“…ในการจัดสรรงบปี 2567 ดังกล่าว พบว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถูกตัดงบลง 9,537.4 ล้านบาท หรือลดลง 7.44% ในขณะที่กระทรวงมหาดไทย ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มขึ้น 27,881.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.57% และกระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มขึ้น 3,821.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%...”
.................................
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบฯ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท แยกเป็น 1.รายจ่ายประจำ 2.535 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 72.85% ต่องบประมาณ 2.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361 ล้านบาท หรือ 3.40% ต่องบประมาณ
3.รายจ่ายลงทุน 715,381 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.56% ต่องบประมาณ และ4.รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 118,320 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.40% ต่องบประมาณ นั้น (อ่านประกอบ : ครม.ผ่านรายละเอียดงบปี 67 วงเงิน 3.48 ล้านล้าน เพิ่มจากปี 66 ที่ 2.95 แสนล้าน)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอรายละเอียดของการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ที่ ครม. มีมติเห็นชอบ ดังนี้
@ค่าใช้จ่ายบุคลากรรัฐ 1.2 ล้านล้าน คิดเป็น 34.7%
งบประมาณรายจ่ายฯปีงบ 2567 จำแนกตาม ‘กลุ่มงบประมาณ’ ประกอบด้วย
1.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง (11 รายการ) วงเงิน 603,265.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 17.34% ต่องบประมาณ) ได้แก่
-ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสร็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ วงเงิน 800 ล้านบาท (ไม่เปลี่ยนแปลง)
-ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วงเงิน 4,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,000 ล้านบาท)
-ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ วงเงิน 2,500 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 200 ล้านบาท)
-ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ วงเงิน 76,000 ล้านบาท (ไม่เปลี่ยนแปลง)
-เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง วงเงิน 800 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 300 ล้านบาท)
-เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ วงเงิน 4,520 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 320 ล้านบาท)
-เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ วงเงิน 329,430 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 6,640 ล้านบาท)
-เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ วงเงิน 11,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,000 ล้านบาท)
-เงินสมทบของลูกจ้างประจำ วงเงิน 440 ล้านบาท (ลดลงจากปีงบ 2566 จำนวน 60 ล้านบาท
-เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 95,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,600 ล้านบาท)
2.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ วงเงิน 1,173,063.1 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 33.71% ต่องบประมาณ)
3.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ วงเงิน 215,630.5 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 6.2% ต่องบประมาณ) ได้แก่
-ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 6,658.4 ล้านบาท
-เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วงเงิน 8,107.3 ล้านบาท
-ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ วงเงิน 754.0 ล้านบาท
-เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย วงเงิน 820.1 ล้านบาท
-บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 56,255.4 ล้านบาท
-ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด วงเงิน 56,255.8 ล้านบาท
-พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ วงเงิน 124,381.6 ล้านบาท
-พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต วงเงิน 3,806.6 ล้านบาท
-รัฐบาลดิจิทัล วงเงิน 3,005.6 ล้านบาท
-สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว วงเงิน 7,484.1 ล้านบาท
4.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 785,957.6 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 22.58% ต่องบประมาณ)
5.งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน วงเงิน 237,342.6 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 6.82% ต่องบประมาณ)
6.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ วงเงิน 346,380.1 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 9.95% ต่องบประมาณ)
7.งบประมาณรายจ่ายเพื่อใช้เงินคงคลัง วงเงิน 118,361.1 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 3.4% ต่องบประมาณ)
8.งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ไม่มี
เมื่อพิจารณารายละเอียดการจัดสรรงบปี 2567 พบว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรภาครัฐ (งบรายจ่ายบุคลากร ,ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ,เงินช่วยเหลือ ,เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ,เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิฯ และเงินสมทบของลูกจ้างประจำ) มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,207,347.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.7% ของงบปี 2567
ขณะที่การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ และงบประมาณรายจ่ายเพื่อใช้เงินคงคลัง พบว่ามีวงเงินรวมกันทั้งสิ้น 464,741.2 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13.35% ของงบปี 2567
นอกจากนี้ ในส่วนการจัดสรรงบรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียนฯ พบว่า มีการจัดสรรงบสำหรับ ‘กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม’ วงเงิน 50,015.27 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 14,500.64 ล้านบาท) และมีการจัดสรรงบสำหรับ ‘กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ’ วงเงิน 152,738.24 ล้านบาท (อ่านข้อมูลด้านล่าง)
@ตัดงบ‘ก.เกษตร’ 9.5 พันล้าน-กลาโหมได้งบเพิ่ม 1.96%
งบประมาณรายจ่ายฯปีงบ 2567 จำแนกตาม ‘กระทรวง’ โดยเรียงตามลำดับวงเงินที่ได้รับจัดสรร ดังนี้
1.งบกลาง (11 รายการ) วงเงิน 603,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 12,795 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.17%
2.กระทรวงมหาดไทย วงเงิน 353,127.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 27,881.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.57%
3.กระทรวงศึกษาธิการ วงเงิน 328,384.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,010.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.31%
4.กระทรวงการคลัง วงเงิน 327,155.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 42,000.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.73%
5.ทุนหมุนเวียน วงเงิน 237,342.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 30,523.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.76%
6.กระทรวงกลาโหม วงเงิน 198,320.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 3,821.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%
7.กระทรวงคมนาคม วงเงิน 183,635.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 3,322.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.84%
8.รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 167,945.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 5,026.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.09%
9.กระทรวงสาธารณสุข วงเงิน 165,726.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 13,462.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.84%
10.กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วงเงิน 127,546.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,990.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.40%
11.ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี วงเงิน 127,536.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,738.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.19%
12.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 118,596.1 ล้านบาท ลดลงจากปีงบ 2566 จำนวน 9,537.4 ล้านบาท หรือลดลง 7.44%
13.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง วงเงิน 118,361.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 118,361.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 100%
14.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วงเงิน 101,254.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 14,797.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.11%
15.กระทรวงแรงงาน วงเงิน 61,658.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 7,332.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13.50%
16.สำนักนายกรัฐมนตรี วงเงิน 34,553.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,367.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.35%
17.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 33,231.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,777.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.12%
18.กระทรวงยุติธรรม วงเงิน 25,987.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,384.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.63%
19.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วงเงิน 25,327.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 711.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.89%
20.หน่วยงานของศาล วงเงิน 24,930.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,778.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.68%
21.จังหวัดและกลุ่มจังหวัด วงเงิน 23,076.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,575.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.33%
22.หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ วงเงิน 22,915.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 3,418.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.53%
23.กระทรวงการต่างประเทศ วงเงิน 9,009.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,453.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.23%
24.สภากาชาดไทย วงเงิน 8,867.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 13.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.15%
25.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 8,827.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 2,041.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.08%
26.ส่วนราชการในพระองค์ วงเงิน 8,478.4 ล้านบาท ลดลงจากปีงบ 2566 จำนวน 133.3 ล้านบาท หรือลดลง 1.55%
27.หน่วยงานของรัฐสภา วงเงิน 7,515.3 ล้านบาท ลดลงจากปีงบ 2566 จำนวน 214.8 ล้านบาท หรือลดลง 2.78%
28.กระทรวงวัฒนธรรม วงเงิน 7,016.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 281.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.18%
29.กระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 6,822.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 378.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.88%
30.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วงเงิน 5,591.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 295.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.59%
31.กระทรวงอุตสาหกรรม วงเงิน 4,559.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 87.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%
32.กระทรวงพลังงาน วงเงิน 2,834.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 134.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.99%
33.หน่วยงานอื่นของรัฐ วงเงิน 600.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 122.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 25.74%
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดการจัดสรรงบปี 2567 พบว่า กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบมากที่สุด 10 กระทรวงแรก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (353,127.5 ล้านบาท) ,กระทรวงศึกษาธิการ (328,384.7 ล้านบาท) ,กระทรวงการคลัง (327,155.1 ล้านบาท) ,กระทรวงกลาโหม (198,320.4 ล้านบาท) ,กระทรวงคมนาคม (183,635.0 ล้านบาท)
กระทรวงสาธารณสุข (165,726.2 ล้านบาท) ,กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. (127,546.6 ล้านบาท) , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (118,596.1 ล้านบาท) ,กระทรวงแรงงาน (61,658.3 ล้านบาท) และสำนักนายกรัฐมนตรี (34,553.5 ล้านบาท)
อย่างไรก็ดี ในการจัดสรรงบปี 2567 ดังกล่าว พบว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถูกตัดงบลง 9,537.4 ล้านบาท หรือลดลง 7.44% ในขณะที่กระทรวงมหาดไทย ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มขึ้น 27,881.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.57% และกระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มขึ้น 3,821.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%
เหล่านี้เป็นรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปีงบ 2567 ที่ ครม. ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ได้มีมติอนุมัติไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในขั้นตอนต่อไป ‘หน่วยรับงบประมาณ’ จะเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณต่อ ‘นายกฯ-รองนายกฯ-รัฐมนตรีเจ้าสังกัด’ และส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 23 พ.ย.2566
จากนั้นสำนักงบประมาณจะพิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ 2567 และนำเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ย.2566
อ่านประกอบ :
ครม.ผ่านรายละเอียดงบปี 67 วงเงิน 3.48 ล้านล้าน เพิ่มจากปี 66 ที่ 2.95 แสนล้าน
ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้าน! ครม.อนุมัติ ‘แผนบริหารหนี้สาธารณะ’ ปีงบ 67
เปิดรายละเอียดกรอบงบ 67 รัฐลงทุน 7.19 แสนล. มองGDPปีหน้าโต 3.2%-หลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า
ขาดดุลฯ 6.93 แสนล.! ครม.ไฟเขียวเพิ่ม'กรอบวงเงิน'งบประมาณรายจ่ายปี 67 เป็น 3.48 ล้านล้าน
เปิดยุทธศาสตร์งบ 67 รบ.'เศรษฐา'ดัน 28 เรื่องด่วน-คาดทูลเกล้าฯ'ร่างพ.ร.บ.งบฯ'เม.ย.ปีหน้า
ขาดดุลเพิ่มแสนล.! รบ.เคาะกรอบงบปี 67 เป็น 3.48 ล้านล้าน-‘เศรษฐา’ย้ำแจก‘หมื่นบาท’ไม่กู้