“…ในขณะที่เม็ดเงินที่รัฐบาล ‘กู้’ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปช่วยเหลือเป็นค่าต้นทุนและค่าเก็บเกี่ยวข้าวให้กับชาวนา ก่อนที่จะรัฐบาลตั้งบประมาณมาชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. ในปีต่อๆปีนั้น พบว่าในช่วง 7 ปีการผลิต รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เงินในการช่วยเหลือสูงถึง 371,007 ล้านบาท…”
.............................
เริ่ม ‘คิกออฟ’ โอนเงินตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป
สำหรับ ‘โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว’ ปีการผลิต 2564/65 โดยจ่ายเงินสนับสนุนและช่วยเหลือต้นทุนการปลูกข้าวให้กับ ‘ชาวนา’ ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 รอบที่ 1 อัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน วงเงิน 53,871 ล้านบาท
มีเกษตรกร ‘กลุ่มเป้าหมาย’ ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือฯในปีการผลิตนี้ รวมทั้งสิ้น 4.69 ล้านครัวเรือน (อ่านประกอบ : ‘บอร์ด ธ.ก.ส.’เคาะโอนเงินประกันรายได้‘ข้าว-ยาง’-ช่วยเหลือต้นทุนชาวนา เริ่ม 9 ธ.ค.นี้ , เหลือแค่หมื่นล.! 'ธ.ก.ส.'โอนเงิน'ประกันรายได้ชาวนา' งวด 3-7 รวดเดียว 6.4 หมื่นล้าน)
อย่างไรก็ดี ในขณะที่การช่วยเหลือ ‘ต้นทุน’ การปลูกข้าวให้กับชาวนา ผ่านโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตฯ ถูกมองว่าเป็นโครงการที่ ‘ซ้ำซ้อน’ กับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งตั้งราคาประกันรายได้ฯ โดยนำเอา ‘ต้นทุน’ ปลูกข้าว บวกด้วย ‘กำไร’ ให้ชาวนาอีก 15% แล้ว แต่ก็เป็นโครงการที่รัฐบาลไม่อาจ 'ยกเลิก' ได้
“ทำไมต้องช่วยเหลือซ้ำซ้อนล่ะ ในเมื่อราคาประกันฯในโครงการประกันรายได้ชาวนา เป็นราคาที่คำนวณจากต้นทุนบวกกำไรให้ 15% แล้ว แต่ทำไมยังต้องมีการช่วยเหลือต้นทุนอีก”
นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้ความเห็นกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เกี่ยวกับการใช้งบประมาณในโครงการประกันรายได้ชาวนาของรัฐบาล เมื่อเร็วๆนี้ (อ่านประกอบ : จาก'จำนำ'ถึง'ประกันรายได้' รัฐติดหนี้ 5 แสนล.-กู้อีก 1.4 แสนล. ระเบิดเวลาวิกฤติการคลัง?)
@ย้อนคำแถลงนโยบาย ‘บิ๊กตู่’ ช่วยต้นทุนชาวนาต้องไม่เป็นภาระมากไป
หากจะว่าไปแล้ว ‘โครงการประกันรายได้ชาวนา’ เป็นนโยบายหาเสียงที่ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ ใช้เป็นแคมเปญเรียกคะแนนเสียงจากชาวนาในคราวเลือกตั้งเมื่อปี 2562 แข่งขันกับนโยบาย ‘ยกระดับราคาสินค้าเกษตร’ ของ ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า ‘โครงการรับจำนำข้าวเปลือก’ ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ มีนโยบายหาเสียงกับชาวนา โดยเสนอว่าหากได้พรรคได้เป็นรัฐบาล จะสนับสนุน ‘ค่าเก็บเกี่ยวข้าว’ ให้กับชาวนา ไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน พร้อมทั้งสนับสนุน ‘ค่าปลูกข้าว’ ให้ชาวนา ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ซึ่งจะใช้งบประมาณปีละ 7 หมื่นล้านบาท
ทว่าภายหลังผลการเลือกตั้งออกมา แม้พรรคพลังประชารัฐ จะได้จำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับ 2 รองจากพรรคเพื่อไทยที่ได้ ส.ส. อันดับ 1 แต่พรรคพลังประชารัฐ สามารถรวบรวมเสียง ส.ส. จากพรรคการเมืองต่างๆ กระทั่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ ท่ามกลางเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว. 250 คน
ทั้งนี้ หนึ่งในเงื่อนไขที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมี ส.ส.มากเป็นอันดับ 4 ยื่นต่อพรรคพลังประชารัฐในการเข้าร่วมรัฐบาลคราวนั้น คือ รัฐบาลต้องบรรจุ ‘โครงการประกันรายได้เกษตรกร’ ในพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือก ,ยางพารา ,ปาล์มน้ำมัน ,มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไว้ในนโยบายของรัฐบาล
ด้วยเหตุนี้ ทั้ง ‘โครงการประกันรายได้ชาวนา’ และ ‘โครงการสนับสนุนต้นทุนปลูกข้าว’ จึงเป็นโครงการ ‘คู่ขนาน’ ที่ออกมาพร้อมๆกันทุกปี นอกเหนือจากมาตรการพยุงราคาข้าวเปลือกอื่นๆ เช่น สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ,สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวเปลือก และการชดเชยดอกเบี้ยให้โรงสีซื้อข้าวเปลือกเก็บไว้ในสต็อก
“...พัฒนาภาคเกษตร
5.3.1 รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและรายได้ให้กับเกษตรกรในสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด โดยผ่านเครื่องมือและมาตรการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นภาระกับงบประมาณแผ่นดินเกินสมควร…
5.3.2 ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังของภาครัฐ โดยจัดให้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการเกษตรครบวงจร...” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2562
(พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กดปุ่มโอนเงินชดเชยส่วนต่างประกันรายได้ชาวนา ที่ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2564 ที่มาภาพ : กระทรวงเกษตรฯ)
@7 ปีการผลิต รัฐบาลอนุมัติงบช่วยเหลือต้นทุน 3.7 แสนล้าน
สำนักข่าวอิศรา พบว่า ในช่วง 3 ปี ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่มาจากการ ‘เลือกตั้ง’ รัฐบาลจัดสรรงบสนับสนุนต้นทุนค่าปลูกข้าวให้ชาวนา (โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) รวมทั้งสิ้น 165,620 ล้านบาท
มีชาวนาได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 4.5-4.6 ล้านครัวเรือน ประกอบด้วย
ปีการผลิต 2562/2563 ครม.อนุมัติโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตฯ ไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ใช้งบ 28,054.83 ล้านบาท และโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวฯ ไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ใช้งบ 26,458.89 ล้านบาท รวมใช้งบ 54,553.72 ล้านบาท มีชาวนาได้ประโยชน์จากโครงการ 4.57 ล้านครัวเรือน
ปีการผลิต 2563/2564 ครม.อนุมัติโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยสนับสนุนต้นทุนปลูกข้าวฯ ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ใช้งบ 56,093.63 ล้านบาท มีชาวนาได้ประโยชน์จากโครงการ 4.56 ล้านครัวเรือน
ปีการผลิต 2564/2565 ครม.อนุมัติโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยสนับสนุนต้นทุนปลูกข้าวฯ ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ใช้งบ 54,972.72 ล้านบาท มีชาวนาได้ประโยชน์จากโครงการ 4.69 ล้านครัวเรือน
“ด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากปัจจัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์ ภัยแล้ง โรคระบาด และสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งลงทุนปลูกข้าวในปีการผลิต 2564/65 ได้รับความเสียหาย ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยเหลือเกษตรกรให้ดำรงชีพอยู่ได้ รัฐบาลจึงได้มีโครงการลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้
2.2 เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2.3 เพื่อให้เกษตรกรมีกำลังใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว...” เอกสารประกอบการพิจารณาโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ลงนามโดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ เสนอเข้าครม.เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2564 ระบุ
(จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)
นอกจากนี้ ในช่วงการบริหารประเทศโดยรัฐบาล คสช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ นั้น ครม.มีมติอนุมัติจัดสรร ‘เงินช่วยเหลือต้นทุนปลูกข้าวและสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวข้าว' ให้ชาวนา จำนวน 4 ปีการผลิต วงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 205,381.59 ประกอบด้วย
ปีการผลิต 2557/58 ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก โดยในส่วนมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยนั้น ครม.ให้เงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนาที่มีฐานะยากจน 3.63 ล้านครัวเรือน ปีการผลิต 2557/58 ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน หรือครัวเรือนละไม่เกิน 15,000 บาท ใช้งบ 39,506 ล้านบาท
ปีการผลิต 2559/60 ครม.อนุมัติโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 โดยจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 3.7 ล้านราย ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรในช่วง 2-3 ปี รายละไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 1,000 บาท ใช้งบ 37,860.25 ล้านบาท
และอนุมัติมาตรการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือ ตันละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ให้แก่ผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ และสนับสนุนเงินช่วยเหลือ ตันละ 2,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ ให้แก่ผู้ปลูกข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 1 ใช้งบ 32,541.58 ล้านบาท
ปีการผลิต 2560/61 ครม. อนุมัติโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61 โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,200 บาท ไม่เกิน 10 ไร่/ครัวเรือน ใช้งบ 37,898.11 ล้านบาท
ปีการผลิต 2561/62 ครม. อนุมัติโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2561/62 โดยจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา รายละไม่เกิน 12 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาท หรือครัวเรือนละไม่เกิน 18,000 บาท ใช้งบ 57,575.59 ล้านบาท
เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอด 8 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มีนโยบายช่วยเหลือชาวนาผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการประกันรายได้ และการช่วยเหลือต้นทุนต่างๆนั้น
ผลปรากฏว่าจำนวนครัวเรือนชาวนาเพิ่มจาก 3.63 ล้านครัวเรือน ในปีการผลิต 2557/58 เป็น 4.69 ล้านครัวเรือน ในปีการผลิต 2564/2565 หรือเพิ่มขึ้น 1.05 ล้านครัวเรือน
ในขณะที่เม็ดเงินที่รัฐบาล ‘กู้’ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปช่วยเหลือเป็นค่าต้นทุนและค่าเก็บเกี่ยวข้าวให้กับชาวนา ก่อนที่จะรัฐบาลตั้งบประมาณมาชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. ในปีต่อๆปีนั้น
พบว่าในช่วง 7 ปีการผลิต รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้เงินในการช่วยเหลือต้นทุนการปลูกข้าวให้ชาวนาสูงถึง 371,007 ล้านบาท เลยทีเดียว
จึงต้องติดตามกันต่อไปว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะมีการทบทวนนโยบายช่วยเหลือต้นทุนปลูกข้าวให้กับชาวนาหรือไม่ โดยเฉพาะการใช้วิธี ‘แจกเงิน’ ช่วยเหลือชาวนา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวของประเทศไทยในระยะยาว
ขอบคุณภาพ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ่านประกอบ :
เหลือแค่หมื่นล.! 'ธ.ก.ส.'โอนเงิน'ประกันรายได้ชาวนา' งวด 3-7 รวดเดียว 6.4 หมื่นล้าน
‘บอร์ด ธ.ก.ส.’เคาะโอนเงินประกันรายได้‘ข้าว-ยาง’-ช่วยเหลือต้นทุนชาวนา เริ่ม 9 ธ.ค.นี้
‘อินเดีย’ ทิ้งห่าง 'ไทย-เวียดนาม' เผย 10 เดือน ส่งออกข้าวทะลัก 17 ล้านตัน พุ่ง 51%
จาก'จำนำ'ถึง'ประกันรายได้' รัฐติดหนี้ 5 แสนล.-กู้อีก 1.4 แสนล. ระเบิดเวลาวิกฤติการคลัง?
ครม.อนุมัติงบ 1.41 แสนล้าน จ่ายชดเชย‘ส่วนต่าง’ประกันรายได้‘ข้าว-ยาง’-ช่วยต้นทุนชาวนา
ขยายเพดานหนี้คงค้างเป็น 35% เปิดทาง 'ครม.' กู้ 1.55 แสนล้าน ชดเชยประกันฯ ‘ข้าว-ยาง’
'บิ๊กตู่'เผยคิดวิธีหาเงินจ่ายชดเชย‘ประกันราคาข้าว’ได้แล้ว-'คลัง'เร่งเคลียร์หนี้คงค้าง
เปิดมติครม.! สั่ง ‘คลัง-พณ.-สำนักงบฯ’ หาเงินโป๊ะ ‘ประกันราคาข้าว’ อีก 7.6 หมื่นล.
ธ.ก.ส.โอนเงินชดเชย ‘ประกันราคาข้าว’ ถึงมือชาวนาแล้ว 5.3 แสนครัวเรือน 1.12 หมื่นล้าน
'นายกฯ'สั่งแก้ปัญหาข้าวเปลือกตกต่ำ-‘ธ.ก.ส.’โอนเงินชดเชย'ประกันราคา'งวดแรก 9 พ.ย.นี้
‘พาณิชย์’เผย ‘ธ.ก.ส.’ทยอยโอนเงินชดเชย ‘ส่วนต่าง’ ประกันราคาข้าว‘งวดแรก’สัปดาห์หน้า
ภาระหนี้ชนเพดาน! เบื้องหลังโยก'ประกันราคาข้าว'ใช้งบ 65-รัฐหมุนเงินอุ้มอีก 1.2 แสนล.
ครม.เคาะประกันรายได้-มาตรการคู่ขนาน ‘ข้าว-มันฯ-ข้าวโพด’ อัดฉีดงบ-สินเชื่อ 1.38 แสนล.
เท 1.87 แสนล้านอุ้มชาวนา! ‘นบข.’ เคาะประกันรายได้-ช่วยต้นทุน-มาตรการพยุงข้าวเปลือก
จับสัญญาณข้าวไทย! ส่งออกฟื้น-ราคาในประเทศร่วง เทงบประกันรายได้พุ่ง 1.4 แสนล.
เทียบนโยบาย! ย่างเข้าปีที่ 3 ประกันรายได้ชาวนา งบบาน-อุดหนุนน้อยกว่า ‘จำนำข้าว’
ข้าวเปลือกดิ่งรัฐจ่ายเพิ่ม! นบข.เคาะขยายวงเงินประกันรายได้ชาวนาเป็น 4.68 หมื่นล้าน
ยุคข้าวไทย‘โรยรา’! ส่องงบประกันรายได้ 'รบ.บิ๊กตู่' 2 ปี 2.2 แสนล.-‘นักการเมือง..ชาวนาชอบ’
ข้าวไทยแพง! 2 สมาคมฯคาดปีนี้ส่งออก 6 ล้านตัน-ชาวนาปลื้ม 'ประกันรายได้' แต่ห่วงถูกกดราคา
เท 6.1 หมื่นล้าน! ครม.เคาะประกันรายได้ ‘ชาวนา-สวนยาง’-ช่วยค่าจัดการข้าวครัวละ 1 หมื่นบาท
อุ้ม ‘มันฯ-ข้าวโพด-ยาง’! ครม.เคาะประกันรายได้-มาตรการคู่ขนาน 1.44 หมื่นล้าน
รัฐค้างเงิน ธ.ก.ส.เพียบ! หนี้จำนำข้าวเหลือ 3.37 แสนล้าน-พบ 1 ปี ‘บิ๊กตู่’ เพิ่มอีก 9.3 หมื่นล.