ครม.เคาะตรึงราคา ‘ค่าไฟฟ้า’ 4.18 บาท/หน่วย ถึงสิ้นปี 67 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย ลดเหลือ 3.99 บาท พร้อมตรึงราคา ‘ดีเซล’ 33 บาท/ลิตร ถึง ต.ค.67 ขณะที่ ‘วง ครม.’ ถกหา ‘แหล่งพลังงาน’ ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง
..........................................
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการลดราคาพลังงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ 1.ขยายระยะเวลาการตรึงอัตราค่าไฟฟ้าที่ระดับ 4.18 บาท/หน่วย ออกไปอีก 4 เดือน หรือตั้งแต่เดือน ก.ย.-ธ.ค.2567 และให้ตรึงอัตราค่าไฟฟ้าไว้ที่ 3.99 บาทต่อหน่วยเช่นเดิม สำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน
2.ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ 33 บาทต่อลิตร ไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค.2567 โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปสนับสนุนการดำเนินการ ส่วนจะมีการใช้กลไกการลดภาษีสรรพสามิตมาช่วยเพิ่มเติมหรือไม่นั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ในการขยายระยะเวลาการตรึงอัตราค่าไฟฟ้าที่ระดับ 4.18 บาท/หน่วย ยืนยันว่าไม่ได้ทำให้ใครเดือนร้อน หรือจะทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่ กฟผ.จะได้รับการชำระคืนหนี้แต่ละงวดในจำนวนที่น้อยลง และยังคงมีการทยอยจ่ายคืนหนี้ กฟผ. เป็นรายงวดอยู่เช่นเดิม ในขณะที่การจ่ายหนี้คืน กฟผ. งวดเดียวจบนั้น จะทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระโดยไม่จำเป็น
ขณะที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวเพียงสั้นๆว่า ที่ประชุม ครม.มีมติรับทราบมาตรการลดราคาพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ด้าน นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 33 บาท/ลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือน ต.ค.2567 และมีมติเห็นชอบให้ตรึงราคาค่าไฟฟ้าที่ 4.18 บาท/หน่วย ไปจนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.2567 ยกเว้นผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ซึ่งมีจำนวน 18 ล้านรายนั้น ให้ตรึงราคาค่าไฟฟ้าไว้ที่ 3.99 บาท/หน่วย ทั้งนี้ กฟผ.จะยังคงได้รับการผ่อนชำระคืนหนี้ตามเดิม และไม่ต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
“ในที่ประชุม ครม. ได้มีข้อหารือกันในเรื่องนี้ โดยท่าทีของ ครม. ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในภาพกว้างว่า ค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงาน และค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในเมืองไทยนั้น ถ้าตราบใดที่แหล่งพลังงานในบ้าน มีไม่พอ และต้องมีการนำเข้า การเปลี่ยนโครงสร้างราคาให้ประหยัดลงอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง เช่น ค่าไฟฟ้าให้ต่ำลงอย่างเห็นๆเลย คือ เหลือ 3 บาทนิดหน่อย
ถ้าไม่แหล่งพลังงานเอง แทบเป็นไปไม่ได้เลย ยากมาก ฉะนั้น ที่ประชุมก็บอกว่า อยากให้มีการพิจารณาเรื่องขุมพลังงานมหาศาลที่อยู่ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งดูเหมือนที่ประชุมก็เห็นคล้อยกันว่า ถ้าต้องการจะหลุดพ้นไปจากกรอบค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในระดับนี้ และอยากเห็นราคาประหยัดมากๆ ก็หนีไม่พ้นว่า เราจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานของเราเอง” นายชัย กล่าว
อ่านประกอบ :
‘พีระพันธุ์’ ประกาศตรึงค่าไฟ 4.18 บ./หน่วย ก.ย.-ธ.ค. 67 น้ำมันดีเซล 33 บ./ลิตร
‘กกพ.’เคาะเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.67 ดันค่าไฟฟ้าพุ่ง 4.65-6.01 บาท/หน่วย เพิ่มขึ้น 11-44%
อุดหนุน 8.3 พันล.! ครม.ไฟเขียวมาตรการตรึง‘ดีเซล-ก๊าซหุงต้ม’ ลดค่าไฟฟ้า 19.05 สต./หน่วย
‘บอร์ด กกพ.’ เคาะค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค.-ส.ค.2567 เฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย เท่างวดก่อน
‘สภาผู้บริโภค’จี้‘กกพ.’ทบทวน FT งวดใหม่ คาดกดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่ำกว่า 4 บาท/หน่วยได้
กกพ. ชี้ค่าไฟงวด พ.ค. - ส.ค. 67 ที่ 4.18 ต่อหน่วยตอบโจทย์ทุกฝ่าย
ต่ำสุด 4.18 บ./หน่วย! 'กกพ.'เคาะ 3 ทางเลือก คิดค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค.67-ทยอยคืนหนี้'กฟผ.'
‘หม่อมอุ๋ย’นำทีมยื่น‘จม.เปิดผนึก’ร้อง‘นายกฯ’ทบทวนอุดหนุนพลังงาน หลังรัฐแบกหนี้ 2.2 แสนล.
กกพ.เคาะค่าไฟฟ้างวด ม.ค.-เม.ย. 4.18 บาท-'ครัวเรือน'ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย/ด. เหลือ 3.99 บ.
ครม.เห็นชอบมาตรการพลังงาน ตรึงดีเซล 30 บาท - ค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 3.99 บ. 4 เดือน
‘บอร์ดค่าจ้าง’ นัดถกทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำ 20 ธ.ค.-ชง ‘ครม.’ หั่นค่าไฟไม่เกิน 4.2 บ./หน่วย
‘กกร.’ร้องรัฐตรึงค่าไฟงวดใหม่ 3.99 บ./หน่วย ก่อนรื้อโครงสร้างฯ-มองGDPปี 67 เสี่ยงต่ำ 3%