‘เอฟทีเอว็อทช์’ ออกแถลงการณ์โต้ หลังถูกกล่าวหาให้ ‘ข่าวลวง’ กรณีครม.อนุมัติไทยเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง CPTPP ชี้พลังประชาชนรุ่นใหม่ร่วมใจทวีต ‘#NoCPTPP’ 1.4 ล้านครั้ง ทำให้รัฐบาลต้องถอย
...................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) แถลงการณ์โดยระบุว่า ตามที่วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 มีวาระผลการพิจารณาการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เข้าบรรจุอยู่ในวาระแค่เพื่อทราบ แต่ไม่มีการแจกเอกสารการประชุมให้รัฐมนตรีก่อน โดยเป็นเอกสารแจกในที่ประชุมแล้วเก็บกลับคืนในเวลาเพียงสั้นๆ ซ้ำยังระบุในเอกสารวาระว่า ‘หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ/อนุมัติ’ ดังที่ FTA Watch ได้นำเสนอตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น
มีคำกล่าวหาว่านี่เป็นข่าวลวง เพราะในเวลาต่อมา รองโฆษกรัฐบาลชี้แจงว่า เป็นเพียงการขออนุมัติขยายเวลาศึกษาเพิ่มเติมอีก 50 วัน ไม่มีการอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP ที่จะมีการประชุมปีละครั้งในเดือนสิงหาคมนี้
เอกสารประกอบวาระการประชุม ซึ่งมีข้อความที่ตีความได้ว่า ต้องการให้เป็นวาระลับและตีขลุมว่า ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติแล้วหากไม่มีข้อทักท้วงดังกล่าว FTA Watch ได้รับช่วงสายของเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 จึงแจ้งให้ประชาชนและสื่อมวลชนทราบ ด้วยเห็นว่า เรื่องสำคัญนี้มีผลผูกพันประเทศไทยถึงชั่วลูกชั่วหลานและมีผลกระทบต่อทั้งสังคม ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร พันธุกรรมอันเป็นสมบัติของแผ่นดิน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นโยบายสาธารณะที่จะออกมาเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการไทยที่จะได้รับผลกระทบจากทุนใหญ่ในประเทศและทุนใหญ่ต่างประเทศ ไม่พึงพิจารณาด้วยการหมกเม็ดลับๆล่อๆ
ถามว่า เหตุใดทีมงานโฆษกจึงไม่แถลงข่าวเรื่องการขอขยายเวลาศึกษาอีก 50 วัน หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พร้อมกับวาระอื่นๆ แต่กลับมาชี้แจงตอนค่ำของเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 หลังจากถูกผู้สื่อข่าวสอบถามจากกระแสเทรนดิ้งทวีตเตอร์ที่ประชาชนร่วมกันทวีต #NoCPTPP มากกว่าหนึ่งล้านสี่แสนครั้ง
จริงหรือไม่ ที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามตีความจากทีมงานกระทรวงการต่างประเทศและทีมเลขาคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สามารถลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงขอเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ได้เลยโดยไม่ต้องรอการศึกษาครบถ้วนอีก 50 วัน เพราะถือว่าเป็นกระบวนการรองรับภายใน แต่อาศัยการอนุมัติ/เห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในคราวนี้
“จริงอยู่ที่ไม่มีการพูดคุยในคณะรัฐมนตรี แต่เป็นสิ่งที่ทีมงานของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธาน กนศ.เตรียมไว้ และผู้สื่อข่าวจำนวนหนึ่งก็ทราบเรื่องนี้ดี
ถ้าไม่มีพลังของประชาชนคนรุ่นใหม่ที่ร่วมใจกันทวีต #NoCPTPP ดังเป็นล้านครั้ง รวมทั้งการส่งข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆอย่างกว้างขวางเช่นนี้ พวกเขาคงตีเนียนเดินหน้าเข้าร่วมความตกลงที่ได้ชื่อว่าจะสร้างผลกระทบกับสังคมไทยอย่างร้ายแรงครั้งสำคัญ” แถลงการณ์ระบุ
ข่าวประกอบ :
'ดอน' นั่งหัวโต๊ะถก 'CPTPP' 7 เม.ย.! ภาคปชช.เตือน ‘งบบัตรทอง’ พุ่ง-รอนสิทธิเกษตรกร
'บิ๊กตู่' ขีดเส้น 8 อนุกรรมการฯขับเคลื่อน CPTPP ส่งผลศึกษาเข้าครม.กลางเม.ย.นี้
จับตา รบ.หัก กมธ.! ดันไทยร่วม CPTPP-ภาค ปชช.เกาะติดประชุม ‘กนศ.’ 5 ก.พ.
ข้อเสนอ 3 ด้าน 22 ประเด็นจากรายงาน กมธ.CPTPP สิ่งที่ไทยควรพร้อมก่อนตัดสินใจเข้าร่วม
ไม่ควรร่วมถ้ายังไม่พร้อม!สภาเห็นด้วยรายงาน กมธ.CPTPP ส่งข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา
มติเอกฉันท์!สภาตั้ง 49 กมธ.ศึกษาผลกระทบ CPTPP ให้เวลา 30 วันพิจารณา
เกาะติด CPTPP! 'เอฟทีเอ ว็อทช์' จับตา 'อุตฯเกษตรยักษ์ใหญ่' จูงมติกกร.หนุนไทยเจรจา CPTPP
FTA Watch ร้องสภา ขอตั้ง กมธ.ศึกษาข้อดี-เสียเข้าร่วม CPTPP
'จุรินทร์' จ่อถอนวาระเข้าร่วม CPTPP ออกจาก ครม. หลังหลายฝ่ายมีความเห็นขัดแย้ง
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage