"…เราเข้าร่วมโครงการนี้ เราทำด้วยใจที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนให้มากที่สุด เท่าที่เราทำได้ ในเรื่องจะได้รับค่าตอบแทนจาก สปสช. ตรงนี้เราได้รับเงินสนับสนุนชุดละ 10 บาท ส่วนจะมากหรือน้อยไปนั้น เราไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลย ซึ่งเราตั้งใจว่าชุดตรวจที่เข้ามาวันนี้ 2,700 ชุด หากประชาชนเข้ามารับ ไม่ว่าจะกี่คนต่อวันก็ตาม เราจะแจกทุกคนให้หมดภายในวันนั้น จะไม่ให้เกิดการตกหล่น…"
“…ขั้นตอนแรกขอให้ประเมินความเสี่ยงให้เรียบร้อย โดยกดไปที่ ‘ฟรี ชุดตรวจโควิด’ พร้อมให้ระบุที่อยู่ จังหวัด และตอบคำถาม 3 ข้อ เมื่อเสร็จแล้ว หากได้รับการประเมินว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ระบบจะให้เลือกหน่วยบริการที่ต้องการไปรับ ATK ต่อไป จากนั้นเมื่อเดินทางไปถึงหน่วยบริการแล้ว หน่วยบริการจะเปิด QR Code จากแอปพลิเคชันถุงเงินให้สแกน เมื่อทำรายงานเสร็จประชาชนจะได้รับคำแนะนำการใช้งานและชุดตรวจ 2 ชุด กลับมาทดสอบ ...
"… การฉีดวัคซีนไขว้ ผสมสูตรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ที่ไทยจะเริ่มใช้ในเดือน ต.ค. นี้ เป็นสูตรวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกรับรองให้ใช้ในกรณีจำเป็น และใช้กันในหลายประเทศ ซึ่งมีผลวิจัยต่างชี้ออกมาว่าวัคซีนสูตรนี้ปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านโควิดได้ดี โดยผลวิจัยจากอังกฤษเผยว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่าการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ถึง 6 เท่า…"
"… สำหรับสายพันธุ์มิวนั้น ยังถูกจัดชั้นให้อยู่ในขั้นเริ่มต้น หรืออยู่ในความสนใจ แต่ยังไม่ใช่สายพันธุ์ที่น่ากังวล รวมไปถึงสายพันธุ์ C.1.2 ก็ยังไม่ได้ถูกจัดชั้น และองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษากลางที่เอาไว้เรียกด้วย ซึ่งปัจจุบันยังไม่เจอสายพันธุ์นี้ในประเทศ…"
"...จำนวนขวดพลาสติก PET 18 ขวด ปริมาณ 600 มิลลิลิตร สามารถนำมาผลิตชุด PPE ได้ 1 ชุด ซึ่งแคมเปญแยกขวดช่วยหมอ 3 ครั้งที่ผ่านมา เราสามารถผลิตชุด PPE รวมกันสะสมได้จำนวน 20,000 ชุดแล้ว..."
"…การฉีดวัคซีนแม้ปกป้องได้ดี แต่ก็ไม่ใช่ 100% ความเสี่ยงสามารถสะสมได้ ยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นเท่านั้น การท่องเที่ยว พบปะผู้อื่น จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือกินอาหารนอกบ้านจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย เมื่ออยู่ในสภาแวดล้อมความเสี่ยงต่ำ และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกหากได้ฉีดวัคซีนครบถ้วน…"
“…ประชาชนที่จะได้รับชุดตรวจ ATK จะต้องเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยในจุดนี้ สปสช.จะเตรียมการสร้างแบบประเมินความเสี่ยงสอบถามไทม์ไลน์ ให้ประชาชนได้ทำผ่านแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ หากได้รับผลการประเมินมีความเสี่ยง ประชาชนจะสามารถเลือกจุดรับชุดตรวจได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน จากนั้นเมื่อตรวจหาเชื้อแล้วพบผลเป็นบวก เภสัชกรชุมชนจะประเมินอาการว่าท่านเป็นผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง และส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา ...
"...โควิดเรื้อรัง หรือ Long Covid คือ อาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์กับผู้เคยติดเชื้อโควิด ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 35 - 49 ปี และอายุระหว่าง 50 - 69 ปี และ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์ อาจเกิดได้ตั้งแต่อาการเบาไปจนถึงหนัก ซึ่งรุนแรงถึงขั้นหลายคนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ การอาบน้ำ ซื้อของ หรือแม้กระทั่งการจดจำคำศัพท์..."
"… ทำไมเราต้องรอให้เกิดเหตุก่อนแล่วค่อยยับยั้ง เราควรจะการป้องกันไว้ก่อนเหมือนกับการป้องกันอาชญากรรม ความรุนแรงในครอบครัว ก็คืออาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นได้ต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ เหยื่อ คนร้าย และโอกาส คนร้ายเราไม่อาจรู้ได้แต่พอประเมินได้คร่าวๆ แต่หากเราตัดโอกาสและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ความรุนแรงจะลดลงได้…"
“..การทำงานของเรา ไม่ได้ทำเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบ เราทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการระบาดระลอกที่ 3 ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเราได้เตรียมความพร้อมเรื่องของบุคลากรการแพทย์และบุคลากรด่านหน้าต้องเพียงพอ และที่สำคัญต้องดูศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ ด้วย ถ้าหากไม่เพียงพอแล้วจะรับมืออย่างไร เราจะมีแผนรองรับด้วย..”