"...เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2564 กองทัพบก โดย กรมสรรพาวุธทหารบก ได้ลงนามว่าจ้าง สวทช. เข้ามาการตรวจสอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200) ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ราคาที่ตกลงซื้อ/จ้าง 3,200,000 บาท ในตารางแสดงวงเงินงบประมาณ แบบ บก.06 ระบุชื่อโครงการเป็นทางการว่า จ้างรายการจ้างการตรวจสอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200) จำนวน 320 เครื่อง วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 3,200,000 บาท กำหนดราคากลาง เป็นเงิน 3,200,000 บาท เท่ากับราคางบประมาณ ราคาเครื่องละ 10,000 บาท ระบุแหล่งที่มา สืบราคาจากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สวทช...."
กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที
เมื่อในการอภิปรายระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ช่วงค่ำวันที่ 2 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตการใช้งบประมาณกระทรวงกลาโหมที่ไม่ปรากฏในเอกสารงบประมาณ ระบุว่า ในปลายเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา กองทัพบกทำสัญญาจ้าง มูลค่ารวม 7,570,000 บาท ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไปตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 757 เครื่อง ตกเครื่องละ 10,000 บาท
พร้อมเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจง ว่า "การเอาเงินภาษี 7,570,000 บาท ไปจ้างตรวจสอบกล่องพลาสติกเปล่าสีดำ ในราคาชิ้นละ 1 หมื่นบาท ทั้งหมด 757 ชิ้นเพื่ออะไร เพราะทั้งโลกรู้กันว่าข้างในไม่มีอะไร กระทรวงกลาโหมใช้งบได้ไร้สติสตางค์ขนาดนี้เลยหรือ ค่าแงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว 1 หมื่นบาท"
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขยายผลการตรวจสอบว่า กองทัพบก ได้ทำสัญญาจ้าง สวทช. ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 ในราคาเครื่องละ 10,000 บาท มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 แล้ว จำนวน 320 เครื่อง วงเงิน 3,200,000 บาท เฉลี่ยราคาเครื่องละ 1 หมื่นบาท
โดยจากการสืบค้นฐานข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานภาครัฐ พบว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2564 กองทัพบก โดย กรมสรรพาวุธทหารบก ได้ลงนามว่าจ้าง สวทช. เข้ามาการตรวจสอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200) ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ราคาที่ตกลงซื้อ/จ้าง 3,200,000 บาท
ในตารางแสดงวงเงินงบประมาณ แบบ บก.06 ระบุชื่อโครงการเป็นทางการว่า จ้างรายการจ้างการตรวจสอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200) จำนวน 320 เครื่อง วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 3,200,000 บาท กำหนดราคากลาง เป็นเงิน 3,200,000 บาท เท่ากับราคางบประมาณ ราคาเครื่องละ 10,000 บาท
ระบุแหล่งที่มา สืบราคาจากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สวทช. (ดูเอกสารประกอบ)
ต่อมาเป็นการว่าจ้างครั้งที่สอง จำนวน 437 เครื่อง วงเงิน 4,370,000 บาท ประกาศผลเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2565
รวมยอดว่าจ้าง 2 ครั้ง จำนวน 757 เครื่อง วงเงิน 7.57 ล้านบาท
ส่วนวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการดำเนินการโครงการฯนี้ คือ อะไร?
รวมไปถึงคำถามของ นายจิรัฏฐ์ ที่ระบุว่า "ทั้งโลกรู้กันว่าข้างในไม่มีอะไร กระทรวงกลาโหมใช้งบได้ไร้สติสตางค์ขนาดนี้เลยหรือ ค่าแงะกล่องพลาสติกขันนอตตัวเล็กๆ 14 ตัว 1 หมื่นบาท"
คงต้องรอฟังคำชี้แจงจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นทางการอีกครั้ง
อ่านประกอบ :
- เตรียมปิดฉากคดี GT200-Alpha6 ป.ป.ช.ชี้มูลกราวรูดกว่า 100 คน 20 สำนวน-ระดับ‘บิ๊ก’ด้วย
- ป.ป.ช.แจ้งข้อหากราวรูด 200 ราย! จนท.รัฐพันจัดซื้อ GT200-‘อิศรา’พบมี 10 แห่ง 767 ล.
- ย้อนข้อมูล บ.แจ๊คสันฯ ชนะคดีขายจีที200 กองบัญชาการกองทัพไทย-อัยการอุทธรณ์สู้ต่อ!
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- ข้อมูลธุรกิจล่าสุด สุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ผู้บริหารบ.ขายจีที200 โดนโทษจำคุกคนเดียว 19 ปี
- ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
- จำคุก 9 ปี!ผู้บริหาร บ.เอวิเอฯขาย GT200 ให้กรมราชองครักษ์-ยื่น 9 แสนประกันตัวสู้ต่อ
- เช็คท่าที 'กองทัพบก-กองทัพเรือ-2อบจ.' หลังกรมราชองครักษ์ฟ้องชนะคดีซื้อจีที 200
- สัญญาโมฆะ-ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้!ชนวน บ.เอวิเอฯแพ้คดีGT200 ชดใช้9ล.
- ไม่รับฎีกา! หลังศาลแพ่งสั่งเอวีเอฯ ชดใช้กรมราชองครักษ์9 ล. ซื้อเครื่องจีที200
- 19 สัญญา 688 ล.!เจาะข้อมูล7 หน่วยงานรัฐซื้อจีที200 ก่อนผู้ผลิตโดนยึดทรัพย์