‘อนุทิน’ สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการร่วมทุน ‘โซลาร์ฟาร์ม’ 2.3 หมื่นล้าน ระหว่าง ‘พีอีเอ เอ็นคอม-SPCG’ หลัง ‘บอร์ด กฟภ.’ มองทำโดยไม่ปกติ ให้สิทธิเอกชนบริหารฝ่ายเดียว พบมีการลงทุนซื้อที่ดินไปแล้ว 1 พันล้าน ทั้งที่ยังไม่ได้ 'ใบอนุญาต' ขายไฟฟ้าในพื้นที่ EEC
......................................
จากกรณีที่เมื่อปี 2564 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ซึ่งเป็นบริษัทลูก ของ กฟภ. ร่วมทุนกับ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG จัดตั้งบริษัท เซท เอนเนอยี จํากัด เพื่อดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในพื้นที่เมืองใหม่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ มีมูลค่าการลงทุนไม่เกิน 23,000 ล้านบาท
แต่เกิดปัญหายังไม่สามารถดำเนินโครงการได้ เนื่องจากมีการทักท้วงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานว่า ยังไม่ได้อนุมัติดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง และมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย นั้น (อ่านประกอบ : ฉบับเต็ม! ‘ก.พลังงาน’ ไข 6 ปม แตะเบรก 'กฟภ.-SPCG' ลงขันโซล่าร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล.)
ล่าสุดแหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ได้สั่งการให้ กฟภ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว และรายงานข้อเท็จจริงให้ทราบ เนื่องจากการตรวจสอบในเบื้องต้น คณะกรรมการ กปภ.ชุดใหม่ เห็นว่า การร่วมทุนฯดังกล่าวทำโดยไม่ปกติ และในการร่วมทุนฯครั้งนี้ เอกชนมีสิทธิบริหารฝ่ายเดียว โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
"จากการตรวจสอบเบื้องต้น คณะกรรมการ กฟภ.ชุดใหม่ เห็นว่า การร่วมทุนฯทำโดยไม่ปกติ และเมื่อร่วมทุนแล้ว เอกชนมีสิทธิบริหารฝ่ายเดียว PEA ENCOM ไม่มีสิทธิเข้ามร่วมบริหารด้วย อีกทั้งที่ผ่านมาพบว่าได้มีการลงทุนในโครงการฯนี้ไปแล้วเกือบ1,000 ล้านบาท โดยเอาไปซื้อที่ดิน ใน EEC” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ กฟภ. ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงพลังงาน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฯ ในพื้นที่ EEC ดังกล่าว แต่ปรากฎว่ากระทรวงพลังงานได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า โครงการที่ทำกันมานั้น อาจจะไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น กฟภ. ยังทำหนังสือสอบถามในทางกฎหมายให้ชัดเจนว่า การที่ PEA ENCOM ไปร่วมทุนกับเอกชนนั้น จะต้องดำเนินการตามกฎหมายใด
“เบื้องต้น กฟภ.ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน EEC (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ.) แล้วว่า บริษัทที่ร่วมลงทุนฯ ไม่ได้รับสิทธิในการขายไฟฟ้าในพื้นที่ EEC ทำให้บริษัทฯดังกล่าว ไม่มีใบอนุญาตสร้างโรงไฟฟ้า” แหล่งข่าว กล่าว
@เปิดชื่อคณะกรรมการ'กฟภ.-PEA ENCOM'ปี 64-66
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการการ กฟภ. ชุดปัจจุบัน ได้แก่ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ประธานกรรมการ ,นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ กรรมการ ,พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ กรรมการ ,นายกรณินทร์ กาญจโนมัย กรรมการ ,นายจิระพงศ์ เทพพิทักษ์ กรรมการ ,พลตำรวจโท สำราญ นวลมา กรรมการ ,รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล กรรมการ ,นายพนิต ธีรภาพวงศ์ กรรมการ ,นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต กรรมการ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก ภิยโยทัย กรรมการ ,นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช กรรมการ ,นายเจษฎ์ โทณะวณิก กรรมการ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ กีรติวินทกร กรรมการ ,ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช กรรมการ และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ กฟภ. กรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ จากรายงานประจำปีของ กฟภ. ในช่วงปี 2564-2566 ปรากฏรายชื่อคณะกรรมการ กฟภ. ดังนี้
ปี 2564 คณะกรรมการ กฟภ. ได้แก่ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ ,นายดนุชา พิชยนันท์ กรรมการ ,นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร กรรมการ ,พลเอก ภาณุวัชร นาควงษม์ กรรมการ ,นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ กรรมการ ,นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ กรรมการ ,นายนิกร สุศิริวัฒนนนท์ กรรมการ ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ กรรมการ ,เรืออากาศโท กมลนัย ชัยเฉนียน กรรมการ ,นายเชวง ไทยยิ่ง กรรมการ
นายพนิต ธีรภาพวงศ์ กรรมการ ,ศาสตราจารย์วีรกร อ่องสกุล กรรมการ ,รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล กรรมการ ,นายปรีชาพร สุวัฒโนดม กรรมการ ,รองศาสตราจารย์พรอนงค์ บุษราตระกูล กรรมการ ,พันเอก ศรัณยู วิริยเวชกุล กรรมการ ,นายสมพงษ์ ปรีเปรม กรรมการ และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ กฟภ. กรรมการและเลขานุการ
ปี 2565 คณะกรรมการ กฟภ. ได้แก่ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ประธานกรรมการ ,นายดนุชา พิชยนันท์ กรรมการ ,นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร กรรมการ ,นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ กรรมการ ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ กรรมการ ,เรืออากาศโท กมลนัย ชัยเฉนียน กรรมการ ,นายพนิต ธีรภาพวงศ์ กรรมการ ,นายเชวง ไทยยิ่ง กรรมการ ,รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล กรรมการ
รองศาสตราจารย์พรอนงค์ บุษราตระกูล กรรมการ ,พันเอก ศรัณยู วิริยเวกุล กรรมการ ,นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน กรรมการ ,นายปรีชาพร สุวัฒโนดม กรรมการ และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ กฟภ. กรรมการและเลขานุการ
ปี 2566 คณะกรรมการ กฟภ. ได้แก่ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ประธานกรรมการ ,นายดนุชา พิชยนันท์ กรรมการ ,นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร กรรมการ ,นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ กรรมการ ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ กรรมการ ,เรืออากาศโท กมลนัย ชัยเฉนียน กรรมการ ,นายพนิต ธีรภาพวงศ์ กรรมการ ,นายเชวง ไทยยิ่ง กรรมการ ,รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล กรรมการ
รองศาสตราจารย์พรอนงค์ บุษราตระกูล กรรมการ ,พันเอก ศรัณยู วิริยเวกุล กรรมการ ,นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน กรรมการ และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ กฟภ. กรรมการและเลขานุการ
ส่วนบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) มี กฟภ. เป็นถือหุ้น 100% ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท และล่าสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.2566 มีทุนจดทะเบียน 5,110.62 ล้านบาท (ทุนชำระแล้ว 5,110.62 ล้านบาท) โดยปรากฎชื่อคณะกรรมการบริษัทฯ ในช่วงปี 2564-2566 ประกอบด้วย
ปี 2564 คณะกรรมการ PEA ENCOM ได้แก่ นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานกรรมการ ,นายเกตุปัญญา วงศีล กรรมการ (ม.ค.-เม.ย.2564) ,รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ กรรมการ ,ศ.ดร.วีรกร อ่องสกุล กรรมการ ,ผศ.บุญชัย โสวรรณวณิชกุล กรรมการ ,นางชุติมา ศรีปราชญ์ กรรมการ ,ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม กรรมการ (ม.ค.-ก.ค.2564) ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,นายสมคิด จันทมฤก กรรมการ (เม.ย.-ก.ย.2564) ,ดร.จรส เฉลิมเตียรณ กรรมการ ,ดร.วิเชียร ชุบไธสง กรรมการ ,นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา กรรมการ
ปี 2565 คณะกรรมการ PEA ENCOM ได้แก่ นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานกรรมการ ,รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ กรรมการ ,นางชุติมา ศรีปราชญ์ กรรมการ ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,ดร.วิเชียร ชุบไธสง กรรมการ ,ดร.จรส เฉลิมเตียรณ กรรมการ ,ศ.ดร.วีรกร อ่องสกุล กรรมการ ,ผศ.บุญชัย โสวรรณวณิชกุล กรรมการ ,นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา กรรมการ ,นายจักรี กิจบัญชา กรรมการ และนายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ที่ปรึกษาบริษัทฯ
ปี 2566 คณะกรรมการ PEA ENCOM ได้แก่ นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานกรรมการ ,นายศักดิ์ เสกขุนทด กรรมการ ,ดร.วิเชียร ชุบไธสง กรรมการ ,รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ กรรมการ ,ดร.จรส เฉลิมเตียรณ กรรมการ ,นายเชวง ไทยยิ่ง กรรมการ ,นางชุติมา ศรีปราชญ์ กรรมการ ,นายโสภณ สุวรรณรัตน์ กรรมการ และนายจักรี กิจบัญชา กรรมการ
ขณะที่บริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างบริษัท พีอีเอ เอ็นคอมฯ และบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG โดยมีทุนจดทะเบียนบริษัท 3,445.35 ล้านบาท และบริษัท พีอีเอ เอ็นคอมฯ มีสัดส่วนการลงทุนในบริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด ร้อยละ 25 ทุนจดทะเบียนบริษัท
ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด เกิดขึ้นหลังจาก บริษัท พีอีเอ เอ็นคอมฯ และ SPCG ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart grid) พลังงานอัจฉริยะ เพื่อศึกษา พัฒนา วิจัย และลงทุนระบบกักก็บพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการพลังงานสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้าพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) และพลังงานสำรอง (ระบบกักเก็บพลังงาน) เพื่อใช้ในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันที่ 30 ส.ค.2567 บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่ 1.น.ส.วันดี กุญชรยาคง ถือหุ้นในสัดส่วน 28.32% 2. UBS AG SINGAPORE BRANCH ถือหุ้นในสัดส่วน 9.02% 3.GULF INTERNATIONAL INVESTMENT (HONG KONG) LIMITED ถือหุ้นในสัดส่วน 8.98% 4.น.ส.รัชณีวัลย์ อัครวิกรัย ถือหุ้นในสัดส่วน 6.22%
5.Kyocera Corporation ถือหุ้นในสัดส่วน 6.01% 6.น.ส.วรชา กุญชรยาคง ถือหุ้นในสัดส่วน 3.37% 7.น.ส. สมปอง กุญชรยาคง ถือหุ้นในสัดส่วน 2.17% 8.นายวิทูร มโนมัยกุล ถือหุ้นในสัดส่วน 1.83% 9.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 1.41% และ 10.SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED ถือหุ้นในสัดส่วน 1.34% 11.นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง ถือหุ้นในสัดส่วน 0.95% และ 12.นาย โชคชัย เศรษฐีวรรณ ถือหุ้นในสัดส่วน 0.51%
สำหรับ น.ส.วันดี กุญชรยาคง หรือ นางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ เป็นภรรยาของนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย (1 ต.ค.2564-30 ก.ย.2567)
อ่านประกอบ :
รอมติกพช.! ‘พีอีเอ เอ็นคอม’ ชะลอลงทุนโซล่าร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล้าน-ยันพร้อมเปิดประมูล
ฉบับเต็ม! ‘ก.พลังงาน’ ไข 6 ปม แตะเบรก 'กฟภ.-SPCG' ลงขันโซล่าร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล.
เบรกโซลาร์ฟาร์ม'กฟภ.' 2.3 หมื่นล.! สนพ.ชี้ต้องเสนอ 'พลังงาน-ครม.' อนุมัติ-เปิดประมูล
ให้‘กฟภ.’ดำเนินการ! ‘สกพอ.’ แจงปมเลือกเอกชนร่วมลงทุนโซล่าร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล้าน
ยึดพ.ร.บ.อีอีซี! ‘พีอีเอ เอ็นคอม’ แจงร่วมทุนโซล่าร์ฟาร์ 2.3 หมื่นล.ไม่ต้องเปิดประมูล
พลิกกม.ร่วมทุนฯ! โซล่าร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล้าน เข้าข่ายต้องเปิดประมูล?
ขอชี้แจงผู้ตรวจการฯก่อน! ‘พีอีเอ เอ็นคอม’ ยังไม่ตอบปมโซลาร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล้าน
มีผู้ร้องไม่เปิดประมูล! ‘ผู้ตรวจการแผ่นดิน’ สอบข้อเท็จจริงโซลาร์ฟาร์ม 2.3 หมื่นล้าน