การบริการทางธนาคารนั้นที่เวียดนามยังต้องมีการมาทำที่สาขา ยังต้องมีการใช้กระบวนการยืนยันตัวเองกันอยู่ และใช้เอกสารมากกว่าที่เมืองไทย ถ้าหากเทียบๆกัน ดังนั้นก็อาจจะสรุปได้เหมือนกันว่าแม้ว่าการเตรียมเอกสาร ใช้เอกสารต่างๆอาจเป็นข้อเสีย แต่ก็อาจจะเป็นข้อดีได้ในเรื่องของการยืนยันตัวเอง และเรื่องความปลอดภัยเช่นกัน
ในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ปรากฎรายงานข่าวให้เห็นมากเกี่ยวกับข่าวอาชญากรรมทางการเงิน อาทิกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ซึ่งมีพฤติกรรมหลอกให้โอนเงินเป็นจำนวนมหาศาล
หรืออย่างคดีโรแมนซ์แสกม หรือคดีหลอกให้รัก ที่กลุ่มมิจฉาชีพนั้นหลอกลวงเหยื่อให้มีความรู้สึกหลงรัก ก่อนจะขอให้เหยื่อโอนเงินเป็นจำนวนมาก โดยใช้เหตุผลต่างๆเพื่อประกอบการหลอกล่อ ซึ่งคดีโรแมนซ์สแกมที่โด่งดังที่สุดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ก็คงจะเป็นคดีซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพได้หลอกล่อให้นางสาวชมานันทน์ เพ็ชรโปรี ผู้จัดการฝ่ายการเงินของบริษัท เอสซีลอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ลักทรัพย์เอาเงินของบริษัท เอสซีลอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จากบัญชีเงินฝากของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส เอ็น เอ สาขากรุงเทพมหานคร และธนาคารเจพีมอร์แกน เซส เอ็น เอ สาขานิวยอร์ค จำนวนหลายครั้งไปยังบุคคลภายนอกทำให้บริษัท เอสซีลอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 6,223,872,674.31 บาท
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นอาจทำให้ธนาคารต่างๆต้องมีการปรับตัวเพื่อให้มีความรัดกุมกับการทำธุรกรรมมากยิ่งขึ้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าล่าสุดนั้นผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศราได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์นายจตุพร บุศยอังกูร ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกสิกรไทย สาขาโฮจิมินห์ ซิตี้ ที่ประเทศเวียดนามถึงปัญหาอาชญากรรมทางการเงินต่างๆ และในประเด็นที่นักลงทุนไทยจะมาลงทุนที่ประเทศเวียดนาม
โดยนายจตุพรกล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวถึงมาตรการป้องกันปัญหาเรื่องอาชญากรรมทางธุรกรรมทางการเงินนั้นต้องยอมรับว่าที่เวียดนามนั้นน้อยมาก ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะว่าเขายังเข้าไม่ถึงระบบต่างๆพวกนี้
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเรื่องธนาคารต้องยอมรับว่าที่นี่ก็ยังใช้เงินสดกันอยู่ ยังมีการใช้แอปพลิเคชันโอนจ่ายเงินกันน้อย แต่เวียดนามเขามีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่าโมโม่ ซึ่งเป็นอีวอลเล็ตของเขาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าไม่ใช่แอปพลิเคชันของธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย สาขาโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม
@การยืนยันตัวเองด้วยเอกสารยังจำเป็น
นายจตุพรกล่าวต่อว่าเรื่องการบริการทางธนาคารนั้นที่เวียดนามยังต้องมีการมาทำที่สาขา ยังต้องมีการใช้กระบวนการยืนยันตัวเองกันอยู่ และใช้เอกสารมากกว่าที่เมืองไทย ถ้าหากเทียบๆกัน ดังนั้นก็อาจจะสรุปได้เหมือนกันว่าแม้ว่าการเตรียมเอกสาร ใช้เอกสารต่างๆอาจเป็นข้อเสีย แต่ก็อาจจะเป็นข้อดีได้ในเรื่องของการยืนยันตัวเอง และเรื่องความปลอดภัยเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศเวียดนามนั้นเขามีนโยบายในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านของดิจิตัลหรือ Digital Transformation ที่กำลังจะเริ่ม ก็คือให้คนทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้มากขึ้น
เมื่อถามว่าดังนั้นหมายความว่าทางธนาคารกสิกร ถ้าจะมาขยายสาขาที่ประเทศเวียดนาม ก็จะต้องมีดูบทเรียนที่ประเทศไทย เพื่อจะดำเนินการป้องกันใช่หรือไม่ นายจตุพรกล่าวว่าใช่ ทางธนาคารกสิกรก็คงต้องมีมาตรการป้องกันต่างๆควบคู่กันไป
ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเคพลัสของธนาคารกสิกรในประเทศเวียดนาม
@อุปสรรคของการลงทุนของไทยในเวียดนาม
นายจตุพรกล่าวต่อว่าสำหรับนักลงทุนของประเทศไทยที่จะมาลงทุนในประเทศเวียดนามนั้น จริงๆก็จะไม่ต่างกับการที่ต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยเลย เพราะต้องมีความเข้าใจตลาดจริงๆ ว่าพฤติกรรมของตลาดในพื้นที่เป็นอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาก็มีลูกค้ามาถามเรื่องการลงทุนกับคนเวียดนามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่
โดยตรงนี้ถ้าจะถามว่ามันมีเรื่องการโกงหรือไม่ ก็มีอยู่บ้างเช่นกัน จริงๆที่เมืองไทยก็มีโกง ที่นี่ก็มีโกง ซึ่งเราก็ต้องเลือกหุ้นส่วนในการลงทุนให้ดี ดังนั้นการประสานงานกับสถานทูต การเข้าใจกฎระเบียบต่างๆนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
"อันที่จริง ชื่อไทย แบรนด์ไทย นั้นก็ยังเป็นที่นิยมในเวียดนาม คือมันยังเป็นของดีราคาถูก โดยเฉพาะในเรื่องของร้านอาหารไทยนั้นก็เป็นที่นิยมกันมากสำหรับคนในโฮจิมินห์ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการบริโภคของคนในแต่ละจังหวัดนั้นก็มีความแตกต่างกันไปด้วย อย่างเช่นคนโฮจิมินห์ก็จะชอบของใหม่ๆมากกว่าคนที่ฮานอยเป็นต้น ซึ่งตรงนี้นั้นผู้ที่มาลงทุนก็ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วยเช่นกัน" นายจตุพรกล่าว
@คดีเอสซีลอร์
เมื่อถามเกี่ยวกับคดีโรแมนซ์สแกม เอสซีลอร์ นายจตุพรกล่าวว่าส่วนตัวยังไม่ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับคดีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเงินนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเหมือนกันว่าจะมีการประยุกต์รูปแบบออกมาอย่างไรในการจะสามารถตรวจจับธุรกรรมทางการที่ต้องสงสัย
ทั้งนี้การทำธุรกรรมกับธนาคารนั้นต้องยอมรับว่าที่เวียดนามก็มีกฎระเบียบบางอย่างที่มากกว่าที่ประเทศไทย ต้องมีการขอเอกสารประกอบอยู่หลายชิ้นอยู่เหมือนกันในรูปแบบของกระดาษ
คือทุกบริษัทนั้นจะมีตำแหน่งหนึ่งที่เรียกว่า Cheif Accountant เหมือนเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงิน ทุกบริษัทเวลาเปิดบัญชีนั้น นอกจากจะมีตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหรือที่เรียกว่า MD แล้ว ก็จะต้องมี Cheif Accountant อยู่ด้วย มันก็เหมือนกับว่าเป็นการยืนยันตัวเอง และก็มีการคานอำนาจกันในตัวทั้งสองตำแหน่งไปด้วย
"ความลำบากนั้นก็อาจจะช่วยได้เหมือนกันในส่วนนี้" นายจตุพรกล่าวและกล่าวต่อว่า "อันที่จริงแล้ว เรื่องของธุรกรรมต้องสงสัยนั้น ก็อย่างที่บอกไปว่านโยบายมีเรียบร้อยอยู่แล้ว แต่ว่าจะใช้อย่างไร จะมีการตรวจจับการทำธุรกรรมด้วยระบบหรือแบบไหนก็แล้วแต่ ซึ่งของเราเองก็มีนโยบายตรวจสอบและยืนยันตัวอยู่แล้วเช่นกัน"
เมื่อถามว่าแล้วเปรียบเทียบกัน ประเทศไทยกับเวียดนามประเทศไหนมีมาตรการป้องกันที่เข้มมากกว่า นายจตุพรกล่าวว่าเท่าที่ดูมาตรการป้องกันเรื่องธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยที่ออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นพบว่ามีความเข้มข้นมากกว่าที่ประเทศเวียดนามอยู่ แต่ก็อย่างที่บอกว่ามันน่าจะเป็นเรื่องของนโยบายของแต่ละธนาคารกันมากกว่า
เมื่อถามถึงกรณีเอสซีลอร์เพิ่มเติมว่าธนาคารบางแห่งก็เอะใจว่ามีการโอนเงินเป็นสิบๆล้านเลยระงับการธุรกรรม แต่บางแห่งก็ไม่ได้เอะใจ นายจตุพรกล่าวว่า จริงๆแล้วเรื่องเหล่านี้มีช่องทางจะป้องกันได้หลายแบบ แต่เรื่องคนจะโกง ก็ต้องยอมรับว่ามันก็ต้องหาช่องทางเข้าไปจนได้ ดังนั้นในส่วนของเวียดนามถ้าหากมีการเปลี่ยนผ่านในเชิงของดิจิตัลแล้ว ธนาคารก็ต้องมีนโยบายมารองรับสำหรับการเปลี่ยนผ่านโดยเตรียมการเพื่อป้องกันในส่วนนี้เหมือนกัน
"เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เราไม่อยากจะให้เกิดขึ้นเหมือนกัน โดยเฉพาะกับที่นี่" นายจตุพรกล่าว
นายจตุพร บุศยอังกูร ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกสิกรไทย สาขาโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม
- คุก1,004ปี โดนจริง20! ศาลฯลงโทษอดีตหน.การเงินเอสซีลอร์ฯเหยื่อโรแมนซ์สแกม-ชดใช้ 7 พันล.
- บก.ป.บุกรวบตัวคาแคมป์ก่อสร้าง! สาวบัญชีม้าขบวนการแก๊งโรแมนซ์สแกมตุ๋นเงิน 6.2 พันล.
- โดนสรรพากรสอบด้วย! ข้อมูลลึก บ.ธนวัฒน์ฯ รับโอน 10.5 ล.คดีฉ้อโกง 6.2 พันล.‘เอสซีลอร์’
- เปิดตัว บ.ธนวัฒน์เซอร์วิสฯ เอกชนไทยแห่ง 2 พันคดีโกง 6.2 พันล.-เจ้าของโดนอายัด 9 หมื่น
- หุ้นใหญ่ ‘หญิงสาว’ อยู่ จ.ชลบุรี! บ.อมาโกฯ พันคดีโกง 6.2 พันล. ยังไม่โดนอายัดทรัพย์ ?
- ขยี้คดีโกง 6 พันล.(4): เปิดตัว บ.อมาโกฯ เครือข่ายแก๊งไนจีเรีย? เส้นทางโอนเงิน เอสซีลอร์ฯ
- ขยี้คดีโกง 6 พันล.(3): มีคนเอี่ยวนับร้อย! เปิดแผนประทุษกรรมแก๊งไนจีเรียหลอกเงินข้ามโลก
- ขยี้คดีโกง 6 พันล.(2): Oh My Love กลวิธีแก๊งไนจีเรียสร้างสตอรี่ซับซ้อนลวงโอนเงิน-ขี้งกมาก
- ขยี้คดีโกง 6 พันล. (1) : ใช้รูปคนมาเลฯ อ้าง 'นพ.' หลอก CFO หญิงให้รักลวงโอนเงินมหาศาล
- คดีโกง 6 พันล้านบาน ‘เอสซีลอร์’ ฟ้อง ธ.เจพีมอร์แกน ไม่แจ้งพิรุธลูกจ้างไทยถอนเงินถี่ยิบ
- เบื้องลึกคดีโกง 6 พันล้าน ผบช.ก.แฉ พนง.หญิง ’เอสซีลอร์’ถูก’แก๊งไนจีเรีย’หลอกให้รัก
- ไขข้อมูล บ.เอสซีลอร์ฯ ทำธุรกิจอะไร – ใครเจ้าของ ? ถูกยักยอกเงินฝาก 6.2 พันล.
- ปปง.ยึดทรัพย์ 243,316 บาท คดีลักเงินฝาก บ.เอสซีลอร์ฯ 6,223.8 ล้าน
- ร้านขายกาแฟ จ.อุดรฯ นิติบุคคลรายที่ 3 รับโอน 10.5 ล.คดียักยอก 6.2 พันล.ข้ามโลก