2 ผู้สมัครฯ ยื่นหนังสือถึง ‘ประธาน-กรรมการ กสทช.' คัดค้านหนังสือ 'นพ.สรณ' แจ้งผลการคัดเลือก ‘เลขาธิการ กสทช.’ คนใหม่ เหตุแคลงใจ ‘ความโปร่งใส’ ในการกระบวนการพิจารณา-ส่อขัดกฎหมาย
..............................................
จากกรณีที่ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้บรรจุวาระการพิจารณาเรื่องผลการคัดเลือก เลขาธิการ กสทช. คนใหม่ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ได้ทำหนังสือแจ้งผลการคัดเลือกฯไปยังผู้เข้ารับสมัครแต่ละรายแล้ว นั้น (อ่านประกอบ : จับตา'บอร์ด กสทช.'เคาะ'เลขาธิการฯ'คนใหม่ 23 ส.ค.นี้-'ปธ.'แจ้งผู้สมัครฯไม่ผ่านการคัดเลือก)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า ล่าสุดมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็น เลขาธิการ กสทช. อย่างน้อย 2 ราย ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ และนายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ทำหนังสือถึงประธาน กสทช. และกรรมการ กสทช. แสดงความคัดค้านหนังสือแจ้งผลการคัดเลือก เลขาธิการ กสทช.
โดยหนังสือคัดค้านฉบับแรก ซึ่งเป็นของ นายกิตติศักดิ์ นั้น มีการระบุเนื้อหา ว่า “ตามที่ข้าพเจ้า ได้รับหนังสือตามที่อ้างถึง แจ้งผลการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “เลขาธิการ กสทช.”) นั้น
ข้าพเจ้าขอโต้แย้งคัดค้านหนังสือฉบับดังกล่าว เนื่องจากการพิจารณาคัดเลือกเลขาธิการ กสทช. ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการโดย ประธาน กสทช. เพียงคนเดียว ซึ่งตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ”) มาตรา 61 กำหนด ให้การแต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการ กสทช. กระทำโดยประธาน กสทช. โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “กสทช.”)
แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการต้องมีลักษณะเป็น “คณะกรรมการ” ประกอบไปด้วย กรรมการ กสทช. จำนวน 7 คน โดยใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎมายผ่านการ “ลงมติ” โดยที่กรรมการ กสทช. 1 คนมี 1 เสียงในการลงคะแนน และเมื่อที่ประชุม กสทช. ได้คะแนนเสียงข้างมากของกรรมการ กสทช. ผู้มาประชุม หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ กสทช. ทั้งหมด ตามแต่กรณีแล้ว
ย่อมถือเป็น มติของ กสทช. ตามนัยมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบข้อ 41 แห่ง ระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “ระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการประชุม”)
ดังนั้น อำนาจในการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. จึงเป็นอำนาจของ กสทช. ทั้งคณะ มิใช่อำนาจของประธาน กสทช. แต่ผู้เดียว ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบกับระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการประชุม การคัดเลือกเลขาธิการ กสทช. และหนังสือแจ้งผลดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมาย
ข้าพเจ้าจึงขอให้ประธาน กสทช. พิจารณาดำเนินแก้ไขการดำเนินกระบวนการคัดเลือกเลขาธิการ กสทช.ดังกล่าว ให้ถูกต้องภายใน 15 วัน โดยให้นำรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านคุณสมบัติที่ได้มาแสดงวิสัยทัศน์ทุกคน และนำผลเข้าสู่การพิจารณาของ กสทช. ทั้งคณะ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ส่วนหนังสือคัดค้านฉบับที่สอง ซึ่งเป็นของนายปกรณ์ มีเนื้อหา ว่า “ด้วยข้าพเจ้าได้รับหนังสือแจ้งผลการคัดเลือกเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าข้าพเจ้าไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามความละเอียดปรากฏในสิ่งที่อ้างถึง
โดยที่ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า ผลการพิจารณาดังกล่าวได้สร้างความคลางแคลงใจให้แก่ข้าพเจ้า เป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง และขาดความชัดเจนในหลายเรื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ อาทิ มีการขยายเวลารับสมัครโดยประกาศขยายเวลาดังกล่าวมาปรากฏต่อสาธารณะหลังจากวันหมดเขตการรับสมัครไปแล้ว ทั้งที่มีผู้ยื่นใบสมัครแล้วอยู่หลายราย
อีกทั้งมีการเพิ่มขั้นตอนการพิจารณาฯ มากไปกว่าที่ปรากฏอยู่ในประกาศรับสมัครฯ อย่างกะทันหัน เช่น ให้มีการสัมภาษณ์ และการแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังมีข้อกำหนดในการนำเสนอที่ไม่ชัดเจนอีกด้วย นอกจากนี้ ในกระบวนการสรรหาและการประกาศผลการพิจารณาคัดเลือก นั้น ไม่ได้มีการแสดงถึงหลักการและเหตุผลในการพิจารณา เกณฑ์การให้คะแนน ผลของการแสดงวิสัยทัศน์ และการพิจารณาประวัติการทำงาน เรื่องร้องเรียนต่างๆ และความสำเร็จที่ส่งเสริมการทำงานของ กสทช. ตามหลักธรรมมาภิบาลอีกด้วย
จากประเด็นเบื้องต้นดังกล่าว ส่งผลให้ข้าพเจ้ารู้สึกคลางแคลงใจในความโปร่งใสและความเป็นธรรม ในกระบวนการพิจารณาฯ จึงขอแสดงการคัดค้านในผลการคัดเลือกตามที่ปรากฏอยู่ในสิ่งที่อ้างถึง”
อ่านประกอบ :
จับตา'บอร์ด กสทช.'เคาะ'เลขาธิการฯ'คนใหม่ 23 ส.ค.นี้-'ปธ.'แจ้งผู้สมัครฯไม่ผ่านการคัดเลือก
ไม่เกิน 5 ล./ปี! เปิดระเบียบฯกสทช.เบิกงบปฏิบัติงานตปท. ก่อน'เลขา'แจงปม'ปธ.'บินนอก15ครั้ง
อ้างเกิดความเห็นต่าง-แข่งขันกันเอง! กสทช.จัด'เวิร์กชอป'ปรับทัศนคติ-ค่านิยม'พนักงาน'
วาระปรับโครงสร้างฯค้างบอร์ด! 'ปธ.กสทช.'ปิดประชุมกะทันหัน-กก.ทวงปลด'ไตรรัตน์'พ้นรักษาการ
เกิดการดื้อ-ขัดขืน! ‘ประธาน กสทช.’รวบอำนาจสั่ง‘พนง.’เบ็ดเสร็จ อ้างปย.สูงสุดต่อประเทศชาติ
ยังไม่ลงมติเลือกใคร! 8ผู้สมัครฯโชว์วิสัยทัศน์ชิงตำแหน่ง‘เลขาธิการ กสทช.’-‘พีระกันต์’ไม่มา
ปลด'นพ.ประวิทย์'พ้นที่ปรึกษาฯ'ปธ.กสทช.'-พบเคยเป็น'อนุกรรมการฯ'สอบค่าซื้อลิขสิทธิ์บอลโลก
เลขานุการ'ปธ.กสทช.'แจงยกเลิกประชุมบอร์ดผ่าน'กรุ๊ปไลน์' เป็นไปตามคำพิพากษา'ศาลปค.สูงสุด'
กสทช.เดือด! ปมยกเลิกประชุมบอร์ดกะทันหัน ชี้‘ปธ.’ป่วย แต่มอบ‘กรรมการ’คนอื่นทำหน้าที่แทนได้
ส่อผิดม.157! โชว์หนังสือ4กสทช. เตือน‘สรณ’หักมติบอร์ด ปมปลด‘ไตรรัตน์’พ้นรักษาการ-ตั้งสอบฯ
ก่อน'ปธ.'หักมติบอร์ด!เปิดวาระลับ กสทช.โหวต 2 รอบปลด'ไตรรัตน์'พ้น'รักษาการเลขาธิการ-ตั้งสอบฯ'
ยกเลิกคำสั่งสอบฯตัวเอง!‘ไตรรัตน์’ล้ม‘คกก.สอบสวน’ปมลิขสิทธิ์บอลโลก-ย้ายใหญ่ผู้บริหาร กสทช.
พร้อมรับผิดชอบเอง!‘ประธาน กสทช.’เมินมติบอร์ด ป้อง‘ไตรรัตน์’นั่งรักษาการฯ หลัง 4 กก.ท้วง
อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกม.!เปิดผลสอบฯปมลิขสิทธิ์บอลโลก ก่อน‘บอร์ด กสทช.’ปลด‘ไตรรัตน์’พ้นรักษาการ
‘ไตรรัตน์’ยังนั่งรักษาการ! เลขานุการ‘ปธ.กสทช.’ยันไม่มีคำสั่งปลด-ห่วงพนง.กระด้างกระเดื่อง
ยังไม่พอให้คัดเลือก!'ปธ.กสทช.'ขยายเวลารับสมัคร'เลขาธิการ' 1 เดือน-ล่าสุดยื่นแล้ว 7 ราย
เตือน‘ปธ.กสทช.’เดินหน้ารับสมัคร‘เลขาธิการ’ หากบอร์ดตีตกผลคัดเลือก ต้องรับผิดชอบส่วนตัว
ฉบับ 2! เปิดบันทึก 3 กสทช.เตือน‘ปธ.’รับสมัคร‘เลขาธิการ’ไม่ชอบ-เอื้อใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ