"วันนี้มีแจกเกือบ 700 ชุด จากวันแรกร้อยกว่าชุด มีคนมารับอาหารเพิ่มขึ้นทุกวัน ได้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนกันในยามนี้ ข้าวสารที่ได้รับบริจาคมาน่าจะอยู่ได้ถึงหมดเดือนเมษาฯ"
ช่องทางธรรมชาติที่เป็น "ท่าข้าม" หรือ "ท่าเรือข้ามฟาก" และร่องน้ำตื้นของแม่น้ำโกลกที่กั้นเขตแดนระหว่างมาเลเซียกับไทย ยังคงเป็นเส้นทางกลับบ้านของคนไทยตกค้างจากมาเลเซียจำนวนไม่น้อย ซึ่งแม้ไม่ถูกกฎหมาย แต่พวกเขาก็ต้องใช้ เพราะไม่มีทางเลือก
ใกล้ถึงเดือนรอมฎอนเต็มที พี่น้องมุสลิมพากันเป็นห่วงว่าจะมีตลาดให้ซื้อหาอาหารสด หรืออาหารปรุงสำเร็จ เพื่อใช้รับประทานช่วงเปิดบวช หรือละศีลอดในแต่ละวันหรือไม่
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงวิกฤติ ทำให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดต้องทุ่มเททำงานอย่างหนักจนสภาพร่างกายทรุดหนักและล้มป่วย
ช่วงที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ระบาดอยู่นี้ อุปกรณ์จำพวกฉีดพ่นน้ำยาสำหรับฆ่าเชื้อโรคกลายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ก็จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ฉีดพ่น บางแห่งก็ถูกตั้งคำถามและถูกตรวจสอบ เพราะราคาแพงเกินจริง
ประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจไม่แพ้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็คือการเยียวยาของฝั่งรัฐ โดยเฉพาะการแจกเงินคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งมีทั้ง "ปัญหา" และ "ดราม่า" ไม่น้อยทีเดียว
โรงพยาบาลบันนังตา จังหวัดยะลา เปิดให้บริการแล้ว หลังจากปิดไปนานถึง 12 วัน เพราะบุคลากรของโรงพยาบาลถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ เนื่องจากมีหมอและพยาบาลติดเชื้อโควิด-19
ยังมีควันหลงเกี่ยวกับ "คุณลุง" ชาวอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ที่ไปเสียชีวิตบนรถไฟสายใต้ แล้วถูกสังคมมองในแง่ลบทำนองว่าเป็นตัวแพร่เชื้อโรค...
มีรายงานเส้นทางการใช้ชีวิตและการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของชายชาวสุไหงโกลก จ.นราธิวาส ที่ติดเชื้อโควิด-19 จากการไปร่วมชุมนุมของผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามในมาเลเซีย ก่อนจะกลับบ้านและเสียชีวิตอย่างสงบเป็นรายที่ 5 ของประเทศไทย
ท่ามกลางกระแสตื่นกลัวของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากมีข่าวร้ายคนไทยเสียชีวิตเป็นรายที่ 2 ที่สถาบันบำราศนราดูร ปรากฏว่าที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สถานการณ์ก็หนักหน่วงไม่แพ้กัน ทั้งเรื่องโรคร้าย ผลพวงจากการปิดด่านพรมแดน และพืชเศรษฐกิจที่ราคาตกต่ำและมีกระแสพ่อค้าหยุดรับซื้อ