"...ลูกหนี้จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจมีการเจรจากันเจ้าหนี้รายต่างๆ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ยลงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือพักการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ขอรีไฟแนนซ์ (refinance) หรือปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างทุนในรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนอาจกำหนดให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม โดยอาจขอสินเชื่อหรือเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงิน นักลงทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำเงินมาปรับปรุงกิจการ และต่อยอดทางธุรกิจ..."
หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.63 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะลูกหนี้ ยื่นคำร้องฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินลดพ้นตัว เพราะมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอนำส่วนหนึ่งของคำร้องของบริษัท การบินไทย ในประเด็น ‘ช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้’ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เจ้าหนี้ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 47.86%
@ช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ดังที่ลูกหนี้ได้กราบเรียนต่อศาลไปข้างต้นแล้วว่า ปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ และความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ แต่เกิดจากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินที่รุนแรงประกอบกับข้อจำกัดและความไม่คล่องตัวในการบริหารจัดการ เนื่องจากเคยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นเหตุให้กำไรต่อหน่วยของลูกหนี้ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของลูกหนี้ยังมีพื้นฐานที่แข็งแรงและมีศักยภาพที่ดีในทุกด้าน ที่พร้อมจะต่อยอดและสร้างรายได้ให้กันลูกหนี้และชำระหนี้ให้กันเจ้าหนี้ได้ หากลูกหนี้ได้รับการฟื้นฟูกิจการ และได้รับแก้ไขปัญหาหนี้สินต่างๆ ที่ถึงกำหนดชำระโดยการปรับโครงสร้างหนี้โครงสร้างทุน โครงสร้างองค์กรด้วยวิธีต่างๆ อย่างเหมะสมภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนมีการแก้ปัญหาการบริหารจัดการอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
โดยลูกหนี้ขอเรียนชี้แจงแผนการปรับปรุงสถานะทางการเงินและการบริหารจัดการของลูกหนี้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพด้วยกลยุทธ์ต่างๆ อันเป็นช่องทางการฟื้นฟูกิจกรของลูกหนี้ในเบื้องต้น (ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง หากศาลอนุญาตให้ลูกหนี้พื้นฟูกิจการและผู้ทำแผนได้ศึกษารายละเอียดอย่างลึกซึ้งและถี่ถ้วน) ดังนี้
6.1 ลูกหนี้จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจมีการเจรจากันเจ้าหนี้รายต่างๆ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ยลงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือพักการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ขอรีไฟแนนซ์ (refinance) หรือปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างทุนในรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ
ตลอดจนอาจกำหนดให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม โดยอาจขอสินเชื่อหรือเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงิน นักลงทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำเงินมาปรับปรุงกิจการ และต่อยอดทางธุรกิจ หรือเพื่อนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการของลูกหนี้ต่อไป
อีกทั้งแผนพื้นฟูกิจการอาจกำหนดให้ผู้บริหารแผนทำนิติกรรมสัญญาใด เพื่อจัดการทรัพย์สินและกิจการเพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ลูกหนี้ดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป โดยขึ้นอยู่กันความสามารถในการประกอบธุรกิจและความสามารถทางการเงินของลูกหนี้ ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกอื่น ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้นี้ เจ้าหนี้ทั้งหลายจะได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ลูกหนี้ล้มละลายอย่างแน่นอน
6.2 ในส่วนการบริหารจัดการของลูกหนี้นั้น เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้มีต้นทุนสูงไม่เพียงพอต่อรายได้ลูกหนี้ จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรตลอดจนหน่วยธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความคล่องตัวและเพื่อเป็นการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นต่างๆ เช่น
-ปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบินและปรับปรุงฝูงบิน โดยอาจพิจารณาบริหารจัดการหรือยกเลิกเส้นทางบินที่กำไรต่ำหรือไม่สามารถปรับปรุงให้สามารถทำกำไรให้แก่ลูกหนี้ในอนาคตได้ อันเป็นการลดกำลังการผลิตลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจพิจารณาปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเส้นทางบินให้เหมาะสมและเพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขัน และอาจปรับปรุงการบริหารจัดการหรือปรับลดประเภทของเครื่องบินในฝูงบิน
-ปรับปรุงองค์กรและหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมและเติบโตต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคงและยั่งยืน โดยอาจปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหน่วยธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไร โดยการเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
เช่น การจัดตั้งบริษัทย่อย การจัดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเข้ามาร่วมทุนเพื่อหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ และเพิ่มศักยภาพของหน่วยธุรกิจและเพื่อให้หน่วยธุรกิจสามารถพึ่งพาตนองได้ มีกระแสเงินสดและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้มีการทำกำไรต่อไป
-ปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการพาณิชย์และความสามารถในการหารายได้ โดยอาจปรับปรุงช่องทางการขายบัตรโดยสารต่างๆ เช่น ปรับปรุงและเพิ่มเติมช่องทางการขายบัตรโดยสารผ่านอินเตอร์เน็ตในแพลทฟอร์ม (platform) ซึ่งมีประสิทธิภาพและง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างค่าตอนแทน เงื่อนไขและการประเมินผลงานตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารให้เหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น นำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและช่วยในการกำหนดราคาบัตรโดยสารและการปล่อยที่นั่งโดยสารให้สอดกล้องกับความต้องการของลูกค้า พัฒนาขีดความสามารถในการหารายได้ด้วยการทำงานในเชิงรุก
นอกจากนี้ ลูกหนี้อาจปรับปรุงพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการหารายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันการบิน เช่น การให้บริการลูกค้าภาคพื้นแบบครบวงจร การให้บริการทางเทคนิคช่าง ซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยานและเครื่องยนต์ ธุรกิจครัวการบินและการบริการจัดทำอาหาร (catering) การบริการห้องพักรับรอง (lounge) การขายของที่อาศัยแบรนด์(Brand) ของลูกหนี้ ตลอดจนการจัดการอบรมทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เป็นต้น
-ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยปรับปรุงองค์กรให้กระชับ อาจปรับลดกระบวนการขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น เพิ่มศักยกาพการทำงานในแต่ละหน่วยธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกัน
นอกจากนี้ ลูกหนี้อาจพิจารณาปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับจำนวนฝูงบินและกำลังการผลิต โดยมีนโยบายที่สนับสนุนการดำเนินดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อให้ลูกหนี้มีกำลังคนให้สอดคล้องกันความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนค่าให้จ่ายและกำลังการผลิตของลูกหนี้ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนพนักงานให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน โดยพิจารณาตามผลงานและผลิตภาพของพนักงาน
ทั้งนี้ แม้จะมีนโยบายลดกำลังคน แต่ลูกหนี้ยังยืนยันที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ให้กับลูกหนี้อย่างเต็มความสามารถและซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา โดยในชั้นนี้ลูกหนี้ไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ของพนักงานหลังเกษียณอายุงานที่มีสิทธิในกองทุนเงินบำนาญ (Pension Fund)
ลูกหนี้เชื่อมั่นว่าการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้ลูกหนี้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้ยังจะได้รับการสนับสนุนจากพนักงานของลูกหนี้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้และการปรับปรุงการบริหารจัดการกิจการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงแนวทางในเบื้องต้นเท่านั้น ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและการปรับปรุงการบริหารจัดการ ลูกหนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายในองค์กรของลูกหนี้ตลอดปัจจัยภายนอกอื่นๆ
เช่น สภาพเศรษฐกิจโดยรวม แนวโน้มของอุตสาหกรรม นโยบายรัฐ การแพร่ระบาดของขอโรคติดเชื้อ ภัยพิบัติ ความมั่นคงทางการเมือง จำนวนหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ ตลอดจนสาระสำคัญของหนี้แต่ละรายที่มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
โดยผู้ทำแผนจะต้องตรวจสอบรายละเฉียดและความเป็นไปได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้บนหลักการที่ว่าแผนพื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะต้องก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย และจะต้องได้รับชำระหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการมากกว่ากรณีที่ลูกหนี้ล้มละลายอย่างแน่นอน
อีกทั้งแผนฟื้นหูกิจการของลูกหนี้นั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและให้เกิดความเป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทั้งหลาย และเป็นประโยชน์แก่กิจการของลูกหนี้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้มละลายทุกประการ
“ลูกหนี้ขอกราบเรียนต่อศาลว่า ลูกหนี้ประกอบกิจกรสายการบินพาณิชย์มาเป็นระยะเวลากว่า 60 เป็นสายการบินที่มีเครือข่ายเส้นทางบินทั่วโลกและครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย จากการเป็นสมาชิกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มสายการบิน Star Alliance
ลูกหนี้จึงพรั่งพร้อมไปด้วยบุคลกรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในธุรกิจสายการบินตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำของธุรกิจ และแผ่ขยายครอมคลุมไปถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง และยึดโยงกับการดำเนินธุรกิจสายการบิน ลูกหนี้จึงเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดและครบวงจรที่สุดในประเทศไทย
ตลอดจนมีคุณภาพสูงทั้งด้านการให้บริการและความปลอดภัยชื่อเสียงที่ลูกหนี้ได้สั่งสมมาตลอด 60 ปีย่อมมีมูลค่าและมีคุณค่าในฐานะสายการบินแห่งชาติ ดังนั้น หากลูกหนี้ได้รับโอกาสในการฟื้นฟูกิจการ มีการปรับโครงสร้างหนี้ โครงสร้างทุน โครงสร้างองค์กร
ตลอดจนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์และการแข่งขันในตลาดโลก ลูกหนี้มีความชื่อมั่นว่าลูกหนี้จะกลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้ต่อไป”
สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการคนที่ 2 และรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย และฝ่ายบริหาร ได้ชี้แจงและให้ข้อมูลกับพนักงานบริษัท การบินไทย เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ โดยรักษาการดีดีการบินไทย กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย ให้พนักงานรับทราบ
“จากนี้ไปจนถึงวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่ศาลไต่สวนว่าจะเห็นชอบให้บริษัทฯเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ แต่ระหว่างนี้มีเรื่องที่เราต้องทำอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับเจ้าหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้เครื่องบิน เจ้าหนี้เงินกู้ เจ้าหนี้ทางการค้า รวมถึงต้องคุยกับพนักงานของเราเองด้วย ซึ่งผู้บริหารทุกท่านต้องร่วมมือร่วมใจกันที่จะทำให้เราสามารถเดินจะเดินผ่านสถานการณ์คับขันนี้ต่อไปให้ได้" แหล่งข่าวอ้างคำพูดจักรกฤศฏิ์
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า จักรกฤศฏิ์ ระบุว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่บริษัทเผชิญอยู่ ทั้งด้านทางการเงิน การบริหารบุคลากร และทรัพย์สิน ฝ่ายบริหารทุกคนต้องทำงานหนัก แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การบริหารเงินสด ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด ทำให้เราต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกด้าน และในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเราได้ไปเก็บเงินที่เหลือและถอนเงินที่เหลือมาเก็บไว้ รวมถึงการไม่ต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้หลังจากศาลฯรับคำร้อง ทำให้เราประหยัดเงินที่จ่ายออกได้มาก
“เราไม่รู้ว่าจากนี้ไปจนถึงนัดไต่สวนฯ จะใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่ แต่ถ้าเรากลับมาทำการบินได้ เราจะมีเงินสดกลับมาเข้าสู่บริษัท เราถึงวันนี้เราก็ต้องดูว่าเราจะกลับมาบินปกติได้หรือไม่ เพราะถ้าเงินทุนเหลือน้อย เราก็จะมาดูว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เอาเงินที่ไหนไปใช้ในเรื่องการฟื้นฟูกิจการ เพราะเจ้าหนี้ส่วนใหญ่คงไม่อยากให้กู้ ก็ต้องไปเจรจาเจ้าหนี้ เช่น ถ้าถ้าเรากลับมาบินต้องจ่ายน้ำมัน จ่ายค่าซัพพลายเออร์ เขาจะช่วยได้อย่างไร” แหล่งข่าวกล่าวอ้างคำพูดของจักรกฤศฏิ์
แหล่งข่าวยังกล่าวว่า จักรกฤศฏิ์ ย้ำว่า “ตอนนี้ทุกคนลำบากกันจริงๆ แต่สิ่งที่ผมอยากได้จากทุกท่าน คือ การร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งที่ทำให้บริษัทฯประหยัด ทำงานในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ และวางแผนเดินหน้าต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรากำลังทำงานกันอยู่”
ส่วนแผนฟื้นฟูของบริษัท การบินไทยนั้น จักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า “พวกเราสงสัยว่า ถ้ามีการฟื้นฟูฯ (พนักงาน) จะตกงานหรือไม่ แต่ตามปกติแล้ว เมื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ สิ่งที่อยู่ในแผนนั้น และเราจะต้องทำให้เจ้าหนี้และศาลฯดูแล้วเห็นว่ากิจการเราจะไปต่อได้"
(แฟ้มภาพ : จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ขอบคุณภาพ : กรมธนารักษ์)
แหล่งข่าวระบุว่า จักรกฤศฏิ์ กล่าวต่อว่า “เรื่องแรกที่เราจะปรับ คือ การปรับปรุงฝูงบิน เรามีเครื่องบินหลายรุ่น มีเครื่องยนต์หลากหลายประเภท เครื่องบินอายุเยอะ เราต้องกลับมารีวิวว่า จะมีเครื่องบินเหลืออยู่เท่าไหร่ จะมีเครื่องกี่ลำ ส่วนเส้นทางการบินทั่วโลกที่เราเคยมี 6,000 เที่ยวต่อปี ในอนาคตเรายังคาดเดาไม่ได้ว่าการบินจะกลับมาปกติอย่างไร เส้นทางบินจะเหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันวิเคราะห์ว่าเราจะบินไปไหนบ้าง บินอย่างไร
ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพ การหารายได้ เราจะปรับปรุงระบบจำหน่ายตั๋ว จากเดิมที่เราใช้ระบบเอเย่นต์เยอะ ซึ่งเงินเข้าช้า แต่สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลง โดยในเดือน ก.ค. เราจะประกาศใช้ระบบจำหน่ายตั๋วใหม่ โดยจะใช้วิธีจำหน่ายราคาเดียวกัน ทั้งบนเว็บไซต์ ระบบออนไลน์ เอเย่นต์ เป็นต้น
ด้านการปรับโครงสร้างองค์กรนั้น เมื่อเราดูเรื่องเครื่องบินและเส้นทางบินแล้ว เราจะศึกษาต่อว่า ถ้าฟีดลด เส้นทางบินลด โครงสร้างองค์กรควรเป็นอย่างไร จะใช้คนเท่าไหร่ ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในกระบวนการทำแผน เช่นเดียวกับสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เราต้องปรับปรุงให้กลับเข้าสู่มาตรฐานเช่นเดียวกับในตลาด และเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมการบินด้วยกัน”
ส่วนหน่วยธุรกิจ (BU) ต่างๆในการบินไทย เช่น ครัวการบิน การให้บริการภาคพื้นดิน ฝ่ายช่าง คลังสินค้า และสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ในอนาคตแต่ละบียูจะมีการขยาย หรือไปร่วมทุนกับพันธมิตร เพื่อสร้างกำไรให้บริษัท เพราะหลังจากที่การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว สิทธิประโยชน์ที่เราเคยได้รับหายไป ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และอาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งบริษัทฯต้องไปเจรจากับคู่สัญญาใหม่
“แต่ยังโชคดีที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย ที่มีรองนายกวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน โดยคณะนี้จะเป็นพี่เลี้ยงให้เราในแก้ปัญหา รวมถึงคงเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพราะถ้าเราทำช้าหรือไม่ทำ สิทธิต่างๆจะหลุดมือไป ขีดความสามารถในการแข่งขันของเราจะด้อยลงไป
และเราได้เล็งไปที่การท่า (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.) ซึ่งเขามีศักยภาพ เป็นเจ้าของพื้นที่ และมีลูกที่ทำธุรกิจเหมือนเรา เราจะเป็นพาร์ทเนอร์กัน ส่วนนักลงทุนรายอื่นๆ ถ้าจำเป็น เราก็จะหาผู้ร่วมทุนเข้ามาร่วมในบริษัทลูกของเรา ส่วนธุรกิจของบริษัทแม่ คือ ธุรกิจสายการบินนั้น เราคิดว่าอีก 1-2 ปี น่าจะกลับมาบินได้เหมือนในอดีต” แหล่งข่าวกล่าวโดยอ้างว่าเป็นคำพูดจักรกฤศฏิ์
อ่านประกอบ :
เปิดตัว 9 เจ้าหนี้!ทวงหมื่นล. ก่อน 'การบินไทย' ยื่นฟื้นฟูฯ-พบสัญญาเช่าโผล่ 9.7 หมื่นล.
โชว์ยิบหนี้ 3.52 แสนล.! 'การบินไทย' ชง 'รบ.บิ๊กตู่' อุ้ม 9 ข้อ ทบทวนเสรีการบิน-บีบโลว์คอสต์
เริ่มแล้วตัดสวัสดิการพนง.! ยกแรกปฏิบัติการฟื้นฟูฯ ‘การบินไทย’ จับตา ‘คลื่นใต้น้ำ’
เปิดเงินเดือน-ฟังเสียงสะท้อน ‘คนการบินไทย’ : ชีวิตไม่ได้ ‘สวยหรู’ อย่างที่ใครคิด!
5 ประเด็นแผนฟื้นฟู ‘การบินไทย’! ให้เจ้าหนี้โหวต ก.พ.64-ตั้ง 'ชาญศิลป์' เป็นผู้ทำแผน
บิ๊กการบินไทยดีลลับซื้อเครื่องยนต์! โชว์ละเอียดสำนวน ป.ป.ช.สอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage