มสธ.ออกแถลงการณ์ 3 ประเด็นโต้โซเชียล ยันไม่มีการแทรกแซงอำนาจ แจงกรณีนายกสภาอยู่เกิน 8 ปี ปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนปมแต่งตั้งอธิการบดี เผย อว.ให้เสนอโปรดเกล้าฯใหม่ได้
หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org): เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ออกแถลงการณ์ถึงกรณีการกล่าวพาดพิงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย และผู้ที่ปฏิบัติงานให้แก่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ใน 3 ประเด็น ดังนี้
ตามที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สภามหาวิทยาลัย และผู้ที่ปฏิบัติงานให้แก่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียในหลายช่องทางนั้น มหาวิทยาลัยขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในแต่ละกรณี ดังนี้
1. กรณีการกล่าวอ้างว่ามีการแทรกแซงสภามหาวิทยาลัยให้เกิดการลาออกของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมใน สภามหาวิทยาลัยชุดก่อน ช่วงปี 2559 - 2560
เมื่อปลายปี 2559 ในระหว่างที่มีการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ มาแทนตำแหน่งอธิการบดีคนเดิมที่ถูกถอดถอนก่อนครบวาระ ได้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลส่วนตัว เหลือกรรมการสภามหาวิทยาลัยทั้งหมดไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ทำให้สภามหาวิทยาลัยไม่สามารถจัดประชุมได้ เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม มหาวิทยาลัยจึงได้มีหนังสือขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม ให้ครบองค์ประชุม เพื่อให้สภามหาวิทยาลัยปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายได้
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการฯ แต่งตั้งให้ ศ.ดร. ประสาท สีบค้า รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา และนายปราโมทย์ โชติมงคล เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ตามที่มหาวิทยาลัยร้องขอ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่ รศ.ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย
ส่วน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ในขณะนั้นมิได้มีอำนาจหน้าที่ใดๆ เกี่ยวข้องกับการพิจารณาลาออกและการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม และมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับกรสรรหาอธิกรบดีในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เป็นอำนาจหน้าที่และการดำเนินการของสภามหาวิทยาลัยชุดเดิมในขณะนั้น
2. กรณีปัญหาการเสนอขอโปรดเกล้าฯ ถอดถอนอธิการบดีและแต่งตั้งอธิการบดี
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 มาตรา 15 (6) กำหนดให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการแต่งตั้งและถอดถอนอธิการบดีก่อนครบวาระ และมาตรา 2 วรรคสาม กำหนดว่าการถอดถอนอธิการบดีก่อนครบวาระต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงถอดถอนการถอดถอนอธิการบดีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 โดยสภามหาวิทยาลัยชุด รศ.ตร.องค์การอินทรัมพรรย์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 9/2559 ได้มีมติถอดถอนอธิการบดีท่านเดิมออกจากตำแหน่งอธิการบดีก่อนครบวาระ ต่อมาวันที่ 16 มินายน 2559 ได้มีการยื่นฟ้องคดีต่อ
ศาลปกครองกลาง (คดีการถอดถอนอธิการบดี กล่าวอ้างว่า มติและตำสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งอธิการบดีก่อนครบวาระ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิด อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งถอดถอนดังกล่าวเกี่ยวกับสถานภาพการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ที่ได้มีการแสดงเจตนาลาออกจากการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ก่อนปิดการประชุมไปแล้ว
ต่อมาวันที่ 30 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อขอให้ดำเนินการเสนอขอโปรดเกล้าๆ ถอดถอนอธิการบดีก่อนครบวาระ ตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นกำหนดไว้ และในวันเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยได้เสนอสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 10/2559 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) กำหนดกรอบการสรรหาอธิการบดี อันสืบเนื่องมาจากการที่สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ถอดถอนอธิการบดีท่านเดิมออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ และสภามหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบกำหนดกรอบการสรรหาอธิการบดีตามที่มหาวิทยาลัยเสนอ ซึ่งเป็นการสรรหาอธิการบดีคนใหม่แทนตำแหน่งที่ถูกถอดถอนก่อนครบวาระในระหว่างการสรรหาอธิการบดี
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีหนังสือลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 และลงวันที่ 28 มีนาคม 2560 แจ้งให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนการดำเนินการกรณีการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้กล่าว ลาออกในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเป็นประธานกรรมการสรรหาอธิการบดี เนื่องจากเห็นว่าการแสดงเจตนาลาออกจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวาจาต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 นั้นถือว่าพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระแล้ว
การแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้นเป็นประธานกรรมการสรรหาอธิการบดี ย่อมไม่เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้ประธานกรรมการสรรหามาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผลให้ไม่อาจเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยได้อีก หลังจากที่ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว การที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยท่านที่กล่าวลาออกยังเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัย และร่วมลงมติให้ถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีด้วยจึงทำให้มติสภามหาวิทยาลัยที่ให้ถอดถอนอธิการบดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้แจ้งข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาทบทวนและแก้ไขการถอดถอนอธิการบดีให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย พร้อมได้ส่งคืนเรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าฯ ถอดถอนอธิการบดีให้แก่มหาวิทยาลัยดำเนินการต่อไป
แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะได้มีหนังสือให้ทบทวนกระบวนการถอดถอนและการสรรหาอธิการบดีข้างต้นก็ตาม กระบวนการสรรหาอธิการบดียังคงดำเนินต่อไป และภายหลังจากกระบวนการสรรหาอธิการบดีเสร็จสิ้นแล้ว สภามหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบให้เสนอขอแต่งตั้งอธิการบดีท่านใหม่ และหลังจากนั้นมหาวิทยาลัยได้มีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้เสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีท่านใหม่ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีแล้ว
ในวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ได้มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง (คดีการสรรหาอธิการบดี) โดยอ้างถึงการขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี และอ้างอีกว่ากระบวนการสรรหาอธิการบดีไม่เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559
ในระหว่างที่มีการฟ้องร้องคดีการถอดถอนอธิการบดีและคดีการสรรหาอธิการบดี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยแจ้งว่า ตามที่มหาวิทยาลัยได้เสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีนั้น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ตรวจสอบการดำเนินการตามเอกสารหลักฐานที่มหาวิทยาลัยเสนอข้อร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า กรณีของมหาวิทยาลัยมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายได้เคยวินิจฉัยตีความว่า กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้น ได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ตั้งแต่วันที่ได้แสดงเจตนาลาออกจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558
แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้นยังคงทำหน้าที่อยู่ต่อไป ทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายว่าการดำเนินการภายหลังจากที่ได้แสดงเจตนาลาออกไปแล้วนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เช่น การร่วมลงมติถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่ง และการทำหน้าที่ประธานกรรมการสรรหาอธิการบดี
ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้มีการยกขึ้นฟ้องร้องต่อศาลปกครองด้วย และแจ้งด้วยว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวและเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายประกอบกับความเห็นของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และได้บัญชาให้สภามหาวิทยาลัย พิจารณาแก้ไขและทบทวนการถอดถอนอธิการบดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
ส่วนประเด็นปัญหาในกรณีการเสนอขอโปรดเกล้าๆ แต่งตั้งอธิการบดีโดยสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้น เป็นประธานกรรมการสรรหาอธิการบดี ซึ่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2559 กำหนดให้ประธานกรรมการสรรหาอธิการบดีต้องมาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้มีผู้ร้องเรียนคัดค้านการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีในประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติและกระบวนการสรรหาอธิการบดีไม่เป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวและได้มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง
ซึ่งหากภายหลังปรากฏว่า ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้กระบวนการสรรหาอธิการบดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะต้องเสนอเรื่องเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอนอธิการบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีข้อสั่งการให้ชะลอการเสนอขอโปรดเกล้าฯ ถอดถอนอธิการบดีและการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอริการบดี เพื่อให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนการดำเนินการถอดถอนและกระบวนการสรรหาอธิการบดีให้เรียบร้อยเสียก่อน และได้ส่งคืนเรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีให้มหาวิทยาลัยดำเนินการต่อไป
ปัจจุบัน ศาลปกครองกลาง ในคดีการถอดถอนอธิการบดี ได้มีคำพิพากษาแล้วว่า การที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้แจ้งต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ก่อนปิดประชุมว่า "ขออนุญาตยุติบทบาทและหน้าที่ และขออภัยที่ทำให้ต้องสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน" กรณีถือว่าได้แสดงเจตนาลาออกอย่างชัดแจ้งแล้ว และการลาออกนั้นมีผลสมบูรณ์นับแต่วันที่ได้แสดงเจตนาต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งดังกล่าวการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่มีมติถอดถอนอธิการบดี ที่มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครองเข้าร่วมประชุมและร่วมลงมติในการประชุมของสภามหาวิทยาลัยด้วย มติของสภามหาวิทยาลัยจึงเสียไปทั้งหมด
ส่งผลให้มติถอดถอนอธิการบดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับเหตุผลในการถอดถอนว่า อธิการบดีที่ถูกถอดถอนมีพฤติกรรมอันเป็นการกระทำที่แสดงเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และแนวปฏิบัติทางปกครองและมีพฤติกรรมกระด้างกระเดื่องต่อสภามหาวิทยาลัยนั้น ไม่อาจรับฟังได้ และศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของสภามหาวิทยาลัยที่ออกตามมติที่ให้ถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่งนับแต่วันที่ออกคำสั่งถอดถอน และให้คืนสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ให้แก่อริการบดีท่านเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายหรีอระเบียบในเรื่องดังกล่าวกำหนด จึงมีผลให้สถานภาพเป็นอธิการบดีคงมีอยู่ตามเดิมตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันที่ถูกถอดถอนจนถึงวันที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี 4 ปี
แต่ขณะนี้คดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จึงยังไม่ได้ข้อยุติเป็นที่สุดว่าการถอดถอนอธิการบดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการแสดงเจตนายุติบทบาทการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมีผลเป็นการลาออกจากตำแหน่งหรือไม่
แม้ว่าในขณะนี้ ศาลปกครองสูงสุดคดีการสรรหาอธิการบดีได้มีคำพิพากษาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แล้วว่า การที่สภามหาวิทยาลัยมีมติเลือกอธิการบดีท่านใหม่เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และได้วินิจฉัยว่า การที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิได้กล่าวในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 หลังจากที่ประธานในที่ประชุมได้กล่าวปิดประชุมว่า ขออนุญาตยุติบทบาท และหน้าที่นั้น หมายถึง การยุติบทบาทความขัดแย้งระหว่างอธิการบดีกับสภามหาวิทยาลัย ที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้น ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่จะเป็นพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้นแสดงเจตนาลาออกจากการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาลปกครองสูงสุดจึงวินิจฉัยว่า ยังมิได้เป็นการลาออกจากตำแหน่งและยังมีสถานภาพเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ รวมทั้งในวันที่มีการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีด้วย การปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการสรรหาอธิการบดีของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
จากข้อเท็จจริงข้างต้นจะเห็นว่า ผลการวินิจฉัยของศาลปกครองในประเด็นสถานภาพการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิในคดีการสรรหาอธิการบดีแตกต่างจากคดีการถอดถอนอธิการบดี
อนึ่ง ในการพิจารณาเสนอขอโปรดเกล้าๆ แต่งตั้งอธิการบตีและถอดถอนอธิการบตีก่อนครบวาระนั้น สภามหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0508/ว 101 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณา ซึ่งกำหนดให้ทุกส่วนราชการจะต้องพึงระมัดระวังตรวจสอบกลั่นกรองว่าได้ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมทั้งหากเป็นเรื่องที่มีข้อร้องเรียนว่า มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวทางปฏิบัติได้กำหนดไว้ ก็ให้ตรวจสอบหรือดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่ยุติเสียก่อน รวมทั้งเรื่องที่เสนอต้องไม่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องต่อศาล อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จึงกำชับให้ทุกส่วนราชการถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลพระมหากรุณา จะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีข้อมูลอันเป็นที่ยุติชัดเจนก่อนที่จะส่งเรื่องมาเพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาต่อไป
ต่อมา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ยังได้มีหนังสือที่ นร .508/ว 3449 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2564 เวียนแจ้งกระทรวง กรม หน่วยงานอิสระ เพื่อซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณา ว่าในห้วงเวลาที่ผ่านมา ยังมีส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เสนอเรื่องที่มีประเด็นปัญหากรณีที่มีข้อร้องเรียนและเรื่องที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องต่อตาลว่า มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวทางปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ อันเป็นเหตุให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถดำเนินการนำความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาต่อไปได้ ตังนั้น เพื่อให้การขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่างๆ สามารถดำเนินการนำความกราบบังคมทูลได้อย่างถูกต้อง เรียบร้อย ไม่เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท จึงกำชับให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติของหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ว 101 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 อย่างเคร่งครัดต่อไป
จากแนวปฏิบัติของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น ทำให้ที่ผ่านมานั้น สภามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องรอความชัดเจนในส่วนของคดีเสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนทุกประเด็นว่าการถอดถอนและการสรรหาอธิการบดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากทั้งสองคดีมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับสถานภาพการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และสภามหาวิทยาลัย มีเจตนาต้องการให้ทั้งสองคดีดังกล่าวได้ข้อยุติเป็นที่สุดโดยเร็ว เพื่อจะได้ดำเนินการพิจารณาเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีและถอดถอนอธิการบดีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและแนวปฏิบัติดังกล่าว
ที่ผ่านมานั้น คดีการสรรหาอธิการบดีมีการฟ้องร้อง ในช่วงสภามหาวิทยาลัยชุดเดิม (รศ.ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย) ระหว่างปี 2558 - 2560 แต่ต่อมาสภามหาวิทยาลัยชุดใหม่ซึ่งเป็นชุดปัจจุบันได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อจากชุดเดิมและสภามหาวิทยาลัยชุดปัจจุบัน ยังคงดำเนินการแก้ต่างตดีการสรรหาอธิการบดีมาโดยตลอด โดยยึดแนวทางการแก้ต่างคดีและการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมาของสภามหาวิทยาลัยชุดเดิม
จนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ได้พิพากษาให้การสรรหาอธิการบดีที่ดำเนินการโดยสภามหาวิทยาลัยชุดเดิมชอบด้วยกฎหมาย และภายหลังที่ได้รับทราบคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด สภามหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการประชุมนัดพิเศษโดยด่วนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 เพื่อพิจารณาการส่งเรื่องโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีตามกระบวนการ และวันต่อมาสภามหาวิทยาลัยได้มีหนังสือถึงกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ลงวันที่ 2 มีนาคม 2566 เพื่อเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี
จะเห็นได้ว่าสภามหาวิทยาลัยไม่ได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการปฏิบัติตามคำพิพากษาในการเสนอเรื่องโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีแต่อย่างใด สภามหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการเพื่อความรอบคอบและชอบด้วยกฎหมายมาโดยตลอด และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้ส่งหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัยซึ่งลงรับเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ตอบหนังสือที่มหาวิทยาลัยส่งไปในเรื่องการเสนอแต่งตั้งอธิการบดี โดยระบุให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาดำเนินการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีตามขั้นตอนต่อไป แต่ในส่วนเรื่องคดีการถอดถอนอธิการบดี ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติในขั้นศาลและยังมีขั้นตอนที่สภามหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการตามกฎหมายนั้น ให้สภามหาวิทยาลัยรอผลแห่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ไว้ก่อนเพื่อดำเนินการต่อไป
3. การดำรงตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัยเกินกว่า 8 ปี
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่ง 2 ปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามหรือจำกัดสิทธินายกสภามหาวิทยาลัยดำรงตำแหน่งรวมกันเกินกว่า 8 ปี
ส่วนแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ข้อ 14 ที่กำหนดว่า นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิศวรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 4 ปี และไม่ควรดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินกว่า 8 ปีนั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ขัดกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 จึงใช้บังคับมิได้
และต่อมาได้มีแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 โดยในข้อ 37 วรรคสอง กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ในสถาบันอุดมศึกษาหากมีประการใดขัดกับพระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบั่นอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษานั้นก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 ไปก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติฯ และไม่อาจออกหรือแก้ไขข้อบังคับให้ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง ได้
อ่านประกอบ:
- สภา มสธ. เมินคำวินิจฉัย สกอ.ชี้ 'รศ.สมจินต์' พ้น กก.สภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ-ให้คงสถานภาพต่อ
- สภา มสธ.ชี้ชะตาเลิกจ้างอธิการบดี 9 มิ.ย.59 ปม เรียน วปอ.เวลางาน
- สภา มสธ. ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสอบข้อเท็จจริง ปมอธิการบดี เรียนหลักสูตร วปอ.
- เปิดใจอธิการบดี มสธ. ‘ชัยเลิศ พิชิตพรชัย’ หลังโดนกล่าวหา โดดงานไปเรียน วปอ. (1)
- เรียน วปอ.ได้เครือข่าย 'อธิการบดี มสธ.' ขอบุคลากรเชื่อมั่น เป็นประโยชน์บริหาร (จบ)
- ไขทุกข้อสงสัย ‘เธียรชัย ณ นคร’ ปมยื่นถอดถอนอธิการบดี มสธ. ส่อเค้าระอุ
- นายกสภา มสธ. เตรียมตั้ง กก.สอบอธิการบดีเรียน วปอ. กระทบงานบริหาร
- อจ.มสธ. เข้าชื่อยื่นถอดถอนอธิการบดีผิดเงื่อนไข เอาเวลาไปเรียน 'วปอ.'
- ไม่เอกฉันท์! สภา มสธ. ถอดถอน 'นพ.ชัยเลิศ' พ้นอธิการบดี-ตั้ง 'รศ.สมจินต์' รักษาการ
- เก้าอี้อาถรรพ์ 5 ปี 5 รักษาการ – ศึกยื้อตำแหน่งอธิการบดี มสธ.?
- ศาล ปค.สูงสุดพิพากษายืนสรรหาอธิการฯ มสธ.ชอบด้วย กม.-จ่อเสนอ'วรรณธรรม'ให้ อว.
- สภา มสธ.นัดพิเศษมีมติส่งชื่อ'วรรณธรรม'ให้ อว.เสนอโปรดเกล้าฯ
- อว.ให้ มสธ.เสนอโปรดเกล้าฯอธิการบดีใหม่ได้ หลังศาล ปค.สูงสุดตัดสินเลือกชอบด้วย กม.