"...ประเด็นการริบเงิน 89 ล้านบาท ตามอุทธรณ์โจทก์นั้น เห็นว่า การจ่ายเงินจํานวน 89,000,000 บาท ให้จําเลยที่ 7 เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนข้อตกลงในการผลักดันโครงการบ้านเอื้ออาทรของบริษัท ช. โครงการอื่นนอกจากโครงการบ้าน เอื้ออาทร ส. เงินจํานวน89,000,000 บาท จึงเป็นเงินที่สัมพันธ์กับเงินสินบนที่ใช้ในการอํานวยความสะดวกให้กับโครงการ บ้านเอื้ออาทรอื่นของบริษัท ช. เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดที่ศาลมีอํานาจริบได้..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ ได้อ่านคําพิพากษาขั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ โจทก์และนายวัฒนา เมืองสุข จําเลยที่ 1 อุทธรณ์ ตามคดีหมายเลขดําที่ อม.อธ. 1/2564 และ อม.อธ. 1/2565 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายวัฒนา เมืองสุข จําเลยที่ 1 กับพวกรวม 14 คน
................................
องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ประเด็นเรื่องอํานาจฟ้องนั้น เห็นว่า คณะกรรมการ คตส. แต่งตั้งนาย ก. เป็น ประธานอนุกรรมการตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2549 นาย ก. จึงมีอํานาจรวบรวม พยานหลักฐานตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป รวมถึงอํานาจในการสอบปากคําพยานบางปากตามอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ด้วย การ ไต่สวนพยานของนาย ก.จึงเป็นการไต่สวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และปรากฏข้อเท็จจริงว่าก่อนมีการฟ้องคดีคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุดได้แต่งตั้งผู้แทนเป็นคณะทํางาน เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์โดยมีการประชุมเพื่อพิจารณาร่วมกัน ซึ่ง การประชุมครั้งสุดท้ายคณะทํางานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดพิจารณาพยานหลักฐานที่ ไม่สมบูรณ์จนไม่มีข้อโต้แย้งกัน และได้ข้อยุติทุกข้อแล้วก่อนมีการส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดฟ้องเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอํานาจฟ้อง
ประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้องของจําเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบกับพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 28 ยังบัญญัติด้วยว่า ให้รัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่กํากับโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของ กคช. จําเลยที่ 1 จึงเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตาม กฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอํานาจหน้าที่กํากับโดยทั่วไป จําเลยที่ 1 ย่อมมีอํานาจหน้าที่ในการออกนโยบาย กําหนดแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้าง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการยื่นข้อเสนอ เพื่อจัดทําโครงการ รวมทั้งการกําหนดแนวทางในการยกเลิกประกาศการเคหะแห่งชาติฉบับเดิมและออกประกาศการเคหะ แห่งชาติฉบับใหม่ หรือสั่งให้การเคหะแห่งชาติปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ซึ่งกิจการของการเคหะแห่งชาติ จําเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 ใช้อํานาจโดยมิชอบดังกล่าว การกระทําของจําเลยที่ 1 ย่อมครบ องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 (เดิม) แล้ว
ประเด็นจําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อํานาจในตําแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้ บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ นั้น เห็นว่า ขณะที่มีการไต่สวน โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังไม่มีบทบัญญัติการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานโดยไม่ดําเนินคดี จึงเป็นอํานาจของ คตส. ที่จะกันบุคคล หรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยานได้ เมื่อการสอบถ้อยคําพยานเป็นประโยชน์ต่อการไต่สวน เมื่อมิได้มีการจูงใจให้พยานต้องให้การ ผิดไปจากมูลความจริง และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนได้กําหนดเนื้อหาที่พยานต้องให้การไว้เป็นการ ล่วงหน้า หรือมีการชี้นําพยานว่าต้องให้การยืนยันไปในทางใด โดยพยานมีอิสระที่จะให้การไปตามความรู้เห็นของตน จึงมิได้ เป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการจูงใจหรือมีคํามั่นสัญญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 และรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงได้ ขณะจําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี มีการจัดทําหนังสือนําส่งเอกสาร ประกอบการประชุมคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติโดยระบุชื่อ จําเลยที่ 4 ในฐานะที่ปรึกษาจําเลยที่ 1 หลายครั้ง จําเลยที่ 5 อ้างว่าจําเลยที่ 4 เป็นทีมงานที่ปรึกษาของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 แจ้งนางอาภรณ์พนักงานการเคหะแห่งซึ่งเป็นทีมเลขานุการของผู้ว่าการเคหะแห่งชาติว่า จําเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษาของจําเลยที่ 1 พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจําเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษาของจําเลยที่ 1 อย่างไม่เป็นทางการ จําเลยที่ 1 เข้าร่วมประชุมมอบนโนบายให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์พิจารณาอาทรใหม่ และจําเลยที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติให้ผู้ประกอบการดําเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรใหม่ แม้ผู้ประกอบการบางรายได้รับอนุมัติหน่วยก่อสร้างไปแล้ว แต่จําเลยที่ 1 เปลี่ยนหลักเกณฑ์โครงการบ้านเอื้ออาทรโดยผู้ประกอบการต้องวางหลักประกันมูลค่าร้อยละ 5 และได้รับเงินล่วงหน้าจากการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจําเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งการเกี่ยวกับการจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการ
เมื่อจําเลยที่ 1 ให้จําเลยที่ 4 แสดงออกว่าเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ประกอบกับมีการเรียกเงินจํานวนมากจากผู้ประกอบการหลายรายเกี่ยวพันกับโครงการบ้านเอื้ออาทรซึ่งอยู่ในการกํากับดูแลของจําเลยที่ 1 แล้ว ลําพังจําเลยที่ 4 ย่อมไม่มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการเองได้ การกระทําของจําเลยที่ 1 กับพวกจึงมีลักษณะเป็นขบวนการ
เชื่อ ว่าจําเลยที่ 1 รู้เห็นถึงการกระทําของจําเลยที่ 4 ด้วย ฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 ร่วมข่มขืนใจหรือจูงใจแก่ผู้ประกอบการให้นำเงิน มอบให้เพื่อตอบแทนที่การเคหะแห่งชาติอนุมัติให้เข้าทําสัญญาตามฟ้อง การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามคํา พิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
ประเด็นการริบทรัพย์สินนั้น เห็นว่า เมื่อเงินที่จําเลยที่ 1 กับพวกได้มาเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทําความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 42 และ 43 ยังไม่มีผลใช้บังคับ และพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน จึงต้องนํา ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน แม้โจทก์ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) แต่เมื่อโจทก์มีคําขอให้ ริบเงินแล้ว ศาลจึงมีอํานาจริบเงินได้ ทั้งต้องปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี อันมีผลถึงจําเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย สําหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 44 เป็นมาตรการเพื่อการบังคับให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศาลสั่งริบ จึงนํามาใช้บังคับให้จําเลยที่ 1 ส่งเงินที่รับโดยชําระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบพร้อมด้วยดอกเบี้ยได้
ประเด็นการริบเงิน 89 ล้านบาท ตามอุทธรณ์โจทก์นั้น เห็นว่า การจ่ายเงินจํานวน 89,000,000 บาท ให้จําเลยที่ 7 เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนข้อตกลงในการผลักดันโครงการบ้านเอื้ออาทรของบริษัท ช. โครงการอื่นนอกจากโครงการบ้าน เอื้ออาทร ส. เงินจํานวน89,000,000 บาท จึงเป็นเงินที่สัมพันธ์กับเงินสินบนที่ใช้ในการอํานวยความสะดวกให้กับโครงการ บ้านเอื้ออาทรอื่นของบริษัท ช. เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดที่ศาลมีอํานาจริบได้
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 42, 43 แต่ให้ปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) ริบเงิน 89,000,000 บาท ด้วย โดยให้จําเลยผู้มีหน้าที่ต้องส่งเงิน 89,000,000 บาท ที่ริบชําระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันอ่านคําพิพากษานี้ หากจําเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 8 และที่ 10 ไม่ชําระเงินภายใน ระยะเวลากําหนด ต้องชําระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจํานวนนับแต่วันที่ 24 กันยายน 2563 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปกว่าจะชําระ เสร็จ แต่อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 หากกระทรวงการคลังออกพระราชกฤษฎีกาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ให้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ โดยให้จําเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 8 ร่วมกันชําระเงินแทนตามมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกคนละ 89,000,000 บาท จากคําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองกําหนดไว้
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
ข่าวเกี่ยวข้องคดีบ้านเอื้ออาทร
- 14 บ.เกี่ยวพัน‘สุภาวิดา-บุญชัย’ คดีได้บัตรปชช.มิชอบ ยังเปิด 5 - เป็น กก. 1 แห่ง
- บ.พรินซิพเทคฯ หัวคิว 50.8 ล. คดีบ้านเอื้อฯ ที่แท้เครือข่ายเดียว ผู้จ่าย 71.5 ล.‘เสี่ยเปี๋ยง’
- เบื้องหลัง‘วัฒนา’ไฟเขียวเงินล่วงหน้า 194 ล.! หัวคิว 50.8 ล้าน บ.พรินซิพเทค คดีบ้านเอื้อฯ
- สถานะล่าสุด 2 บ.ร่วมฯจ่ายหัวคิวบ้านเอื้อฯ 71.5 ล.! ถูกสอบภาษี - กก.ได้บัตร ปชช.โดยมิชอบ
- เช็คเงินสด 2 ฉบับ 71.5 ล้าน! 2 บริษัทร่วม จ่ายหัวคิว 'เสี่ยเปี๋ยง' คดีบ้านเอื้ออาทร
- ลงบัญชี‘รายจ่ายต้องห้าม’! เบื้องหลัง หัวคิว 82.5 ล้าน บ.พาสทิญ่าฯ คดีบ้านเอื้ออาทร
- ซื้อที่ดิน ม.ร.ว.ทรงเทวัญไร่ละ 5.5 แสน ขายการเคหะฯไร่ละ 1 ล. คดีหัวคิวบ้านเอื้อฯ 35.9 ล.
- ต่อรองเหลือยูนิตละ 9,000 บาท! เบื้องหลัง ‘เอสเอสอี-พีเจดีซี’จ่าย 35.9 ล.หัวคิวบ้านเอื้อฯ
- พลิกธุรกิจ ‘ชดช้อย’ ผู้รับโทรศัพท์ ‘เสี่ยไก่’ทวงเงิน 40 ล้าน คดีบ้านเอื้ออาทร
- เบื้องหลัง ‘ซินเทค ไมวาน’ จ่าย 40 ล. คดีบ้านเอื้อฯ ‘อริสมันต์’ เจรจา - ‘วัฒนา’ โทร.ทวง
- อยู่ชั้น 17 ตึกอิตัลไทย! เผยโฉม บ.ไชน่าสเตท จ่ายหัวคิวบ้านเอื้อฯ 301ล.-รอผู้บริหารชี้แจง
- เครือข่ายธุรกิจ ‘ทัศนีย์’ กก.หุ้นใหญ่ บ.ไชน่า สเตทฯ จ่ายหัวคิวบ้านเอื้อฯ 301 ล.
- บ.ไชน่าสเตทฯ จ่ายหัวคิวก้อนโต 301 ล. บ้านเอื้ออาทร เป็นใคร?
- ก้อนโตสุด 301 ล้าน! พฤติกรรม บ.ไชน่า สเตทฯ จ่ายเช็คเงินสด 8 ฉบับ หัวคิวบ้านเอื้ออาทร
- ตามหา 'สุวิเชียร' คนเจรจา ‘เสี่ยเปี๋ยง’ จ่ายหัวคิวบ้านเอื้อฯ 13.4 ล.-รอเจ้าตัวชี้แจง
- ที่ปรึกษา บ.ไชน่าหัวฟงฯ-คนเจรจา‘เสี่ยเปี๋ยง’จ่ายหัวคิว 13.4 ล. ถือหุ้น 3 บ.รับเหมาบ้านเอื้อฯ
- บ.ไชน่าหัวฟงฯ ผู้จ่ายหัวคิว 13.4 ล. บ้านเอื้ออาทร นักธุรกิจไทยร่วมหุ้น-ตอนนี้ล้มละลาย
- พฤติกรรม บ.ไชน่า หัวฟงฯ เช็ค 11 ฉบับ‘หัวคิว’บ้านเอื้อฯ 13.4 ล. -อีก 89 ล. เอาผิดไม่ได้
- รับโอนค่าหัวคิว 130 ล.บ้านเอื้ออาทร! 'ร้านแอนนา คาเฟ่' แจ้งงบการเงิน รายได้ 4.3 ล้าน
- แกะรอย บ.ไพรนิคฯ หุ้นใหญ่ ‘ร้านแอนนา คาเฟ่’ รับโอน 130 ล. หัวคิวบ้านเอื้ออาทร
- ตามหา 'ร้านแอนนาคาเฟ่' ผู้รับโอนเงิน ‘หัวคิว’บ้านเอื้ออาทร 130 ล้าน
- ‘ร้านแอนนา คาเฟ่’ ผู้รับโอนเงิน‘หัวคิว’บ้านเอื้ออาทร 130 ล้าน เป็นใคร?
- เปิดปูม บ.พีซีซีฯจ่ายหัวคิว 149.4 ล.บ้านเอื้อฯ รายได้ 3 พันล. - ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลคดีโรงพักร้าง
- นอกปมหัวคิว 180 ล.! บ.เดวาฯเบิกเงินล่วงหน้า 365.5 ล. ได้ซากบ้าน 2 หลัง โครงการโรจนะ
- พลิกโครงการฉาว บ้านเอื้อฯร่มเกล้า ที่มาหัวคิว 180 ล้าน บมจ.เดวาฯ-เสี่ยเปี๋ยง
- ผู้จ่าย‘หัวคิว’ บ้านเอื้ออาทร 180 ล. สถานะตอนนี้ บ.เดวาฯ ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
- 149.4 ล. ‘หัวคิว’บ้านเอื้ออาทร กิจการร่วมค้าพีซีซี - ซัด‘วัฒนา’ เรียก 11,000 บาท/หลัง
- รายได้บ้านเอื้อฯ 4 พันล.!เจาะงบ ‘เพาเวอร์ไลน์ฯ’ พัวพันหัวคิว-ศาลปค.สั่งชดใช้กคช.อีก 568 ล.
- โอนเข้าบัญชีร้านแอนนาคาเฟ 130 ล้าน! บมจ.เดวาฯ จ่ายหัวคิว บ้านเอื้ออาทร 180 ล้าน
- บมจ.เพาเวอร์ไลน์ฯ 263.3 ล้าน ‘หัวคิว’บ้านเอื้ออาทร เช็คเงินสดว่อน 26 ฉบับ
- เปิดงบ ‘บมจ.ธนายง-BTS' รับเหมา ‘บ้านเอื้ออาทร’ ไม่พบรายการเบิกค่าหัวคิว 135 ล้าน
- พฤติกรรมจ่ายหัวคิว 135 ล. บมจ.ธนายง คดีบ้านเอื้ออาทร-เช็คเงินสด 7 ฉบับ เข้าบัญชี 5 คน
- 11 บริษัท จ่ายค่าหัวคิวบ้านเอื้ออาทร ก่อนศาลฎีกาฯสั่งริบ 1.3 พันล.- บมจ.ธนายงด้วย 135 ล
- พฤติกรรม‘วัฒนา’ ในคำพิพากษาฉบับเต็มคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร
- 'วัฒนา'ยื่น 10 ล.! ศาลให้ประกันตัว-อุทธรณ์สู้ต่อหลังโดนคุก 99 ปีคดีบ้านเอื้ออาทร
- พลิกธุรกิจ-ทรัพย์สิน-ความเป็นมาคดีบ้านเอื้ออาทร ก่อนศาลฎีกาจำคุก‘วัฒนา’ 99 ปี
- ฉากหลัง คดีบ้านเอื้ออาทร ผล ปย.ทับซ้อน-หัวคิวหลังละหมื่น