‘ศาลปกครองสูงสุด’ นัดชี้ขาดคดี ‘กสทช.-ก.ดีอีเอส’ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งคดีดาวเทียมไทยคม 7-8 หลังศาลปกครองชั้นต้นสั่ง ‘คุ้มครองชั่วคราว’ กรณี กสทช. มีมติเรื่อง 'สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม'
..................................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เวลา 13.30 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ 1389/2563 และ 1386/2564 ระหว่าง บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดี) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ผู้ร้องสอด) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา และคำร้องอุทธรณ์คำ สั่งไม่รับคำร้องสอดไว้พิจารณา)
สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดี (บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวก) ฟ้องว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีประกาศ เรื่อง แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม พ.ศ.2563 ในข้อ 9.7 และข้อ 40 และภาคผนวก ข โดยไม่คำนึงถึงสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมที่ผู้ฟ้องคดีที่ 1 (บมจ.ไทยคม) ได้รับก่อนจะมีประกาศฉบับดังกล่าว
และผู้ถูกฟ้องคดี (กสทช.) กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติในการประชุม ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมของดาวเทียมไทยคม 7 และดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่า มติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ต่อมา ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติของผู้ถูกฟ้องคดี (กสทช.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ในวาระที่ 5.2.11 ส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมไทยคม 7 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ไว้เป็นการชั่วคราว เนื่องจากศาลฯ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การให้มติของผู้ถูกฟ้องคดี (กสทช.) ดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไป จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้ฟ้องคดีจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง ซึ่งการดำเนินกิจการของรัฐในการบริการโทรคมนาคมอันเป็นบริการสาธารณะ ย่อมต้องประกอบด้วยการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การทุเลาการบังคับตามมติของผู้ถูกฟ้องคดี (กสทช.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2564 ดังกล่าว จึงไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดี (กสทช.) จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด
ขณะที่คดีนี้ ผู้ร้องสอด (กระทรวงดีอีเอส) ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่กรณี และขอระงับคำสั่งของศาลที่สั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดไว้พิจารณา เนื่องจากศาลฯ เห็นว่า กรณีตามคำร้องของผู้ร้องสอด เป็นเรื่องที่ผู้องสอดอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง (บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวก) ไม่ปฏิบัติตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทในคดีนี้ที่เป็นข้อพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
อีกทั้งข้อพิพาทในคดีนี้และข้อพิพาทตามคำร้องของผู้ร้องสอด มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยแตกต่างกัน กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันควรและมีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่กรณีในคดีนี้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอด และเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องนี้แล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาคำขอของผู้ร้องสอดที่ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งของศาลปกครองกลางที่สั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการชั่วคราว
ผู้ร้องสอดจึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด
อ่านประกอบ :
ฟ้องนัว 4 คดี! ‘ไทยคม-ดีอีเอส’ ยื่น ‘ศาลปค.กลาง’ ชี้ขาดข้อพิพาทดาวเทียม-ตั้งอนุญาโตฯ
‘พฤฒิพร เนติโพธิ์’ แจ้งถอนตัว ‘อนุญาโตฯ’ คดีไทยคม-ยันคู่กรณีไม่คัดค้าน 'ความเป็นกลาง’
อธิบดีอัยการสำนักอนุญาโตฯ ระบุชัด ‘ก.ดีอีเอส’ ตั้ง 'พฤฒิพร' คดีไทยคม ขัดระเบียบ-กม.
เปิดละเอียดข้อกล่าวหา!ยื่น ป.ป.ช.สอบ ‘รมว.ดีอีเอส- อสส.’ แทรกแซงตั้งอนุญาโตฯคดีไทยคม
‘ก.อ.’ ถกปมตั้ง ‘อนุญาโตฯ’ คดีดาวเทียมไทยคม ส่อมีปัญหา-แนะ ‘พฤฒิพร’ ถอนตัว
‘ดีอีเอส’ โยน ‘อสส.'ทบทวนตั้ง ‘พฤฒิพร’เป็นอนุญาโตฯคดีไทยคม หลังมีข้อครหาไม่เป็นกลาง
โชว์คำสั่ง‘บิ๊กตู่’! ตั้ง‘พล.อ.วิทวัส’นั่งปธ.ตรวจสอบสัมปทานดาวเทียม-ถกนัดแรก 13 ก.ย.
‘บอร์ด กสทช.’ ไฟเขียว NT เข้าใช้วงโคจรดาวเทียม หลังสิ้นสุดสัมปทาน 'ไทยคม'
ย้อนปมแก้สัญญาดาวเทียม! ก่อนครม.ไล่เบี้ยหาคนผิด ลดหุ้น'ไทยคม’-ไม่ประมูล‘ไอพีสตาร์’
ครม.ไฟเขียวแก้สัญญาดาวเทียม ให้‘อินทัช’ ถือหุ้น‘ไทยคม’ไม่ต่ำกว่า 51%-ผนวก'ไอพีสตาร์'