ครม.เห็นชอบ ‘แผนคลังระยะปานกลาง’ ปีงบ 67-70 ตั้งเป้าลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือไม่เกิน 3% เพื่อไปสู่เป้าหมายจัดทำ ‘งบสมดุล’ ในเวลาที่เหมาะสม เผยปีงบ 67 ตั้งกรอบงบประมาณรายจ่ายที่ 3.35 ล้านล้าน
................................
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2567-2570) โดยมีเป้าหมายปรับลดขนาดการขาดดุลเพื่อมุ่งสู่การจัดงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยจะปรับลดขนาดการขาดดุลให้เหลือไม่เกิน 3% ต่อ GDP ตั้งแต่ปีงบ 2567 และจะปรับลดขนาดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2567-2570) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ
ปี 2567 คาดว่า GDP ขยายตัว 3.3-4.3% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.0-2.0% โดยในปี 2568-2570 คาดว่า GDP และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2568 และปี 2569 คาดว่า GDP จะขยายตัวที่ระดับ 2.9-3.9% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.2-2.2% และในปี 2569 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 1.3-2.3%
ส่วนในปี 2570 คาดว่า GDP จะขยายตัว 2.8-3.8% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.4-2.4% โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวดีขึ้นของการลงทุนในประเทศ สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว
2.สถานะและประมาณการการคลัง
2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปี 2566-2570 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
โดยในปี 2566 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ มีจำนวน 2.490 ล้านล้านบาท ,ปี 2567 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ มีจำนวน 2.757 ล้านล้านบาท ,ปี 2568 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ มีจำนวน 2.867 ล้านล้านบาท ,ปี 2569 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ มีจำนวน 2.953 ล้านล้านบาท
และปี 2570 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ มีจำนวน 3.041 ล้านล้านบาท โดยการจัดเก็บรายได้ในระยะปานกลางจะฟื้นตัวตามการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รายได้จากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ตลอดจนการท่องเที่ยวหลังการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทาง
2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่าย
ปีงบ 2567-2570 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ เช่น การกำหนดการจ่ายคืนต้นเงินกู้ให้มีสัดส่วน 2.5-4.0% ของวงเงินงบประมาณ เพื่อบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลัง และเหมาะสมกับกำลังเงินของประเทศ
กำหนดสัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นอยู่ที่ 2.0-3.5% ของวงเงินงบประมาณ โดยควบคุมการใช้จ่ายบุคลากรให้มีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4.0% โดยใช้มาตรการในการกำหนดให้หน่วยรับงบประมาณนำเงินรายได้มาสมบทค่าใช้จ่าย เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2566 งบประมาณรายจ่าย มีจำนวน 3.185 ล้านล้านบาท ,ปี 2567 งบประมาณรายจ่าย มีจำนวน 3.350 ล้านล้านบาท ,ปี 2568 งบประมาณรายจ่าย มีจำนวน 3.457 ล้านล้าบาท ,ปี 2569 งบประมาณรายจ่าย มีจำนวน 3.568 ล้านล้านบาท และปี 2570 งบประมาณรายจ่ายจำ มีนวน 3.682 ล้านล้านบาท
2.3 ดุลการคลัง ในปีงบ 2567-2570 ยังคงเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล
2.4 ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP
สำหรับปีงบ 2567-2570 ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบ พ.ร.บ.ระเบียบวินัยการเงินการคลังฯ โดยปี 2566 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 60.64% ,ปี 2567 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.35% ,ปี 2568 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.78% ,ปี 2569 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.69% และปี 2570 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.25%
“การกำหนดแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ 2567-2570) ยึดหลัก “Sound Strong Sustained” เน้นการดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง เสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังในทุกด้าน ทั้งการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลัง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รองรับการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล” นายอนุชา กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายในปี 2566 โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% ซึ่งยังมีความเหมาะสม เนื่องจากการกำหนดเป้าหมายแบบช่วงที่มีกว้าง 2% ทำให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอรองรับความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะปานกลาง รวมถึงจะช่วยเอื้อให้การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในระยะปานกลาง และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เป็นต้น
อ่านประกอบ :
รัฐซุกหนี้ 1 ล้านล.! พบไม่รวมอยู่ใน‘หนี้สาธารณะ’-‘คลัง’ห่วงภาระช่วยเหลือ‘เกษตรกร’พุ่ง
ฉบับล่าสุด! เปิดรายงาน 'ความเสี่ยงการคลัง' ภาครัฐ รายจ่ายสวัสดิการฯพุ่ง-ชงทบทวนภาษี
'อดีตผู้ว่าฯธปท.'ห่วงภาครัฐ'ขาดดุลนาน-หนี้สูง' ฝาก'แบงก์ชาติ'ต้องอิสระจากผู้มีอำนาจ
'มูดี้ส์'คงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทย มอง'เศรษฐกิจมหภาค-การคลังสาธารณะ'แข็งแกร่ง
ภาระดอกเบี้ยเพิ่ม-จัดเก็บรายได้ลด! 'คลัง' แนะรัฐบาลทบทวนมาตรการ 'ยกเว้น-ลดหย่อนภาษี'
เปิดรายละเอียดงบปี 66 ‘กลาโหม’ลด 2%-กษ.เพิ่ม 1.6 หมื่นล. ค่าใช้จ่ายบุคลากรรัฐเกือบ 40%
พลิกแฟ้มครม.! เคาะคำของบปี 66 ตช.เช่ารถ 9 พันคัน 1.3 หมื่นล. ทอ.ซื้อฝูงบิน-ยธ.สร้างคุก
ครม.เคาะกรอบงบปี 66 วงเงิน 3.185 ล้านล้าน-ขาดดุล 6.95 แสนล้าน
เปิดแนวทางของบปี 66! เงินลงทุน 500 ล.ขึ้นไป ต้องประเมินความเสี่ยง ‘ทุจริตเชิงนโยบาย'
รัฐวาง 4 แนวทางกระตุ้นเบิกจ่าย ‘งบปี 65-พ.ร.ก.กู้เงินฯ’ หนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังโควิด
‘บิ๊กตู่’มอบนโยบายจัดทำงบปี 66 หนุนเศรษฐกิจฟื้น-มุ่งแก้จนแบบพุ่งเป้า-อย่าทุจริตเด็ดขาด
ปีหน้าลงทุน 1 ล้านล้าน! ‘อาคม’ มองจีดีพี 65 โต 4%-มุ่งสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชนบท
ครม.เคาะ ‘แผนการคลังระยะปานกลาง’ ปีงบ 66-69 คาด 4 ปี รัฐบาลขาดดุลเพิ่ม 2.8 ล้านล้าน