"..คณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า พฤติการณ์ดังกล่าวของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มีลักษณะเข้าข่ายไม่ซื่อสัตย์สุจริต แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ไม่มีธรรมาภิบาล และไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีควรเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด และเป็นที่ยอมรับนับถือของวงการอุดมศึกษาของไทย .."
การแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เป็นอีกหนึ่งประเด็นข่าวสำคัญ ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ติดตามอย่างต่อเนื่อง
ภายหลัง มสธ.ได้เผยแพร่ประกาศสภาฯ ยกเลิกรายชื่อ และมติแต่งตั้ง รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี อ้างเพิ่งประจักษ์ชัดเจนว่าขาดคุณสมบัติและไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง
รศ.ดร.วรรณธรรม เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา ว่า จะใช้สิทธิดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางปกครองและทางอาญา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมข้อมูล และมีข้อกังขาเกี่ยวพฤตติการณ์ที่สภาฯ ได้อ้างอิง
ความคืบหน้าล่าสุด สภาฯ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงข้อมูล หลังจากสื่อมวลชนได้นำเสนอกรณีการเพิกถอนมติการแต่งตั้ง รศ.ดร.วรรณธรรม โดยระบุว่า การนำเสนอข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงในลักษณะให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ และรับรู้ข้อมูลเพียงด้านเดียว
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดในหนังสือลงวันที่ 21 ก.พ. 2567 ที่สภาฯ ได้มีหนังสือถึง รมว.อว. เพื่อให้ข้อมูลกรณีการเสนอข่าวการยกเลิกรายชื่อ และการเพิกถอนมติผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี ดังนี้
*****************
ตามหนังสือที่อ้างถึง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ยกเลิกรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ความละเอียดทราบแล้ว นั้น
ต่อมามีการนำเสนอข่าวกรณีการยกเลิกรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีที่ไม่เป็นความจริงในลักษณะให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพียงด้านเดียว ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1
ในการนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขอเรียนขี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนี้
1. การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี และการยกเลิกรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
1) ตามที่สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ได้มีมติเลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ให้เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และได้มีประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง รายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ลงวันที่ 30 มีนาคม 2560 ไปแล้ว หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี แต่เนื่องจากได้มีการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครองกลางในคดีการถอดถอนอธิการบดีรายเดิมและคดีการสรรหาอธิการบดีรายใหม่ในครั้งที่รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ได้รับการรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น
จึงได้มีข้อสั่งการให้ชะลอและทบทวนการเสนอขอโปรดเกล้าฯ ถอดถอนอธิการบดี และการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีในวันที่ 4 เมษายน 2561 ทำให้สภามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องชะลอเรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอธิการบดี จนกระทั่งในปี 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้มีหนังสือเสนอแนะให้สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจารณากรณีการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภามหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี เพื่อดำเนินการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระกรุณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากพบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนต่อสภามหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปแล้วว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ขาดคุณสมบัติและไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งอธิการบดี สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 2/2567 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จึงทบทวนมติและเพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่เลือกรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี
2. ข้อเท็จจริงอันเป็นที่ประจักษ์ขัดเจนต่อสภามหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไป
สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขอเรียนขี้แจงว่า กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีข้างตันนั้น เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยได้กระทำตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระกรุณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และได้เปิดโอกาสรับฟังจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ ปราศจากอคติเพื่อประโยชน์ซองส่วนรวมอย่างสูงสุด
โดยสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณากลั่นกรองประวัติและคุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรองและแสวงหาข้อมูลในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี ตามแนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระกรุณา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และให้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยในเรื่องดังกล่าว
โดยให้เปิดโอกาสแก่รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ก่อนที่สภามหาวิทยาลัยจะพิจารณาดำเนินการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีต่อกระทรวงการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้ดำเนินการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยได้เปิดโอกาสให้รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการา 2 ครั้ง ปรากฎว่า ครั้งที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ไม่มาพบคณะกรรมการกลั่นกรองฯ แต่ได้มีหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ส่งผ่านฝ่ายเลขานุการแจ้งว่าไม่ประสงค์มาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการฯ และมีภารกิจอยู่ภายใน มหาวิทยาลัย ส่วนครั้งที่ 2 ได้แจ้งด้วยวาจากับฝ่ายเลขานุการว่าไม่ประสงค์มาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และขอยืนยันตามหนังสือที่ส่งถึงประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ครั้งแรก
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จึงได้พิจารณาจากข้อมูลประกอบกับหลักฐานที่ปรากฎตามรายงานผลของคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง และคณะกรรมการรวบรวม ตรวจสอบประวัติ และคุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการไว้ ได้พบข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นภายหลังเกี่ยวกับพฤติการณ์ของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ในการทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมีการเรียกเก็บเงินจากนักศึกษาโครงการความร่วมมือฯ นอกเหนือจากกิจกรรมในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย นำเงินที่นักศึกษาและบุคคลภายนอกบริจาคให้แก่โครงการความร่วมมือฯ ซึ่งเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี ชื่อบัญชี “โครงการความร่วมมือฯ” ที่ไม่อยู่ในระบบบัญชีของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2561 โดยไม่ได้รับมอบอำนาจหรือได้รับความเห็นชอบในการเปิดบัญชีจากมหาวิทยาลัย และไม่นำเงินดังกล่าวส่งเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย กลับได้นำเงินนั้นไปใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศส่วนตัวสำหรับตนเองและผู้อื่นที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการความร่วมมือฯ
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า พฤติการณ์ดังกล่าวของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มีลักษณะเข้าข่ายไม่ซื่อสัตย์สุจริต แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ไม่มีธรรมาภิบาล และไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีควรเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด และเป็นที่ยอมรับนับถือของวงการอุดมศึกษาของไทย
ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชควรพิจารณาทบทวนมติในการประชุม ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่มีมติเลือกรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี ว่ายังคงมีคำแนะนำเพื่อเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปอีกหรือไม่ เพราะคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยที่เสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีนั้น หากพบว่าไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ก็จะเป็นการมิบังควรเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้
ให้ คกก.ที่ปรึกษากฎหมายฯ พิจารณา
นอกจากนี้ ในประเด็นข้อกฎหมาย สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้มอบให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พิจารณาในประเด็นแรกว่า กรณีพบข้อเท็จจริงว่า ผู้ที่ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ไม่เหมาะสมเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี หากเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีไปกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งยังไม่เสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี ทั้งสองกรณีสภามหาวิทยาลัยจะมีความรับผิดหรือไม่ อย่างไร
และในประเด็นที่สองคือ กรณีในอดีตสภามหาวิทยาลัยเคยมีมติเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีและได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติไปแล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้าม แต่ถ้าในปัจจุบันที่จะต้องพิจารณาเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีพบว่าผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีอาจเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี กรณีเช่นนี้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจพิจารณาทบทวนมติเดิมได้หรือไม่ อย่างไร นั้น
คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายๆ ได้พิจารณาข้อมูลตามรายงานผลของคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงซึ่งรายงานผลว่า พฤติการณ์การกระทำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มีมูลอันควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และมีผู้ร้องเรียนไปยัง ป.ป.ท. โดยรับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว เมื่อพิจารณาข้อมูลตามรายงานผลของคณะกรรมการรวบรวม ตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี พบข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นภายหลังเกี่ยวกับพฤติการณ์ของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เช่นเดียวกันกับที่คณะกรรมการกลั่นกรองการเสนอการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีรายงานผลต่อสภามหาวิทยาลัยข้างต้น ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการรวบรวมตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติฯ มีความเห็นว่า พฤติการณ์การกระทำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เข้าข่ายเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเป็นอธิการบดีในเรื่องไม่มีคุณธรรม จริยธรรมหรือความซื่อสัตย์สุจริต ตามข้อ 12 (4) และ (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลและประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2564
คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปในประเด็นแรกว่า การเสนอแนะการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยตามกฎหมายที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ จึงเป็นอำนาจดุลพินิจที่สามารถทบทวนได้ จากพฤติการณ์การกระทำของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ที่ปรากฎตามข้อเท็จจริงข้างต้นในปัจจุบันซึ่งมีพยานหลักฐานสนับสนุน เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้พบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานแล้วว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ไม่เหมาะสมเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี แต่ถ้ามีการเสนอชื่อขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี ก็จะเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และแนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณา อาจทำให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทและเป็นการมิบังควร ซึ่งสภามหาวิทยาลัยอาจมีความรับผิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้
สำหรับประเด็นที่สองเห็นว่า มติสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่เลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี และประกาศสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง รายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 เป็นคำสั่งทางปกครอง แม้ในอดีตเมื่อปี 2559 ถึงปี 2560จะได้มีการตรวจสอบแล้วว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี แต่ถ้าหากปัจจุบันที่จะพิจารณาเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี พบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามการเป็นอธิการบดี ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2566 สภามหาวิทยาลัยย่อมมีอำนาจทบทวนมติเดิม และเพิกถอนมติในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่เคยมีมติเลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีได้ โดยอาจให้มีผลนับแต่วันที่สภามหาวิทยาลัยมีมติเพิกถอนตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ซึ่งการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และความเหมาะสมของผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น โดยเป็นการดำเนินการที่แยกต่างหากจากกรณีดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัยซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และความเหมาะสมของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มิใช่กรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีต้องได้รับโทษตามคำพิพากษาในคดีอาญาก่อน แต่เป็นเรื่องที่สภามหาวิทยาลัยต้องพิจารณาจากพฤติกรรม การกระทำ ข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี ดังนั้น การพิจารณาทบทวนมติและมีมติเพิกถอนมติเดิมดังกล่าวนั้น ไม่มีผลกระทบที่เป็นการขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีการสรรหาอธิการบดี เนื่องจากศาลมิได้ระบุคำบังคับให้สภามหาวิทยาลัยต้องเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นอธิการบดี ศาลเพียงวินิจฉัยในประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการสรรหาอธิการบดีเฉพาะในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ผ่านมาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นในเรื่องของคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปัจจุบัน และเป็นการพิจารณาที่แยกต่างหากจากการดำเนินการทางวินัย และการดำเนินการทางอาญา
สภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 พิจารณาตามรายงานผลของคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำชัดเจนประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี และความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่พบพฤติการณ์การกระทำของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ซึ่งมีพยานหลักฐานปรากฏว่า ในขณะที่รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ได้สั่งการให้มีการจัดกิจกรรมครบรอบโครงการความร่วมมือฯ 11 ปี กิจกรรมพิธีประดับเข็มเชิดชูเกียรติของนักศึกษาโครงการความร่วมมือฯ และกิจกรรมการจัดงานกีฬาฟุตบอลประเพณีนักปกครองท้องที่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของโครงการความร่วมมือฯ โดยมีการเรียกเก็บเงินและรับเงินค่าจัดกิจกรรมดังกล่าวจากนักศึกษาโครงการความร่วมมือฯ และบุคคลอื่น
นอกจากนี้ยังได้มีการขายเสื้อเพื่อหารายได้เข้าโครงการความร่วมมือฯ รับเงินบริจาคที่นักศึกษาโครงการความร่วมมือฯ บริจาคให้แก่โครงการความร่วมมือฯ และรับเงินบริจาคที่อาจารย์หรือวิทยากรที่มาทำหน้าที่ให้แก่มหาวิทยาลัยและไม่ขอรับเงินค่าตอบแทน แต่คืนเงินมาให้โครงการความร่วมมือฯ ซึ่งเงินที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม เงินรายได้จากการจัดกิจกรรม และเงินบริจาคให้แก่โครงการความร่วมมือฯ ดังกล่าว ถือว่าเป็นเงินรายได้ของหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ต้องนำส่งเข้าเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
แต่มิได้นำเงินรายได้ดังกล่าวส่งเข้าเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย กลับมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่โครงการความร่วมมือฯ ซึ่งเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว ไปทำการเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี เลขที่บัญชี 147-0-24311-3 ชื่อบัญชี “โครงการความร่วมมือฯ” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 ซึ่งมิใช่การเปิดบัญชีในชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อนำเงินที่เรียกเก็บ และเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวฝากเข้าบัญชีโครงการความร่วมมือฯ โดยมหาวิทยาลัยไม่ได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการเปิดบัญชีดังกล่าว และยังกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวของโครงการความร่วมมือฯ เป็นผู้มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีธนาคารโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้สั่งการอนุมัติหรือเห็นชอบให้มีการถอนเงินจากบัญชีโครงการความร่วมมือๆ
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ได้อนุมัติหรือเห็นชอบให้จัดโครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากรโครงการความร่วมมือฯ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และฮ่องกง ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2562 ระบุขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศโดยลาพักผ่อน และโครงการอบรมและศึกษาดูงาน เรื่อง การเพิ่มสมรรถนะการทำงานให้มีความสุข ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 -19 กุมภาพันธ์ 2563 ระบุขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศโดยลาพักผ่อนและค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นการไปในนามส่วนตัว มิใช่เป็นการเดินทางไปราชการ แต่กลับมีการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีโครงการความร่วมมือฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวในการเดินทางดังกล่าว ได้แก่ ค่าซื้อกรุ๊ปทัวร์ ค่าหนังสือเดินทางส่วนตัว ค่าอาหาร ค่าทิปไกด์ ค่าขนมของฝาก เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของทางราชการ และไม่มีระเบียบหรือข้อบังคับของทางราชการรองรับให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัวดังกล่าวได้
และยังได้มีการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีโครงการความร่วมมือฯ ไปจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ และจัดจ้างโดยที่ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อีกทั้งการเบิกจ่ายเงินของโครงการความร่วมมือๆ ก็มิได้มีการจัดทำสมุดคุมบัญชีหรือทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงินและไม่ได้มีการรายงานรายรับ-รายจ่ายให้มหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบการเบิกจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเห็นว่า แม้ว่าในอดีตเมื่อปี 2559 ถึงปี 2560 จะได้มีการตรวจสอบแล้วว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี และสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 มีมติเลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี และได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง ร้ายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ลงวันที่ 30 มีนาคม 2560ไปแล้วก็ตาม
แต่เมื่อในปัจจุบันสภามหาวิทยาลัยได้พบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีที่ประจักษ์ชัดเจนเปลี่ยนแปลงไปว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ขาดคุณสมบัติและไม่เหมาะตำแหน่งอธิการบดี ในเรื่องไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และมีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยเมื่อพิจารณาตามข้อ 12 (4) และ (6) และข้อ 17 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559 ข้อ 12 (4) และ (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2566 และข้อ 9 (2) (4) (8) ข้อ 14 (3) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลและประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2564 ซึ่งบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีควรเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด เละเป็นที่ยอมรับนับถือของวงการอุดมศึกษา ประกอบกับได้มีการให้โอกาสรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มาชี้แจงให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ประสงค์จะมาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการดังกล่าว
กรรมการสภามหาวิทยาลัยเสียงข้างมากเห็นว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ และไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่สามารถเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปได้อีก และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของทางราชการและประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ สภามหาวิทยาลัยโดยเสียงส่วนมากจึงเห็นควรให้ทบทวนและเพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่เลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เป็นผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี และยกเลิกประกาศสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง รายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดี ลงวันที่ 30 มีนาคม 2560
สภามหาวิทยาลัยได้เคยส่งรายงานในเรื่องการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่า มิได้กระทำการเพื่อกลั่นแกล้ง แต่เป็นการดำเนินการตามกระบวนการเหมือนกับกรณีการร้องเรียนทั่วไป ให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา ฯ ทราบแล้ว
สภามหาวิทยาลัยขอยืนยันว่า สภามหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีอย่างรอบคอบ ชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นประโยชน์กับหาวิทยาลัยอย่างสูงสุด ตามฐานอำนาจแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 และสภามหาวิทยาลัยยังมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการเสนอเรื่องเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีด้วย หากสภามหาวิทยาลัยให้คำแนะนำในการเสนอบุคคลผู้ขาดและไม่หมาะสมแล้วก็ย่อมเป็นการกระทำไม่เป็นไปตามกฎหมาย แนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาฯ และอาจเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทด้วย
ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยขอความอนุเคราะห์เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อชี้แจงข้อมูลด้วยวาจา ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการต่างๆ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายต่อไป
************
ทั้งหมดนี้ คือ รายละเอียดในหนังสือ สภา มสธ.ที่ส่งถึงรัฐมนตรี อว. เพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงข้อมูลกรณีการเพิกถอนมติการแต่งตั้ง รศ.ดร.วรรณธรรม ตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปก่อนหน้านี้
บทสรุปสุดท้ายการแต่งตั้ง อธิการบดี มสธ. ที่ค้างคามากว่า 7 ปี จากนี้จะมีบทสรุปเป็นอย่างไร ต้องติดตามดูกันต่อไป
อ่านประกอบ:
- สภา มสธ. เมินคำวินิจฉัย สกอ.ชี้ 'รศ.สมจินต์' พ้น กก.สภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ-ให้คงสถานภาพต่อ
- สภา มสธ.ชี้ชะตาเลิกจ้างอธิการบดี 9 มิ.ย.59 ปม เรียน วปอ.เวลางาน
- สภา มสธ. ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสอบข้อเท็จจริง ปมอธิการบดี เรียนหลักสูตร วปอ.
- เปิดใจอธิการบดี มสธ. ‘ชัยเลิศ พิชิตพรชัย’ หลังโดนกล่าวหา โดดงานไปเรียน วปอ. (1)
- เรียน วปอ.ได้เครือข่าย 'อธิการบดี มสธ.' ขอบุคลากรเชื่อมั่น เป็นประโยชน์บริหาร (จบ)
- ไขทุกข้อสงสัย ‘เธียรชัย ณ นคร’ ปมยื่นถอดถอนอธิการบดี มสธ. ส่อเค้าระอุ
- นายกสภา มสธ. เตรียมตั้ง กก.สอบอธิการบดีเรียน วปอ. กระทบงานบริหาร
- อจ.มสธ. เข้าชื่อยื่นถอดถอนอธิการบดีผิดเงื่อนไข เอาเวลาไปเรียน 'วปอ.'
- ไม่เอกฉันท์! สภา มสธ. ถอดถอน 'นพ.ชัยเลิศ' พ้นอธิการบดี-ตั้ง 'รศ.สมจินต์' รักษาการ
- เก้าอี้อาถรรพ์ 5 ปี 5 รักษาการ – ศึกยื้อตำแหน่งอธิการบดี มสธ.?
- ศาล ปค.สูงสุดพิพากษายืนสรรหาอธิการฯ มสธ.ชอบด้วย กม.-จ่อเสนอ'วรรณธรรม'ให้ อว.
- สภา มสธ.นัดพิเศษมีมติส่งชื่อ'วรรณธรรม'ให้ อว.เสนอโปรดเกล้าฯ
- อว.ให้ มสธ.เสนอโปรดเกล้าฯอธิการบดีใหม่ได้ หลังศาล ปค.สูงสุดตัดสินเลือกชอบด้วย กม.
- มสธ.แถลงการณ์ยันไม่มีการแทรกแซงอำนาจ แจงปมนายกสภาอยู่เกิน 8 ปี ปฏิบัติตาม กม.
- ยังไม่คืบหน้า! ปมเสนอโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอธิการบดี อว.จี้สภา มสธ.ทำบันทึกชี้แจง
- 'วันชัย'จี้'รบ.เศรษฐา'ปม มสธ.ยื้อตั้งอธิการบดี-'ศุภมาส'แจงได้เร่งสภามหาวิทยาลัยแล้ว
- 'ศุภมาส' แจงตั้งอธิการบดี มสธ.คนใหม่ล่าช้า ชี้เรื่องละเอียดอ่อน อยู่ระหว่างหารือ
- อว.ยันให้เสนอโปรดเกล้าฯอธิการบดี มสธ. ด้านสภายังไม่ส่งชื่อ ชี้คดีถอดถอนยังไม่ยุติ
- 'ศุภมาส'ใช้อำนาจ รมว.จี้สภา มสธ.ส่งชื่อ 'วรรณธรรม' ขึ้นโปรดฯอธิการบดี
- ขู่ใช้มาตรการ กม.ควบคุม! รมว.อว.มอบ'ศุภชัย'จี้สภา มสธ.เร่งเสนอโปรดเกล้าฯอธิการ
- ฉบับเต็ม! เปิดหนังสือ อว.ใช้อำนาจ รมว.จี้สภา มสธ.เสนอโปรดเกล้าฯอธิการ ยุติปัญหา 7 ปี
- จับตาประชุมสภา มสธ. 21 ธ.ค. หลัง อว.จี้ส่งรายชื่อขอโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอธิการบดี
- 'ศุภชัย'จี้ มสธ.เร่งขอโปรดเกล้าฯอธิการบดี แนะชะลอสอบวินัยร้ายแรง หลังส่อกลั่นแกล้ง
- สภา มสธ.ยังไม่ส่ง'วรรณธรรม'ขอโปรดเกล้าฯอธิการบดี อ้างต้องตรวจสอบความซื่อสัตย์
- กลับลำ! สภา มสธ.ยกเลิกแต่งตั้ง 'วรรณธรรม' เป็นอธิการฯ อ้างเพิ่งประจักษ์ชัดเจนไม่เหมาะสม
- 7 วัน มีแนวทางแน่! รมว.อว.เรียกประชุมปม อธิการ มสธ.-'วรรณธรรม' ขู่ยื่นศาลขอคุ้มครองชั่วคราว
- สภา มสธ.แจงปมถอนมติตั้ง'วรรณธรรม'เป็นอธิการฯ อ้างพฤติการณ์มีมูลผิดวินัยร้ายแรง