สภา มสธ.นัดประชุมพิเศษพิจารณาคำพิพากษาปมสรรหาอธิการบดี มีมติส่งชื่อ 'วรรณธรรม' พร้อมแนบคดี 'หมอชัยวัฒน์' ให้ อว.พิจารณา
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธานการประชุมสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เพื่อพิจารณาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และพิจารณานำชื่อ รศ.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ผู้ชนะในการสรรหา เสนอต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อให้ทูลเกล้าฯเพื่อโปรดเเกล้าฯ แต่งต่อไป ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อย่างไรก็ตาม ในการส่งเรื่องดังกล่าวไปยัง อว.ได้อ้างถึงคดีที่ นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย กรณีสภามหาวิทยาลัยได้มีมติถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เพื่อให้ อว.พิจารณาด้วย
สำหรับคดีการถอดถอน นพ.ชัยเลิศ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2559 สภามหาวิทยาลัยได้มีมติถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ กรณีของ นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ต่อมาวันที่ 16 มิ.ย. 2559 นพ.ชัยเลิศ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยอ้างว่า การถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และคืนตำแหน่งอธิการบดีให้ตามเดิม และขอให้ศาลทุเลาการบังคับตามคำสั่งสภามหาวิทยาลัยได้ถอดถอนตำแหน่งอธิการบดีไว้ก่อน และขอให้ระงับการสรรหาอธิการดีไว้ก่อน ซึ่งศาลปกครองกลาง ยกคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมาคำสั่งทุเลาการบังคับ
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2562 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งสภามหาวิทยาลัยเพิกถอนคำสั่งสภามหาวิทยาลัยที่ 9/2559 ลงวันที่ 9 มิ.ย. 2559 ที่ถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ส่วนในการประชุมสภามหาวิทยาลัยวันดังกล่าวที่มีมติถอดถอนอธิการบดีออกจากตำแหน่ง มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านซึ่งมิได้เป็นกรรมการสภามหาวิทายลัย และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครองเข้าร่วมประชุม และร่วมลงมติในการประชุมของสภามหาวิทยาลัยด้วยจึงเสียไปทั้งหมด
โดยกรณีดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีที่มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งได้แจ้งต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2558 ว่า "ขออนุญาตยุติบทบาทและหน้าที่ และขออภัยที่ทำให้ต้องสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน"
ศาลเห็นว่า กรณีดังกล่าวถือว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิท่านนั้นได้แสดงเจตนาลาออกอย่างชัดแจ้งแล้ว และไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากนายกสภามหาวิทยาลัยก่อนแต่อย่างใด การลาออกจึงมีผลสมบูรณ์แล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนา
ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัย ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อสืบต่อกระบวนการทางกฎหมายของสภามหาวิทยาลัยชุดเดิม
ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างรอผลคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จึงยังไม่ได้ข้อยุติว่าการถอดถอนอธิการบดีนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
อ่านประกอบ:
- สภา มสธ.ชี้ชะตาเลิกจ้างอธิการบดี 9 มิ.ย.59 ปม เรียน วปอ.เวลางาน
- สภา มสธ. เมินคำวินิจฉัย สกอ.ชี้ 'รศ.สมจินต์' พ้น กก.สภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ-ให้คงสถานภาพต่อ
- สภา มสธ. ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสอบข้อเท็จจริง ปมอธิการบดี เรียนหลักสูตร วปอ.
- เปิดใจอธิการบดี มสธ. ‘ชัยเลิศ พิชิตพรชัย’ หลังโดนกล่าวหา โดดงานไปเรียน วปอ. (1)
- เรียน วปอ.ได้เครือข่าย 'อธิการบดี มสธ.' ขอบุคลากรเชื่อมั่น เป็นประโยชน์บริหาร (จบ)
- ไขทุกข้อสงสัย ‘เธียรชัย ณ นคร’ ปมยื่นถอดถอนอธิการบดี มสธ. ส่อเค้าระอุ
- นายกสภา มสธ. เตรียมตั้ง กก.สอบอธิการบดีเรียน วปอ. กระทบงานบริหาร
- อจ.มสธ. เข้าชื่อยื่นถอดถอนอธิการบดีผิดเงื่อนไข เอาเวลาไปเรียน 'วปอ.'
- ไม่เอกฉันท์! สภา มสธ. ถอดถอน 'นพ.ชัยเลิศ' พ้นอธิการบดี-ตั้ง 'รศ.สมจินต์' รักษาการ
- เก้าอี้อาถรรพ์ 5 ปี 5 รักษาการ – ศึกยื้อตำแหน่งอธิการบดี มสธ.?