“…เมื่อได้พิจารณาจากสถานการณ์การเงินโลก ประกอบกับประมาณการรายรับและฐานะทางการคลังของประเทศ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ จึงเสนอตั้งงบประมาณภายใต้แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ รายการชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นจำนวน 227,217.2024 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566จำนวน 21,537.5668 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.47…”
...........................
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบข้อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท
และมีมติมอบหมายให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอ ครม. ในวันที่ 26 ธ.ค.2566 และนำเสนอสภาผู้แทนพิจารณา ‘วาระแรก’ ในช่วงวันที่ 3-4 ม.ค.2567
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ซึ่งมี 8 หมวด รวม 41 มาตรการ สรุปได้ดังนี้
@ตั้งงบกลาง 6.06 แสนล้าน-เฉพาะเบี้ยหวัดบำนาญ 3.29 แสนล.
มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้ตั้งเป็นจำนวน รวมทั้งสิ้น 3,480,000,000,000 บาท (3,480,000 ล้านบาท) จำแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ตั้งเป็นจำนวน 606,765,000,000 บาท (606,765 ล้านบาท) จำแนกดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 800,000,000 บาท (800 ล้านบาท)
(2) ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 4,000,000,000 บาท (4,000 ล้านบาท)
(3) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,500,000,000 บาท (2,500 ล้านบาท)
(4) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 76,000,000,000 บาท (76,000 ล้านบาท)
(5) เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 800,000,000 บาท (800 ล้านบาท)
(6) เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 4,520,000,000 บาท (4,520 ล้านบาท)
(7) เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 329,430,000,000 บาท (329,430 ล้านบาท)
(8) เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ 11,000,000,000 บาท (11,000 ล้านบาท)
(9) เงินสมทบของลูกจ้างประจำ 450,000,000 บาท (450 ล้านบาท)
(10) เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ 78,775,000,000 บาท (78,775 ล้านบาท)
(11) เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 98,500,000,000 บาท (98,500 ล้านบาท)
มาตรา 7 งบประมาณรายจ่ายของสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 24,834,743,400 บาท (24,834.74 ล้านบาท)
มาตรา 8 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 87,883,290,100 บาท (87,883.29 ล้านบาท) จำแนกดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รวม 5,142,277,900 บาท (5,142.27 ล้านบาท)
2.กองทัพบก รวม 33,565,007,800 บาท (33,565 ล้านบาท)
3.กองทัพเรือ รวม 19,372,259,600 บาท (19,372.25 ล้านบาท)
4.กองทัพอากาศ รวม 21,896,074,100 บาท (21,896.07 ล้านบาท)
5.กองบัญชาการกองทัพไทย รวม 7,351,805,800 บาท (7,351.80 ล้านบาท)
6.สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ รวม 555,865,300 บาท (555.86 ล้านบาท)
มาตรา 9 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการคลังและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 11,641,645,200 บาท (11,641.64 ล้านบาท)
มาตรา 10 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการต่างประเทศ ให้ตั้งเป็นจำนวน 5,063,050,800 บาท (5,063.05 ล้านบาท)
มาตรา 11 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานในกำกับให้ตั้งเป็นจำนวน 3,013,471,900 บาท (3,013.47 ล้านบาท)
มาตรา 12 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 21,779,355,800 บาท (21,779.35 ล้านบาท)
มาตรา 13 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 46,448,299,100 บาท (46,448.29 ล้านบาท)
มาตรา 14 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 53,933,774,200 บาท (53,933.77 ล้านบาท)
มาตรา 15 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 65,841,438,700 บาท (65,841.43 ล้านบาท)
มาตรา 16 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 5,419,138,300 บาท (5,419.13 ล้านบาท)
มาตรา 17 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 15,064,053,400 บาท (15,064.05 ล้านบาท)
มาตรา 18 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพลังงาน ให้ตั้งเป็นจำนวน 1,916,379,000 บาท (1,916.37 ล้านบาท)
มาตรา 19 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 4,064,154,500บาท (4,064.15 ล้านบาท)
มาตรา 20 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงมหาดไทย ให้ตั้งเป็นจำนวน 291,535,042,000 บาท (281,535.04 ล้านบาท)
มาตรา 21 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 13,325,833,500 บาท (13,325.83 ล้านบาท)
มาตรา 22 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 55,607,362,200 (55,607.36 ล้านบาท)
มาตรา 23 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 4,346,749,500 บาท (4,346.74 ล้านบาท)
มาตรา 24 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 122,703,222,000 บาท (122,703.22 ล้านบาท)
มาตรา 25 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน 48,982,586,700 บาท (48,982.58 ล้านบาท)
มาตรา 26 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ตั้งเป็นจำนวน 2,183,648,000 บาท (2,183.64 ล้านบาท)
มาตรา 27 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี ให้ตั้งเป็นจำนวน 35,936,108,400 บาท (35,936.10 ล้านบาท)
มาตรา 28 งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ตั้งเป็นจำนวน 23,075,964,200 บาท (23,075.96 ล้านบาท)
มาตรา 29 งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ให้ตั้งเป็นจำนวน 65,532,273,100 บาท (65,532.27 ล้านบาท)
มาตรา 30 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐสภา ให้ตั้งเป็นจำนวน 2,538,336,900 บาท (2,538.33 ล้านบาท)
มาตรา 31 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของศาล ให้ตั้งเป็นจำนวน 7,969,216,200 บาท (7,969.21 ล้านบาท)
มาตรา 32 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ ให้ตั้งเป็นจำนวน 8,473,099,000 บาท (8,473.09 ล้านบาท)
มาตรา 33 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตั้งเป็นจำนวน 101,003,850,900 บาท (101,003.85 ล้านบาท)
มาตรา 34 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้ตั้งเป็นจำนวน 282,028,100 บาท (282.02 บาท)
มาตรา 35 งบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย ให้ตั้งเป็นจำนวน 8,867,485,700 บาท (8,867.48 ล้านบาท)
มาตรา 36 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ ให้ตั้งเป็นจำนวน 8,478,383,000 บาท (8,478.38 ล้านบาท)
@งบจัดการน้ำ 5.62 หมื่นล.-บูรณาการป้องกันทุจริต 753 ล้าน
มาตรา 37 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการ ให้ตั้งเป็นจำนวน 214,601,711,500 บาท (214,601.71 ล้านบาท)
1.แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 6,658,393,900 บาท (6,658.39 ล้านบาท)
2.แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 8,089,059,000 บาท (8,089.05 ล้านบาท)
3.แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 753,967,800 บาท (753.96 ล้านบาท)
4.แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 820,072,300 บาท (820.07 ล้านบาท)
5.แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 56,255,377,300 บาท (56,255.37 ล้านบาท)
6.แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 4,357,414,500 บาท (4,357.41 ล้านบาท)
7.แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ให้ตั้งเป็นงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 123,447,138,700 บาท (123,447.13 ล้านบาท)
8.แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 3,806,623,100 บาท (3,806.62 ล้านบาท)
9.แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 3,029,601,800 บาท (3,029.60 ล้านบาท)
10.แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 7,384,063,100 บาท (7,384.06 ล้านบาท)
@งบบุคลากรรัฐ 7.85 แสนล้าน-บริหารหนี้ 3.46 แสนล.
มาตรา 38 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 785,957,643,800 บาท (785,957.64 ล้านบาท)
มาตรา 39 งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 257,790,461,100 บาท (257,790.46 ล้านบาท)
มาตรา 40 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 346,380,068,300 บาท จำแนกดังนี้
1.กระทรวงการคลัง รวม 299,335,255,300 บาท (299,335.25 ล้านบาท) คือ
(1) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 299,335,255,300 บาท
2.กระทรวงอุตสาหกรรม 350,000,0000 บาท (350 ล้านบาท) คือ
(1) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 350,000,0000 บาท
3.รัฐวิสาหกิจ 46,694,813,000 บาท (46,694.81 ล้านบาท) คือ
(1) การเคทะแห่งชาติ 67,450,000 บาท (67.45 ล้านบาท)
(2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 9,521,097,500 บาท (9,521.09 ล้านบาท)
(3) การรถไฟแห่งประเทศไทย 9,177,020,400 บาท (9,177.02 ล้านบาท)
(4) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 25,316,557,700 บาท (25,316.55 ล้านบาท)
(5) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 2,612,687,400 บาท (2,612.68 ล้านบาท)
มาตรา 41 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ให้ตั้งเป็นจำนวน 118,361,130,500 บาท (118,361.13 ล้านบาท)
@จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 2.27 แสนล้าน เพิ่มจากปีก่อน 10.47%
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณยังได้รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้ ครม. รับทราบ โดยมีประเด็นความคิดเห็น และคำชี้แจงที่น่าสนใจ ดังนี้
-ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และ พ.ศ.2566 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการชำระดอกเบี้ยของแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ไม่พอเพียงต่อภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ต้องใช้เงินคงคลังเพื่อชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแทน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จากการประมาณการภาระหนี้
พบว่า งบประมาณในการชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ทบทวนการจัดสรรงบประมาณ ๒๕๖๗ เพื่อให้มีงบประมาณอย่างพอเพียงและเป็นไปตามกรอบวินัยการชำระหนี้ภาครัฐที่ระบุไว้ภายใต้ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
คำชี้แจง : สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณรายการชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยคำนึงถึงการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประมาณการรายรับและฐานะทางการคลังของประเทศ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามกฎหมาย ตามสิทธิ สวัสดิการสังคม และการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือน ก.พ.2565 ได้เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนขึ้น ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักหลายประเทศประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเอดังกล่าว และยังคงใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงส่งผลกระทบต่อภาระดอกเบี้ยทั้งเงินกู้เดิมในส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวและเงินกู้ใหม่ เพิ่มสูงขึ้นกว่างบประมาณที่ได้ตั้งรองรับไว้
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ภายใต้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง และมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2567 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศไทยที่เริ่มปรับตัวลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คาดว่าจะทำให้หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเริ่มดำเนินการเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงิน โดยการยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเริ่มปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2567
ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาจากสถานการณ์การเงินโลก ประกอบกับประมาณการรายรับและฐานะทางการคลังของประเทศ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ จึงเสนอตั้งงบประมาณภายใต้แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ รายการชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นจำนวน 227,217.2024 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566จำนวน 21,537.5668 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.47
@‘ก.กลาโหม’ยังจำเป็นต้องสั่งซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ
-ควรปรับลดการซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เนื่องจากกระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานที่มีการวิจัยพัฒนาและผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่แล้ว
คำชี้แจง : กระทรวงกลาโหมยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เพื่อมาใช้ในราชการ เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศระดับสูง ยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตยุทโธปกรณ์บางอย่างได้ ทำให้การจัดหายุทโธปกรณ์ภายในประเทศที่มีอยู่ไม่ตรงกับคุณลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถซื้อทดแทนยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิมให้มีความสามารถหรือประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือมีความทันสมัยได้
อย่างไรก็ตาม การจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมมุ่งเน้นการจัดหา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อสามารถนำมาเสริมสร้างเป็นองค์ความรู้ และนำมาศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และสามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมมีความพยายามในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยมีหน่วยงานสำคัญในการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ คือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ซึ่งมีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ รวมถึงการจัดจำหน่าย
และได้มีการดำเนินการร่วมทุนกับหน่วยงานภายนอกเพื่อผลิตและจำหน่ายไปบางส่วนแล้ว รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้นั้นมาปรับปรุง และซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ที่ประจำการของเหล่าทัพในบางส่วน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและลดการนำเข้าจากต่างประเทศในอนาคต
สำหรับการจัดหายุทโธปกรณ์ กระทรวงกลาโหมได้มีการดำเนินการจัดหาจากหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหมไปบ้าง เช่น ปืนใหญ่ชนิดอัตตาจรล้อยาง ยานเกราะล้อยางชนิดต่างๆ อาวุธปืน กระสุน เป็นต้น และยังมีอีกหลายงานวิจัยที่อยู่ในขั้นตอนการรับรองมาตรฐานเพื่อที่จะนำมาจัดจำหน่าย
ทั้งนี้ ในยุทโธปกรณ์ที่ผ่านการวิจัยและรองรับมาตรฐานแล้ว บางรายการก็ยังประสบปัญหาในเรื่องการหาบริษัทผู้ผลิตที่สามารถดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากต้องมีการลงทุนในเครื่องจักรการผลิตค่อนข้างสูงแต่การสั่งซื้อจากหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมมีจำนวนไม่มากพอ ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนในการเปิดสายการผลิต ทำให้ไม่สามารถที่จะจัดหาจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศได้
เหล่านี้เป็นสรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ‘วาระแรก’ ในวันที่ 3-4 ม.ค.2567 และพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 วันที่ 3-4 เม.ย.2567 โดยคาดว่าจะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบปี 2567 ทูลเกล้าฯ วันที่ 17 เม.ย.2567
อ่านประกอบ :
‘ศิริกัญญา’ ผ่างบปี 67 เปิด 9 ข้อสังเกต ติวเข้ม สส.อภิปราย
ชำแหละงบปี 67 ‘รบ.เศรษฐา’ตัดงบ‘ก.เกษตร’-‘กลาโหม’เพิ่ม1.9% ค่าใช้จ่าย‘จนท.รัฐ’1.2 ล้านล.
ครม.ผ่านรายละเอียดงบปี 67 วงเงิน 3.48 ล้านล้าน เพิ่มจากปี 66 ที่ 2.95 แสนล้าน
ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้าน! ครม.อนุมัติ ‘แผนบริหารหนี้สาธารณะ’ ปีงบ 67
เปิดรายละเอียดกรอบงบ 67 รัฐลงทุน 7.19 แสนล. มองGDPปีหน้าโต 3.2%-หลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า
ขาดดุลฯ 6.93 แสนล.! ครม.ไฟเขียวเพิ่ม'กรอบวงเงิน'งบประมาณรายจ่ายปี 67 เป็น 3.48 ล้านล้าน
เปิดยุทธศาสตร์งบ 67 รบ.'เศรษฐา'ดัน 28 เรื่องด่วน-คาดทูลเกล้าฯ'ร่างพ.ร.บ.งบฯ'เม.ย.ปีหน้า
ขาดดุลเพิ่มแสนล.! รบ.เคาะกรอบงบปี 67 เป็น 3.48 ล้านล้าน-‘เศรษฐา’ย้ำแจก‘หมื่นบาท’ไม่กู้