“…โดยความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2571) มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,261,696 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (776,696 ล้านบาท) และการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (3,485,000 ล้านบาท)…”
...................................
“…หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ต.ค.2566 มีจำนวน 11,125,428.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ต่อ GDP
โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรง และการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 10,537,912.7 ล้านบาท ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 ต.ค.2566 มีจำนวน 297,093.6 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับ รายจ่ายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ…”
นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำชี้แจงที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ลุกขึ้นชี้แจงเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3,480,000 ล้านบาท ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปีงบฯ 2567 ใน ‘วาระแรก’ เมื่อวันที่ 3 ม.ค.2567
ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนภาพ 'สถานะ' หนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบัน สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอภาพรวมหนี้สาธารณะล่าสุด และภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล ผ่าน ‘แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2568-2571)’ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2566 มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
@สิ้นปีงบ 66 หนี้สาธารณะไทย 11.13 ล้านล้าน
สถานะหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2566
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.44 ของ GDP
โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,154,364.25 ล้านบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จำนวน 625,422.50 ล้านบาท
หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1,076,922.26 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้าประกัน) จำนวน213,508.27 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 61,416.92 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 11,131,634.20 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 10,973,453.15 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.58 และหนี้ต่างประเทศ 158,181.05 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.42 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ขณะที่หนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ จะเป็นหนี้ระยะยาว 9,514,321.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.47 และหนี้ระยะสั้น 1,617,312.63 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.53 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
@คาดปีงบ 67-71 รัฐบาลมีความต้องการกู้เงิน 4.26 ล้านล้าน
แผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2571)
แผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบ 2567-2571) มีจำนวนรวม 776,696 ล้านบาท (ไม่นับรวมวงเงินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล) ได้แก่ ปีงบ 2567 จำนวน 106,619 ล้านบาท ,ปีงบ 2568 จำนวน 247,768 ล้านบาท ,ปีงบ 2569 จำนวน 204,849 ล้านบาท ,ปีงบ 2570 จำนวน 131,401 ล้านบาท และปีงบ 2571 จำนวน 86,059 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจ รายได้รัฐบาลสุทธิ งบประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568-2571) ส่งผลให้หนี้สาธารณะคงค้างในปีงบประมาณ 2566-2571 เป็นดังนี้
ปีงบ 2566 จำนวน 11,131,634 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.44 ต่อ GDP
ปีงบ 2567 จำนวน 11,834,716 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.71 ต่อ GDP
ปีงบ 2568 จำนวน 12,664,069 ล้านบาท หรือร้อยละ 63.73 ต่อ GDP
ปีงบ 2569 จำนวน 13,440,540 ล้านบาท หรือร้อยละ 64.23 ต่อ GDP
ปีงบ 2570 จำนวน 14,129,832 ล้านบาท หรือร้อยละ 64.07 ต่อ GDP
ปีงบ 2571 จำนวน 14,758,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 63.61 ต่อ GDP
แนวทางการบริหารหนี้สาธารณะ
แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2568-2571) กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 รวมถึงการกู้เงินในกรณีที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปี 2563-2564
ส่งผลให้รัฐบาลมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่มขึ้น โดยความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2571) มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,261,696 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (776,696 ล้านบาท) และการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (3,485,000 ล้านบาท)
@หนี้สาธารณะที่รัฐบาลรับภาระโดยตรงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาลและความเสี่ยงทางการคลังที่สำคัญ
ภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-ภาระผูกพันโดยตรง (Direct Liabilities) เป็นภาระผูกพันของรัฐบาลที่มีกฎหมาย สัญญา หรือข้อตกลงที่รัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้อย่างชัดเจน ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีดังนี้
1. หนี้สาธารณะที่รัฐบาลรับภาระโดยตรง จำนวน 9,337,571.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.38 ของ GDP แนวโน้มเพิ่มขึ้น
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 8,761,289 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้น
1.2 หนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลกู้ให้กู้ต่อและรับภาระ 345,049 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้น
1.3 หนี้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่รัฐบาลค้ำประกันและรับภาระ 231,234 ล้านบาท แนวโน้มลดลง
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2567 มีรายจ่ายในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่ที่ 118,320 และ 228,060 ล้านบาท ตามลาดับ
2.ลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ 599,619 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2567 มีรายจ่ายเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินโครงการตามมาตรา 28 อยู่ที่ 81,658 ล้านบาท โดยประมาณการภาระผูกพันที่มาจากการดำเนินโครงการตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ มีจำนวนรวมทั้งหมด อยู่ที่ 1,004,391 ล้านบาท
3.ภาระผูกพันที่มาจากสวัสดิการด้านหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม และบำเหน็จบำนาญ ในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลมีภาระงบประมาณในส่วนดังกล่าว 824,350 ล้านบาท และยังมีภาระค้างจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคม 71,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
4.รายจ่ายบุคลากรภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนอยู่ที่ 785,958 ล้านบาท
5.ภาระผูกพันจาก พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft loan) ประมาณการเบื้องต้นอยู่ที่ 1,816 ล้านบาท
6.การชดเชยความเสียหายตาม พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) ประมาณการเบื้องต้นอยู่ที่ 67,520 ล้านบาท
-ภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) เป็นภาระผูกพันที่รัฐบาลอาจต้องจ่ายหรือชำระหนี้แทนตามกฎหมาย สัญญา หรือข้อตกลง รวมไปถึงความคาดหวังจากสังคม หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีดังนี้
1.หนี้สาธารณะที่รัฐบาลไม่ได้รับภาระ จำนวน 1,794,062.21 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.06 ของ GDP แนวโน้มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ประกอบด้วย
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ FIDF 625,423 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่อง
1.2 หนี้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่รัฐบาลกู้ให้กู้ต่อ/ค้ำประกัน แต่ไม่รับภาระ 526,510 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้น
1.3 หนี้รัฐวิสาหกิจ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) และหน่วยงานของรัฐที่รัฐบาลไม่ได้ค้ำประกัน 642,129 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้น
2.การพิจารณาชดเชยการสูญเสียรายได้ จากการดำเนินมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ประมาณการการสูญเสียรายได้ที่ยังไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี 2563 2564 และ 2566 อยู่ที่ 20,011 30,891และ 6,288 ล้านบาท ตามลำดับ
@ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้สุทธิรัฐบาล 14.5% ต่อจีดีพี-ปฏิรูปภาษี
นโยบายและมาตรการระยะปานกลาง
ด้านการจัดเก็บรายได้
กระทรวงการคลังมีเป้าหมายที่จะผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษี และปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจ เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมีการเติบโตสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และคงสัดส่วนรายได้รัฐบาลสุทธิต่อ GDP ในช่วงร้อยละ 14.4-14.5 ดังนี้
1.การทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จาเป็น เพื่อลดการสูญเสียรายได้ภาครัฐ
2.การปฏิรูปโครงสร้างจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อให้โครงสร้างภาษีครอบคลุมภาคส่วนต่างๆ อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลัง และเป็นกลไกในการกระจายรายได้และส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
3.การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ ผลักดันการดำเนินการตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพ ตรวจสอบภาษีเชิงรุกเพื่อขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนอกระบบหรือผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการรายใหม่และผู้ที่ไม่อยู่ในระบบภาษี เข้าสู่ระบบภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางภาษี เป็นต้น
ด้านการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
1.มุ่งเน้นดำเนินการตามนโยบายสำคัญรัฐบาล ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการสร้างรายได้ ขยายโอกาส ดูแลคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นต้น
2.การพิจารณาลำดับความสำคัญตามความจำเป็นเร่งด่วนและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่หมดความจำเป็นหรือมีความสำคัญในระดับต่ำ โดยคำนึงถึงศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณในปีที่ผ่านมา
3.ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทางบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานาเงินนอกงบประมาณ เช่น เงินรายได้ เงินสะสมคงเหลือ มาดำเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นลาดับแรก รวมทั้งพิจารณาแหล่งเงินอื่นเพื่อดำเนินโครงการภาครัฐ เช่น เงินกู้ การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อลดภาระงบประมาณของประเทศ เป็นต้น
4.การจัดทาแผนงาน/โครงการ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์ กับประชาชนหรือเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการการทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการจัดทางบประมาณมิติพื้นที่ (Area)
@แนะจัดสรรงบชำระหนี้เงินต้นปีละ 3% ของงบรายจ่ายฯ
ด้านการบริหารหนี้สาธารณะ
เป้าหมายสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568-2571) มีดังนี้
1.การบริหารหนี้ในเชิงรุก คือ การประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อปรับกลยุทธ์การระดมทุนของรัฐบาลให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจ รวมทั้งตลาดการเงินทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และเตรียมการรองรับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยโลก
2.การรักษาวินัยในการชำระภาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังและภาระดอกเบี้ย ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการบริหารรายจ่ายประจำในอนาคตได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการดาเนินมาตรการทางการคลังในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2567 หากสถานการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัวและการจัดเก็บรายได้ปรับตัวดีขึ้น ควรพิจารณาจัดสรรงบชำระต้นเงินกู้ เพื่อชดเชยงบชำระต้นเงินกู้ที่จัดสรรให้ต่ำไปในช่วงปีก่อนหน้า โดยอย่างน้อยควรจัดสรรงบชำระต้นเงินกู้เฉพาะของหนี้รัฐบาลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี มิฉะนั้น ความสามารถในการชำระหนี้ในระยะปานกลาง อาจปรับลดลงซึ่งอาจกระทบกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศได้
นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ จะต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระดอกเบี้ยอย่างพอเพียง เนื่องจากภาระดอกเบี้ย เป็นภาระต่องบประมาณที่จะต้องจ่ายทั้งจำนวน โดยไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้
3.ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นตัวชี้วัดที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศให้ความสำคัญ โดยประเมินจากภาระดอกเบี้ยในแต่ละปีงบประมาณต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ
หากสัดส่วนดังกล่าวสูงเกินกว่าร้อยละ 10 (เทียบเท่าระดับ A- (Upper Medium Investment Grade)) อาจส่งผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณในภาพรวม หรืออาจทำให้ต้องลดงบประมาณรายจ่ายประจำในส่วนอื่นหรือปรับลดงบลงทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดาเนินนโยบายการคลังเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาวได้
เหล่านี้เป็นสถานะ ‘หนี้สาธารณะ’ ของไทยล่าสุด และภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล ซึ่งปรากฎใน ‘แผนการคลังระยะปานกลาง’ ฉบับล่าสุด หรือฉบับปีงบ 2568-2571 ที่สำคัญแผนการคลังฯฉบับนี้ มีการประเมินว่าในปีงบ 2567-2571 รัฐบาลมีความต้องการ ‘กู้เงิน’ สูงถึง 4.26 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว!
อ่านเพิ่มเติม : แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568–2571)
อ่านประกอบ :
ครม.ไฟเขียว'แผนการคลังฯ'ฉบับใหม่ คาดปี 68 ตั้งงบรายจ่ายฯ 3.6 ล้านล้าน-ขาดดุล 7.13 แสนล.
ย้อนดู‘หนี้ประเทศ-ภาระผูกพัน’ ก่อน‘รบ.เศรษฐา’เร่งหาแหล่งเงิน 5.6 แสนล.โปะ‘ดิจิทัลวอลเลต’
เปิด‘แผนการคลัง’ฉบับปี 67-70 รัฐเล็งกู้ใหม่ 4.7 ล้านล้าน-ภาระผูกพันคงค้างพุ่ง 1.03 ล้านล.
รอปรับตัวเลข! ‘บิ๊กตู่’ ยังไม่เคาะกรอบวงเงินงบปี 67 หลังนั่งหัวโต๊ะหารือ 4 หน่วยงาน
คุมขาดดุลไม่เกิน 3%! ครม.เคาะ‘แผนคลังระยะปานกลาง’ใหม่-ชงงบปี 67 รายจ่ายพุ่ง 3.35 ล้านล.
รัฐซุกหนี้ 1 ล้านล.! พบไม่รวมอยู่ใน‘หนี้สาธารณะ’-‘คลัง’ห่วงภาระช่วยเหลือ‘เกษตรกร’พุ่ง
ฉบับล่าสุด! เปิดรายงาน 'ความเสี่ยงการคลัง' ภาครัฐ รายจ่ายสวัสดิการฯพุ่ง-ชงทบทวนภาษี
'อดีตผู้ว่าฯธปท.'ห่วงภาครัฐ'ขาดดุลนาน-หนี้สูง' ฝาก'แบงก์ชาติ'ต้องอิสระจากผู้มีอำนาจ
'มูดี้ส์'คงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทย มอง'เศรษฐกิจมหภาค-การคลังสาธารณะ'แข็งแกร่ง