รูดม่าน! ‘พรเพชร’ ทูลเกล้าฯถวายชื่อ ‘สุชาติ ตระกูลเกษมสุข’ นั่ง กก.ป.ป.ช.หลังวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ยัน สนช.ไม่ใช่ ส.ส.-ส.ว. การพิจารณาคุณสมบัติเป็นอำนาจคณะกรรมการสรรหาฯ ยกคำพูด ปธ.ศาลฎีกา ถ้าดีไซน์รอบคอบแต่แรกคงไม่เกิดปัญหา ไม่พบช่องส่งศาล รธน.ตีความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2563 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเผยแพร่เอกสารข่าว (Press Release) ถึงคำชี้แจงของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กรณีนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เอกสารข่าวดังกล่าว ระบุว่า กรณีเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2563 ประธานวุฒิสภาได้มีคำชี้แจงกรณีที่ได้ชะลอการนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่เนื่องจากปรากฎว่ามีการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ตามมาตรา 11 (18) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อให้กระบวนการและขั้นตอนในการที่ประธานวุฒิสภาจะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความถูกต้องและมีข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการดังกล่าวพอสมควร
บัดนี้ ประธานวุฒิสภาได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดของข้อเท็จจริงและความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะดำเนินการตามขั้นตอนในการนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต่อไป ทั้งนี้ด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานกรรมการสรรหาๆ ได้มีหนังสือของคณะกรรมการสรรหาๆ ที่ สว(ปปช) เลขที่ 000ผี/(ส)ต90 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ถึงประธานวุฒิสภา เรื่องการยืนยันคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายสุชาติ ตระกูลกษมสุข ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตอบข้อหารือของประธานวุฒิสภา โดยมีข้อความสำคัญว่า คณะกรรมการสรหาฯ ยืนยันมติของคณะกรรมการสรรหาในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 โดยคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณาและมีมติว่า กรณีการเคยดำรงตำแหน่งของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข นั้น ไม่ถือว่านายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแต่ประการใด ดังนั้น นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข จึงเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 11(18) และตามมาตรา 16 ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาฯ ให้เป็นที่สุด ดังนั้น กระบวนการพิจารณาและสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติของคณะกรรมการสรรหาฯจึงเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 2ค7และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 12 และมาตรา ด3 ทุกประการ
2. ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานกรรมการสรหาฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า กรณีปัญหาการวินิจฉัยคุณสมบัติของอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นกรรมการองค์กรอิสระได้หรือไม่นั้น คณะกรรมการสรรหาในแต่ละชุดต่างทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความสุจริต ดังนั้น ประเด็นคือต้องดูว่าคณะกรรมการสรรหาเหล่านั้นทำตามขั้นตอนและตามข้อกฎหมายหรือไม่ ถ้าคณะกรรมการสรรหาแต่ละชุดได้ทำตามอำนาจหน้าที่ของตนด้วยความสุจริตแล้วก็เป็นอันยุติ ส่วนเรื่องการเปิดช่องให้มีการขัดแย้งกัน (ในเรื่องความเห็นและการวินิจฉัย) ได้นั้น เป็นปัญหาในเรื่องการออกแบกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญถ้ารอบคอบตั้งแต่แรก ต้องปิดซ่องไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ (อ่านประกอบ : ‘อิศรา’ถาม‘ปธ.ศาลฎีกา’ตอบ! ปัญหาตีความ สนช.นั่งองค์กรอิสระ ช่องโหว่ตรงไหน-ใครชี้ขาด?)
3. ประธานวุฒิสภาได้ศึกษากฎหมายที่สำคัญ 3 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยได้ศึกษากฎหมายทั้ง 3 ฉบับอย่างละเอียดและรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย เพื่อที่จะหาข้อยุติในเรื่องที่ขัดแย้งในคำวินิจฉัยของกรรมการสรรหาแต่ละคณะที่มีความเห็นในบางประเด็นแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจประธานวุฒิสภาในการส่งเรื่องนี้ไปให้ศลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นใดเพื่อวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว
อ่านประกอบ :
‘ชวน’นำทีมยืนยันมติ กก.สรรหา กสม.อีกรอบ 8 เสียงชี้‘นิพัทธ์’มีลักษณะต้องห้าม
‘อิศรา’ถาม‘ปธ.ศาลฎีกา’ตอบ! ปัญหาตีความ สนช.นั่งองค์กรอิสระ ช่องโหว่ตรงไหน-ใครชี้ขาด?
ชงศาล รธน.ชี้ขาด แล้วแต่’พรเพชร’! ‘ชวน’เผยคุณสมบัติ‘สุชาติ’นั่ง ป.ป.ช.จบแล้ว
สนช.ไม่ใช่ ส.ส.-ส.ว.! กก.สรรหา ป.ป.ช.ยันซ้ำคุณสมบัติ'สุชาติ'ถูกต้อง-ชง'พรเพชร'ชี้ขาด
ขยายเวลาทูลเกล้าฯ‘สุชาติ’! ‘พรเพชร’นัดแก้ปัญหา สนช.นั่งองค์กรอิสระ-รับ ส.ว.ถูกมัดมือชกโหวต
‘วิษณุ’ปัดตอบปมตีความตำแหน่ง สนช.นั่งองค์กรอิสระ-ชี้ช่องส่งศาล รธน.วินิจฉัยได้
เปิดคำชี้แจง'สุชาติ'ถึง กมธ.สอบประวัติฯ ยัน สนช.ไม่มีลักษณะต้องห้ามนั่งองค์กรอิสระ
เอาผิด 219 ส.ว.! ‘ศรีสุวรรณ’รุดยื่นผู้ตรวจฯชงศาล รธน.-ศาล ปค.ตีความตำแหน่ง สนช.
เดิมพันเก้าอี้!‘สมชาย’ลั่น สนช.ไม่ใช่ ส.ส.-ส.ว.-‘ศรีสุวรรณ’ยื่นผู้ตรวจฯชงศาล รธน.ตีความ
ส่งศาล รธน.ไม่ได้! เลขาวุฒิสภาเผยเป็นอำนาจ กก.สรรหาปมตีความตำแหน่ง สนช.ต่างกัน
ใครเป็นใคร? เปิดโครงสร้าง กก.สรรหาองค์กรอิสระ vs กสม. ไฉนตีความตำแหน่ง สนช.ต่างกัน?
พลิกปม กก.สรรหา กสม. vs ป.ป.ช. ตีความตำแหน่ง สนช.ต่างกัน-ส่งศาล รธน.วางบรรทัดฐาน?
มติกรรมการสรรหา กสม.’นิพัทธ์ ทองเล็ก’มีลักษณะต้องห้าม เหตุพ้น สนช.ไม่เกิน 10 ปี
ที่ประชุม ส.ว.เสียงข้างมากเห็นชอบ‘ณัฐจักร-สุชาติ’ เป็น กก.ป.ป.ช.ใหม่
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/