เอกสารที่บริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited ได้ส่งไปให้กับบริษัท JHCL อ้างว่าบริษัทนั้นเคยมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 102 เมกะวัตต์ในประเทศจีน อย่างไรก็ตามรูปภาพที่แนบมาด้วย ปรากฏว่าเป็นโครงการโรงไฟฟ้าซึ่งก่อสร้างโดยบริษัท Sinohydro ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Kafue Gorge Lower Power Station ในประเทศแซมเบีย ขนาด 750 เมกะวัตต์
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอเกาะติดกรณีความไม่โปร่งใสของบริษัทจีนที่เข้าไปมีส่วนในการประกวดราคาที่ประเทศเนปาล
โดยสำนักข่าวกาฐมาณฑุโพสต์รายงานข่าวกรณีที่บริษัทจีนแห่งหนึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งเอกสารปลอมเข้าไปเพื่อร่วมกระบวนการประกวดราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำภูมิภาคจากาดุลลาในทางตะวันตกของเนปาล และตอนนี้คดีนี้ก็ได้เข้าไปสู่การตรวจสอบของคณะกรรมการสอบสวนการใช้อํานาจในทางที่ผิด (CIAA)และสํานักงานจัดซื้อจัดจ้าง (PPMO) ของเนปาลแล้ว
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าขนาด 106 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บริเวณยอดเขาซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำ ในเขตดอลปา
โครงการนี้ได้ทำให้เกิดข้อครหา หลังจากผู้เข้าร่วมกระบวนการประกวดราคาสามรายซึ่งเป็นคู่เทียบกล่าวหาว่าทางการได้มอบสัญญาให้กับบริษัทจีนซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ และยังมีการกล่าวหาว่าทางการได้ดำเนินการในลักษณะที่ “ตอบสนองเป็นอย่างมาก” ในการประเมินข้อมูลทางเทคนิคในช่วงการเสนอราคา
อนึ่งขั้นตอนในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการนี้จะใช้เป็นไปตามขั้นตอนทางวิศวกรรม,ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และขั้นตอนการก่อสร้าง หรือที่เรียกกันว่ารูปแบบ EPC
โครงการนี้มีผู้ที่รับผิดชอบให้พัฒนาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำได้แก่บริษัท Jagadulla Hydropower Company Limited (JHCL) ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ Vidyut Utpadan Company Limited (VUCL)
ตามข้อกล่าวหาระบุว่าบริษัท JHCL ได้ให้คะแนนทางเทคนิคกับบริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited ซึ่งถูกกล่าวหาว่าไม่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเข้าและมีการส่งเอกสารปลอมเพื่อจะชนะสัญญา
ประกาศผู้ที่ผ่านการประมูลด้านเทคนิคเพื่อจะไปต่อที่ประมูลด้านการเงิน
สำหรับช่วงเวลาของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างนั้น เมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประมูลทางเทคนิคผ่านพ้นไปแล้ว และในวันที่ 7 พ.ค.ที่จะมาถึง ก็จะเป็นวันที่ผู้เข้าร่วมในกระบวนการประกวดราคาแต่ละรายจะต้องประมูลทางการเงินกันต่อไป ตามข้อมูลที่ได้มีการโพสต์ลงบนเว็บไซต์ของบริษัท JHCL
ข้อร้องเรียนอีกสองรายการพบว่ามีการลงทะเบียนร้องเรียนโดยผู้เข้าร่วมประกวดราคาอีกสามรายได้แก่ 1.บริษัท Sinohydro Corporation Limited จากประเทศจีน 2.กิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท High Himalaya Hydro Construction Private Limited และบริษัท SEW Infrastructure Limited (กิจการร่วมค้า SIL-3HC) และ 3.กิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท Fewa Construction Limited และบริษัท 2 MG Insaat Madenclick Tic AS (กิจการร่วมค้า 2 MG Fewa) และเรื่องร้องเรียนดังกล่าวก็ได้มีการส่งไปให้ CIAA และสํานักงานติดตามการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบให้เหมาะสมแล้ว
บริษัท Sinohydro ที่ได้คะแนนเป็นอันดับที่สองถัดจากบริษัท Jiangxi Construction Limited ได้เป็นผู้ร้องเรียนร่วมกับผู้เข้าร่วมประกวดราคาอีกสองรายด้วยเช่นกัน โดยข้อร้องเรียนที่ส่งไปยัง PPMO ระบุว่า
“บริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited ไม่มีประวัติที่สามารถยืนยันได้หรือว่ามีประสบการณ์มาก่อนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ แม้ว่าตัวบริษัทจะอ้างเป็นอย่างอื่นในเอกสารประมูลทางเทคนิคก็ตาม โดยบริษัทนี้ไม่เคยได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) หรือได้รับอนุญาตจากกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไม่ว่าจะทั้งในประเทศจีนหรือว่าในต่างประเทศ”
ทั้งนี้หนึ่งในเอกสารที่บริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited ได้ส่งไปให้กับบริษัท JHCL อ้างว่าบริษัทนั้นเคยมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 102 เมกะวัตต์ในประเทศจีน อย่างไรก็ตามรูปภาพที่แนบมาด้วย ปรากฏว่าเป็นโครงการโรงไฟฟ้าซึ่งก่อสร้างโดยบริษัท Sinohydro ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Kafue Gorge Lower Power Station ในประเทศแซมเบีย ขนาด 750 เมกะวัตต์
ข้อกำหนดในการประกวดราคากําหนดให้ผู้ประมูลทั้งหมดต้องส่งรายละเอียดตําแหน่ง GPS/GIS พร้อมตำแหน่งพิกัดกริดยูทีเอ็ม และหลักฐานภาพถ่ายของโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้มีข้อสงสัยว่าเอกสารและภาพถ่ายที่แนบมานั้นมีความถูกต้องหรือไม่ และข้อมูลทั้งหมดนี้สมควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด ตามข้อร้องเรียนของผู้เข้าร่วมประกวดราคาทั้งสามราย
อนึ่งการส่งเอกสารเข้าร่วมการประมูลทางเทคนิคของบริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited นั้นส่งมาในนามของกิจการร่วมค้า JCE-ANK ที่เข้าร่วมการประกวดราคา ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทเนปาลชื่อว่า ANK และบริษัท Jiangxi Construction Engineering หรือบริษัท JCE โดยตอนนี้มีข้อสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวอาจถูกบิดเบือนหรือปลอมแปลงโดยมีเจตนาเพื่อจะทำให้ตัวเองได้มีคุณสมบัติภายใต้หลักเกณฑ์ทางเทคนิคของโครงการ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นถือเป็นการละเมิดกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างชัดเจน
เว็บไซต์ของบริษัท JCE ก็ไม่ได้ระบุถึงประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผลงานของบริษัทส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร ทางหลวง และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
หน้าเว็บบริษัท Jiangxi Construction Engineering (Group) Corporation Limited
ทางด้านของนายซานเจย์ ซัพโกตา (Sanjay Sapkota) ประธานผู้บริหารบริษัทให้สัมภาษณ์กับกาฐมาณฑุโพสต์ว่าพวกเขากำลังตรวจสอบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกรณีการส่งเอกสารปลอมนี้อยู่
“กิจการร่วมค้า JEC-ANK ได้ส่งรายงานความสําเร็จของโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ แต่เราไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างอิสระ” นายซานเจย์กล่าวและกล่าวยืนยันว่าเจ้าหน้าที่พยายามที่จะตรวจสอบโครงการของ JCE ที่อ้างว่าได้มีการดำเนินการในประเทศจีนแล้ว แต่ว่าไม่สามารถติดตามได้
อีกหนึ่งข้อร้องเรียนที่ส่งไปยัง CIAA เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ระบุว่ามีการเสนอราคาอยู่ที่ 1.35 หมื่นล้านรูปีเนปาล (3,307,435,918 บาท) (ไม่ได้ระบุว่าราคานี้เสนอโดยใคร) พร้อมกับราคาที่ผู้เข้าร่วมประกวดราคารายอื่นๆได้นำเสนอ ซึ่งข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 เม.ย. อย่างไรก็ตามเหล่าผู้ร่วมประกวดราคาร้องเรียนว่าเนื่องจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ยังดำเนินอยู่ ดังนั้นข้อมูลนี้ควรเป็นความลับ การเปิดเผยข้อมูลราคานั้นส่อให้เห็นถึงการละเมิดความยุติธรรมที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของกระบวนการประมูลและการแข่งขันที่โปร่งใสอย่างร้ายแรง
ในข้อร้องเรียนยังได้ระบุถึงข่าวลือในวงกว้างชี้ให้เห็นว่าเว็บไซต์ของสํานักงานจัดซื้อจัดจ้าง (PPMO) ก็อาจจะถูกแฮกเพื่อเข้าถึงข้อมูลการประมูลที่เป็นความลับอย่างผิดกฎหมาย
ผู้ร้องเรียนยังชี้ให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรงเอกสารข้อเท็จจริงทางกฎหมาย เกี่ยวกับเวลาในการยื่นประมูลและแก้ไขเอกสาร ตามข้อมูลแพลตฟอร์มการเสนอราคาออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วไป
“ความคลาดเคลื่อนนี้ทําให้เกิดข้อสงสัยอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของระบบการประมูลดิจิทัล และตอกย้ำความสงสัยเกี่ยวกับการแฮ็กหรือการดัดแปลงบันทึกการประมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงระยะเวลาการแก้ไขข้อมูล” ผู้ร้องเรียนกล่าวและกล่าวอีกว่าดูเหมือนว่าจะไม่มีช่องว่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างผู้เสนอราคาต่ำสุดสองราย ซึ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการจัดการที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เพียงแต่ละเมิดภาระผูกพันในการรักษาความลับที่นายจ้างเป็นหนี้ต่อผู้เสนอราคาทั้งหมด แต่ยังส่งผลเสียอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้เสนอราคาที่แท้จริงที่เข้าร่วมโดยสุจริต โดยเชื่อว่ากระบวนการจะดําเนินการด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ความโปร่งใส และความซื่อสัตย์สุจริตสูงสุด
ส่วนทางด้านของนายเทวี ปราสาด ทาปาลิยา รองโฆษกของ CIAA กล่าวว่าตอนนี่ทาง CIAA ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลใดๆต่อสื่อเกี่ยวกับคดี่กำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวนได้
เรียบเรียงจาก:https://kathmandupost.com/national/2025/05/02/nepal-hydro-tender-hit-by-fraud-claims-against-chinese-firm
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดประวัติคาร์ดินัลโดนคดีการเงิน อ้างมีสิทธิ์โหวตโป๊ปพระองค์ใหม่
- ส่องคดีทุจริตโลก: รัฐสภาเนปาลสอบ จนท.เอื้อประโยชน์ บ.จีน หนีภาษี-ย้อมแมวสนามบิน 7พันล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารชั้นนำสวิสถูกสอบ เหตุทำธุรกรรมกับลูกค้าความเสี่ยงสูง 1,400 บัญชี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์ฯ ใช้นอมินีรับสัญญารถไฟแอฟริกาใต้หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: แอฟริกาใต้จ้างเอกชนจีนมีประวัติโดนขึ้นบัญชีดำในต่างแดน สร้างถนน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย บ.จีนจ้างแฟนเก่าอดีต ปธน.โบลิเวียนั่งบริหาร รับสัญญารัฐหมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ป.ป.ช.อินโดฯ เดินหน้าสอบบิ๊กธนาคาร เอี่ยวจ่ายคอมมิชชั่น บ.โฆษณา 449 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รัฐวิสาหกิจจีนประวัติฉาว ทำสัญญาสร้างเขื่อน 1.8 หมื่นล. ที่ฮอนดูรัส
- ส่องคดีทุจริตโลก:เช็กเกียสั่งสอบ 17 ผู้ต้องหา เอี่ยวกินเปอร์เซ็นต์สัญญา รพ.มูลค่าพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:กห.ออสซี่ทำสัญญาหมื่นล.เอกชนถูกสอบฮั้วราคาอุปกรณ์-บริการฐานทัพทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก:สภายูเครนผ่านร่าง กม.ซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หมื่นล.ส่อไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:NGO ฉ้อโกงเงิน USAIDนับร้อยล้าน-ยักยอกอาหารผู้ลี้ภัยขายผู้ก่อการร้าย
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.สิงคโปร์ค้าน้ำมันให้กองทัพเมียนมา ก่ออาชญากรรมสงคราม ทำรายได้ พันล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ซาอุฯเดินหน้าสัญญาซื้ออาวุธรัสเซีย 7.7 หมื่นล.แม้ถูกคว่ำบาตรปมบุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ก.คลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารคีร์กีซ เหตุช่วยแบงก์รัสเซียเลี่ยงคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก: CEO กรมน้ำฯแอลเอ บริหารงานล้มเหลว? ต้นเหตุหัวดับเพลิงไม่ทำงานช่วงไฟป่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉแผนทรมาน ปธ.กกต.เกาหลีฯช่วงอัยการศึก บังคับประกาศเหตุโกงเลือกตั้ง สส.