‘กรมพัฒนาธุรกิจการค้า’ ชี้แจง 3 ข้อสงสัยกรณีนำส่ง ‘งบการเงิน ITV’ ชี้การระบุสถานะ ‘ยังดำเนินกิจการอยู่’ ไม่ได้หมายความว่า ‘นิติบุคคล’ ทำ ‘กิจการ-ประกอบกิจการทางการค้า’ จริงหรือไม่ แต่หากมีการประกอบกิจการลักษณะใด จะแสดงในข้อมูล 'ผลการดำเนินการ-ฐานะการเงินในงบการเงิน'
.............................................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยแพร่เอกสารข่าวกรณีการนำส่งงบการเงิน บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) โดยอ้างคำพูดของนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่า ตามที่ได้ปรากฏข่าวเกี่ยวกับบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ทำให้เกิดข้อสงสัยจากสาธารณชนหลากหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นการนำส่งงบการเงินตามแบบ ส.บช.3 และรายละเอียดด้านอื่นๆ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้รวบรวมประเด็นที่เป็นข้อสงสัยหลักของสาธารณชน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การนำส่งงบการเงินตามแบบ ส.บช.3 2.สถานะของ บมจ.ไอทีวี และ3.รายงานการประชุมของบริษัทฯ โดยกรมฯ ขอชี้แจงตามประเด็นดังกล่าว ดังนี้
1.การนำส่งงบการเงินตามแบบ ส.บช.3 การจัดทำและการส่งงบการเงินของนิติบุคคล นั้น เป็นไปตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ที่ได้กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามมาตรา 8 ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินดังกล่าวต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นสำนักงานกลางบัญชี ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยการยื่นงบการเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
สำหรับวิธีการและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการนำส่งงบการเงิน จะอยู่ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องแนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พ.ศ.2565 โดยนิติบุคคลที่มีหน้าที่นำส่งงบการเงินต้องทำการกรอกข้อมูลในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการนำส่งงบการเงิน เช่น รอบปีงบการเงินที่นำส่ง รายละเอียดของกิจการ ชื่อ ที่ตั้ง ข้อมูลผู้ทำบัญชี ข้อมูลผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ถ้ามี) ประเภทธุรกิจสินค้า/บริการและรหัส
ทั้งนี้ การนำส่งงบการเงินให้กับกรมฯ เป็นการแสดงถึงผลประกอบการและสถานะทางการเงินของนิติบุคคล เพื่อให้สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การยื่นจดทะเบียนแต่อย่างใด
2.สถานะของ บมจ.ไอทีวี ปัจจุบันมีสถานะ "ยังดำเนินกิจการอยู่" ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดนิยามไว้ แต่เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่า เป็นนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมาย (พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535) ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสถานะอื่นใด เช่น จดทะเบียนเลิก พิทักษ์ทรัพย์ ล้มละลาย หรือถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เป็นต้น
ดังนั้น สถานะ "ยังดำเนินกิจการอยู่" จึงเป็นการบอกว่านิติบุคคลได้ถูกจัดตั้ง และมีตัวตนอยู่ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่านิติบุคคลนั้น มีการทำกิจการหรือประกอบกิจการทางการค้าใดในความเป็นจริงอยู่หรือไม่ ซึ่งหากมีการประกอบกิจการในลักษณะใด จะแสดงข้อมูลผลการดำเนินการและฐานะการเงินในงบการเงิน นั้น ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับสถานะของบุคคล ก็เปรียบเสมือนบุคคลที่เกิดและยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้
3.รายงานการประชุมของบริษัทฯ การนำส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีของบริษัทมหาชนจำกัดนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการยื่นแจ้งงบการเงินประจำปีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งจะทำให้ทราบว่างบการเงินฉบับดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 127 ที่ระบุว่า
"บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี พร้อมกับสำเนางบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อนุมัติแล้ว และสำเนารายงานประชุมผู้ถือหุ้นเฉพาะที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบดุล การจัดสรรกำไร และแบ่งเงินปันผล" โดยกรมฯ มีหน้าที่รับเอกสารตามที่นิติบุคคลได้ยื่นต่อกรมฯ
ทั้งนี้ หากพบว่ามีรายงานการประชุมในส่วนของวาระอื่นนอกเหนือจากที่กรมฯ ได้ระบุ และนอกเหนืออำนาจตาม พรบ.บริษัทมหาชนฯ ที่อาจก่อให้เกิดข้อโต้แย้งใดแก่ผู้ถือหุ้นและบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆ อาจพิจารณาเป็นการดำเนินการเป็นการภายในของบริษัทที่จะต้องมีการตรวจสอบและชี้แจงต่อไป
“กรมฯ ขอให้สาธารณชนสบายใจได้ว่า การดำเนินการของกรมฯ เป็นไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด" นายทศพล ระบุ
เรื่องเกี่ยวกับกรณีหุ้นไอทีวี ของนายพิธา :
- ไม่ได้จดคำต่อคำ! ไอทีวี แจงปมบันทึกประชุมฯ ยันยังดำเนินการตามวัตถุประสงค์-ทำกิจการอยู่
- INTUCH เผยให้ ITV ตรวจสอบข้อเท็จจริง ปมบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นไม่ตรงคำตอบประธาน
- เปิดข้อมูลประกอบพิจารณา '6 ข้อ' กรณีหุ้นไอทีวี ‘พิธา’
- จ่อยื่นศาลรธน.ตีความ! 'เรืองไกร' ส่งหลักฐาน'พิธา' ปมถือหุ้น ITV ให้ กกต.เพิ่ม 2 รายการ
- 'เรืองไกร' ยื่นหลักฐาน 'พิธา' ปมถือหุ้น ITV เพิ่มให้ กกต.
- ดูชัด ๆ หุ้น ITV ‘พิธา’ 42,000 หุ้น ปี 2551-2566 ไม่ระบุ ‘ผจก.กองมรดก’
- ‘เรืองไกร’ ยื่นหลักฐานเพิ่มปม ‘พิธา’ ถือหุ้น ITV เทียบกรณี ‘ธัญญ์วาริน’ พ้น ส.ส.
- พลิกคำพิพากษาศาล รธน.คดีหุ้นสื่อ ส.ส.‘ธัญญ์วาริน’ เพียง‘ถือ-ประกอบการ’ ไม่รอด
- ย้อนคำพิพากษา 4 คดีหุ้นสื่อในศาลฎีกาเทียบไอทีวี‘พิธา’: ถือ-หยุดกิจการ-ไม่จดเลิก ไม่รอด
- พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ : แจงยิบปมหุ้น ITV โอนให้ทายาทอื่นแล้ว มั่นใจพร้อมชี้แจง กกต.
- เปิดแบบนำส่งงบการเงิน ITV ปี 2558 -2565 ล่าสุดระบุชัด‘สื่อโทรทัศน์’ ก่อน‘พิธา’อ้างมีพิรุธ
- เป็นผอ.สนง.อินทัช! คนทำบัญชี ITV ยังไม่แจงปม'พิธา’ชี้พิรุธแบบส.บช.3 แก้ 'สื่อโทรทัศน์'
- ให้ถามอินทัช! ผู้สอบบัญชี ITV ก็ไม่แจงปม'พิธา’ชี้พิรุธแบบส.บช.3 แก้ 'สื่อโทรทัศน์'
- ‘สถานะ’ ไอทีวีปมหุ้น ‘พิธา’ ! หมายเหตุประกอบงบฯ ฉบับล่าสุด ชัด ‘ดำเนินการค้าตามปกติ’
เรื่องเกี่ยวข้องธุรกิจอื่นนายพิธา :
- แกะกระดุมธุรกิจ‘ทิม-พิธา’อดีตผู้บริหาร บ.น้ำมันรำข้าว ‘ของจริง’ในสภาฯ ?
- ที่แท้ ‘พิธา’โอนหุ้น น้ำมันรำให้แม่! ส่ง บอจ. 2 ครั้ง – แก้ไขวันลงทะเบียนใหม่
- แจ้งวัตถุประสงค์ทำสื่อ บ.โฮลดิ้ง‘พิธา’– แก้ไขบัญชีผู้ถือหุ้นหลังสมัคร ส.ส. โอนให้แม่
- เปิดธุรกิจสปา ‘พิธา-อดีต ภรรยา’ ที่มา ‘เรืองไกร’ยื่นสอบบัญชีทรัพย์สิน
- เปิดบริการอยู่! ตามไปดูธุรกิจสปา‘พิธา-อดีต ภรรยา’ ปม ‘เรืองไกร’ ยื่นสอบบัญชีทรัพย์สิน
- ตามส่อง บ.สิงคโปร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บ.น้ำมันรำข้าว อดีตธุรกิจ 'พิธา' ใครเจ้าของตัวจริง?
- ข้อมูลใหม่! บ.สิงคโปร์ เข้าถือหุ้นใหญ่ บ.น้ำมันรำข้าว อดีตธุรกิจ'พิธา'หลังจัดตั้ง 11 วัน?