหรือไม่ พฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ 1, ที่ 3 และที่ 5 กรรมการของบริษัทในกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าว และผู้ต้องหาที่ 2, ที่ 4, ที่ 6 มีลักษณะเป็นการร่วมกัน กระทําความผิดตามข้อกล่าวหาในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทํา สําหรับผู้ต้องหาที่ 7 นั้น แม้คดีไม่ปรากฏหลักฐานทางการเงินแสดงว่านายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 เป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อหรือชําระเงินค่ารถยนต์ลัมโบร์กีนี่ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรดังกล่าว และขณะเกิดเหตุผู้ต้องหาที่ 7 ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทของกลุ่มผู้ต้องหาทั้ง 3 บริษัทก็ตาม แต่คดีมีพยานที่เคยเป็นพนักงานในบริษัทของผู้ต้องหาที่ 5 ต่างให้การสอดคล้องต้องกัน โดยยืนยันว่า การดําเนินกิจการของบริษัทผู้ต้องหาที่ 5 จะอยู่ภายใต้การบริหารของผู้ต้องหาที่ 7 หรือ นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ ภรรยาของผู้ต้องหาที่ 7 หรือนายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้ต้องหาที่ 7 โดยผู้ต้องหาที่ 7 เป็นผู้บริหารที่มี อํานาจตัดสินใจสูงสุดและมีอํานาจเด็ดขาดในการสั่งการ สอดคล้องกับแผนผังการของ องค์กรที่เจ้าพนักงานตรวจพบในบริษัทของผู้ต้องหาที่ 5 ที่แสดงรายชื่อและตําแหน่งของบุคคลในองค์กร มีชื่อผู้ต้องหาที่ 7 เป็นประธานบริหาร นางสุนี เจริญวิจิตรศิลป์ (ภรรยา ผู้ต้องหาที่ 7) เป็นรองประธานบริหาร และนายวิทวัส ผู้ต้องหาที่ 6 เป็นกรรมการผู้จัดการ อันแสดงให้เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ผู้ต้องหาที่ 7 มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัทผู้ต้องหาที่ 5 แต่ใช้วิธีการเชิดบุคคลอื่นที่เป็นเครือญาติเช่นบุตรชายและ พนักงานของบริษัทให้เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคล
@ จนท.กรมศุลฯยัน ‘เสรี’ เคยยอมรับยื่นสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาซื้อ
และมีนาย น. (ขอปิดบังชื่อ) นักวิชาการศุลกากรชํานาญงาน ให้การยืนยันว่าได้รับมอบหมายให้เดินทางไปร่วมประชุมที่ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องแนวทางการพิจารณาราคารถยนต์นั่งสําเร็จรูป กรณีผู้ต้องหาที่ 7 กับพวก ร้องขอความเป็นธรรม ผู้ต้องหาที่ 7 พูดยอมรับในที่ประชุมว่า ตนเองกับพวกได้ยื่นแบบสําแดงราคารถยนต์นั่งสําเร็จรูปที่นําเข้ามาจําหน่ายในประเทศต่อกรมศุลกากรต่ํากว่าราคาที่ซื้อจากผู้ผลิตในต่างประเทศจริง และอธิบายว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าจึงยื่นสําแดงราคาไว้ต่ํากว่าราคาซื้อขายที่แท้จริง นอกจากนี้คดียังมีพยานหลายรายที่เป็นผู้ซื้อรถจากกลุ่มบริษัทผู้ต้องหาต่างให้การสอดคล้องกันว่ารู้จักกับผู้ต้องหาที่ 7 มาเป็นเวลานานแล้ว พยานเคยซื้อรถยนต์ยี่ห้อลัมโบร์กีนี่กับบริษัท นิช คาร์ จํากัด ที่มี ผู้ต้องหาที่ 7 เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการตัดสินใจให้ราคาขายแก่ลูกค้า หลังจากซื้อแล้วพยานนํารถเข้ารับบริการที่ศูนย์เบนซ์ศรีนครินทร์ของผู้ต้องหาที่ 7 ดังนั้น ข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐาน จึงมีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ต้องหาที่ 7 มีส่วนร่วมกระทําความผิดกับ ผู้ต้องหาที่ 1 ถึงที่ 6 คดีมีพยานหลักฐานพอฟ้องผู้ต้องหาที่ 7 ตามข้อกล่าวหาได้
@ นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือ ชินบารมี/ภาพจาก https://th.postupnews.com/
@ ริบของกลาง=รักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ในส่วนรถยนต์ของกลางในคดีนี้ซึ่งอธิบดีอัยการ สํานักงานคดีพิเศษ มีคําสั่ง แจ้งให้พนักงานสอบสวนจัดการของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 นั้น
เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 บัญญัติให้ศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของศาล และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ไม่รู้ว่าทรัพย์ได้มาจากการกระทําผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ศาลอาจมีคําสั่งไม่รับของนั้นได้ ดังที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 168 บัญญัติว่า
“ในกรณี ของที่ริบได้เนื่องจากการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มิได้เป็นของผู้กระทําความผิด ให้ศาลมีอํานาจสั่งริบได้ ถ้าเจ้าของนั้นรู้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีหรือจะมีการ กระทําความผิด แต่มิได้กระทําการใดเพื่อมิให้เกิดการกระทําความผิดหรือแก้ไขมิให้การกระทํา นั้นบรรลุผล หรือมิได้ระมัดระวังมิให้ของนั้นไปเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด”
@รถยนต์ของกลาง เป็นทรัพย์ได้มาโดยมิชอบตั้งแต่ต้น
แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้เป็นบทบังคับให้ศาลต้องริบของทุกกรณี แต่หากได้ความว่าผู้ครอบครองหรือผู้ซื้อรถยนต์รู้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีหรือจะมีการกระทําผิด หรือเพิกเฉยต่อการกระทําผิดดังกล่าว หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังมิให้ของนั้นไปเกี่ยวข้องกับ การกระทําผิด ศาลก็มีอํานาจสั่งริบได้ ซึ่งการฉ้ออากรที่มีมูลค่าสูงมากในลักษณะดังกล่าวเป็นเหตุให้รัฐต้องได้รับความเสียหายจากการต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บอากร ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่มุ่งรักษาหลักการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ให้รัฐได้รับการชดใช้ความเสียหายจากอากรที่ขาดหายไป หากผู้กระทําความผิดไม่ยอมชําระอากร รัฐยังคงได้รับความเสียหายจากการฉ้ออากร ศาลย่อมสามารถใช้ดุลพินิจสั่งริบของกลางเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่รัฐได้ การขอริบของกลางจึงเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ แม้นายมงคลจะให้การว่าตนซื้อรถยนต์ของกลางมาโดยสุจริตและเปิดเผย แต่เมื่อรถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายแต่ต้น ผู้รับโอน ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การซื้อขายรถยนต์ที่มีราคาสูง มีแหล่งผลิตจากต่างประเทศ เช่นการซื้อรถยนต์ของกลาง นอกจากจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบและปัจจัยหลายประการว่าผู้ซื้อหรือผู้ครอบครองรถยนต์ได้ตรวจสอบราคารถยนต์ที่ซื้อขายเปรียบเทียบกับราคารถที่ซื้อขายรุ่นเดียวกันในตลาด ตรวจสอบการนําเข้าและการเสียภาษีรถยนต์ ได้กระทําอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่แล้ว ยังต้องปรากฏหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่ามีการซื้อขายและชําระราคาค่ารถกันจริงประกอบด้วย
@ ผู้ครอบครองคนสุดท้ายอ้างซื้อขายสุจริต แต่ไม่มีหลักฐานเบิกถอนเงิน
การที่นายมงคล องคมงคล ซึ่งมีชื่อทางทะเบียนรถยนต์เป็นคนสุดท้ายให้การยืนยันว่าตนซื้อรถดังกล่าวมาจากนายภักดี เกิดผลธนากุล โดยเปิดเผยและสุจริต มีหลักฐานสําเนาสัญญาซื้อขาย รายการจดทะเบียนโอนรถยนต์ และสําเนาใบแจ้งรายการและใบเสร็จรับเงิน บัญชีกระแสรายวันธนาคารทหาร ไทย จํากัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ บัญชีเลขที่ 248-1-0046/8-3 (STATEMENT AND RECEIPT) ซึ่งมีชื่อเกรียงไกร องคมงคล และนายมงคล องคมงคล พยานเป็นเจ้าของบัญชี
เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2559 มีรายการฝากเงินเข้าบัญชีด้วยเช็คต่างธนาคาร(CL) จํานวน 3,800,000 บาท ก่อนหน้าที่จะมีการทําสัญญาซื้อขายรถยนต์คันของกลาง 1 วัน (ตามสําเนาสัญญาซื้อ รถยนต์) แต่กลับไม่ปรากฏรายการถอนเงิน จํานวน 7,700,000 บาท ซึ่งเป็นยอดเงินคงค้างชําระที่นายมงคลอ้างว่าตนนําไปชําระให้แก่ผู้ขายด้วยเงินสดแต่อย่างใด
@มีเงินหมุนเวียน ไม่สมเหตุสมผล –เชื่อมีส่วนรู้เห็น การกระทำผิด
นอกจากนี้เมื่อพิจารณารายการฝากและถอนเงิน ทั้งก่อนหน้าและหลังจากมียอดเงินจํานวน 7,800,000 บาท เข้าออกบัญชีดังกล่าว เห็นได้ชัดเจนว่ายอดเงินเข้าและออกมีจํานวนเพียงหลักพันหรือหลักหมื่นบาทที่มากที่สุดก็เพียงสองแสนบาทเศษ สําเนาสัญญาซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าวันทําสัญญา (8 มีนาคม 2559) นายมงคลวางมัดจําค่าซื้อรถ จํานวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 7,700,000 บาท จะชําระให้แก่นายภักดี เกิดผลธนากุล ผู้ขาย เมื่อผู้ขายได้นําทะเบียนรถยนต์พร้อมหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวมามอบให้แก่ผู้ซื้อภายในวันที่ 8 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทําสัญญาซื้อรถยนต์และวางมัดจําค่าซื้อรถซึ่งเป็นพิรุธไม่สมเหตุผล ทําให้มีเหตุสงสัยและไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวจริง ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานจึงยังไม่เพียงพอให้ฟังว่านายมงคล ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของกระทําการโดยสุจริต แต่กลับมีเหตุผลให้น่าเชื่อได้ว่านายมงคลรู้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีหรือจะมี การกระทําความผิด แต่มิได้กระทําการใดเพื่อมิให้เกิดการกระทําความผิดหรือแก้ไขมิให้ การกระทํานั้นบรรลุผล หรือมิได้ระมัดระวังมิให้ของนั้นไปเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด จึงมีเหตุที่จะขอให้ศาลมีคําสั่งให้ริบรถยนต์ของกลาง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 168, 243 ประกอบกับบทกฎหมายดังกล่าว กําหนดให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจว่าจะริบของกลางหรือไม่ ตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่มุ่งรักษาหลักการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ให้รัฐได้รับการชดใช้ความเสียหายจากอากรที่ขาดหายไป ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่ จึงเห็นพ้องกับ รอสส. ขอให้ศาลใช้ดุลพินิจ สั่งริบรถยนต์ของกลางตามบทกฎหมายที่ รอสส. เสนอ
@เห็นควรฟ้องเพิ่มคดีอื่นด้วย
อนึ่ง นอกจากข้อเท็จจริงที่อธิบดีอัยการ สํานักงานคดีพิเศษ มีคําสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ถึงที่ 6 และมีคําสั่งให้ขอนับโทษของนางผ่องศรี สุทธิรัตนเสรีกุล ผู้ต้องหาที่ 2 ต่อจากจําเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.942/2564, คดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1101/2564, คดีอาญาหมายเลขดําที่ 3029/2564, คดีอาญาหมายเลขดําที่ 3238/2564, คดีอาญาหมายเลขดําที่ 845/2565 ของศาลอาญา นับโทษต่อจากโทษ ของจําเลยที่ 4 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.768/2565 ของศาลอาญา นับโทษต่อจาก โทษของจําเลยที่ 5 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ 373/2565 ศาลอาญา และให้นับโทษของนายวิทวัส ชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 6 ต่อจากโทษของจําเลยที่ 4 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ 373/2565 นับโทษต่อจากโทษของจําเลยที่ 5 คดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1101/2564 นับโทษต่อจากโทษจําเลยที่ 6 ในคดีหมายเลขดําที่ อ.3029/2564 และคดีหมายเลขดําที่ อ.768/2565 ของศาลอาญา นั้น ข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฏเพิ่มเติมภายหลังจากรับสํานวนนี้ไว้พิจารณาอีกว่า นางผ่องศรีฯ ผู้ต้องหาที่ 2 เป็นบุคคลเดียวกับผู้ต้องหาที่ 7, นายวิทวัสฯ ผู้ต้องหาที่ 6 เป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ต้องหาที่ 6 และนายเสรีฯ ผู้ต้องหาที่ 7 เป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ต้องหาที่ 10 ในสํานวนคดี ชย. 758/2565 (สํานวนคดีประเภท ส.1 เลขรับที่ 24/2562 สํานักงานคดีพิเศษ) ซึ่งมีอธิบดีอัยการ สํานักงานคดีพิเศษมีคําสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 6 และที่ 7 ในคดีดังกล่าว อัยการสูงสุดมีคําชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาที่ 10 ในคดีดังกล่าวด้วยแล้ว จึงเป็นเหตุให้ยังไม่ได้มีคําสั่งให้ขอนับโทษผู้ต้องหาทั้งสามต่อจากโทษของจําเลยและผู้ต้องหาในสํานวนคดีนี้ด้วย
@ จัดเต็ม ตาม รอง อสส.เสนอ
จึงมีคําสั่ง ดังนี้
- ชี้ขาดให้ฟ้อง นายเสรี รักษ์วิทย์ หรือชินบารมี ผู้ต้องหาที่ 7 ฐานร่วมกันนํา ของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากรโดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสําหรับของนั้น ๆ ตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 (พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27, 115 จัตวา กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําความผิด) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ตามที่รองอัยการสูงสุดเสนอในข้อ 1.
- ใช้อํานาจอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 15 เพิกถอนคําสั่งของอธิบดีอัยการ สํานักงานคดีพิเศษ ที่สั่งเกี่ยวกับของกลาง และมีคําสั่งใหม่เป็น "ขอให้ศาลมีคําสั่งริบรถยนต์ของกลาง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 168, มาตรา 243” ตามที่รองอัยการสูงสุด เสนอในข้อ 2.
- ให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบประวัติการต้องคดีของผู้ต้องหาทุกคนว่าผู้ต้องหาแต่ละคนอยู่ในข่ายต้องขอเพิ่มโทษ ขอนับโทษต่อ หรือไม่ กี่คดี แล้วดําเนินการขอเพิ่มโทษ หรือขอนับโทษต่อกันให้ครบถ้วนทุกคดี รวมทั้งปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส.0007(พก)/ว 48 ลงวันที่ 30 ม.ค.2563 เรื่องซักซ้อมความเข้าใจและกำชับการปฏิบัติในการดำเนินคดีที่อัยการสูงสุดได้ชี้ขาดหรือมีคำสั่งก่อนยืนฟ้อง ตามที่รองอัยการสูงสุด เสนอในข้อ 3.
-ให้พนักงานอัยการมีคำขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนหรือรางวัลนำจับตามกฎหมายไว้แล้ว
อย่างไรก็ตามคดีนี้ศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าผู้ต้องหาทั้ง 7 รายกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
เรื่องเกี่ยวข้อง:
- เจาะคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ : 5 บริษัทเครือข่ายเดียวกัน ‘นายชาย’ ผู้สั่งการตัวจริง
- เจาะคดีรถหรู บ.จูบิลี่ไลน์ : ขายลัมโบร์กินีให้ลูกชายเยาวเรศ - ต้องเสียภาษีเพิ่ม 21 ล.
- 1 ปี! คดีรถหรู1,020 คัน DSI สอบผู้เกี่ยวข้อง-เส้นเงินนับพันราย แจ้งข้อกล่าวหา133 คน
- อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง ‘เสรี ชินบารมี’ คดีรถหรูริบของกลาง-ลัมโบร์ฯ ขายให้หลาน ‘ทักษิณ’
- บ.แอตแลนต้า! ดีเอสไออายัดพันคดีรถหรู กก.คนล่าสุดอยู่ จ.กำแพงเพชร ถูกขีดชื่อร้างแล้ว
- โชว์หนังสือ4 หน่วยงาน‘สอบ-อายัด’ บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส คดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่‘บอย ยูนิตี้’! บ.เจ เอ็ม ดับบลิว มอเตอร์ส‘เสี่ยมานะ’ ดีเอสไอสอบคดีรถหรู
- เปิดข้อมูล บ.‘ส.ธรรมธัชช’ โชว์รูมคดีรถหรูจากอังกฤษ ที่แท้ของใคร?
- ดีเอสไอยึดรถหรู26 คันถูกโจรกรรมข้ามชาติจากอังกฤษ หนึ่งในนั้นมีของเมียอดีตบิ๊ก ตร.ด้วย
- 'สมศักดิ์'ไม่รู้!รถหรู4 คันถูกDSIยึดมีชื่อเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมือง รอแถลงทางการ
- ดีเอสไอบุกค้นอายัดรถหรู4 คัน-เมียอดีตบิ๊กตำรวจ-ลูกชายนักการเมืองใหญ่ด้วย
- ยืนยัน!DSI สั่งอายัดรถหรู4 คันจริง แต่ยังไม่รู้ของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่
- เผยโฉม!รถหรู4 คัน ดีเอสไอสั่งอายัด รวมของเมียอดีตบิ๊ก ตร.-ลูกนักการเมืองใหญ่ด้วย
- หนังสือ ป.ป.ท.ถึงอธิบดีดีเอสไอ สอบ2 จนท.พันคดีรถหรู ถูกกล่าวหารวยผิดปกติ
- ป.ป.ช.เรียกสอบคดี ผอ.ดีเอสไอสั่งคืนของกลาง‘รถหรู’ 4 คันจากอังกฤษ สุจริตหรือไม่
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’คันที่20 ! บ.เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า-นักธุรกิจครอบครอง
- ขาดอายุความบางข้อหาแล้ว! คดีนำเข้ารถหรู หลังนำตัวผู้ต้องหาส่งฟ้องไม่ทัน
- ลัมโบร์กินี สีส้ม คันที่19 ! ของกลางคดีรถหรู ผอ.ดีเอสไอสั่งถอนอายัด ปมร้อง ป.ป.ช.สอบ
- ไส้ในคดีถอนอายัด-คืนของกลางรถหรู18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’18 คันยี่ห้อ‘ลัมโบร์กินี’
- ถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีรถหรู บ.นักธุรกิจดัง ชนวนร้องสอบคนดีเอสไอ
- หวังรัฐได้เงินค่าปรับหมื่นล้าน!DSI หารืออัยการเร่งสางคดีนำเข้ารถหรูเลี่ยงภาษี854 คัน
- INFO : ขมวดเส้นทางคดีรถหรู! ปมโจรกรรมรถจากอังกฤษสู่ไทย39 คัน
- ตามไปดู บ.มาสเตอร์ ออโต้ฯ โชว์รูมรถหรูDSI อายัด7 คัน - พนง.เผยคดีอยู่ในชั้นอัยการ
- บ.มาสเตอร์ ออโต้ พาร์ทฯ โชว์รูมคดีรถหรู ดีเอสไออายัด7 คัน เป็นใคร?
- เปิดลิสต์รถหรู39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ ครบทุกยี่ห้อ ที่มาคดีอื้อฉาว39 คัน ถูกขโมยจากอังกฤษ
- เปิดรายละเอียดรถยนต์4 คันถูกขโมยจากอังกฤษ ปม ผอ.ดีเอสไอถอนอายัด
- รายที่15 บ.ที เค ที ออโต้ฯ พันคดีนำเข้ารถหรู คน จ.อำนาจเจริญ กก.-หุ้นใหญ่
- ไขปมรถหรู13 คันถูกขโมยจากอังกฤษในปฏิบัติการไทเทเนียม ถูกถอนอายัด4 คันปริศนา
- ร้องป.ป.ช.สอบผอ.DSI สั่งคืนรถหรูของกลางขโมยจากอังกฤษ-ลัมโบร์ฯโจ้ด้วย-เจ้าตัวยันทำตาม กม.
- บ.ออสติน ออโต้ คาร์ส คดีนำเข้ารถหรู สถานะล่าสุดศาลสั่งล้มละลาย
- คดีนำเข้ารถหรู : บ.เดอะ แกลเลอรี่ ออโต้ฯ ล่าสุดคนสัญชาติจีนถือหุ้นใหญ่
- พันคดีนำเข้ารถหรู! บ.ทีวีอาร์ กรุ๊ป ดีเอสไออายัดจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี6 ครั้ง
- อีกราย! เปิดข้อมูล บ.วี เท็นฯ พันคดีนำเข้ารถหรู
- เปิดรายที่10 บ.โมดีน่า มอเตอร์ คดีนำเข้ารถหรู จดเลิกกิจการแล้ว
- พลิกข้อมูล บ.เฟอร์มาฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ พันคดีนำเข้ารถหรู ใคร กก.-ถือหุ้นใหญ่?
- เปิดชื่ออีก2 รายพันคดีนำเข้ารถหรู‘บ.เฟอร์ม่าฯ-เอ็มไพร์ มอเตอร์ สปอร์ต’
- โชว์หนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ สีส้ม กก.สาว บ.มันสำปะหลัง เบนซ์นครินทร์ฯนำเข้า
- กก.- ผู้ถือหุ้น ชุดเดียวกัน ! เปิดเอกสาร2 บริษัทคดีนำเข้ารถหรู
- ไม่ใช่แค่ เบนซ์นครินทร์ฯ! พบอีก3 บริษัทพันคดีนำเข้ารถหรู รวม7 ราย
- เปิดหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘โดม ปกรณ์ ลัม’- บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- เผยโฉมหนังสือถอนอายัด ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ตามส่องบ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’ สภาพปัจจุบันเหลือแค่ตึกเก่า
- เปิดเอกสาร บ.ศรณรงค์ฯ คดีสำแดงราคานำเข้า‘เฟอร์รารี่’เท็จ เป็นใคร?
- คำพิพากษาคดีสำแดงนำเข้า‘เฟอร์รารี่’ เท็จ บ.ศรณรงค์ฯกับพวก ปรับ6 ล. ริบรถ
- พลิกธุรกิจ13 บ.เสี่ยรง.แป้งมัน ผู้ครอบครอง ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’
- ผจก.ส่วนตัว'โดม' แจงลัมโบร์กินี สั่งประกอบนอก ไม่เกี่ยว บ.เบนซ์นครินทร์ - ผกก.โจ้
- ไม่ใช่แค่ ลัมโบร์กินี ผกก.โจ้! กก.สาว รง.แป้งมัน ถือครองรถหรู1 คัน
- รถหรู20 คัน ดีเอสไอถอนอายัด'นักธุรกิจ -นาย ตร. -ดาราดัง' ครอบครอง
- ลัมโบร์กินี‘ผู้กำกับโจ้’ คนถือครองล่าสุด นักธุรกิจ รง.แป้งมันสำปะหลัง
- ลัมโบกินี สีส้ม! คันที่3 ดีเอสไอ ถอนอายัด - บ.เบนซ์นครินทร์ฯ นำเข้า
- ตามไปดู3 เอกชน ผู้นำเข้า‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ - เหลือแค่ป้ายชื่อบริษัท?
- ‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้! ที่แท้ บ.เบนซ์นครินทร์ฯ - พวก นำเข้า
- อัยการไม่สั่งริบ! ดีเอสไอแจงปม คืน‘ลัมโบร์กินี’ ของกลางคดีรถหรู ก่อน‘ผกก.โจ้’ เจ้าของ
- เปิดหนังสือถอนอายัด‘ลัมโบร์กินี’ คดีนำเข้ารถหรู ลอตเดียว‘ผู้กำกับโจ้’
- เบื้องหลัง‘ลัมโบร์กินี’ ผู้กำกับโจ้ ดีเอสไอถอนอายัด หลังอัยการฝ่ายฯ มีความเห็นทางคดี
- ส่ง อสส.แล้ว! ดีเอสไอแถลงคดีรถลัมโบกินี‘ผกก.โจ้’เลี่ยงภาษี-รัฐเสียหาย31 ล.