"...ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่าจําเลยทราบดีว่าไม่สามารถนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการได้ จึงไม่ยอมหารือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเพราะผลตอบหารืออาจไม่เป็นไปตามที่จําเลยต้องการ จนอาจต้องทบทวนวิธีการและงบประมาณในการดําเนินโครงการ ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนการของจําเลยที่ต้องการผลักดันโครงการให้สําเร็จโดยเร็วเพราะมีเรื่องแอบแฝงบางประการ ..."
ในการเปิดเผยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2566 ที่ตัดสินพิพากษากลับให้ลงโทษ จำคุก 2 ปี นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในคดีกล่าวหาทุจริตทำสัญญาเช่าจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน มูลค่า 2,800 ล้านบาท ของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (คดีคอมพ์ฉาว สปส. 2.8 พันล.) ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้ความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำรายละเอียดพฤติการณ์ในการกระทำความผิดคดีนี้ของ นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ ที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาเสนอไปแล้วว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอนุมัติร่างขอบเขตงาน (TOR) การเช่าจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน มูลค่า 2,800 ล้านบาท ที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สํานักงานประกันสังคม นายจ้าง และผู้ประกันตน และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จําเลยยังมีการชี้แจงด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่า ทุกเนื้องานของโครงการเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสํานักงานประกันสังคม 100% ทําให้คณะกรรมการประกันสังคมหลงเชื่อว่าการอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินงานโครงการชอบด้วยกฎหมาย และมีมติอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนดําเนินการโครงการ จํานวน 2,894,669,702 บาท
- เปิดคำพิพากษาคดีคอมพ์ฉาว (1) พฤติการณ์ 'ไพโรจน์' อดีตเลขาฯ สปส. โดนคุก 2 ปี
- พิพากษากลับ! ศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 2 ปี 'ไพโรจน์' อดีตเลขาฯ สปส. คดีคอมพ์ฉาว 2.8 พันล.
ข้อมูลคำพิพากษาที่จะนำมาเสนอในตอนนี้ เป็นรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ทำไมถึงพิพากษากลับให้ นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก 2 ปี หลังจากที่ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ซึ่งมีการระบุว่า จําเลยต้องการผลักดันโครงการให้สําเร็จโดยเร็วเพราะมีเรื่องแอบแฝงบางประการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการอย่างรีบด่วนผิดปกติในทุกขั้นตอน
ปรากฏรายละเอียดนับจากบรรทัดต่อไปนี้
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า จำเลยไม่นำผลการพิจารณากลั่นกรองการเสนอขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อบริหารสำนักงานประกันสังคมไปดำเนินโครงการ รวมทั้งข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมประจำปี ในเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคมในการอนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินโครงการให้คณะกรรมการประกันสังคมประกอบพิจารณาอนุมัติโครงการ
แต่จำเลยกลับชี้แจงด้วยข้อความอันเป็นเท็จต่อที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมว่าทุกเนื้องานของโครงการเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสำนักงานประกันสังคม 100 % หรือไม่ และจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาเช่า จัดหาและดำเนินการ ระบบงานเทคโนโลยี่สารสนเทศแรงงานระหวางสำนักงานประกันสังคม กับเอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม โดยรู้อยู่แล้วว่าการอนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมเพื่อดำเนินการตามสัญญาเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
@ เห็นควรวินิจฉัย 2 ข้อกล่าวหาพร้อมกัน
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมีชอบเห็นควรวินิจฉัยทั้ง 2 ข้อกล่าวหาไปพร้อมกัน เห็นว่า การดำเนินโครงการตามฟ้องมีข้อผิดปกติตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ ตลอดจนขั้นตอนการลงนามในสัญญา กล่าวคือ ประการแรก ข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกคำให้การของนายพ. (ตัวย่อ) เจ้าหน้าที่บริทารงานทั่วไป 8 ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานรัฐนตรีว่าการกระทรวงแรงงานว่า นาย พ. ได้รับหนังสือของสำนักเลขาธการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่อง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ นาย จ. ปลัดกระทรวงแรงงาน พ้นจากตำแหน่งเพื่อไปรับตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภพันธ์ 2549 เวลา 11.06 นาฬิกา นาย พ. เห็นว่าเป็นหนังสือสำคัญเร่งด่วนเพราะเป็นเรื่องย้ายปลัดกระทรวง จึงถ่ายสำเนาหนังสือเสนอรัฐมนตรี ผ่านเลขานุการรัฐมนตรีเพื่อทราบ และถ่ายสำเนาหนังสือส่งมอบให้กองการเจ้าหน้าที่ในวันเดียวกันด้วย
โดยส่งมอบสำเนาหนังสือให้ นางสาว ว. หัวหน้าฝ่ายบรรจุและแต่งตั้ง มีหลักฐานว่ากองการเจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือในวันที่ 23 กุมกาพันธ์ 2549 ส่วนต้นฉบับหนังสือได้นำส่งให้ทั่วหน้าฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งและได้ความจากบันทึกคำให้การของ นางสาว พ. ผู้ทำหน้าที่งานทะเบียนประจำห้องปลัดกระทรวงแรงงานว่า สำนักงานปลัดกระทรวงได้รับเรื่องจากหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 แล้วส่งให้สำนักบริหรกลาง สำนักบริหารกลางได้รับเรื่องวันที่ 2 มีนาค 2549 สำนักบริหารกลางส่งเรื่องให้ปลัดกระทรวง ผ่านนาย พ. รองปลัดกระทรวง นาย พ. ลงนามวันที่ 3 มีนาคม 2549 แล้วส่งให้นางสาว พ. ลงทะเบียนรับหนังสือในวันที่ 6 มีนาคม 2549 แต่นางสาว พ. บันทึกหลักฐานการรับหนังสือในระบบคอมพิวเตอร์ในวันที่ 7 มีนาคม 2549 เวสา 08.33 นาฬิกา
ทั้งที่ปรากฎว่า สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน สำนักงานบริหารกลาง ห้องทำงานของนาย พ. รองปลัดกระทรวง และห้องทำงานของนาย จ. ปลัดกระทรวงอยู่ในอาคารเดียวกันเพียงแต่อยู่คนละชั้นเท่านั้น และหนังสือแจ้งพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ นาย จ. พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน ใช้เวลาเพียง 1 วัน จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ส่งมาถึงกระทรวงแรงงานแล้ว แต่การเสนอหนังสือให้นาย จ. นามรับทราบ ใช้เวลานานถึง 15 วัน
พฤติการณ์สื่อให้เห็นว่าทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการเสนอหนังสือของกระทรวงแรงงาน มีการประวิงเวลาหรือซะลอการเสนอหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี น่าเชื่อว่า กระทำไปโดยมีวัตถุประสงค์ให้นาย จ. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม ในวันที่ 7 มีนาคม 2549 เพื่อพิจารณาโครงการตามฟ้อง
รวมทั้งให้นาย จ. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริทารงานสำนักงานประกันสังคมประจำปี และคณะอนุกรรมการพิจารณาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานประกันสังคมเสร็จสิ้นเสียก่อน เพื่อกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด
ประการที่สอง จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคาในวันที่ 7 เมษายน 2549 คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา มีการประชุใครั้งที่ 1/2549 ในวันเดียวกับที่ได้รับแต่งตั้งในเวลา 14 นาฬิกา กำหนดราคาประมูลจะต้องเริ่มต้นที่ 2,897,735,651 บาท และมีบันทึกถึงจำเลยขออนุมัตินำร่าง TOR และเอกสารประกวดราคาเพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมและเว็บไชต์ของกรมบัญชีกลาง
ต่อมาวันที่ 11 เมษายน 2549 คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมประจำปี ครั้งที่ 2/2549 มีมติให้ปรับลดวงเงินงบประมาณลงเหลือ 2,894,669,702 บาท หลังจากนั้นคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา มีการประชุมต่อมาอีก 4 ครั้ง แต่ร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคาทุกครั้งยังคงกำหนดราคาประมูลต้องเริ่มต้นที่ 2,897,735,651 บาท ไม่มีการแก้ไขปรับลดวงเงินลง
ทั้งที่วงเงินงบประมาณเป็นสาระสำคัญ จนเป็นเหตุให้จำเลยอนุมัติร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา กำหนดราคาประมูลต้องเริ่มต้นที่ 2,897,735,651 บาท การประชุมบางครั้งมีการนัดประชุมนอกเวลาราชการ เช่น การประชุม ครั้งที่ 3/2559 นัดประชุมเวลา 16.30 นาฬิกา แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาร่าง TOR และเอกสารประกวดราคากระทำอย่างเร่งรีบทำให้ขาดความรอบคอบ
ประการสำคัญ ร่าง TOR ที่กำหนดเป็นการอัพเกรดเครื่องเมนเฟรมยี่ห้อ IBM ที่มีอยู่เดิม อุปกรณ์ที่จะนำมาอัพเกรดต้องเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเดิม ผู้ที่จะเสนอราคาต้องเป็นตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ IBM เท่านั้น ส่งผลให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะเสนอราคามีจำนวนน้อยลง ซึ่งในขั้นตอนการเผยแพร่ TOR บนเว็บไชต์เพื่อรับฟังคำวิจารณ์ มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์หลายราย เช่น บริษัทไทยแท็นคอนชังติ้งจำกัด บริษัทไทยทรานสมิชชั่น จำกัด ตั้งข้อสังเกตว่า TOR มีลักษณะเอื้อบริษัทเจ้าช่องผลิตภัณฑ์เดิม ทั้ง ๆ เทคโนโลยีอื่นที่สำมารถทำได้ดีกว่าหรือเท่าเทียม
สอดคล้องความเห็นของนาย ท. รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนตามบันทึกคำให้การว่า ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาเริ่มเปลี่ยนแปลงจำกเมนเฟรมที่เป็นระบบปิด มาเป็นระบบเปิด ENTERPRISE SERVER (เครื่องให้บริการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่) ที่มีข้อกำหนดคุณลักษณะที่ส่วนใหญ่เป็นระบบเปิด หรือใช้มาตรฐานเปิด และใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นระบบเปิด เช่น LINUX ผู้ผลิตรายอื่นสามารถจำหน่ายเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ต้องซื้อใบอนุญาตจากผู้ผลิตเครื่องรายใหญ่อีกต่อไป
แม้ว่าคณะอนุกรรมการกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา ได้มีการประชุมปรับปรุงแก้ไขร่าง TOR ถึง 5 ครั้ง แต่ไม่มีแก้ไขในประเด็นที่มีบริษัทเอกชนให้ความเห็นและประเด็นที่สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องควมโปร่งใสในการกำหนดร่าง TOR โดยสำนักงานประกันสังคมให้เหตุผลเพียงว่าไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนระบบโดยทันที จึงเลือกที่จะพัฒนาระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายในช่วงรอยต่อที่กำลังทำ Migration ไปสู่ระบบเปิด ภายหลังการทำสัญญาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงกรตามฟ้อง
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนว่า TOR ของโครงการยังมีประเด็นปัญหาหลายประการ และสำนักงานประกันสังคมได้พยายามที่จะพัฒนาไปสู่ระบบเปิดตั้งแต่ปี 2546
ประการที่สาม กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการอย่างรีบด่วนผิดปกติในทุกขั้นตอน กล่าวคือ
1) นับแต่จำเลยเสนอโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 จนถึงวันที่จำเลยลงนามในสัญญาใช้เวลาเพียงประมาณ 7 เดือนเศษ ทั้งที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณวงเงินสูงถึง 2,894,669,702 บาท เพื่อการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระยะเวลาเพียง 5 ปี
2) จำเลยลงนามในเอกสารประกวดราคาเพื่อนำไปลงในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมและเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง โดยกำหนดราคาเริ่มต้นที่ 2,897,735,651 บาท ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2549 ทั้งที่คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสำนักงานประกันสังคมประจำปี ได้มีมติให้ปรับลดวงเงินลงเหลือ 2,894,669,702 บาท ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2549 อีกทั้งขณะจำเลยลงนามในเอกสารประกวดราคา คณะกรรมการประกันสังคมยังไม่ได้พิจารณาอนุมัติโครงการ โดยคณะกรรมการประกันสังคมเพิ่งมีการประชุมในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 อนุมัติเงินที่ปรับลดแล้ว 2,894,669,702 บาท
3) มีการส่งร้างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจพิจารณาล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2549 และสำนักงานี้อัยการสูงสุดมีหนังสือลงวันที่ 26 กันยายน 2549 ส่งร่างสัญญาที่ตรวจพิจารณาแล้วคืนสำนักงานประกันสังคม
โดยสำนักงานอัยการสูงสุดตั้งข้อสังเกตว่า โครงการตามฟ้องเป็นระบบงานที่มีผู้ประกอบการที่มีความชำนาญไม่มากนัก ทำให้มีผู้สนใจยื่นเสนอราคาเพียง 2 ราย การแข่งขันจึงมีข้อจำกัดอยู่มาก ประกอบกับมูลค่าโครงการสูงถึงสองพันแปดร้อยกว่าล้านบาท และผูกพันโดยสัญญาเช่าจัดหาเป็นเวลา 5 ปี สำนักงานประกันสังคมควรพิจารณาทบทวนราคาที่ชนะการประกวดราคาด้วยว่ามีความเหมะสมเพียงใด สำนักงานประกันสังคมอาจต่อรองราคาให้ต่ำลง หรืออาจต่อรองกับผู้เสนอราคาให้เสนอผลประโยชน์แบบให้เปล่าเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ หากไม่อาจปรับแก้สัญญาได้ ขอให้แจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดภายใน 15 วัน นับแต่สำนักงานประกันสังคมได้รับแจ้งผลการตรวจร่างสัญญา ปรากฎว่าสำนักงานประกันสังคมประทับตรารับหนังสือ
ในวันเดียวกัน คือ วันที่ 26 กันยายน 2549 แต่ไม่ระบุเวลารับหนังสือ และในวันเดียวกันนั้นกองคลัง สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือเชิญ เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม ผู้ชนะประกดรกคามาเจรจาต่อรองราคาในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 27 กันยายน 2549 เวลา 10.00 นาฬิกา
นอกจากเป็นการรีบด่วนออกหนังสือเชีญผู้ชนะประกวดราคาในวันเดียวกันแล้ว ในหนังสือของสำนักงานประกันสังคมยังระบุรายละเอียดข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดไว้ด้วย อันเป็นเปิดเผยรายละเอียดที่มาและประเด็นการเจรจาต่อรองให้คู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ล่วงหน้า ผิดวิสัยที่คู่เจรจาต่อรองจะพึงปฏิบัติ เพราะมีผลทำให้คู่เจรจาอีกฝ่ายไม่ยอมลดราคาลง ซึ่งผลการเจรจาต่อรองก็ปรากฏว่า เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม ยืนยันราคาเดิม และไม่ตกลงที่เสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมใด ๆ นอกจากที่เคยเสนอมอบอุปกรณ์ให้ 20 รายการ ตั้งแต่ในวันประกวดราคา และในวันเดียวกันกับการเจรจาต่อรองนั้นเอง จำเลยมีหนังสือแจ้ง เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม มาลงนามในสัญญาภายใน 7 วัน พร้อมทำบันทึกรายงานผลการดำเนินการก่อนลงนามในสัญญาต่อรองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงแรงงาน และเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานว่า สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด
โดยการต่อรองราคากับ เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม แล้ว เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม ยืนราคาเดิม แต่จะมอบอุปกรณ์ 20 รายการ ให้สำนักงานประกันสังคมหลังจากสัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งที่เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม ตกลงมอบอุปกรณ์ 20 รายการตั้งแต่ในวันประกวดราคาอยู่แล้ว โดยนาย ส. เกษียณสั่งหนังสือในวันที่ 28 กันยายน 2549 ขอให้สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติตามหนังสือของอัยการสูงสุดก่อน ภายหลังจากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเป็นประการใดให้รายงานผลให้กระทรวงแรงงานพิจารณาอีกครั้งก่อนลงนามในสัญญา แต่จำเลยได้ลงนามในสัญญาในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 28 กันยายน 2549 ไปเสียก่อนแล้ว โดยไม่รอข้อสั่งการหรือความเห็นของผู้บังคับบัญชา อีกทั้งไม่แจ้งผลการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมให้สำนักงานอัยการสูงสุดทราบ
พฤติการณ์บ่งชี้ว่ากระบวนการเจรจาต่อรองผลประโยชน์เพิ่มเดิมได้กระทำอย่างเร่งรีบและรวบรัดเพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น ไม่ได้ต่อรองกันอย่างจริงจัง เพราะขณะนั้นยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา สำนักงานประกันสังคมอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ผลการเจรจากลับล้มเหลว ต่างจากการเจรจาภายหลังมีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ที่ เอส โอ เอ คอนเซอร์เทียม นอกจากยอมให้ตัดทอนเนื้องานของหน่วยงานอื่นลงแล้ว ยังตกลงมอบอุปกรณ์ให้สำนักงานประกันสังคมเพิ่มเติมคิดเป็นมูลค่า 25,000,000 บาท
@ แยกวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์เป็น 3 ประเด็น
สําหรับปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า จําเลยไม่นําผลการพิจารณากลั่นกรอง รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการ จัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ บริหารสํานักงานประกันสังคมประจําปี ในเรื่องอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ประกันสังคมในการอนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ดําเนินโครงการให้คณะกรรมการ ประกันสังคมประกอบพิจารณาอนุมัติโครงการ แต่จําเลยกลับชี้แจ้งด้วยข้อความ อันเป็นเท็จต่อที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมว่าทุกเนื้องานของโครงการ เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสํานักงานประกันสังคม 100 % นั้น
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจะแยกวินิจฉัยเป็น 3 ประเด็น กล่าวคือ
1. การนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2. จําเลยทราบหรือไม่ว่าการนําเงินกองทุนประกันสังคมดําเนินโครงการไม่ชอบด้วยด้วยกฎหมาย
3. จําเลยไม่นําผลการพิจารณากลั่นกรอง รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสํานักงานประกันสังคมประจําปี เสนอคณะกรรมการประกันสังคมประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการหรือไม่
@ การนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ปัญหาว่าการนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 21 บัญญัติว่า “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานประกันสังคม เรียกว่า กองทุนประกันสังคม เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 2 และเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 24 วรรคสอง” ซึ่งประโยชน์ทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 3 ก็คือมาตรา 54 อันเป็นประโยชน์ เกี่ยวกับผู้ประกันตนโดยตรงมีทั้งหมด 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีรภาพ และกรณีว่างงาน ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 24 วรรคสอง จำนวนไม่เกินร้อยละสิบของเงินสมทบของแต่ละปี เพื่อจ่ายเป็นค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ปรึกษา กรมการแพทย์ กรรมการอุทธรณ์ และอนุกรรมการตามมาตรา 18 จะเห็นได้ว่าการนําเงินกองทุนประกันสังคมไปใช้จ่ายจะกระทําได้เฉพาะรายการ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเท่านั้น
ทั้งนี้ เพราะเงินกองทุนประกันสังคมมีส่วนที่นายจ้างและผู้ประกันตนเป็นผู้จ่ายเงินสมทบอยู่ด้วย จึงต้องใช้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกันตนหรือสํานักงานประกันสังคมโดยตรง แม้ว่าระเบียบสํานักงาน ประกันสังคม ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อการบริหารงานของสํานักงานประกันสังคม พ.ศ. 2535 ข้อ 9 (12) จะกําหนดว่า “ค่าใช้จ่ายอื่น ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ” ก็ต้องหมายความถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงานประกันสังคมโดยตรงเท่านั้น มิได้หมายความว่า คณะกรรมการจะนําไปใช้จ่ายในกรณีอื่นได้ เพราะนอกจากขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งแล้วยังขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย
@ ไม่อาจนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการตามฟ้องได้
ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า โครงการตามฟ้องเป็นค่าใช้จ่ายของสํานักงานประกันสังคม เพียงร้อยละ 61 สํานักงานปลัดกระทรวงร้อยละ 3 กรมการจัดหางานร้อยละ 18 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานร้อยละ 7 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร้อยละ 11
ดังนั้น เมื่อมีค่าใช้จ่ายของหน่วยงานอื่นในกระทรวงแรงงานรวมอยู่ด้วย จึงไม่อาจนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการตามฟ้องได้ และจะอ้างว่าการดําเนินโครงการตามฟ้องทําให้หน่วยงานอื่นดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อสํานักงานประกันสังคมโดยตรงหาได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่และพันธกิจของรัฐที่จะต้องส่งเสริมและลงทุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงให้การดําเนินงานของหน่วยงานรัฐมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว กรณีโครงการตามฟ้องก็เช่นกัน สํานักงานประกันสังคมสามารถดําเนินโครงการควบคู่กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยการให้หน่วยงานอื่นไปของบประมาณแผ่นดินมาดําเนินโครงการไปพร้อมสำนักงานประกันสังคมได้อยู่แล้ว
@ ต้องพิจารณาต่อไปว่าจําเลยรู้หรือไม่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินการเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า จําเลยทราบหรือไม่ว่า การนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า จําเลยเสนอโครงการให้ที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมพิจารณาในครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตว่า รายละเอียดของโครงการยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นด้วยอํานาจของใคร หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพใหญ่ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะแบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบอย่างไร และที่ประชุมมีมติมอบคณะอนุกรรมการพิจารณาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสํานักงานประกันสังคมประจําปีไปพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมให้ชัดเจน แล้วเสนอคณะกรรมการประกันสังคมพิจารณาอีกครั้ง นับว่าเป็นข้อสังเกตที่มีสาระอยู่มาก จําเลยจึงให้ความสําคัญต่อข้อสังเกตและระมัดระวังการดําเนินโครงการ
ต่อมาในการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานประจําปี ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการ แต่ยังไม่สามารถผ่านให้ได้เนื่องจากโครงการยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประกันสังคมเกี่ยวกับเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในการดําเนินงานและสัดส่วนค่าใช้จ่ายของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน และเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงเพื่อพิจารณารายละเอียดของโครงการให้ชัดเจน อันเป็นการตอกย้ำข้อสังเกตของคณะกรรมการประกันสังคม จําเลยต้องให้ความสําคัญต่อข้อสังเกตเพิ่มขึ้น แต่ไม่ปรากฏว่าจําเลยซึ่งเป็นผู้ริเริ่มเสนอโครงการได้ดําเนินการใด ๆ ตามข้อสังเกตดังกล่าว
จนมาถึงการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสํานักงานประกันสังคมประจําปี ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 กรรมการประกันสังคมผู้แทนฝ่ายนายจ้างและเป็นอนุกรรมการ ตั้งข้อสังเกตว่า สำนักงานประกันสังคมควรดำเนินการศึกษาประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคมให้ชัดเจนก่อน โดยหารือหน่วยงานที่มีความรู้ในข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักกฎหมายกระทรวงแรงงาน เป็นต้น เพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่ดําเนินการอนุมัติเงินดําเนินโครงการเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและขัดต่อกฎหมาย และกรรมการประกันสังคมผู้แทนฝ่ายลูกจ้างและเป็นอนุกรรมการตั้งข้อสังเกตว่า โครงการตามฟ้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ วงเงินงบประมาณสูงถึงสองพันกว่าล้านบาท และไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการประกันสังคมหรือสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนโดยตรง แต่เป็นงานของหลายหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน
ส่วนผู้แทนสํานักงานงบประมาณให้ความเห็นว่า การให้สํานักงานประกันสังคมสํารองจ่ายเงินกองทุนประกันสังคมให้กรมอื่นเพื่อดําเนินโครงการ แล้วให้กรมอื่นไปขอตั้งงบประมาณแผ่นดินเพื่อนํามาชดเชยคืนกองทุนประกันสังคมในภายหลังน่าจะไม่สามารถทําได้ เพราะไม่ผ่านขั้นตอนการของบประมาณแผ่นดินเป็นเรื่องผิดกฎหมาย อีกทั้งคณะรัฐมนตรีเพียงมีมติรับทราบโครงการเท่านั้น ที่ประชุมมีมติมอบสํานักงานประกันสังคมศึกษาข้อกฎหมายประเด็นว่าคณะกรรมการประกันสังคมมีอํานาจอนุมัติให้สํานักงานประกันสังคมสํารองจ่ายเงินกองทุนเพื่อดําเนินโครงการให้แก่หน่วยงานอื่นในกระทรวงแรงงานหรือไม่ โดยให้หารือหน่วยงานที่มีความรู้ในข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักกฎหมายของกระทรวงแรงงาน เป็นต้น แล้วนําเสนอรายละเอียดโครงการพร้อมผลการศึกษาประเด็นข้อกฎหมายให้ที่ประชุมพิจารณาในการประชุมคราวต่อไป จะเห็นว่าที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่า การดําเนินโครงการอาจมีปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2 ประการ
คือ 1. คณะกรรมการประกันสังคมไม่มีอํานาจอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนประกันสังคมเพื่อดำเนินโครงการ เพราะมิใช่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนหรือต่อสำนักงานประกันสังคมโดยตรง แต่มีเนื้องานของหน่วยงานอื่นในกระทรวงแรงงานร่วมด้วย ขัดต่อพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 24 และ 26 การใช้เงินกองทุนประกันสังคมสำรองจ่ายแทนหน่วยงานของกระทรวงแรงงานไปก่อนแล้วให้หน่วยงานอื่นไปขอตั้งงบประมาณแผ่นดินมาชดใช้คืนกองทุนประกันสังคม อาจเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 นับว่าเป็นข้อสังเกตที่มีน้ำหนักและเหตุผลน่ารับฟังอย่างยิ่ง
จําเลยในฐานะเลขาธิการสํานักงานประกันสังคม มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงาน หากไม่มีเรื่องแอบแฝง โดยสามัญสํานึกของผู้ดํารงตําแหน่งดังเช่นจําเลยย่อมต้องรีบดําเนินการศึกษาข้อกฎหมายตามมติของคณะอนุกรรมการ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่วงเงินหลายพันล้านบาท หากดําเนินโครงการตามแนวทางที่วางแผนไว้เป็นการขัดต่อกฎหมายหลายฉบับตามข้อสังเกตของอนุกรรมการย่อมอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสํานักงานประกันสังคม สมควรทําหนังสือหารือไปยังหน่วยงานภายนอกตามมติของคณะอนุกรรมการอันเป็นแนวทางปกติที่หน่วยราชการปฏิบัติกันทั่วไป เพราะนอกจากสามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงแล้ว คณะอนุกรรมการยังตรวจสอบผลการตอบข้อหารือได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
แต่กลับได้ความจากบันทึกคําให้การของนาย ต. อธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษาว่า ภายหลังจาก สํานักงานประกันสังคมส่งร่างสัญญาให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา มีรองเลขาธิการสํานักงานประกันสังคมกับพวกมาพบนาย ต. เพื่อขอปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจร่างสัญญา พร้อมสอบถามนายตระกูลว่าการใช้เงินกองทุนดําเนินโครงการจะมีปัญหาหรือไม่ เป็นการพูดคุยธรรมดา มิได้ปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการ นาย ต. เห็นว่าคณะกรรมการประกันสังคมได้อนุมัติในหลักการของโครงการแล้วไม่น่าจะมีปัญหาข้อกฎหมาย จึงตอบไปว่าสามารถใช้เงินกองทุนประกันสังคมดําเนินโครงการได้ ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวของตน การที่รองเลขาธิการสํานักงานประกันสังคมไปหารือข้อกฎหมายกับนายตระกูล เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการ ส่อพิรุธว่ามีเรื่องแอบแฝงบางประการ
ต่อมาในการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสํานักงานประกันสังคมประจําปี ครั้งที่ 5/2549 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 สำเนารายงานการประชุมระว่า นาย ส. รองเลขาธิการสํานักงานประกันสังคมชี้แจงที่ประชุมว่า นาย ส. พร้อมด้วยผู้อํานวยการกองทะเบียนและประมวลผล และหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย กองนิติการ ได้ไปหารือ นาย ต. อธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษา ซึ่งให้ความเห็นในเบื้องต้นว่า คณะกรรมการประกันสังคมมีอํานาจอนุมัติในเรื่องนี้ได้ ส่วนการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโครงการ ได้ศึกษาระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว กรมต่าง ๆ ต้องขอตั้งงบประมาณตามระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 เพื่อชดเชยคืนกองทุนประกันสังคม ที่ประชุมมีมติว่า ให้สํานักงานประกันสังคมหารือหน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตามข้อสังเกตของอนุกรรมการในเรื่องอํานาจของคณะกรรมการประกันสังคมในการอนุมัติสํารองจ่ายเงินกองทุนประกันสังคมรวมถึงความเห็นของสํานักงบประมาณ เรื่องการให้หน่วยงานอื่นขอตั้งงบประมาณแผ่นดินเพื่อจ่ายคืนกองทุนประกันสังคม โดยให้หน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมีหนังสือยืนยันความเห็นที่หารือเป็นลายลักษณ์อักษร
การที่นาย ส. ชี้แจงที่ประชุมว่าได้ไปหารือกับนาย ต. ด้วยวาจานั้น นอกจากเป็นเรื่องผิดปกติที่หน่วยงานราชการไม่ปฏิบัติกันแล้ว นาย ส. ชี้แจงที่ประชุมเพียงว่านาย ต. มีความเห็นว่าคณะกรรมการประกันสังคม มีอํานาจอนุมัติโครงการเท่านั้น ไม่ได้ชี้แจงว่านาย ต. ให้เหตุผลประกอบความเห็นแต่อย่างใด และที่นาย ส. ชี้แจงที่ประชุมว่าได้ศึกษาระเบียบที่ เกี่ยวข้องในเรื่องให้หน่วยงานอื่นขอตั้งงบประมาณมาชดใช้คืนกองทุนประกันสังคม โดยอ้างว่ามีระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 นั้น ก็ไม่ตรงกับประเด็นข้อกฎหมายที่คณะอนุกรรมการตั้งข้อสังเกต
จนมาถึงการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมฯ ครั้งที่ 6/2549 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 สํานักงานประกันสังคมก็ยังไม่ได้หารือหน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ในที่สุดประธานที่ประชุมสรุปความเห็นของที่ประชุมว่า ยังมีข้อสงสัยในเรื่องอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคมในการอนุมัติงบประมาณดําเนินโครงการ และที่ประชุมมีมติให้สํานักงานประกันสังคมนําผลการพิจารณารวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเสนอให้คณะกรรมการประกันสังคมพิจารณาต่อไป
ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่าจําเลยทราบดีว่าไม่สามารถนําเงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการได้ จึงไม่ยอมหารือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเพราะผลตอบหารืออาจไม่เป็นไปตามที่จําเลยต้องการ จนอาจต้องทบทวนวิธีการและงบประมาณในการดําเนินโครงการ ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนการของจําเลยที่ต้องการผลักดันโครงการให้สําเร็จโดยเร็วเพราะมีเรื่องแอบแฝงบางประการ
@ จําเลยทราบดีว่าโครงการตามฟ้องมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะใช้ดำเนินโครงการตั้งแต่แรก
ข้อที่จําเลยแก้อุทธรณ์ว่า จําเลยไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อน นาย ส. รองเลขาธิการสํานักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลไม่เคยรายงานให้จําเลยทราบนั้น ก็ขัดแย้งกับที่จําเลยชี้แจงข้อกล่าวตามหนังสือฉบับลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า จําเลยทราบดีว่าการให้กองทุนประกันสังคมดําเนินโครงการแล้วให้ส่วนราชการอื่นตั้งงบประมาณมาชดเชยคืนเข้าข่ายเป็นการก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับอนุมัติเงินประจํางวดขัดต่อกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และจําเลยยังชี้แจงข้อกล่าวหาตามหนังสือฉบับลงวันที่ 7 เมษายน 2552 อีกว่า สาเหตุที่ไม่หารือเป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากจําเลยเชื่อว่าหากเปลี่ยนโครงการเป็นงานของสํานักงานประกันสังคมทั้งหมด ก็สามารถใช้งบประมาณจากกองทุนประกันสังคมได้นั้น ยิ่งแสดงให้เห็นจําเลยทราบดีว่าโครงการตามฟ้องมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะใช้ดำเนินโครงการตั้งแต่แรก
ส่วนข้อที่จําเลยแก้อุทธรณ์ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้จําเลยทราบแต่ต้น ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 นั้น ปรากฏว่าอนุกรรมการไต่สวนได้แจ้งพฤติการณ์และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลการประชุมของคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงบประมาณประจําปี ครั้งที่ 5 ถึงครั้งที่ 6 ให้จำเลยทราบอย่างละเอียด การไต่สวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อกฎหมาย
ที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในคําแก้อุทธรณ์เป็นเรื่องวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไม่อาจนํามาใช้กับคดีนี้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จําเลยทราบดีว่าไม่สามารถใช้เงินกองทุนประกันสังคมไปดําเนินโครงการได้ และทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องจึงเปลี่ยนแปลงโครงการมาใช้เงินกองทุนประกันสังคมทั้งหมดโดยอ้างว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสํานักงานประกันสังคม
@ ปัญหาจําเลยไม่นําผลข้อสังเกตของอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ฯประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการในการประชุม
สําหรับปัญหาว่าจําเลยไม่นําผลการพิจารณากลั่นกรอง รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ บริหารสํานักงานประกันสังคมประจําปี ในเรื่องอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคม ในการอนุมัติงบประมาณสําหรับดําเนินโครงการเสนอคณะกรรมการประกันสังคมประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการในการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม ครั้งที่ 13/2549 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ตามที่โจทก์ฟ้องฟ้องหรือไม่
เห็นว่า แม้จะปรากฏว่าก่อนการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้จัดประชุมคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดเพื่อหารือ แนวทางการขอตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 ที่ประชุมมีมติให้สํานักงานประกันสังคมเป็นเจ้าของโครงการและให้ใช้งบบริหารกองทุนประกันสังคมสนับสนุนงบประมาณเพื่อดําเนินโครงการโดยตรง ก็คงมีผลทําให้ประเด็นข้อกฎหมายเรื่องให้หน่วยงานอื่นไปขอตั้งงบประมาณมาชดเชยคืนสํานักงานประกันสังคมอันเป็นการขัดต่อกฎหมายนั้นหมดปัญหาไป
แต่การใช้เงินกองทุนประกันสังคมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้หน่วยงานอื่นในกระทรวงแรงงานนั้นได้หรือไม่ยังคงมีอยู่ เมื่อคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสํานักงานประกันสังคมประจําปี ในคราวประชุม ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 มีมติให้เสนอปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอํานาจของคณะกรรมการประกันสังคมที่จะอนุมัติโครงการให้คณะกรรมการประกันสังคมพิจารณา จําเลยในฐานะเลขาธิการสํานักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตําแหน่ง มีหน้าที่โดยตรงต้องเสนอข้อกฎหมายดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมประกอบการพิจารณาในการอนุมัติโครงการ
ในข้อนี้จําเลยยื่นคําแถลงการณ์ปิดคดีและอ้างคําแถลงการณ์ปิดคดีมาท้ายคําแก้อุทธรณ์สรุปความว่า จําเลยในฐานะเลขานุการที่ประชุมได้รวบรวมข้อสรุป ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสํานักงานประกันสังคมประจําปี ส่งให้กรรมการประกันสังคมพิจารณาล่วงหน้า พร้อมแนบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาว่ากรรมการประกันสังคมมีอํานาจอนุมัติโครงการหรือไม่ และจําเลยไม่ได้เป็นผู้เสนอรายละเอียดของโครงการ แต่มีนาวาตรี ว. เป็นผู้ชี้แจงต่อคณะกรรมการประกันสังคมว่า เนื้องานเป็นผลประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสํานักงานประกันสังคม 100% จําเลยในฐานะเลขานุการที่ประชุมเพียงกล่าวสรุปตามคําชี้แจงของนาวาตรี ว. ก่อนเสนอที่ประชุมลงมติเท่านั้น
เห็นว่า เมื่อจําเลยทราบดีว่าคณะกรรมการประกันสังคมไม่มีอํานาจอนุมัติโครงการ ก็ต้องระบุปัญหาดังกล่าวไว้เป็นหัวข้อการหารือก่อนเริ่มพิจารณา แต่เอกสารการประชุมไม่มีวาระหรือหัวข้อพิจารณาในปัญหาดังกล่าว ทั้งข้อความในเอกสารการประชุมยังสรุปว่าคณะกรรมการประกันสังคมมีอํานาจจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละสิบของเงินสมทบของแต่ละปีสําหรับใช้ในการดําเนินโครงการ ทั้งที่เป็นหน้าที่ของจําเลยต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ที่ประชุมพิจารณาแสดงความเห็นเป็นทางการอย่างจริงจัง แต่จําเลยหาได้ดําเนินการไม่
ส่วนที่จําเลยต่อสู้ว่า ได้มีการรวบรวมข้อสรุป ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์และกลั่นกรองงบกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสํานักงานประกันสังคมประจําปี ไว้ในเอกสารการประชุม ส่งให้กรรมการประกันสังคมพิจารณาล่วงหน้าแล้วนั้น ก็ปรากฏว่าเอกสารการประชุมระบุเพียงข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว ในเรื่องใครจะเป็นเจ้าภาพหลักในการรับผิดชอบโครงการและสัดส่วนค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ไม่มีข้อสังเกตในเรื่องอำนาจในการอนุมัติโครงการแต่อย่างใด
ยิ่งกว่านั้น รายงานการประชุมระบุไว้ชัดแจ้งว่าฝ่ายเลขานุการชี้แจงว่า
1. สาเหตุที่สํานักงานประกันสังคมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการทั้งที่ค่าใช้จ่ายในส่วนของสํานักงานประกันสังคมคิดเป็น 61% ของทั้งโครงการเนื่องจากผลประโยชน์ที่ได้รับของโครงการจะได้กับงานของสํานักงานประกันสังคมเป็นส่วนใหญ่
2.การนําเงินกองทุนเพื่อบริหารงานของสํานักงานประกันสังคมไปลงทุนในโครงการถือว่ารัฐบาลได้มีส่วนร่วมลงทุนเนื่องจากเป็นเงินสมทบของนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล อีกทั้งรัฐบาลยังมีส่วนจ่ายค่าใช้จ่ายด้านอื่นร่วมด้วย เช่น เงินเดือนข้าราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น ซึ่งการดําเนินโครงการดังกล่าวทุกเนื้องานเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนและสํานักงานประกันสังคม 100%
(ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ อดีตเลขาธิการ สปส.)
@ จําเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ข้อชี้แจงของจําเลยจึงเป็นการเบี่ยงเบนกลบเกลื่อนประเด็นข้อกฎหมายว่ากรรมการมีอํานาจอนุมัติโครงการหรือไม่ และมีผลเป็นการโน้มน้าวให้ที่ประชุมเข้าใจไปว่าเป็นเนื้องานของสํานักงานประกันสังคมทั้งหมด จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการประกันสังคมมีมติอนุมัติงบกองทุนประกันสังคมไปใช้ดําเนินโครงการ การกระทําของจําเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สํานักงานประกันสังคมและผู้ประกันตน
เมื่อจําเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามติของคณะกรรมการประกันสังคมที่อนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมสําหรับใช้ดําเนินโครงการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่จําเลยยังลงนามในสัญญาก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายกับคู่สัญญา เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สํานักงานประกันสังคมและผู้ประกันตน
เช่นกันที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
อนึ่งภายหลังจำเลยกระทำคามผิดได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) ใช้บังคับ แต่กฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 (เดิม) ให้จำคุก 2 ปี
*******
อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับคดีนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการประชุมเมื่อวันที่ 2 ม.ค.2567 ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในการที่อัยการสูงสุด (อสส.) จะไม่ฎีกาคำพิพากษา
แต่คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิ์ต่อสู้คดีในชั้นศาลที่สูงกว่านี้ได้อีก
แต่ไม่ว่าผลการต่อสู้คดีในชั้นศาลจะออกมาเป็นอย่างไร คดีนี้นับเป็นกรณีศึกษาบทเรียนครั้งสำคัญ ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆไม่ให้เดินย้ำซ้ำรอยเอาเป็นเยี่ยงอย่างในอนาคตอีกต่อไป
อ่านข่าวประกอบ
- เบื้องหลังคดีคอมพ์ฉาว สปส.ค้าง 10 ปี! ป.ป.ช.โยกผู้รับผิดชอบสำนวน-สอบพยาน ตปท.ไม่ได้
- ดองคดีอาญา 10 ปี! อัพเดตปมคอมพ์ฉาว สปส. 2.8 พันล.-อัยการเพิ่งเรียก‘ไพโรจน์’รายงานตัว
- ก่อน‘หม่อมเต่า’เล่าใหม่? ฉากหลังคอมพ์ฉาว สปส. 2.8 พันล.-ป.ป.ช.ฟัน‘ไพโรจน์’ รายเดียว
- เบื้องหลัง คอมพิวเตอร์ สปส.“จอดำ” ล็อบบี้รมต.ต่อสัญญาเอกชน 3 เดือน เหลว!