"...สวทช. ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาพิจารณากำหนดราคาในการตรวจสอบเครื่องละ 1 หมื่นบาท? กระบวนการตรวจสอบเป็นอย่างไร? แค่แงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว จริงหรือไม่? การตรวจสอบสามารถสุ่มตรวจเครื่องบางส่วนก็ได้ หรือต้องดำเนินการทั้งหมด? ในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือน สวทช. มีกำลังคนเพียงพอในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่? ที่สำคัญ กองทัพบก ตรวจสอบราคาว่าจ้างที่เสนอมาว่า เหมาะสม สมเหตุสมผลแล้วใช่หรือไม่?..."
กรณี กองทัพบก ทำสัญญาจ้าง มูลค่ารวม 7,570,000 บาท ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 2 ครั้ง รวม 757 เครื่อง ตกเครื่องละ 10,000 บาท แยกเป็นครั้งแรกเดือนกันยายน 2564 จำนวน 320 เครื่อง วงเงิน 3,200,000 บาท ครั้งสอง จำนวน 437 เครื่อง วงเงิน 4,370,000 บาท ประกาศผลเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2565
อันนำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกองทัพบกในเชิงลบอย่างมาก ดังเช่นคำถามของ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ที่ระบุว่า "การเอาเงินภาษี 7,570,000 บาท ไปจ้างตรวจสอบกล่องพลาสติกเปล่าสีดำ ในราคาชิ้นละ 1 หมื่นบาท ทั้งหมด 757 ชิ้นเพื่ออะไร เพราะทั้งโลกรู้กันว่าข้างในไม่มีอะไร กระทรวงกลาโหมใช้งบได้ไร้สติสตางค์ขนาดนี้เลยหรือ ค่าแงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว 1 หมื่นบาท"
ตามที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลเชิงลึกมาเสนออย่างต่อเนื่องไปแล้วนั้น
- เปิดหลักฐาน! กองทัพบกจ้างสวทช.ตรวจGT200 ทำตั้งแต่ช่วง ก.ย.64 รวมยอด 757เครื่อง7.57 ล.
- ใช้ประกอบการฟ้องเอกชนในศาลปกครอง! เปิดประกาศเชิญชวน-รายละเอียดกองทัพจ้างตรวจสอบ GT200
เบื้องต้นมีคำอธิบายจาก พลเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ต่อสาธารณชนไปแล้วว่า เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ในการเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้น กองทัพบก แจ้งว่า ในคดีอาญา กองทัพบกได้ฟ้องบริษัทผู้ขาย GT200 กับพวกรวม 5 คนต่อ ศาลแขวงไปแล้ว ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ได้ตัดสินแล้วว่า มีความผิด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นฎีกา
ส่วนเรื่องคดีทางปกครอง กองทัพบกได้ฟ้องบริษัทผู้ขายด้วย โดยศาลปกครองกลาง ได้ให้ผู้ถูกฟ้อง ต้องชำระหนี้กับกองทัพบกกว่า 683 ล้านบาท ต่อมาบริษัทได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ทางสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นว่า สาระสำคัญของคดีเป็นเรื่องของการตรวจเครื่อง GT200 ว่าไม่สามารถใช้งานได้ทุกเครื่องทั้ง 757 เครื่อง
"เป็นการดำเนินการตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ชี้ว่ากองทัพบก ควรจะตรวจสอบทุกเครื่องว่า เครื่องสามารถใช้งานได้หรือไม่ โดยได้ตั้งงบประมาณตามที่ สวทช. เสนอมาทั้งหมด ทำตามขั้นตอนเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย" พลเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ระบุ
หากพิจารณาคำชี้แจงของ พลเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 2 ส่วนหลัก คือ
1. การว่าจ้าง สวทช. ให้ดำเนินการเรื่องนี้ เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการต่อสู้คดีความกับเอกชน ที่ต้องชำระหนี้กับกองทัพบกกว่า 683 ล้านบาท
2. ราคาว่าจ้างงานเป็นไปตามที่ สวทช.เสนอมาทั้งหมด
ทั้งนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อต่อสู้คดีความตามที่โฆษกกระทรวงกลาโหมชี้แจงดังกล่าว โดยเฉพาะการปฏิบัติตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด นั้น อาจเป็นเหตุผลที่พอจะรับฟังได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าจะมีข้อสังเกตสำคัญอยู่ตรงที่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ตัดสินไปแล้วว่า เอกชนมีความผิด น่าจะสามารถนำคำพิพากษาส่วนนี้ไปใช้ต่อสู้คดีต่อได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลในส่วนของศาลอังกฤษพิพากษายึดทรัพย์ผู้ผลิตเครื่องตรวจจับระเบิดปลอมรุ่นจีที 200 ไปแล้วด้วย
ขณะที่ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา เคยตรวจสอบพบข้อมูลในคำพิพากษาคดีฉ้อโกง ในการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 ระหว่าง บริษัทแจ๊คสัน อีเลคโทรนิคส์ จํากัด จำเลยที่ 1 นายหยาง เซียะ เชียง หรือหย่ง เจี้ย เฉียว จำเลยที่ 2 และ น.ส.จิราพร เชาวน์เฉียบ จำเลยที่ 3 กับ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในฐานะผู้เสียหาย จำนวน 15 เครื่อง ราคาเครื่องละ 424,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,372,000 บาท ระบุว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 สํานักงานรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมีหนังสือแจ้งคณะมติรัฐมนตรีซึ่งระบุให้ทุกหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทํารายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 และเครื่องมืออื่นที่มีลักษณะเดียวกัน (เช่น เครื่องอัลฟ่า 6 เป็นต้น) เช่น เหตุผลในการจัดซื้อ จํานวนเครื่อง งบประมาณที่ใช้ กระบวนการจัดซื้อ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป เนื่องจากเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทํารายงานผลการทดสอบการตรวจวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่องจีที 200 และเครื่องอัลฟ่า 6 สรุปผลการทดสอบได้ว่า ไม่พบมีการแผ่สนามไฟฟ้า (Electric Field) จากเครื่องจีที 200 และอัลฟา 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบประจุไฟฟ้าสถิตย์สะสมบนพื้นผิวของเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบการแผ่คลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic Emission) จากตัวเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบการเคลื่อนที่ของเข็มชี้ทิศทางของเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6 ที่ทํางานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน และไม่พบการเคลื่อนที่บอกทิศทางของเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6
ชี้ให้เห็นว่า สวทช. ก็เคยมีการตรวจสอบข้อมูลเรื่องนี้เป็นทางการไปแล้ว
(ฉบับเต็ม! คำพิพากษา บ.แจ๊คสันฯ คดีฉ้อโกงขายอัลฟ่า ป.ป.ส. 6.3 ล.- 'เอวิเอ' ร่วมแข่งด้วย)
ส่วนกรณีที่ระบุว่า ราคาว่าจ้างงานเป็นไปตามที่ สวทช.เสนอมาทั้งหมด ก็ดูเหมือนจะยังมีคำถามสำคัญหลายประการที่คำชี้แจงยังไม่เคลียร์ ดังนี้
1. สวทช. ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาพิจารณากำหนดราคาในการตรวจสอบเครื่องละ 1 หมื่นบาท? กระบวนการตรวจสอบเป็นอย่างไร? แค่แงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว จริงหรือไม่? การตรวจสอบสามารถสุ่มตรวจเครื่องบางส่วนก็ได้ หรือต้องดำเนินการทั้งหมด? ในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือน สวทช. มีกำลังคนเพียงพอในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่?
ที่สำคัญ กองทัพบก ตรวจสอบราคาว่าจ้างที่เสนอมาว่า เหมาะสม สมเหตุสมผลแล้วใช่หรือไม่?
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า กองทัพบก อ้างอิงแหล่งสืบราคาจากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สวทช. เพียงแหล่งเดียว ถ้าจะมีคำอธิบายต่อสาธารณในคำถามเหล่านี้ได้ทั้งหมด ก็คงจะต้องเป็นหน่วยงานนี้เท่านั้น
2. ก่อนหน้าที่กองทัพบก จะดำเนินการว่าจ้าง สวทช. ให้เข้ามารับงานนี้ ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ได้มีการประสานขอความร่วมมือแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่?
เพราะข้อมูลของ สวทช. ที่ประกาศไว้ในเว็บไซต์ สวทช. ระบุชัดเจนว่า เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน
ขณะที่ในประกาศ สวทช. เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่ วิธีการดําเนินงาน (7) ก็ระบุไว้ว่า กระทําการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและตามที่คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบหมาย
เมื่อเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของกองทัพบกซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ และในฐานะที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐด้วยกัน ก็น่าจะประสานงานให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
หรือเรื่องนี้จะมีกระบวนการอะไรที่ซับซ้อนมากกว่าสิ่งที่เห็น ถึงต้องใช้วิธีการว่าจ้างแบบเจาะจงเท่านั้น ?
ด้วยคำถามทั้งหลายทั้งปวงตามที่ระบุไป ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควรจะต้องรีบออกมาอธิบายต่อสาธารณชนให้เกิดความกระจ่างชัดเจนโดยเร็วที่สุด อย่างละเอียดและชัดเจน
เพราะกรณีนี้ ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินอันมีที่มาจากเงินภาษีประชาชน
เงินทุกบาททุกสตางค์จะต้องถูกใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ถูกต้อง โปร่งใสมากที่สุด
อ่านประกอบ :
@ คดีฉ้อโกงขายอัลฟ่า บ.เอ เอส แอลเอ็มฯ
ผ่าเครื่องเจอแค่กระดาษสีดํา4แผ่น! เปิดคำพิพากษาคดีฉ้อโกงขายอัลฟ่าสถาบันนิติฯ 8.9 แสน
เปิดตัว 'บ.เอ เอส แอลเอ็มฯ' ผู้ขายต่อเครื่องอัลฟ่า ให้ 2 เอกชนคดีฉ้อโกงหน่วยงานรัฐ
หลังแพ้คดีฉ้อโกงอัลฟ่า! บ.เอเอสแอลฯ ได้งาน 45 สัญญา 245 ล.- 'สตช.' จ้างมากสุด
เจาะกองทัพไทย ผูกซื้อกล้องจับรังสีความร้อน บ.คดีฉ้อโกงอัลฟ่า 2 สัญญา 48 ล.
@ ซื้อเครื่องบิน บริษัท เอ็ม-แลนดาร์ช จำกัด
แห่งที่ 3! บ.เอ็ม-แลนดาร์ช แพ้คดีฉ้อโกงอัลฟ่า 6 แต่ยังได้งานขายเครื่องบิน ทบ. 326 ล.
เบื้องลึก! ทบ.ซื้อเครื่องบิน 326 ล. บ.คดีอัลฟ่า มีปัญหาเปลี่ยนแปลงงบไม่ผ่าน ครม.ด้วย?
บ.เอ็ม-แลนดาร์ช เปิดเบื้องหลังข้อหาฉ้อโกงอัลฟ่า 6 เป็นห่วงโซ่ลำดับท้ายๆ-ชดใช้ครบแล้ว
@ ซื้อเครื่องตรวจ 3 จชต. กองทัพบก
สัญญาล่าสุด! ทบ.ซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย 3 จชต. จาก บ.คดีฉ้อโกงอัลฟ่าอีก 3.2 ล.
ไส้ใน ทบ.ซื้อเครื่องตรวจวัตถุฯ 3 จชต. อ้างอิง บ.คดีฉ้อโกงอัลฟ่า สืบราคากลางด้วย
พบหลักฐาน 'ผู้ชนะ-คู่เทียบ' ขายเครื่องตรวจวัตถุฯ ทบ. แจ้งเบอร์โทรฯ-อีเมล์ เดียวกัน
หลักฐานใหม่! ทบ.ซื้อเครื่องตรวจวัตถุฯ อดีต กก.-หุ้นใหญ่ 'คู่เทียบ' เคยรับมอบอำนาจ 'ผู้ชนะ'
รู้จักเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัยชนิดเสา ทบ.จ่อส่งลงใต้ ผู้ขายเจ้าเก่า "อัลฟ่า6"
เปิดคำชี้แจง บ.กัญจน์ณพัฒน์ ปมบัญชีดำคดีอัลฟ่า-เอาเครื่องตรวจชนิดเสาที่ไหนมาขาย ทบ.?
@ ขึ้นบัญชีดำ บ.ขายจีที-อัลฟ่า
ไฉนกองทัพไม่ขึ้นบัญชีดำบริษัทขาย ‘จีที200 - อัลฟ่า6’
ข้อมูลจริง! บ.เอวิเอฯ แพ้คดีจีที200 แต่ยังได้งาน 'ทอ.-ทร.' เพียบ 54 ล.
กางกฎหมายถาม! ทำไม กองทัพบก ไม่ขึ้นบัญชีดำ บ.ขายจีที 200
'บิ๊กตู่'สั่ง ทอ.-ทร.ตรวจสอบปม บ.เอวิเอฯแพ้คดีจีที 200 แต่ยังได้งานกองทัพ
ยังไม่ขึ้นบัญชีดำ -ตัวแทนเจ้าเดียวในไทย! ทร.แจงซื้อจ้าง บ.เอวิเอฯ คู่กรณีจีที200 กองทัพ
สอบยัน! คำชี้แจง ทร.ปมซื้อจ้างคู่กรณีจีที 200 กองทัพ - ข้อมูล 'SAAB' ในมืออิศรา
ข้อมูลใหม่! คดีจีที200 'ทร.' โดนหลอกซื้อ 8 เครื่อง 9.1 ล. แต่ไม่ขึ้นบัญชีดำ บ.เอวิเอฯ
ผูกซื้อสินค้า บ.SAAB ด้วย! ล้วงเหตุผล ทอ. ทำไมจัดจ้าง บ.คู่กรณีฉ้อโกงจีที 200 กองทัพ
เตรียมแจ้งทิ้งงานโดยทุจริต! คกก.วินิจฉัยฯ นัดเคลียร์ปมขึ้นบัญชีดำ บ.ฉ้อโกงขายจีที200
คกก.วินิจฉัยฯสั่งทำหนังสือจี้ 15 หน่วยงานรัฐ-เอกชน แจงคืบหน้าคดีโกงจีที200
รอคำตอบ SAAB! 'อิศรา' ส่งอีเมล์ถาม ปมตั้งบ.แพ้คดีฉ้อโกงจีที200 ตัวแทนจำหน่ายไทย
ไม่เคยระบุเจาะจงให้จัดซื้ออย่างไร! ฟังคำตอบ SAAB แจงปมตั้ง บ.คดีฉ้อโกงจีทีตัวแทน
@ ตามคืนเงินค่าจีที-อัลฟ่า
รายได้ 113 ล.! สถานะธุรกิจล่าสุด บ.อดีตคู่สัญญาขายอัลฟา 6 ปค. 33 ล้าน
อบจ.สงขลา ตามไล่บี้ บ.ยูจีซีฯ คืนเงินเครื่องอัลฟาฯ 4.9 ล. หลังชนะคดี 'ฉ้อโกง'
ปค.382 ล.-เพชรบุรี 8.5 แสน! ชนะคดีโกงอัลฟา 6 ยังไม่ได้เงินคืน-อัยการตามสืบทรัพย์แล้ว
เจาะลึก บ.เปโตรฯ ก่อนขายอัลฟา 6 ปค. 349 ล.-คนตระกูล 'รัชกิจประการ' เป็นกก.เพียบ!
กก.คนสุดท้าย บ.เปโตรฯ ขายอัลฟา 6 ปค. 349 ล. คือ น้องชาย 'นาที รัชกิจประการ'?
พลิกปูมคดีฮั้ว-ผู้เกี่ยวข้อง จัดซื้ออัลฟาฯ ปค. 2 สัญญา 382 ล. -ก่อนขาดอายุความปริศนา!
ขายไปก่อนแล้ว! 'พิพัฒน์' แจงสัมพันธ์ธุรกิจ 'รัชกิจประการ'- บ.คู่สัญญาอัลฟ่าฯ ปค. 349 ล.
@ ทุจริตจัดซื้อเครื่องจีที-อัลฟ่า
ข้อมูลลับ ปค.จัดซื้อ ‘ALPHA 6’ 328 ล.- ผู้ชนะซื้อของคู่เทียบ–ต้นทุน 1 พัน ขายต่อ 5 แสน
ขู่ใช้อำนาจกม.ลงโทษอธิบดีปค.! สตง.จี้รายงานผลสอบวินัย 4ขรก.- จัดซื้อเครื่อง ALPHA 6
บ.ขายอัลฟา349 ล.เลิกกิจการแล้ว!แกะรอยเอกชนพันคดีจีที200 ในบัญชีสอบป.ป.ช.
ป.ป.ช.แจ้งข้อหากราวรูด 200 ราย! จนท.รัฐพันจัดซื้อ GT200-‘อิศรา’พบมี 10 แห่ง 767 ล.