รายงานผู้เปิดโปงระบุต่อไปถึงคำชี้แจงของฝ่ายเอกชนผู้เข้าประมูลว่าจะปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งเอกสารคำชี้แจงนี้ลงนามโดยนายแคสซิม ระบุรายละเอียดว่ากิจการร่วมค้า MACRE ยืนยันการปฏิบัติตามข้อกําหนด เงื่อนไขการเชิญ และคําแนะนําสําหรับผู้เสนอราคาอย่างชัดเจน ตามที่ระบุไว้ในคําขอข้อเสนอ ลงนามเอกสารวันที่ 25 เม.ย.2565 อย่างไรก็ตามกิจการร่วมค้า MACRE เพิ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2565
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการทุจริตเกี่ยวกับกลุ่มบริษัทไชน่าเรลเวย์ที่เป็นกระแสสังคม ณ เวลานี้ โดยกรณีความไม่โปร่งใสในครั้งนี้เกิดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้
โดยสำนักข่าว Daily Maverick ของแอฟริกาใต้รายงานข่าวเมื่อต้นเดือน มี.ค. กรณีที่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของหน่วยงานรถไฟโดยสารของแอฟริกาใต้หรือ Prasa ได้มอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างจำนวนสองสัญญารวมมูลค่า 1.8 หมื่นล้านแรนด์แอฟริกาใต้ (32,419,494,000 บาท) ซึ่งมาจากการประกวดราคาจำนวนสองครั้งให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่าการมอบสัญญานั้นจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์การเสนอราคาขั้นพื้นฐาน
ผู้ที่แจ้งเบาะแสความไม่ชอบมาพากลได้กล่าวหาว่า Prasa ได้มีการชำระเงินล่วงหน้าโดยไม่โปร่งใสให้กับบริษัท Maziya General Services คิดเป็นเงินมูลค่าเกือบ 2.7 พันล้านแรนด์ฯ (4,862,924,100 บาท) ผ่านการทำธุรกรรมเป็นจำนวนห้าครั้งระหว่างเดือน ธ.ค.2566-ธ.ค.2567
ข้อกล่าวหานี้เกี่ยวกับการประกวดราคาสองครั้ง ซึ่งมอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างให้กับบริษัท Maziya General Services โดยการประกวดราคานั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
1.สัญญาว่าด้วยการยกระดับ “ระบบระดับโลกสําหรับการสื่อสารเคลื่อนที่-เครือข่ายความซ้ำซ้อนของรถไฟ” ในพื้นที่ระหว่างควาซูลู-นาตาล (KwaZulu-Natal) และหว่างกัวเต็งและเวสเทิร์นเคป (Gauteng - Western Cape)หรือที่เรียกกันว่าการประกวดราคาหมายเลข 112
และ 2.สัญญาว่าด้วยระบบควบคุมรถไฟ Prasa ในพื้นที่ระหว่างควาซูลู-นาตาล หรือที่เรียกกันว่าการประกวดราคาหมายเลข 120
โดยการประกวดราคาทั้งสองสัญญามีการเผยแพร่ในเดือน พ.ย.2564 และในเดือน ต.ค.2565 โดยมูลค่าสัญญาของสองสัญญานั้นอยู่ที่ 6.3 พันล้านแรนด์ (11,346,822,900 บาท) และ 1.11 หมื่นล้านแรนด์ (19,992,021,300 บาท) ตามลำดับ
จากบันทึกสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้พบว่าทั้งการประกวดราคาในทั้งสองสัญญา มีผู้ชนะการประกวดราคาได้แก่บริษัท Maziya ซึ่งมีเจ้าของได้แก่นายคริสเตียน เดลพอร์ต (Christiaan Delport) ทว่าข้อมูลเอกสารการประมูลในรายงานของผู้ที่เปิดโปงเรื่องนี้ระบุว่าตามกระบวนการประกวดราคาแล้ว สัญญาควรจะเป็นของกิจการร่วมค้าสองแห่งได้แก่กิจการร่วมค้า CRIG Maziya JV และกิจการร่วมค้า MACRE JV
โดยปกติเอกสารสาธารณะเกี่ยวกับการประกวดราคาซึ่งมีผู้ชนะ จะแสดงจํานวนเงินสําหรับสัญญา แต่เอกสารสาธารณะสําหรับการประกวดราคาทั้งสองสัญญานี้ระบุจํานวนเงินเป็นศูนย์ ไม่มีรายชื่อคู่เทียบผู้เสนอราคาแข่งที่มักจะมาพร้อมกับเอกสารผู้ชนะการประกวดราคา
ข้อมูลกิจการร่วมค้า MACRE
@การดำเนินการกับข้อกล่าวหา
หลังจากมีการกล่าวหา ทางด้านของนางอันดิสวา มากันดา (Andiswa Makanda) โฆษก Prasa ได้ออกมากล่าวว่าบอร์ดบริหารของ Prasa จะได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระในเรื่องนี้
“บอร์ด Prasa ให้ความสําคัญกับข้อกล่าวหาของผู้แจ้งเบาะแสอย่างจริงจังและสนับสนุนสิทธิของผู้แจ้งเบาะแสและรับรองการปฏิบัติตามความโปร่งใสในองค์กร” นางมากันดากล่าว
ตามรายงานของผู้เปิดโปงข้อมูล พบว่ามีการจ่ายเงินจำนวน 2.7 พันล้านแรนด์ไปให้กับบริษัท Maziya General Services และมีการจ่ายเงินไปอีก 259 ล้านแรนด์ (466,480,497 บาท) ไปให้กับผู้ค้าชื่อว่า “Ground Transportation System Maziya” ทว่าการจ่ายเงิน 259 แรนด์ดังกล่าวนั้นกลับไม่มีสัญญามารองรับแต่อย่างใด และการสืบค้นฐานข้อมูลจากคณะกรรมการบริษัทและทรัพย์สินทางปัญญา ก็ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Ground Transportation System Maziya ที่ว่ามานี้
ตามบันทึกภายในองค์กร Prasa ซึ่งผู้แจ้งเบาะแสได้ส่งมาให้กับสำนักข่าว ลงวันที่บันทึก 29 ส.ค.2566 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจรจากันระหว่างเจ้าหน้าที่ Prasa กับนิติบุคคลชื่อว่ากิจการร่วมค้า CRIG Maziya JV ซึ่งรายระเอียดเนื้อหาการเจรจานั้นรวมถึงการจ่ายเงิน 10% ของมูลค่าสัญญาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ “การขับเคลื่อนล่วงหน้า” โดยคำว่า CRIG ในกิจการร่วมค้า CRIG Maziya นั้นย่อมาจากบริษัทไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (China Railway International Group)
ในบันทึกยังได้มีการขอให้มีการลงนามสัญญาระหว่าง Prasa และกิจการร่วมค้า MACRE ซึ่งรายละเอียดในสัญญาแทบจะเหมือนกับการประกวดราคาในสัญญาควบคุมระบบรถไฟระหว่างควาซูลู-นาตาล และจำนวนเงินก็ยังเท่ากัน โดยอยู่ที่ 1.11 หมื่นล้านแรนด์
ส่วนบันทึกภายใน Prasa ลงวันที่ 28 ส.ค. 2566 ยังมีรายละเอียดสัญญาเหมือนกับการประกวดราคาในโครงการกยกระดับ “ระบบระดับโลกสําหรับการสื่อสารเคลื่อนที่-เครือข่ายความซ้ำซ้อนของรถไฟ” ในพื้นที่ระหว่างควาซูลู-นาตาลมูลค่า 6.3 พันล้านแรนด์ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าการเจรจานั้นเกิดขึ้นตอนไหน แต่ว่าเอกชนผู้ได้รับสองสัญญาก็คือบริษัท Maziya
ในอีเมลที่ส่งมาจากผู้แจ้งเบาะแสระบุว่ามีการแจ้งเรื่องความไม่โปร่งใสไปยังกองอำนวยการสืบสวนอาชญากรที่มีความสำคัญ หรือชื่อย่อว่าหน่วยงาน Hawks แล้ว อย่างไรก็ตามทาง Hawks ไม่ตอบสนองต่อคำขอของผู้สื่อข่าวเพื่อให้ยืนยันเรื่องนี้ แม้จะมีการโทรไปสอบถามหลายครั้งก็ตาม
@วันที่ไม่ตรงกัน
ในเอกสารของ Prasa ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการร่วมค้า MACRE ซึ่งเป็นคู่สัญญารัฐ ระบุว่านายไมค์ แคสซิม (Mike Cassim) เป็นผู้จัดการบริษัทให้กับบริษัท Maziya และระบุว่านายฟลอยด์ โมทูมิ (Floyd Motumi) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารให้กับบริษัท Maziya โดยทั้งสองนั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัท Maziya
รายงานจากผู้เปิดโปงยังมีรายละเอียดการสนทนาโต้กันไปมาระหว่าง Prasa กับนายแคสซิม โดยนายแคสซิมระบุรายละเอียดสมาชิกกิจการร่วมค้า MACRE JV ซึ่งจะเข้าร่วมในการประกวดราคาหมายเลข 112 ว่าคือบริษัท Maziya,บริษัทไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป และบริษัท China Rail Wuhan Electrification Engineering Group
รายงานผู้เปิดโปงระบุต่อไปถึงคำชี้แจงของฝ่ายเอกชนผู้เข้าประมูลว่าจะปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งเอกสารคำชี้แจงนี้ลงนามโดยนายแคสซิม ระบุรายละเอียดว่ากิจการร่วมค้า MACRE ยืนยันการปฏิบัติตามข้อกําหนด เงื่อนไขการเชิญ และคําแนะนําสําหรับผู้เสนอราคาอย่างชัดเจน ตามที่ระบุไว้ในคําขอข้อเสนอ ลงนามเอกสารวันที่ 25 เม.ย.2565 อย่างไรก็ตามกิจการร่วมค้า MACRE เพิ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2565
ที่พิรุธไปกว่านั้นการประกวดราคาหมายเลข 112 ถูกระบุไปว่าปิดการประกวดราคาไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2565 ทว่าเอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับการร่วมทุนที่ถูกกล่าวหาว่ามีผู้ดำเนินการคือนายแคสซิม กลับมีการระบุวันปิดการขายเป็นวันที่ 29 เม.ย.2565
แต่ไม่ว่าจะเป็นในวันไหนก็ตาม มีข้อสังเกตสำคัญก็คือวันที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการทำตามสัญญาจากการประกวดราคาหมายเลข 112 พบว่าทั้งหมดนั้นล้วนเกิดขึ้นก่อนที่กิจการร่วมค้า MACRE จะได้มีการจดทะเบียน
หน้าเว็บแสดงผลงานริษัท Maziya
@ตามรอยจากรายงานงบประจำปี
ชื่อของกิจการร่วมค้า MACRE ยังได้ปรากฏอยู่ในรายงานประจำปีงบประมาณของ Prasa ในปีงบประมาณ 2565-2566 โดยระบุว่าบอร์ดของ Prasa ได้อนุมัติให้กิจการร่วมค้า MACRE ดำเนินการตามสัญญาว่าด้วยการยกระดับ “ระบบระดับโลกสําหรับการสื่อสารเคลื่อนที่-เครือข่ายความซ้ำซ้อนของรถไฟ” ซึ่งรายละเอียดของสัญญานี้เหมือนกับการประกวดราคาหมายเลข 112 แทบทั้งหมด ทว่าในการประกวดราคาครั้งนั้นผู้ชนะคือบริษัท Maziya ไม่ใช่กิจการร่วมค้า MACRE
ในรายงานประจำปี 2566-2567 ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับการเดินหน้าในสัญญาระบบควบคุมรถไฟในควาซูลู-นาตาลมูลค่า 1.11 หมื่นล้านแรนด์ โดยระบุว่าได้มีการส่งองค์ประกอบที่เกี่ยวกับความถูกต้อง ไปยังห้องปฏิบัติการฝ่ายผลิตที่กรุงปักกิ่ง
อนึ่งสัญญาว่าด้วยการยกระดับ “ระบบระดับโลกสําหรับการสื่อสารเคลื่อนที่-เครือข่ายความซ้ำซ้อนของรถไฟ” ในพื้นที่ระหว่างควาซูลู-นาตาล มูลค่า 6.3 พันล้านแรนด์ ที่ว่ามานี้ในขั้นตอนการประกวดราคา ไม่ได้มีการกล่าวถึงการร่วมทุนกับบริษัทอื่นแต่อย่างใด มีแค่บริษัท Maziya เท่านั้นที่รับงาน เช่นเดียวกับในอีกสัญญาก็ไม่มีการลงรายละเอียดว่าจะมีบริษัทในจีนทำสัญญากับ Prasa หรือว่าทำหน้าที่เป็นซัพพลายเออร์
แต่ในเดือน ธ.ค.2566 พบว่ามีทีมวิศวกรจาก Prasa เดินทางไปยังโรงงานที่ประเทศจีน เพื่อไปดูโรงงานการผลิตและการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ
@การกระทำที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา
รายงานผู้แจ้งเบาะแสระบุถึงการไม่ทำตามเงื่อนไขสัญญาที่เจรจาไว้หลายประการ อาทิ ไม่มีการส่งมอบใบรับรองว่างานเสร็จสมบูรณ์หรือหลักฐานความปลอดภัยให้กับ Prasa ก่อนที่คู่สัญญาจะได้รับเงินล่วงหน้า 2.7 พันล้านแรนด์ ปัญหาเรื่องบริษัทพันธมิตรในกิจการร่วมค้าอย่างบริษัท China Wuhan Electrification Engineering ไม่ได้ลงทะเบียนในฐานข้อมูลซัพพลายเออร์กลางของกระทรวงการคลังแห่งชาติแอฟริกาใต้ และไม่มีบัญชีธนาคารของแอฟริกาใต้ในวันปิดประกวดราคา โดยสิ่งเหล่านี้เป็นข้อกําหนดบังคับตามสัญญา
ผู้แจ้งเบาะแสระบุว่าดังนั้นจึงควรตัดสิทธิ์กิจการร่วมค้า MACRE จากกระบวนการประเมินการเสนอราคาตั้งแต่แรก
นอกจากนี้ การชําระเงินจํานวน 2.7 พันล้านแรนด์ ยังมีข้อครหาว่าทำไมถึงชำระเงินให้กับบัญชีธนาคาร Standard Bank ของ Maziya แทนที่จะเป็นบัญชีของกิจการร่วมค้า
เพราะถ้าหากไม่มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเงินเหล่านี้ การชำระเงินใดๆก็ตามให้กับกิจการร่วมค้าจะถือว่าละเมิดกฎหมายว่าด้วยการจัดการการเงินสาธารณะ,ละเมิดกฎระเบียบการคลังแห่งชาติ และละเมิดข้อตกลงระหว่างตัว Prasa และกิจการร่วมค้า
แต่กระทรวงการคลังก็ไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อครหาว่าบริษัท China Wuhan Electrification Engineering หรือ ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลซัพพลายเออร์กลางหรือไม่
- ส่องคดีทุจริตโลก: แอฟริกาใต้จ้างเอกชนจีนมีประวัติโดนขึ้นบัญชีดำในต่างแดน สร้างถนน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย บ.จีนจ้างแฟนเก่าอดีต ปธน.โบลิเวียนั่งบริหาร รับสัญญารัฐหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.อินโดฯ เดินหน้าสอบบิ๊กธนาคาร เอี่ยวจ่ายคอมมิชชั่น บ.โฆษณา 449 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รัฐวิสาหกิจจีนประวัติฉาว ทำสัญญาสร้างเขื่อน 1.8 หมื่นล. ที่ฮอนดูรัส
- ส่องคดีทุจริตโลก:เช็กเกียสั่งสอบ 17 ผู้ต้องหา เอี่ยวกินเปอร์เซ็นต์สัญญา รพ.มูลค่าพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:กห.ออสซี่ทำสัญญาหมื่นล.เอกชนถูกสอบฮั้วราคาอุปกรณ์-บริการฐานทัพทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก:สภายูเครนผ่านร่าง กม.ซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หมื่นล.ส่อไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:NGO ฉ้อโกงเงิน USAIDนับร้อยล้าน-ยักยอกอาหารผู้ลี้ภัยขายผู้ก่อการร้าย
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.สิงคโปร์ค้าน้ำมันให้กองทัพเมียนมา ก่ออาชญากรรมสงคราม ทำรายได้ พันล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ซาอุฯเดินหน้าสัญญาซื้ออาวุธรัสเซีย 7.7 หมื่นล.แม้ถูกคว่ำบาตรปมบุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ก.คลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารคีร์กีซ เหตุช่วยแบงก์รัสเซียเลี่ยงคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก: CEO กรมน้ำฯแอลเอ บริหารงานล้มเหลว? ต้นเหตุหัวดับเพลิงไม่ทำงานช่วงไฟป่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉแผนทรมาน ปธ.กกต.เกาหลีฯช่วงอัยการศึก บังคับประกาศเหตุโกงเลือกตั้ง สส.