การตัดสินของศาลในชั้นต้นนั้นมีลักษณะที่เอื้อต่อการให้เกิดอุปสรรคสำคัญต่อการแข่งขันระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการตัดสินคดีนั้นก็ยังเกิดจากการทำงานอันไม่ประสานกันในหน่วยงานของอียู ดังนั้นในกระบวนการพิจารณาคดี คณะกรรมการของอียูมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาหลักฐานที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้พิพากษาก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่ให้มีความสอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย
สืบเนื่องจากที่ เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีมติเห็นชอบต่อกรณีการรวมธุรกิจระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC)
โดยการควบรวมดังกล่าวนั้นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วนของสังคมตามมา อาทิ พรรคก้าวไกล และ“สภาองค์กรของผู้บริโภค” ที่ได้มีการประกาศว่าจะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ดำเนินการในกรณีดังกล่าว ขณะที่สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ก็ได้มีแนะนำให้ประชาชนไปฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำตัดสินในคดีนี้
- ประชาชนต้องทำอะไร หลังมติอัปยศของ กสทช.
- เสียง 2:2 ! 'ประธาน กสทช.' ลงมติซ้ำ ชี้ขาดควบรวม TRUE-DTAC-สั่งคุมเข้มค่าบริการ
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอข่าวความคืบล่าสุดเกี่ยวกับปัญหาการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท Hutchison 3G UK 2 ที่เข้าซื้อบริษัท O2 ในสหราชอาณาจักร มานำเสนอเพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับความกังวลว่าการควบรวมนั้นอาจจะส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดเสรี เพื่อให้สอดคล้องกับข่าวมติ กสทช. มีรายละเอียดข่าวดังต่อไปนี้
ฉากทัศน์เกี่ยวกับการควบรวมกิจการโทรคมนาคมในทวีปยุโรปนั้นกำลังพบกับความไม่แน่นอน ทั้งในด้านของกฎระเบียบและในประเด็นเรื่องของการแข่งขัน ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นมาจากกรณีที่มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าศาลอุทธรณ์ของสหภาพยุโรปหรือว่าอียูนั้นนั้นอาจจะมีคำสั่งให้ทบทวนคำพิพากษาในศาล ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาคัดค้านต่อมติวีโต้ของคณะกรรมการของอียูจากกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งวีโต้ในปี 2559 ในประเด็นเรื่องของการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท O2 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Telefónica ในสหราชอาณาจักร และบริษัทฮัทชิสัน (Hutchison) ซึ่งบริษัทนี้มีเจ้าของคือนายหลี่" ลี กาชิง (Li Ka-Shing) มหาเศรษฐีจากฮ่องกง โดยการควบรวมกิจการดังกล่าวนั้นพบว่ามีมูลค่าการควบรวมสูงถึงเกือบทั้งสิ้น 13,000 ล้านยูโร (489,828 ล้านบาท)
ข่าวการคัดค้านการควบรวม O2 และฮัทชิสันในปี 2559 (อ้างอิงวิดีโอจาก Financial Times)
ทั้งนี้ความเป็นไปเป็นมาของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการควบรวมนั้นมาจากเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่นางจูเลียเน่ โคคอท (Juliane Kokott) อัยการสูงสุดของอียูได้ออกมาให้คำแนะนำว่าขอให้คำพิพากษาของศาลกลางในปี 2563 นั้นควรจะเป็นโมฆะ และขอให้มีการนำประเด็นเรื่องนี้ส่งให้ศาลกลางตัดสินคดีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการควบรวม
โดยแม้ว่าตามหลักการแล้วความเห็นของอัยการจะไม่มีผลผูกพันต่อการทำหน้าที่ของศาลแต่อย่างใด แต่ส่วนมากแล้วศาลก็มักจะมีคำสั่งในลักษณะที่คล้อยตามกับความเห็นของทางอัยการ ซึ่งในกรณีนี้ก็คาดกันว่าศาลอุทธรณ์ของอียูน่าจะมีคำสั่งออกมาได้ภายในช่วงต้นปี 2566
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวในภาคส่วนอุตสาหกรรมได้มีการประเมินกันว่าคำสั่งของศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปที่น่าจะสอดคล้องกับศาลกลางนั้นน่าจะมีลักษณะที่เป็นคุณต่อการดำเนินการควบรวมกิจการโทรคมนาคม โดยในตอนนี้ก็มีข่าวว่ามีบริษัทโทรคมนาคมอีกสองแห่งชื่อว่าบริษัท Orange และบริษัท MásMóvil นั้นกำลังอยู่ในกระบวนการของการควบรวมกิจการ ซึ่งบริษัท Orange ก็เป็นบริษัทที่มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่กรุงปารีสด้วยเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีความเห็นของทางอัยการออกมาก็ส่งผลทำให้หุ้นของบริษัท Orange ร่วงลงไป 0.5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงบ่าย หลังจากที่ก่อนหน้านี้หุ้นนั้นมีลักษณะพุ่งขึ้นไปประมาณ 1เปอร์เซ็นต์ ตอนเริ่มเปิดตลาด
โดยในเอกสารแถลงการณ์ของศาลยุติธรรมอียูได้มีการบ่งบอกรายละเอียดข้อสรุปของนางจูเลียเน่ โคคอท ระบุว่านางจูเลียเน่ โคคอทได้เสนอให้คำพิพากษาของศาลกลางนั้นเป็นโมฆะและขอให้ส่งเรื่องคืนสู่ศาลกลางอีกครั้งเพื่อให้มีการตัดสินคดี
ในเอกสารของข้อสรุปความเห็นอัยการได้ระบุต่อไปว่าการตัดสินของศาลในชั้นต้นนั้นมีลักษณะที่เอื้อต่อการให้เกิดอุปสรรคสำคัญต่อการแข่งขันระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการตัดสินคดีนั้นก็ยังเกิดจากการทำงานอันไม่ประสานกันในหน่วยงานของอียู ดังนั้นในกระบวนการพิจารณาคดี คณะกรรมการของอียูมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาหลักฐานที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้พิพากษาก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่ให้มีความสอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย
บริษัท ฮัทชิสัน ที่ฮ่องกง
ทางอัยการระบุความเห็นต่อไปว่าในประการแรกนั้น ขอบเขตเกี่ยวกับการใช้กฎหมายภายใต้หลักการว่าด้วย “อุปสรรคอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ” นั้นควรเป็นสิ่งที่จะต้องมีการใช้งานให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมประเภทดใดก็ตาม ที่อาจจะเป็นปัญหาทำให้เกิดอุปสรรคดังกล่าว
ในการนี้นั้นคณะกรรมการได้มีความเห็นในประเด็นเรื่องประเด็นทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการใช้กฎพื้นฐานว่าด้วยระเบียบการควบรวมกิจการ ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวนั้นก็เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลของอียูได้มีการตัดสินใจด้วยหลักฐานที่มีความจำกัดและอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และไม่มีกระบวนการตรวจสอบความผิดพลาด
ประการที่สอง ทางสำนักอัยการได้มีการตรวจสอบหลักเกณ์การควบคุม และกระบวนการพิสูจน์ ตลอดจนระดับการพิสูจน์ที่ผู้พิพากษาของอียูจะต้องดำเนินการเรียกร้องหลักฐานจากคณะกรรมการ ซึ่งคัดค้านไม่ให้มีการควบรวมกิจการ ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกระทบต่อตลาดของผู้ประกอบการซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนน้อยอยู่แล้ว
หรือก็คือว่าตามระเบียบการว่าด้วยการควบรวมกิจการนั้น ไม่ได้กำหนดให้มีกรณีใดที่ยกเว้นหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้หลักฐานประกอบการควบรวมเป็นกรณีพิเศษนั่นเอง โดยทุกกรณีการควบรวมกิจการนั้นจะต้องมีการส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อจะพิจารณาว่าการควบรวมนั้นสามารถทำได้หรือไม่อย่างเท่าเทียมกัน
นางจูเลียเน่ โคคอท อัยการสูงสุดสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งคณะกรรมาธิการจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (ในอนาคต) ก็คือว่า “การชั่งน้ำหนัก” หรือ “ความน่าจะเป็น” ว่าด้วยการพิจารณาว่าการควบรวมกิจการนั้นอาจจะเป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่
โดยทางสำนักอัยการกล่าวต่อด้วยว่าประเด็นข้อสรุนี้ถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะว่ามีผลต่ออนาคตที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
ประการสุดท้าย ทางนางโคคอทได้พิจารณาแล้วเห็นว่าด้วยสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของหลักการว่าด้วย “อุปสรรคอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ” โดยไม่ต้องคำนึงว่าการควบรวมที่ว่านี้จะเป็นการควบรวมประเภทใดก็ตาม และการส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องกระทำเหมือนกันหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่มีผู้ประกอบการจำนวนน้อยรายไปจนถึงในกรณีที่การควบรวมนั้นอาจส่งผลทำให้บริษัทข้ามชาติ (แม้ว่าจะมาจากกิจการที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือภาคส่วนอื่น) หรือกลุ่มบริษัทสามารถครอบครองตลาดเอาไว้ได้
@ความเป็นไปเป็นมาเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว
ย้อนไปเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2559 คณะกรรมมาธิการยุโรปได้มีมติให้กรณีที่บริษัทในเครือฮัทชิสันที่ชื่อว่า Hutchison 3G UK 2 ที่เข้าซื้อบริษัท O2 ซึ่งทั้งสองรายเป็นบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักรนั้น ไม่สอดคล้องกับระเบียบการว่าด้วยการควบรวมกิจการ ด้วยเหตุผลว่าตลาดนี้นั้นเป็นตลาดที่มีผู้ประกอบการเป็นจำนวนน้อยรายอยู่แล้ว และอาจจะส่งผลสำคัญต่อการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยว่าอาจจะเกิดผลกระทบอันไม่คาดคิดในเวลาต่อมาได้เพราะว่าการควบรวมก็จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หายไปอีกเจ้าหนึ่ง
ขณะที่ศาลกลางนั้นก็ได้มีคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2563 หลังจากที่มีการรับเรื่องร้องเรียนจากบริษัทฮัทชิสัน โดยคำพิพากษานั้นได้ไปเพิกถอนมติของคณะกรรมาธิการ โดยอ้างว่าคณะกรรมาธิการนั้นล้มเหลวในเรื่องของการปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยหลักฐานที่ใช้บังคับในเรื่องของการควบรวมกิจการอันจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดที่มีผู้ประกอบการน้อยราย
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมาธิการก็ได้มีการไปยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อศาลยุติธรรม โดยโต้แย้งไปว่าคณะกรรมาธิการได้ดำเนินการตามข้อกำหนดเรื่องหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว
@ประเด็นเรื่องการควบรวมกิจการ
ทั้งนี้ในภาคส่วนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ตระหนักดีว่าคำพิพากษาในกรณีการควบรวมดังกล่าวนั้นถือว่ามีผลกระทบเป็นอย่างยิ่ง โดยแหล่งข่าวจากในแวดวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าคำพิพากษาของคดีในชั้นฎีกานั้นอาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการควบรวมกิจการอื่นๆในทวีปยุโรป
โดยคณะกรรมาธิการจากบรัสเซลล์นั้นปฏิเสธการควบรวมบริษัทฮัทชิสันและบริษัท O2 ด้วยเหตุผลที่ว่าการควบรวมดังกล่าวนั้นหมายถึงการที่จำนวนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในสหราชอาณาจักรนั้นอาจลดเหลือจากสี่ลงมาเหลือสามซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันและการใช้งานของผู้ใช้เครือข่ายโทรศัพท์ในสหราชอาณาจักร
สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวเพิ่มเติมว่ากรณีการพิจารณาเรื่องกรณีการควบรวมของอียูดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับการที่สหราชอาณาจักรได้ถอนตัวจากสหภาพยุโรปหรือที่เรียกกันว่าเบร็กซิท โดยการทำประชามติเบร็กซิทนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 และเบร็กซิทนั้นมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563
โดยมีรายงานข่าวว่าเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2559 ก่อนหน้าที่จะมีการลงประชามติเบร็กซิท ทางหน่วยงานการกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักรหรือว่า CMA เป็นผู้ที่แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานของอียูให้ดำเนินการระงับการควบรวมนี้เอาไว้ ขณะที่ทางฮิทชิสันกล่าวยืนยันว่าไม่มีทางที่การควบรวมกิจการนั้นจะทำให้เกิดบริษัทใหม่ขึ้นมา
เรียบเรียงจาก:https://time.news/telecom-mergers-threatened-eu-court-lawyer-asks-to-review-entire-o2-and-hutchison-process-companies/,https://www.ft.com/content/c60b7e40-9cbe-4fe6-91c0-df6c109fe834,https://www.reuters.com/business/media-telecom/lower-tribunal-should-re-examine-eu-veto-against-hutchisons-o2-deal-eu-court-2022-10-20/
อ่านประกอบ :
- ย้อนวิสัยทัศน์'กสทช.เสียงข้างมาก' ก่อนไฟเขียวควบTRUE-DTAC 'สรณ'เคยค้าน AIS จับมือ Disney
- กสทช.เสียงข้างน้อย‘ศุภัช ศุภชลาศัย’ : ‘มาตรการเฉพาะ’TRUE-DTAC ไม่ป้องกันผลกระทบ‘ผูกขาด’
- ประชาชนต้องทำอะไร หลังมติอัปยศของ กสทช.
- ‘สอบ.’จ่อยื่น‘ศาลปค.’ไต่สวนฉุกเฉินฯ ปมควบ TRUE-DTAC จี้‘กสทช.’ลดค่าบริการให้ลูกค้า AIS
- ควันหลงประชุมรวม TRUE-DTAC: “ผมทรยศวิชาชีพตัวเองไม่ได้หรอก”
- เสียง 2:2 ! 'ประธาน กสทช.' ลงมติซ้ำ ชี้ขาดควบรวม TRUE-DTAC-สั่งคุมเข้มค่าบริการ
- ส่อผูกขาด-ทางเลือกน้อยลง! ‘กสม.’เรียกร้อง‘กสทช.’เปิดผลศึกษาควบ TRUE-DTAC-ฟังความเห็นปชช.
- ‘กลุ่มทรู’เปิด 5 หลักการควบธุรกิจ TRUE-DTAC ยันยึดมั่นประโยชน์ลูกค้า-ขยาย 5G เร็วขึ้น
- เปิดผลศึกษา‘ที่ปรึกษาตปท.’ ชี้ควบ TRUE-DTAC ทำแข่งขันลด-ค่าบริการแพงขึ้น-รายใหม่เกิดยาก
- เปิดความเห็น‘อนุฯกฎหมาย’! ‘กสทช.’มีอำนาจชี้ชะตาดีล TRUE-DTAC มอง 3 ทางเลือกที่เป็นไปได้?
- คาดได้ข้อยุติ 20 ต.ค.นี้! ‘บอร์ด กสทช.’ เลื่อนเคาะดีลควบ TRUE-DTAC รอรายงานที่ปรึกษาฯ