‘หมอมิ้ง’ ย้ำจุดยืนรัฐบาลปม ดิจิทัลวอลเลต ไม่ล้ม-ไม่ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ชี้พักหนี้-ลดราคาพลังงานแล้วยังไม่พอ ต้องงัดนโยบายนี้กระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มด้วย ชี้รัฐบาลเก่ากู้ 1.5 ล้านล้าน แต่รัฐบาลนี้ใช้แค่ 5.6 แสนล้าน และเป็นไปอย่างระมัดระวัง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 10 ตุลาคม 2566 นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการ ดิจิทัล วอลเลต 10,000 บาท ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลหวังว่าจะให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพราะตอนนี้มีหลายประเทศที่ฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจเกินหน้าประเทศไทยไปแล้ว ในขณะที่ประเทศไทยยังค่อยค่อยขยับอย่างช้าๆ การเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามเป้าที่คาดการณ์ไว้ นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้ดีขึ้น เห็นได้จาก การเงินการคลัง จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา จาก ร้อยละ5 เหลือ ร้อยละ 0.3 นั่นคือความต้องการน้อยลงแต่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มไปถึง ร้อยละ 2.5 ดังนั้นภาระต่างๆจึงตกอยู่ที่ประชาชน เป็นหนี้สิน และต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ดังนั้นมาตรการที่สำคัญ จึงต้องมี เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์
ซึ่งโครงการนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่มาช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน แม้จะมีมาตรการลดราคาพลังงานไปแล้ว พร้อมยืนยันว่ากระทรวงการคลังได้ชี้แจงไปแล้วเมื่อวานนี้ (9 ต.ค.66) ถือเป็นการแถลงครั้งใหญ่และชี้ให้เห็นว่า ภารกิจ ครั้งใหญ่ในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหาประชาชนจะแก้อย่างไรนั้นเป็นความท้าทายของรัฐบาลนี้ หรือจะให้อยู่เฉยๆแล้วจนถาวร
@ไม่เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนเป้าหมาย ให้ใช้กับกลุ่มเปราะบาง นพ.พรหมินทร์ ย้ำว่ากว่าร้อยละ 90 ทุกคนเป็นหนี้ ดังนั้นจึงต้องให้ความเท่าเทียมกัน และขณะนี้ คนที่มีรายได้มาก เมื่อซื้อของก็ต้องมีการสมทบ และใช้จ่ายเพิ่ม ดังนั้น ความแตกต่าง ในแต่ละกลุ่มมี จึงต้องไปดูในรายละเอียด และยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการจ่ายเงินดิจิทัลให้กลุ่มเด็กอายุ 16 ปีนำไปใช้ เนื่องจากหลักการสำคัญของการตั้งโครงการนี้คือการให้ประโยชน์กับทุกคน แต่มีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้ และดูการเปลี่ยนจัดการ รวมถึงดูข้อจำกัดด้านกฎหมาย และการบริหารการเงินว่าจะทำอย่างไร
แต่ประวัติที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ประเทศที่เป็นหนี้สิน ในยุคกู้เงิน ไอเอ็มเอฟ ที่เกือบล้มละลายไปแล้วกู้กลับคืนมาได้ และคืนหนี้ได้ก่อนถึง 2 ปี หรือแม้แต่โครงการกองทุนหมู่บ้าน ก็สามารถที่จะสร้างรายได้ และในยุคของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ได้บริหารงบประมาณอย่างสมดุล และรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญในเรื่องวินัยการเงินการคลัง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ครอบคลุมทุกกลุ่มตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เป็นสิทธิเท่ากันที่จะนำไปใช้ ส่วนคนที่ ไม่ใช้ก็ไม่เป็นไร เพราะอยู่ที่สิทธิ์ของแต่ละคนจะใช้หรือไม่ใช้
ส่วนกรณีที่นักวิชาการมองว่าโครงการนี้จะซ้ำรอยกับ โครงการรับจำนำข้าวนั้นนพ.พรหมินทร์ ยืนยันว่า รัฐบาลที่ผ่านมามีการกู้เงิน 1.5 ล้านล้านบาท แต่โครงการนี้ใช้ 560,000 ล้านบาท จึงเป็นการใช้ เงินอย่างระมัดระวัง และเม็ดเงินที่ลงไปเป็นการทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต
อ่านประกอบ
- รมช.คลัง แถลงยันไม่เลิกดิจิทัลวอลเลต ยังอุบที่มาเงินหมื่น
- ‘เศรษฐา’ ย้ำอีกไม่เลิกหมื่นดิจิทัล แย้มสิ้น ต.ค. 66 โชว์รายละเอียดโครงการ
- แถลงการณ์ 99 นักเศรษฐศาสตร์ : ค้านหว่านดิจิทัล 10,000 บาท ผลเสียกับอนาคตประเทศ
- วิรไท สันติประภพ : การบริหารบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจรัฐ
- เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ : เงินเฟ้อที่สูงมาก-หนี้สินที่คุมไม่ได้ ย่อมเสี่ยงเกิดวิกฤติ ศก.
- ธาริษา วัฒนเกส : ภาระการคลังของการแจกเงิน
- ‘ผู้ว่าฯธปท.’แนะรัฐบาล‘พักหนี้ฯ-แจกเงินดิจิทัล’เฉพาะกลุ่ม-ย้ำไม่เปลี่ยน‘นโยบายการเงิน’
- กกร.แนะรัฐบาลแจกหมื่นดิจิทัล ต้องจำกัดกลุ่ม ชี้ช่องฐานบัตรคนจน 40 ล้านคน
- ‘คกก.เติมเงินดิจิทัล’ตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ-‘เศรษฐา’กำชับหากมีข้อขัดแย้งให้พูดในบอร์ด
- นายกฯนั่งปธ.! ครม.เคาะตั้ง‘บอร์ดแจกเงินดิจิทัล’-ชี้ขยับเพดานก่อหนี้ฯเป็นหนึ่งใน‘ทางเลือก’
- ‘เศรษฐา’ ปัดไม่มีความขัดแย้ง ยันเรียกผู้ว่าแบงก์ชาติคุยปกติ เล็งหารือให้บ่อยขึ้น