กรณีมีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์หรือกล่าวอ้างว่าบุคคลใดมิใช่ผู้รับมอบอํานาจที่แท้จริง และคู่กรณีทุกฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ให้ บก.ปทส. และกรมศุลกากร จัดทําบันทึกและให้คู่กรณีทุกฝ่ายลงลายมือ ชื่อไว้ และแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทราบอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไปยื่นฟ้องต่อศาล ที่มีอํานาจชําระคดีนั้นต่อไป โดยให้สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนตลอดจนผู้ยื่นเรื่อง ขอความเป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งสองราย และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
.....................................
สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเสนอข่าวคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่วินิจฉัยขอให้กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) แจ้งตรวจสอบหลักฐานผู้อ้างสิทธิบริษัทพงสะหวันค้าไม้ กรณีไม้พะยูงจำนวนกว่า 11 ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 1,664 ท่อน 155 ลูกบาศก์เมตร มูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท ที่อ้างว่าถูกนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และถูกยึดไว้ที่สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง (ด่านลาดกระบัง) เมื่อปี พ.ศ.2549 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการนำไม้ดังกล่าวส่งคืนให้กับ สปป.ลาวแต่อย่างใด
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา นำคำวินิจฉัยฉบับเต็มของผู้ตรวจการแผ่นดินต่อกรณีนี้ มาเสนอต่อสาธารณชน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
@ ที่มา
ที่มากรณีผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยต่อกรณีนี้ มาจากการที่นายสมสัก หรือ สมศักดิ์ แก้วผาลี ผู้อ้างตัวว่าเป็นตัวแทนสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเป็นหนึ่งในผู้ที่อ้างสิทธิในไม้พะยูง ได้นำเรื่องไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้วินิจฉัยต่อกรณีปัญหาไม้พะยูงดังกล่าวซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ จนในที่สุดเมื่อช่วงวันที่ 30 เม.ย.ที่่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยออกมา มีรายละเอียดดังนี้
1.ประเด็นเรื่องร้องเรียน
ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาสอบสวนและแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีกองบังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง สํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ ส่งมอบไม้พะยูงของกลางในคดีคืนให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ล่าช้า ทําให้ผู้ร้องเรียนซึ่งกล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอํานาจจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
นายสมสัก หรือ สมศักดิ์ แก้วผาลี ผู้อ้างตัวว่าเป็นตัวแทนสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว)
2.ข้อเท็จจริง
2.1 คดีอาญาตามเรื่องร้องเรียนกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ได้รับเป็นคดีอาญาที่ 202/2549 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 โดยมี นายสุรเดช อัคราช (ผู้แทนกรมป่าไม้) ผู้กล่าวหา บริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด โดยนายเสนอ มีศิลป์ ผู้ต้องหาที่ 1 นายเสนอ มีศิลป์ ผู้ต้องหาที่ 2 นายจิตรชัย บวรโชคชัย ผู้ต้องหาที่ 3 ถูกกล่าวหาว่า “ภายใน เขตควบคุมการแปรรูปไม้ ร่วมกันมีไม้หวงห้ามแปรรูปเกินกว่า 0.2 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ อนุญาต และร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ อนุญาต” เหตุเกิด ณ สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
แผนภูมิความเป็นไปเป็นมาของไม้พะยูง ที่มีการจัดทำสรุปโดย กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.) หลังจากที่ได้ทำการจับกุมตัวนายสุรเดช อัคราช ผู้อำนวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.มุกดาหาร และน.ส.กชพรรณ แสงวิรุณ หรือ น.ส.ทิพย์เกษร แสงวิรุณทร จากการเรียกรับสินบนนักค้าไม้ชาวลาว (นายคําสะไหว พมมะจัน ) เป็นเงิน 2 ล้านบาท
2.2 คณะพนักงานสอบสวน บก.ปทส. ได้รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสํานวนการสอบสวน มีความเห็น “สั่งฟ้อง” ผู้ต้องหาที่ 1 ผู้ต้องหาที่ 2 และผู้ต้องหาที่ 3 ในฐานความผิด “ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ร่วมกันมีไม้หวงห้ามแปรรูปเกินกว่า 0.2 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันมีไม้ หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” เสนอต่อพนักงาน อัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550
2.3 พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) ได้พิจารณา สํานวนการสอบสวนตาม แล้ว มีความเห็น “สั่งไม่ฟ้อง” บริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด โดยนายเสนอ มีศิลป์ ผู้ต้องหาที่ 1 นายเสนอ มีศิลป์ ผู้ต้องหาที่ 2 และนายจิตรชัย บวรโชคชัย ผู้ต้องหาที่ 3 เพราะพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง เนื่องจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าไม้พะยูงของกลางมีแหล่งกําเนิดมาจาก สปป.ลาว ถูกนําเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านแดนมาจาก สปป.ลาว ทางรถยนต์บรรทุกไม้ จํานวน 13 คัน ลงแพขนานยนต์ ข้ามแม่น้ําโขงมาขึ้นฝั่งที่บริเวณจุดพรมแดนท่าแพขนานยนต์บ้านนาน้อย ตําบลมุกดาหาร อําเภอเมือง จังหวัด มุกดาหาร และขนส่งมาที่สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน โดยใบเบิกทางในการนําไม้ดังกล่าวเคลื่อนที่ นั้น ได้กําหนดให้ใช้เส้นทาง มุกดาหาร - นครราชสีมา - สระบุรี - กรุงเทพมหานคร โดยกําหนดให้หยุดที่ด่านป่าไม้หินกองเพื่อตรวจสอบใบผ่านแดน แต่รถยนต์บรรทุกไม้ทั้ง 13 คัน ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว จึงเห็นว่าไม้พะยูงของกลางไม่ใช่ไม้ในป่าในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ที่ให้เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 กรณีจึงไม่เข้ามาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นไม้นําเข้ามาจาก สปป.ลาว การกระทําของผู้ต้องหาทั้งสาม จึงไม่เป็นการมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองมีปริมาณเกินกําหนด โดยไม่ได้รับ อนุญาตตามข้อกล่าวหา ประกอบผู้ต้องหาทั้งสามให้การปฏิเสธ คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคําสั่ง “ไม่ฟ้อง” ดังนั้น คําสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวจึงถือเป็นเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2552 ทั้งนี้ในวันเดียวกันกับวันที่มีคําสั่ง ไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 ได้มีคําสั่งว่าไม้ของกลางให้แจ้งให้พนักงาน สอบสวนจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 กรณีไม้ของกลางจึงเด็ดขาดในทํานอง เดียวกัน
2.4 พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) ได้มีคําสั่ง เด็ดขาดไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหาทั้งสาม แต่ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งสาม ในความผิดฐานนําไม้เข้าเขตด่านป่าไม้ โดยไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ประจําด่านไม้ นั้น ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 40 และมาตรา 71 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ดําเนินการ สอบสวนตามคําสั่งดังกล่าวส่งให้พนักงานอัยการพิจารณา และพนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคําสั่งฟ้องผู้ต้องหา และฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามเป็นจําเลยต่อศาลจังหวัดพระโขนง ตามคดีอาญาหมายเลขดําที่ 779/2554 ศาลจังหวัด พระโขนง พิพากษายกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4754/2554 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 ซึ่งพนักงาน อัยการและจําเลยได้อุทธรณ์คําพิพากษาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 และจําเลย ได้ฎีกาคัดค้านคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้มีคําพิพากษา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ให้ยกฎีกาของ จําเลย คดีที่เกี่ยวพันกันนี้จึงถือว่าถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2558
2.5 คดีดังกล่าวกรมศุลกากรในฐานะผู้ดูแลรักษาของกลาง ได้ฝากเก็บไม้พะยูงของกลาง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ไว้กับบริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จํากัดซึ่งเป็นโรงพักสินค้า เพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตท่าเรืออนุญาต และ บก.ปทส. ได้มีหนังสือที่ ตช 0026.44/149 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2550 ขออายัดไม้ไว้ทั้งหมด และให้กรมศุลกากรดูแลไว้ เช่นเดิม ต่อมา บก.ปทส. มีหนังสือที่ ตช 0026.704/2714 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ถอนอายัดไม้ของกลาง ที่ยึดจากบริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด เพื่อให้กรมศุลกากรพิจารณาดําเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่กําหนดในพิธีการศุลกากรต่อไป โดยไม่ปรากฏว่า บก.ปทส. ดําเนินการหรือแจ้งให้บุคคลใดมาดําเนิน พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับไม้พะยูงของกลางดังกล่าวตามระเบียบกฎหมายที่กําหนดแต่อย่างใด
2.6 กรมป่าไม้ ได้แจ้งมายังกรมศุลกากรว่าขอรื้อฟื้นคดีและเห็นควรรับฟังผลการพิจารณาคดี ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมให้เป็นที่ยุติและชัดเจนเสียก่อนที่จะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับไม้พะยูง ของกลาง กรมศุลกากรจึงได้มีหนังสือที่ กค 0503/696 ลงวันที่ 20 มกราคม 2558 ขอหารือการดําเนินการ กับไม้พะยูงผ่านแดนไปยังอัยการสูงสุด โดยสํานักงานอัยการสูงสุด ได้มีหนังสือที่ อส 0045.3/4750 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2558 ตอบข้อหารือการดําเนินการกับไม้พะยูงผ่านแดน โดยพิจารณาว่าไม้พะยูงจํานวน 11 ตู้ คอนเทนเนอร์ แม้จะเป็นของกลางที่พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) มีคําสั่งไม่ฟ้อง และของกลางให้จัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 แล้วก็ตาม แต่กรมป่าไม้ได้ขอรื้อฟื้นคดีเนื่องจากมีพยานหลักฐานใหม่อันสําคัญแก่คดี ได้แก่ เอกสารใบอนุญาตผ่านแดนของ สปป.ลาว ซึ่ง สปป.ลาว แจ้งว่าเป็นเอกสารปลอม จึงได้ดําเนินการสอบสวนในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสาร ปลอม ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการดําเนินการสอบสวนของพนักงานสอบสวนผู้ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ดังนั้น ไม้พะยูงของกลางจํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ดังกล่าว จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับพยานหลักฐานในคดีที่รื้อฟื้นใหม่ หากผลคดีปรากฏว่าศาลพิพากษาว่ามีการปลอม เอกสารใบอนุญาตผ่านแดน (EXPORT PASS PERMIT) ก็จะทําให้เป็นพยานหลักฐานใหม่อันสําคัญในการที่จะรื้อฟื้นดําเนินคดีเกี่ยวกับไม้พะยูงจํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งอาจเป็นความผิดที่เกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ และกฎหมายศุลกากร และหากมีการฟ้องคดีต่อศาล ศาลอาจพิพากษาริบไม้พะยูงนั้นได้ จึงให้กรมศุลกากรเก็บ รักษาไม้พะยูง จํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ดังกล่าวต่อไป
2.7 คดีที่กรมป่าไม้ขอรื้อฟื้น ได้ถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาได้มีคําพิพากษา ที่ 3665 - 3666/2562 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร โจทก์ นางสาวอรัญญา อุปัติสิงห์ และบริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด จําเลย ในความผิดเกี่ยวกับเอกสาร กรณีนําไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านแดนจาก สปป.ลาว ไปยังประเทศจีน โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้จําเลยทั้งสองมีความผิดฐาน “ร่วมกันใช้เอกสารปลอม” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก (เดิม) มาตรา 83 จําคุกจําเลยที่ 1 มีกําหนด 2 ปี และปรับจําเลยที่ 2 เป็นเงิน 5,000 บาท หากจําเลยที่ 2 ไม่ชําระค่าปรับให้ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น และในวันที่ 8 ตุลาคม 2562 ศาลฎีกามีคําพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องจําเลยทั้งสองคนในความผิดฐาน “ร่วมกันใช้เอกสาร ปลอม” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก (เดิม) มาตรา 83 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4
2.8 ปัจจุบันไม้พะยูงของกลางถูกจัดเก็บไว้ที่บริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จํากัด โดยกองไว้ในบริเวณพื้นที่ของสํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง กองตั้งกลางแจ้ง มีรั้วลวดหนามล้อมรอบ บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปในบริเวณดังกล่าวได้ หากมิได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ สภาพเนื้อไม้ยังอยู่ในสภาพที่ดี เพียงแต่ผิวภายนอกเนื้อไม้เปลี่ยนสีคล้ําขึ้น เนื่องจากตากแดดตากฝน มาเป็นระยะเวลานานหลายปี เจ้าหน้าที่ของสํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เข้าตรวจสอบแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ในส่วนของบุคคลใดจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรับฝากไม้พะยูงของกลาง นั้น อยู่ในอํานาจ ของบริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จํากัด จะเป็นผู้พิจารณาเรียกเก็บโดยบริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จํากัด ได้คํานวณค่าใช้จ่ายในการรับฝากจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เป็นเงินจํานวน 13,052,494.30 บาท (สิบสามล้านห้าหมื่นสองพันสี่ร้อยเก้าสิบสี่บาทสามสิบสตางค์)
2.9 บก.ปทส. ได้มีหนังสือที่ ตช 0026.707/5033 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ถึงผู้อํานวยการ สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง แจ้งว่าเนื่องจากขณะนี้มีนิติบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจ มาแสดงตนขอรับไม้พะยูงของกลางคืน เพื่อให้การคืนไม้ของกลางเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 85 บก.ปทส. จะเร่งรัดดําเนินการและแจ้งผลการพิจารณาไม้ของกลาง จํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ต่อไป
2.10 บริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด ได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ถึงผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง ขออนุมัติในหลักการเพื่อเข้าสํารวจไม้พะยูง โดยกล่าวอ้างว่าบริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด ตัวแทนออกของที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ศุลกากร สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 216/35 อาคารชุดแอลพีเอ็นทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ถนนนางลิ้นจี่ แขวง ช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ดําเนินพิธีการศุลกากรผ่านแดนสินค้าประเภทไม้พะยูง จํานวน 1,664 ท่อน ตามใบขนสินค้าผ่านแดน เลขที่ 3601 20849 00001 นําเข้ามาทางด่านศุลกากร มุกดาหาร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 และเจ้าหน้าที่ด่านป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จับกุมดําเนินคดี โดยไม้พะยูงดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้ที่สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง และคดี ดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และขอเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการดําเนินพิธีการศุลกากร ผ่านแดนไม้พะยูงดังกล่าว ตามสัญญาผูกพันที่บริษัท ฯ มีต่อผู้ว่าจ้าง จึงขอเข้าตรวจสอบสภาพไม้พะยูงของกลาง ดังกล่าว และจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ให้ถูกต้องเหมาะสมกับปริมาตรไม้ทั้งหมด
2.11 บก.ปทส. ได้มีหนังสือที่ ตช 0026.707/12 ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 ถึงอธิบดีกรมศุลกากร แจ้งว่าคดีตามเรื่องร้องเรียนนี้ ศาลฎีกาได้มีคําพิพากษาที่ 3665 - 3666/2562 ยกฟ้องจําเลยประกอบกับ บก.ปทส. ได้พิจารณาคืนไม้ของกลางให้กับนายคําสะไหว พมมะจัน ผู้รับมอบอํานาจจาก Phongsavanh Wood industry ซึ่งเป็น นิติบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องขอคืน อันปรากฏหลักฐานใน Certificate of Origin และ Wood of list อันเป็นที่มา ของไม้พะยูงของกลางในสํานวนการสอบสวน และนายคําสะไหว พมมะจัน ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ บก.ปทส. มีหนังสือถึงกรมศุลกากรเพื่อขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการฝากไม้ของกลางดังกล่าว
2.12 บก.ปทส. ได้มีหนังสือที่ ตช 0026.707/1070 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2564 ชี้แจงข้อเท็จจริง ในประเด็นการคืนไม้พะยูงของกลาง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ สรุปได้ว่า
2.12.1 ในการใช้ดุลพินิจคืนไม้ของกลางดังกล่าว นั้น บก.ปทส. ได้มีความเห็นคืนไม้พะยูง ของกลางให้กับ Phongsavanh Wood industry ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ปรากฏหลักฐานใน Certificate of Origin และ Wood of list อันเป็นที่มาของไม้พะยูงของกลางในสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 202/2549
2.12.2 Phongsavanh Wood industry หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือ บริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือ บริษัท วิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด นั้น บก.ปทส. ได้ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือ รับรองนิติบุคคลตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เรียบร้อยแล้ว
2.12.3 Phongsavanh Wood industry หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือ บริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือ บริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือบริษัท วิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด นั้น จากการตรวจสอบตาม มีนายอ๊อด พงสะหวัน เป็นผู้อํานวยการวิสาหกิจส่วนบุคคล พงสะหวันอุตสาหกรรมไม้ รวมทั้งปรากฎรายละเอียดของหนังสือ แต่งตั้งหรือมอบอํานาจให้ขอรับไม้พะยูงของกลางในคดีไว้ด้วยแล้ว
2.13 นางสาวิตรี นันทภิวัฒน์ ซึ่งกล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอํานาจจากนายสอนแก้ว สิดทิไช กรรมการ วิสาหกิจส่วนบุคคล พงสะหวันอุตสาหกรรมไม้ได้ยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามหนังสือ ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 และฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 โดยกล่าวอ้างว่านายคําสะไหว พมมะจัน ได้ปลอมแปลงหนังสือมอบอํานาจจากบริษัท Phongsavanh Wood industry หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือบริษัท วิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรากำลังสัมภาษณ์นายสอนแก้ว สิดทิไช กรรมการวิสาหกิจส่วนบุคคล พงสะหวันอุตสาหกรรมไม้
2.14 นายคําสะไหว พมมะจัน กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอํานาจจากบริษัท Phongsavanh Wood industry หรือวิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมไม้ ได้ยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2564 กล่าวอ้างว่าบริษัท Phongsavanh Wood industry มีนายอ๊อด พงสะหวัน เป็นกรรมการผู้จัดการ และเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว และนายอ๊อด พงสะหวัน ได้มอบอํานาจให้นายคําสะไหว พมมะจัน เป็นผู้ดําเนินการแทนแต่เพียงผู้เดียว บก.ปทส. ได้มีหนังสือแจ้งให้กรมศุลกากรคืนไม้ให้กับบริษัท Phongsavanh Wood industry ต่อมากรมศุลกากรได้มีหนังสือแจ้งไปยัง บก.ปทส. ให้ดําเนินการรับไม้พะยูงของกลาง กลับคืน แต่จนถึงปัจจุบัน นายคําสะไหว พมมะจัน ยังมิได้รับไม้พะยูงของกลางกลับคืนแต่อย่างใด เนื่องจากนายชูชัย อุดมโภชน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร ได้มีหนังสือแจ้งว่ายังไม่สามารถคืนไม้พะยูงของกลาง ให้ได้ โดยอ้างว่าจะส่งคืนให้กับ สปป.ลาว ไม่คืนให้กับบริษัท ฯ ตามที่ได้มีการหารือไว้กับนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กรณีที่นางสาวิตรี นันทภิวัฒน์ กล่าวอ้างว่านายคําสะไหว พมมะจัน ปลอมแปลงหนังสือมอบอํานาจของบริษัท Phongsavanh wood industry นั้น นายคําสะไหว พมมะจัน กล่าวอ้างว่าหนังสือมอบอํานาจของตนเอง เลขที่ 549.หปบ/สก ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2563 และเลขที่ 1739.หปบ./สก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2563 ได้รับการ รับรองผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทร์ และรับรองโดยผู้ใหญ่บ้านและได้จัดส่งหนังสือ มอบอํานาจดังกล่าวผ่านช่องทางการทูตอย่างถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ
นายคําสะไหว พมมะจัน ผู้อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอํานาจจากบริษัท Phongsavanh Wood industry หรือวิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมไม้
2.15 กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ กต 1303/502 ลงวันที่ 7 เมษายน 2564 ถึงอธิบดีกรมศุลกากร ในประเด็นความคืบหน้ากรณีไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ สรุปได้ว่า กรมเอเชีย ตะวันออก ได้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ในกรณีไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านสถาน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทร์ และได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ว่า “ปัญหาดังกล่าวมีมายาวนานแล้ว และรัฐบาล สปป.ลาว ก็ไม่มีความประสงค์จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้งมิได้มอบสิทธิให้บุคคลใดเพื่อติดต่อ ขอไม้” และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 กระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ได้ยืนยันความเห็นดังกล่าวอีกครั้ง และแจ้งด้วยว่า “รัฐบาลลาวจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก” และกรมเอเชียตะวันออก ได้แจ้งท่าที่ของรัฐบาล สปป.ลาว ข้างต้น ให้สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ทราบ เพื่อพิจารณาดําเนินการตามกระบวนการ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.ข้อพิจารณา
ประเด็นที่ 1 แหล่งกําเนิดไม้พะยูงของกลาง
3.1 กรณีไม้พะยูงของกลางจํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาตร 155.08 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงาน การสอบสวนคดีอาญาที่ 202/2549 บัญชียึดทรัพย์ที่ 199/2549 ของกองบังคับการปราบปรามการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าไม้พะยูงของกลางดังกล่าวมีถิ่น กําเนิดในประเทศไทย หรือเป็นไม้ที่ถูกตัดหรือแปรรูปในป่าในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ตามที่ระบุไว้ใน บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ที่ให้เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือไม่ นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติตามคําสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ สํานักงานอัยการ พิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) ลงวันที่ 8 มกราคม 2553 ซึ่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบคําสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวแล้ว ดังนั้น คําสั่งไม่ฟ้อง ดังกล่าวจึงถือเป็นเด็ดขาดว่าไม้พะยูงของกลางจํานวนดังกล่าว มีใช้ไม้ที่มีถิ่นกําเนิดในประเทศไทย แต่เป็นไม้พะยูง ที่มีแหล่งกําเนิดมาจาก สปป.ลาว ถูกนําเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านแดนจาก สปป.ลาว ทางรถยนต์บรรทุกไม้ จํานวน 13 คัน ลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ําโขงมาขึ้นฝั่งที่บริเวณจุดพรมแดนท่าแพขนานยนต์บ้านนาน้อย ตําบล มุกดาหาร อําเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และขนส่งมาที่สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน จึงเห็นว่าไม้พะยูงของกลางไม่ใช่ไม้ในป่าในท้องที่ทุกจังหวัดทั่ว ราชอาณาจักร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ที่ให้เป็นไม้หวงห้ามตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 กรณีจึงไม่เข้ามาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นไม้นําเข้า มาจาก สปป.ลาว
ประเด็นที่ 2 บุคคลหรือนิติบุคคลใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม้พะยูงของกลาง
3.2 กรณีไม้พะยูงของกลางจํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาตร 155.08 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงาน การสอบสวนคดีอาญาที่ 202/2549 บัญชียึดทรัพย์ที่ 195/2549 ของกองบังคับการปราบปรามการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าไม้พะยูงของกลางดังกล่าวบุคคลหรือ นิติบุคคลใดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในไม้พะยูงของกลางที่กรมศุลกากร จัดเก็บรักษาไว้ที่สํานักงานศุลกากรตรวจสอบ สินค้าลาดกระบัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 15 ปี กรณีดังกล่าวรัฐบาล สปป. ลาว ได้แจ้งท่าทีในประเด็นไม้พะยูง จํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านช่องทางการทูตว่า “ปัญหาดังกล่าวมีมา ยาวนานแล้ว และรัฐบาล สปป.ลาว ไม่มีความประสงค์จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้งมิได้มอบสิทธิให้บุคคลใด เพื่อติดต่อขอไม้” และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 กระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ได้ยืนยันความเห็น ดังกล่าวอีกครั้งและแจ้งด้วยว่า “รัฐบาลลาวจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก” ดังนั้น กรณีที่ผู้บังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน และเป็นผู้มี อํานาจในการสั่งคืนของกลางดังกล่าว ได้ใช้ดุลพินิจและมีความเห็นคืนไม้พะยูงของกลางดังกล่าวให้กับ Phongsavanh Wood industry ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ปรากฏหลักฐานใน Certificate of Origin และ Wood of list ซึ่งเป็นที่มาของไม้พะยูงของกลางในสํานวนการสอบสวน หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือบริษัท วิสาหกิจส่วนบุคคลพงสะหวัน อุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด อันสอดคล้องกับคําสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา กรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) (ในขณะนั้น) ส.1 เลขรับที่ 1174/2550 กรณีดังกล่าวจึงยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือ รับฟังได้ว่ากองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) หน่วยงานของรัฐ ผู้ถูกร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอํานาจตามกฎหมาย ตามประกาศผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง กําหนดเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับไว้พิจารณา ตามมาตรา 37 (5) แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2562 ข้อ 3 (4) จึงวินิจฉัยให้ ยุติเรื่อง ตามมาตรา 37 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
ประเด็นที่ 3 บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิขอรับคืนไม้พะยูงของกลาง
3.3 กรณีไม้พะยูงของกลาง จํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาตร 155.08 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงาน การสอบสวนคดีอาญาที่ 202/2549 บัญชียึดทรัพย์ที่ 144/2549 ของกองบังคับการปราบปรามการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคดีดังกล่าวตลอดจนคดีที่เกี่ยวข้องได้ถึงที่สุดแล้ว อีกทั้ง บก.ปทส. มีหนังสือที่ ตช 0026.704/2714 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ถอนอายัดไม้ของกลาง ที่ยึดจากบริษัท ที.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ (1991) จํากัด เพื่อให้กรมศุลกากรพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายและระเบียบ ที่กําหนดในพิธีการศุลกากรต่อไป ประกอบกับสํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง มีหนังสือที่ กค 0507 (ส)/906 ลงวันที่ 5 ธันวาคม 2563 แจ้งให้ บก.ปทส. ไปรับไม้พะยูงของกลาง จํานวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากคดีดังกล่าวข้างต้น กรมป่าไม้ ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน บก.ปทส. ให้ดําเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากร เป็นเพียงผู้ดูแลรักษาไม้พะยูงของกลางตามคําสั่งของพนักงานสอบสวน และคดีถึงที่สุดแล้ว เพื่อให้ บก.ปทส. ไปรับไม้พะยูงของกลางดําเนินการตามกฎหมายต่อไป ปัจจุบันของกลางดังกล่าวถูกจัดเก็บรักษาไว้ ณ สํานักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าลาดกระบัง และผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน และเป็นผู้มีอํานาจในการสั่งคืนของกลาง ดังกล่าว ได้ใช้ดุลพินิจและมีความเห็นคืนไม้พะยูงของกลางดังกล่าวให้กับ Phongsavanh Wood industry ปัจจุบัน ยังไม่สามารถคืนของกลางให้กับนิติบุคคลรายดังกล่าวได้ เนื่องจากมีบุคคลจํานวนหลายรายกล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับมอบ อํานาจจาก Phongsavanh wood industry ให้มารับไม้พะยูงของกลาง นั้น
3.3.1 กรณีไม้พะยูงของกลางดังกล่าว พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่าย คดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) (ในขณะนั้น) ตามคําสั่งไม่ฟ้องคดี ส.1 เลขรับที่ 1174/2550 ได้พิจารณา แล้วเห็นว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทําความผิด หรือเป็น อุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทําความผิดในฐานความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหา ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ เพื่อใช้ในการกระทําความผิด หรือได้มาโดยการกระทําความผิดตามมาตรา 32 และมาตรา 33 แห่งประมวล กฎหมายอาญา จึงสั่งให้พนักงานสอบสวน บก.ปทส. จัดการไม้พะยูงของกลางตามมาตรา 85 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สอดคล้องกับข้อ 77 ของระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 (ระเบียบที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ที่กําหนดว่า กรณีมีความเห็นไม่ขอรับ ทรัพย์สินของกลางใด เนื่องจากของกลางริบไม่ได้ตามกฎหมายหรือไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และไม่ จําเป็นที่จะต้องยึดของกลางนั้นไว้วินิจฉัยในคดีอีก ให้แจ้งผลเกี่ยวกับทรัพย์สินของกลางตามแบบพิมพ์ อ.ก. 46 เพียงว่าของกลางให้จัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เท่านั้น จึงมีนัยว่าไม่ประสงค์ ใช้ไม้พะยูงของกลางเป็นพยานหลักฐานในคดี
ดังนั้น บก.ปทส. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขออายัดไม้ของกลาง และกรมศุลกากร ซึ่งเป็นผู้เก็บ รักษาไม้พะยูงของกลาง จึงมีหน้าที่จะต้องดําเนินการสั่งการให้ส่งคืนไม้พะยูงของกลางให้กับ Phongsavanh Wood industry โดยเร็ว เนื่องจากในการดําเนินคดีอาญาเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานอัยการ เพียงผู้เดียว บก.ปทส. และกรมศุลกากร มีหน้าที่เพียงเก็บรักษาไม้พะยูงของกลางไว้เท่านั้น กรณีไม้พะยูงของกลาง ในสํานวนคดีตามเรื่องร้องเรียนนี้ คดีดังกล่าวตลอดจนคดีที่เกี่ยวข้องได้ถึงที่สุดแล้ว ตามคําพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3665 - 3666/2562 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี 5 เดือน การกระทํา ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติอันเป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และส่งผลให้ Phongsavanh Wood industry ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนไม้ พะยูงของกลางได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทําละเมิดต่อนิติบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนไม้พะยูงของกลาง ดังกล่าว อ้างคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.530/2555)
ผู้ตรวจการแผ่นดินกำลังลงพื้นที่ตรวจไม้พะยูงที่ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง (ด่านลาดกระบัง) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 (อ้างอิงรูปภาพจากเว็บไซต์ผู้ตรวจการแผ่นดิน)
3.3.2 กรณีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และประกาศกรมศุลกากร ที่ 141/2560 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง พิธีการศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนตามความตกลงว่าด้วย การขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตลอดจนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนให้เป็นไปตามอนุสัญญาบาร์เซโลนาว่าด้วยเสรีภาพในการ ผ่านแดน ค.ศ. 1921 และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน พืชอนุรักษ์ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2562 ตลอดจนระเบียบ และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของทางราชการ นั้น บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการ ขนส่งสินค้าผ่านแดน และหลักเกณฑ์ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนเท่านั้น ในการพิจารณาว่าต้องคืนของกลางหรือไม่ นั้น ยังคงต้องผูกพันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวีพิจารณาความอาญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม้พะยูง ของกลางเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจถูกริบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ Phongsavanh Wood industry เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง บก.ปทส. และกรมศุลกากร จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการ สั่งคืนไม้พะยูงของกลางให้แก่ Phongsavanh wood industry กรณีที่ บก.ปทส. และกรมศุลกากร เก็บรักษาไม้พะยูง ของกลางแล้วไม่ยอมคืนให้แก่ Phongsavanh Wood industry ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงจึงเป็นการกระทํา ละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ
4.คำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะ
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้อาศัยอํานาจตามมาตรา 22 (2) ประกอบมาตรา 32 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มีคำสั่งไปยังหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการกับกรณีไม้พะยูงดังกล่าว ดังต่อไปนี้
4.1 ขอให้ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ทําความเห็นตามรายงานการสอบสวนคดีอาญาที่ 202/2549 บัญชียึดทรัพย์ ที่ 144/2549 ของ บก.ปทส. แจ้งไปยังอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะผู้เก็บรักษาของกลาง โดยยืนยันและตรวจสอบ พยานหลักฐานจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหนังสือร้องขอความเป็นธรรมทุกรายว่าบุคคลใดเป็นผู้รับ มอบอํานาจจาก Phongsavanh Wood industry หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือบริษัท วิสาหกิจ ส่วนบุคคลพงสะหวันอุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด อันเป็นนิติบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนไม้พะยูงของกลาง ภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งหนังสือแจ้งผลคําวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน
4.2 ขอให้กรมศุลกากร ในฐานะผู้เก็บรักษาไม้พะยูงของกลาง มีคําสั่งให้สํานักงานศุลกากรตรวจ สินค้าลาดกระบัง คืนไม้พะยูงของกลางให้แก่บุคคลที่ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ยืนยันว่าเป็นบุคคลผู้รับมอบอํานาจจาก Phongsavanh Wood industry หรือบริษัท พงสะหวัน ค้าไม้ จํากัด หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ หรือบริษัท พงษ์สะหวัน อุตสาหกรรมไม้ จํากัด หรือโรงเลื่อยพงษ์สะหวัน หรือบริษัท วิสาหกิจส่วนบุคคล พงสะหวันอุตสาหกรรมค้าไม้ จํากัด อันเป็นนิติบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนไม้พะยูงของกลางโดยดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกองบังคับการ ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.3 กรณีมีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์หรือกล่าวอ้างว่าบุคคลใดมิใช่ผู้รับมอบอํานาจที่แท้จริง และคู่กรณีทุกฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ให้ บก.ปทส. และกรมศุลกากร จัดทําบันทึกและให้คู่กรณีทุกฝ่ายลงลายมือ ชื่อไว้ และแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทราบอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไปยื่นฟ้องต่อศาล ที่มีอํานาจชําระคดีนั้นต่อไป โดยให้สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนตลอดจนผู้ยื่นเรื่อง ขอความเป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งสองราย และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
ผลคดีศึกชิงไม้พะยูงของกลางมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ที่คาราคาซังมานานจากนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามดูกันต่อไปอย่างใกล้ชิด
อ่านประกอบ:
'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' จี้ ปทส. ตรวจหลักฐานคนขอคืนไม้พะยูง 200 ล. ภายใน 15 วัน
แจ้งเอาผิด'บิ๊ก'กรมศุลฯไม่ปล่อยไม้พะยูงลาว ร้อย ล.-จนท.แจงต้องพิสูจน์สิทธิ์ให้ชัด
แกะแผนผัง บช.ก.! เจาะ 2 บ.ตัวละครเอก คดีชิงไม้พะยูง 600 ล. ก่อนผอ.มุกดาหาร โดนรวบ
อ้างตัวแทน สปป.ลาว ตามทวงคืนไม้พะยูง 200 ล.โดนยึดปี 49-ผู้การ ปทส.ยันคืนให้บริษัทแล้ว
ศึกชิงไม้พะยูงของกลาง 200 ล.ระอุ! คนกลุ่ม 3 โผล่ อ้างเจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวจริง
ปมคืนไม้พะยูงของกลาง 200 ล.วุ่น! บ.ลาว อ้างมีคนหวังฮุบ ยื่นสำนักนายกฯ ขอความเป็นธรรม
ร้องผู้ตรวจการฯ สางปมศึกชิงไม้พะยูง 200 ล.- จี้ ปทส.แจงหลักเกณฑ์คืนของกลาง
จำแนก 4 กลุ่ม ศึกชิงไม้พะยูง 200 ล.! ผู้รับจ้างขนเข้าไทย โผล่อ้างสิทธิ์ขอคืนด้วย?
รวบตัวพร้อมเงินสด2ล.! บช.ก.จับ ผอ.สำนักทรัพยากรฯ มุกดาหาร เรียกสินบนคืนไม้พะยูง600ล.
เป็นลูกอดีต รมต.! ปปป. คุ้ยประวัติ ผอ.สำนักทรัพยากรฯ มุกดาหาร-เคยเรียกเงินมาแล้ว 1 ล.
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage